ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

vedic clock

การนับเวลาแบบโบราณ แต่ละวัฒนธรรมต่างก็มีเครื่องมือวัดเวลาในแบบของตนเอง เช่น นาฬิกาทรายนาฬิกาแดด ซึ่งใช้เงาของแดด โบราณเรียกว่า”ชั้นฉาย” หรือ นาฬิกาที่ใช้การหยดของน้ำ ส่วนของไทยโบราณมักจะใช้กะลาเจาะรู (นาฬิเก แปลว่า กะลา) ลอยในน้ำเมื่อกะลาจมน้ำลงไปหมดก็นับเป็นเวลา 1บาท หรือ 6 นาที ซึ่งสมัยก่อนจะมีหอกลองตีกลองหรือฆ้องบอกเวลาในแต่ละวัน โดยมีมาตราวัดเวลาแบบโบราณดังนี้

1 ชั่วโมง มี 10 บาท = 60 นาที ,5 บาท =30 นาที ,1 บาท = 6 นาที

การบอกเวลากลางวันและกลางคืน

(1)ปฐมยาม(18.00 น. - 21.00 น.) คือ จากย่ำค่ำถึง 3 ทุ่ม "ทุ่ม" บอกเวลากลางคืนเดิมใช้กลองตีดัง ทุ่มๆ

(2)ทุติยยาม(21.00 น. - 24.00 น.) คือ จาก 3 ทุ่ม ถึง 6 ทุ่ม "โมง" บอกเวลากลางวัน เดิมใช้ฆ้อง ตีดังโมงๆ

(3)ตติยยาม(24.00 น. - 3.00 น.) คือ จาก 6 ทุ่ม ถึง 9 ทุ่ม ย่ำสิบเอ็ดสามบาท =ตีห้ากับสิบแปดนาที

ปัจฉิมยาม(3.00 น. - 6.00 น คือจาก 9 ทุ่ม ถึงย่ำรุ่ง

เรื่องของนาฬิกา สมัยโบราณ

โดย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

ปัญหา ได้อ่านหนังสือเก่าพบคำว่า "กรมนาฬิกา" ไม่ทราบว่า กรมนี้อยู่ที่ไหน มีหน้าที่ทำอะไร

ตอบ กรมนาฬิกาเป็นกรมขึ้นในวัง และหอนาฬิกานั้นชอบกลนักหนา มีเหมือนกันทั้งไทยและพะม่า ประเพณีเดิมทีเดียวเห็นจะมีมาเก่าแก่มาก

อาจได้แบบแผนมาจากอินเดียก็เป็นได้ ทำเป็นหอสูง ชั้นยอดของหอแขวนฆ้องใบหนึ่งกลองใบหนึ่ง

ในห้องชั้นต่ำลงมาตั้งอ่างน้ำเอากะลาซึ่งวักน้ำเหมาะขนาดที่ลอยอยู่เพียง ๖๐ นาฑีแล้วจม ลอยไว้ในอ่างนั้น มีคนนั่งยามประจำอยู่ เวลาพระอาทิตย์ขึ้น

ลอยกะลา ซึ่งตามภาษามคธว่า "นาฬิกา" จึงเข้าใจว่าได้ตำรามาจากอินเดีย พอนาฬิกาจมลงคนก็ขึ้นไปตีฆ้อง ในเวลา นาฬิกาแรกตีครั้งหนึ่ง

นาฬิกาที่สองที่สามก็ตีมากครั้งขึ้นตามลำดับ ที่ในห้องนั้นมีราวสำหรับปักไม้ติ้วเป็นที่สังเกตของคนตี ได้นาฬิกาหนึ่งก็ปักติ้วไว้อันหนึ่ง

ถึงอีกนาฬิกาหนึ่งก็ปักติ้วเติมอีกอันหนึ่งเรียงต่อกันไป สำหรับผู้ตีจะได้นับรัวกี่นาฬิกา ถึงเวลาค่ำพระอาทิตย์ตกปักติ้วครบ ๑๒ อัน แล้วเอาออกเสียคราวหนึ่ง

ด้วยกลางคืนตีกลองแทนฆ้อง ด้วยเหตุนี้แหละจึงเรียกเป็นคำสามัญว่า "โมง" ในเวลากลางวัน ว่า "ทุ่ม" ในเวลากลางคืน ตามเสียงฆ้องและเสียงกลอง

ที่ตีกลองในเวลากลางคืนนั้นเห็นจะเป็นด้วยเสียงกลองดังไปไกลกว่าเสียงฆ้อง

ในเรื่องโรงนาฬิกานี้ยังมีต่อไปอีกอย่างหนึ่ง ถ้าตีโมงหรือทุ่มอื่นๆ ตีเพียงอัตราทุ่มและโมง ถ้าตีเวลา ๖ นาฬิกา ๑๒ นาฬิกา ต้องตีย่ำฆ้องเสียก่อนลาหนึ่ง

