จากแผนภูมิปฏิกิริยา 5 ธาตุ ของจีนที่ได้อธิบายไปในตอนแรกๆ ทำให้มองเห็นอะไรบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในนั้น นั่นก็คือเป็นรูปแบบแผนผังของวงโคจรของดาวศุกร์ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวและตายตัวและเป็นรูปแบบของระยะเชิงมุมที่เรียกว่า ควินไทน์ quintile และชนโบราณของชาวมายาก็นิยมใช้ปฏิทินระบบนี้ เรียกว่าปฏิทินศักด์สิทธิ์ เพราะมีความเที่ยงตรงแม่นยำและสะดวกในการทำซ้ำปฏิทิน
จาการคำนวณดาวศุกร์ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ใน 1 รอบด้วยระยะเวลา 225 วัน ( 1 คาบดาราคติ -Sidereal Period) ซึ่งเป็นการเทียบหรืออิงจุดคำนวนกับกลุ่มดาวฤกษ์ที่อยู่นิ่งกับที่ แต่หากอิงจุดคำนวนนี้จากโลกจะมีระยะเวลาประมาณ 583.92 วัน (เรียกว่าคาบดิถีหรือคาบซินอดิก Synodic Period) ซึ่งทั้งสองแบบเป็นตัวบ่งบอกว่าดาวศุกร์มีตำแหน่งสอดคล้องกับทั้งตำแหน่งของโลกและกลุ่มดาวฤกษ์ โดยปรากฏว่า ดาวศุกร์จะโคจรมาอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์เฉลี่ยทุกๆ 584 วัน เราเรียกว่า ปรากฏการณ์ดาวศุกร์โคจรผ่านหน้าดวงอาทิตย์
และ 8 ปีปฏิทินของโลก(สุริยคติ) (365.2425 x 8 = 2921.94 วัน) จะใกล้เคียงกับ 5 รอบของคาบดิถีดาวศุกร์หรือระบบศุกรคติ (583.92 x 5 = 2919.6 วัน) ทำให้ในวันเดียวกันของทุกๆ 8 ปี(สุริยคติ) ดาวศุกร์จะมีตำแหน่งใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิม ไม่ว่าจะเทียบกับขอบฟ้าหรือเทียบกับกลุ่มดาวฤกษ์ ดังนั้นในทุกๆ 8 ปี เราก็จะเห็นดาวศุกร์ปรากฏอยู่บนฟ้าด้วยมุมเงยเท่าเดิม และตำแหน่งเดิมทุกๆครั้ง โดยจะมีปรากฏเป็นคู่ในทุกๆรอบ 121.5 ปี กับ 8 ปี และทุกรอบ 105.5 ปีกับ 8ปี สลับกันไปมา (สูตร 121 ½ ปี, 8ปี, 105 ½ปี , 8ปี).
ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยเหมือนปรากฏการณ์สุริยุปราคา-จันทรุปราคา แต่สำหรับปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์จะใช้เวลาประมาณ 1 ศตวรรษเศษๆ ถึงจะเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้ง และแต่ละครั้งใช้ระยะเวลาห่างกัน 8 ปี ซึ่งปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในรอบศตวรรษนี้ของไทย ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ส่วนครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และครั้งถัดไป 105 ปี จะปรากฏขึ้นอีกครั้ง ( วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2660 และวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2668)
ภาพแสดงปฏิทินระบบศุกรคติของชาวมายา
1 รอบปีศุกรคติ(ปฏิทินดาวศุกร์) มีความยาวเท่ากับ 5 ปี (สุริยคติบนโลก) และทุกๆ 65 ปีศุกรคติ จะเท่ากับ 104 ปีสุริยคติ(บนโลก) ดังนั้นในรอบทุกๆ104 ปี ชาวมายาก็จะนำปฏิทินดาวศุกร์มาใช้อีกครั้ง และไม่ต้องเหนื่อยไปแกะหินใหม่อีกรอบผมจึงคิดว่าชาวจีนโบราณก็น่าจะใช้คติอันเดียวจากระบบของปฏิทินดาวศุกร์นี้ มาคิดเป็นวงรอบวัฏฏะของพลังงานต่างๆที่สัมพันธ์กันและอะไรต่อมิอะไรที่เป็นระบบพิเศษอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองเพราะ อย่างน้อยระบบปฏิทินดาวศุกร์นี้ก็แสดงให้เห็นความคงที่ของพลังงานอะไรบางอย่างที่ขับเคลื่อนจักรวาลนี้อยู่
วิดีโอแสดงการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์