Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***


วิธีคำนวณจันทรคราส


ทำต่อจากที่ทำสุริยยาตร์สารัมภ์ในข้อ ๒๑ นั้น ดังนี้

(๒๒) ให้ตั้งมัธยมอาทิตย์ทุติย เอามัธยมอาทิตย์ปฐมลบ ถ้าลบมิได้ให้เอา ๒๑๖๐๐ บวกก่อนจึงลบ ผลลัพธ์เป็นรวิภุกดิ ตราไว้

(๒๓) ให้ตั้งสมผุสอาทิตย์ทุติย เอาสมผุสอาทิตย์ปฐมลบ ถ้าลบมิได้ ให้เอา ๒๑๖๐๐ บวกก่อนจึงลบ ผลลัพธ์เป็นรวิภุกด ภุกดิ ตราไว้

(๒๔) ตั้งมัธยมจันทร์ทุติย เอามัธยมจันทร์ปฐมลบ ถ้าลบมิได้ให้เอา ๒๑๖๐๐ บวกก่อนจึงลบ ผลลัพธ์เป็นจันทร์ภุกดิ ตราไว้

(๒๕) ตั้งสมผุสจันทร์ทุติย เอาสมผุสจันทร์ปฐมลบ ถ้าลบมิได้ให้เอา ๒๑๖๐๐ บวกก่อนจึงลบ เศษเป็นจันทร์ ภุกด ภุกดิ ตราไว้

(๒๖) ตั้งจันทร์ภุกดภุกดิ เอารวิภุกดภุกดิลบ ผลลัพธ์เป็นภูจันทร์ ตราไว้

(๒๗) ตั้งสมผุสอาทิตย์ปฐม เอา ๑๐๘๐๐ บวก แล้วเอา ๒๑๖๐๐ หาร เศษเป็นฉายาเคราะห์ ตราไว้

(๒๘) ตั้งฉายาเคราะห์และสมผุสจันทร์ปฐมเทียบกัน เอาจำนวนน้อยลบจำนวนมาก ผลที่ลบกันแล้วนั้น เป็นเคราะห์หันตกุลา ตราไว้

(๒๙) ตั้งเคราะห์หันตกุลา เอา ๖๐ คูณ แล้วเอาภูจันทร์หาร ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเอา ๖๐ คูณ แล้วเอาภูจันทร์หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ชื่อปุณมี ตราไว้

(๓๐) ตั้งปุณมี เอารวิภุกดภุกดิคูณทั้งสองฐาน ฐานมหาวินาฑีเอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์บวกด้วยฐานมหานาฑี แล้วเอา ๖๐ หาร เศษดูอัฑฒาธิกรรม คือ ถ้ามีเศษแต่ครึ่งหนึ่งของพลหารขึ้นไป เศษนั้นเอาเป็น ๑ แล้วเอา ๑ บวกเข้ากับผลลัพธ์นั้น ชื่อ สมรวิกุลา ตราไว้

(๓๑) ตั้งปุณมี เอาจันทร์ภุกดภุกดิคูณทั้งสองฐาน ฐานมหาวินาฑีเอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์บวกด้วยฐานมหานาฑี แล้วเอา ๖๐ หาร เศษ ดูอัฑฒาธิกรรม ผลที่ได้ชื่อ สมจันทร์กุลา ตราไว้                         (๓๒) ตั้งปุณมี เอา ๓ คูณทั้งสองฐาน ฐานมหาวินาฑีเอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์บวกด้วยฐานมหานาฑี แล้วเอา ๖๐ หาร ถ้ามีเศษดูอัฑฒาธิกรรม ผลลัพธ์ที่ได้ชื่อ สมราหูกุลา ตราไว้


ต่อไปนี้ว่าด้วยการทำพิรางค์


(๓๓) ให้ตั้งฉายาเคราะห์ เอาสมรวิกุลาบวก ผลลัพธ์เป็นตักกลารวิ ตราไว้

(๓๔) ตั้งสมผุสจันทร์ปฐม เอาสมจันทร์กุลาบวก ผลลัพธ์เป็นตักกลาจันทร์ ตราไว้

แล้วให้ดูตักกลารวิกับตักกลาจันทร์นั้น ถ้าเป็นจำนวนเลขอย่างเดียวกัน ที่คำนวณมานั้นชอบ ถ้าต่างกันว่าที่คำนวณมานั้นผิดแล