แล้วจึงตีบอกอัตรานาฬิกา กลางคืนตั้งแต่เวลา ๑๘ นาฬิกา ต้องตีย่ำกลองเสียก่อนลาหนึ่งเรียกว่าย่ำค่ำ ๒๑ นาฬิกาย่ำลาหนึ่งเรียกว่ายามหนึ่ง

เที่ยงคืนย่ำสองลาเรียกสองยาม ๓ นาฬิกาย่ำสามลาเรียกสามยาม แล้วตีอัตราต่อ ตอนรุ่งก็ย่ำรุ่ง ตอนเที่ยงก็ย่ำเที่ยง กลางวันก็ย่ำฆ้อง กลางคืนย่ำกลอง

เหตุไรจึงตีย่ำ ไปรู้มาจากเมื่อไปเมืองอินเดีย ไปได้ยินย่ำที่เมืองพาราณสี ถามเขาจึงได้ความว่า ที่ตีย่ำนั้นเป็นสัญญาบอกให้เปลี่ยนคนรักษายาม

คือประเพณีการรักษายามกลางวัน ๖ ชั่วโมงเปลี่ยนครั้งหนึ่ง กลางคืน ๓ ชั่วโมงเปลี่ยนครั้งหนึ่ง ไทยเราเอาหน้าที่บอกสัญญาเปลี่ยนยาม

มาเป็นพนักงานของโรงนาฬิกาจึงตีย่ำ แต่เมื่อเกิดนาฬิกากลอย่างฝรั่งขึ้นแล้ว ในเมืองไทยเราก็เลิกลอยกะลา ใช้นาฬิกากลอย่างฝรั่งแทน และเลิกตีกลองในเวลากลางคืน

ใช้ระฆังใบใหญ่ใบหนึ่งตีแทนทั้งสองสิ่งนั้น แต่ว่าชื่อที่เรียกว่าโมงและทุ่ม ยังใช้อยู่เป็นสำคัญ ให้รู้ว่าตีฆ้องกลางวันและตีกลองกลางคืน

 

alarmclocks11

 

การนับยาม ตามคติไทย กับ อินเดีย

คำว่า “ยาม” ที่เรานับกันตามแบบไทย ๆ กับ “ยาม” ของแขกตามที่ปรากฏในบาลีนั้นแตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะคืนหนึ่เราแบ่งเป็น 4 ยาม ยามละ 3 ชั่วโมง แบบไทย 4 ยาม ยามละ 3 ชั่วโมง ในวรรณคดีไทยถือตามคติสันสกฤตว่า คืนหนึ่งมี 4 ยาม ยามหนึ่งมี 3 ชั่วโมง

ตั้งแต่ย่ำค่ำ คือ 18 นาฬิกา ถึง 3 ทุ่ม (21 นาฬิกา) เป็นยามที่ 1

หลังจาก 21 นาฬิกา หรือ 3 ทุ่ม ไปถึง 24 นาฬิกา หรือ เที่ยงคืน เราเรียกว่า ยาม 2 หรือ 2 ยาม

หลัง 24 นาฬิกา ไปถึงตี 3 (3 นาฬิกา) เราเรียกว่า ยาม 3

และหลังจากตี 3 ไปจนย่ำรุ่ง หรือ 6 นาฬิกา เราเรียกว่า ยาม 4 ซึ่งเป็นยามสุดท้ายของคืน

ยามตามคติอินเดีย (บาลี) คืนหนึ่งมี 3 ยาม ยามหนึ่งมี 4 ชั่วโมง

คติที่ปรากฏในวรรณคดีบาลีรวมถึงวรรณคดีบาลีที่แปลแต่งเป็นภาษาไทยว่าไว้ต่างกัน คือกำหนดว่า คืนหนึ่งมี 3 ยาม ยามหนึ่งมี 4 ชั่วโมง เรียกยามทั้ง 3 ช่วงนี้ตามลำดับว่า ปฐมยาม (อ่านว่า ปะ -ถม-มะ -ยาม) ทุติยยาม (อ่านว่า ทุ -ติ-ยะ -ยาม) และปัจฉิมยาม (อ่านว่า ปัด-ฉิม-มะ -ยาม) ตามลำดับ

(1)ปฐมยาม หรือ ยามแรก ได้แก่ช่วงเวลา 18.00-22.00 น. (2)ทุติยยาม หรือ ยามที่ 2 ได้แก่ช่วงเวลา 22.00-02.00 น. และ(3) ปัจฉิมยาม หรือ ยามสุดท้าย ได้แก่ช่วงเวลา 02.00-06.00 น.