(๓๕) ตั้งสมผุสราหูปฐม เอาสมราหูกุลาลบ ผลลัพธ์เป็นตักกลาราหู ตราไว้

(๓๖) ตั้งตักกลาราหู เอาตักกลาจันทร์ลบ ถ้าลบมิได้ให้เอา ๒๑๖๐๐ บวกก่อนจึงลบ แล้วเอา ๕๔๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นโกลัง ถ้าโกลัง ๐ หรือ ๒ เศษเป็นราหูภุช ตราไว้ ถ้าโกลังเป็น ๑ หรือ ๓ เศษยังไม่เป็นราหูภุช ให้เอาเศษลบเชิงหาร ผลลัพธ์เป็นราหูภุช

แล้วให้ดูที่โกลัง ถ้าโกลัง ๐ หรือ ๑ ราหูจับข้างอุดร ถ้าโกลัง ๒ หรือ ๓ ราหูจับข้างทักษิณ

ถ้าตักกลาจันทร์ลบตักกลาราหูได้เป็นสุภาพ ถ้าโกลังอุดรก็ให้ทายทิศอุดร ถ้าโกลังทักษิณก็ให้ทายทางทิศทักษิณ

ถ้าตักกลาจันทร์ลบตักกลาราหูมิได้ เป็นพิปริต ถ้าโกลังอุดร ให้ทายทางทิศทักษิณ ถ้าโกลังทักษิณให้ทายทางทิศอุดร

ตั้งราหูภุช เอา ๗๒๐ หาร ถ้าหารได้หาคราสมิได้เลยนัยหนึ่งให้ดูราหูภุช กับจันทร์ภุกดภุกดิ ถ้าราหูมากกว่าจันทร์ภุกดภุกดิก็หาคราสมิได้แล

(๓๗) ตั้งราหูภุช เอา ๙ คูณ เอา ๒ หาร แล้วเอา ๖๐ หารอีก ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเป็นมหาวินาฑี ชื่อราหูวิกขิป ตราไว้

(๓๘) ตั้ง ๓๑ เอาจันทร์ภุกดภุกดิคูณ เอาจันทร์ภุกดิหาร ผลลัพธ์เป็นมหานาฑีเศษเอา ๖๐ คูณ เอาจันทร์ภุกดิหาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ชื่อจันทร์พิมพ์ ตราไว้

(๓๙) ตั้งจันทร์พิมพ์ลงทั้งสองฐาน เอา ๕ คูณทั้งสองฐาน ฐานมหาวินาฑี เอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์บวกด้วยฐานมหานาฑีเศษคงไว้ แล้วเอา ๒ หาร ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเอา ๖๐ คูณ เอาเศษมหาวินาฑีบวกเข้า แล้วเอา ๒ หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ชื่อราหูพิมพ์ ตราไว้

ให้ทำวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าจันทร์พิมพ์ เป็นรูปพระจันทร์ ตราไว้

(๔๐) ให้ตั้งจันทร์พิมพ์ลงทั้งสองฐาน ฐานมหานาฑีเอา ๒ หาร ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเอา ๖๐ คูณ บวกมหาวินาฑีเข้า แล้วเอา ๒ หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ชื่อ ปนีจันทร์ ตราไว้

แล้วให้นับแต่ขอบวงเข้าไปหาศูนย์กลางของวงกลม เท่าปรีจันทร์ ตราไว้ เป็นจุดศูนย์กลาง แล้วให้นับแต่จุดศูนย์กลางออกมาเท่าราหูวิกขิป ตราไว้

(๔๑) ตั้งราหูพิมพ์ลงทั้งสองฐาน ฐานมหานาฑีเอา ๒ หาร ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเอา ๖๐ คูณ บวกมหาวินาฑีเข้า เอา ๒ หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ชื่อปนีราหู ตราไว้

แล้วให้นับแต่ราหูวิกขิปซึ่งตราไว้นั้น เข้ามาในวงพระจันทร์ เท่าปนีราหู ตราไว้ ถ้าปนีราเข้ามาในวงพระจันทร์เท่าใด คือ ว่าพระราหูจับจันทร์เท่านั้นแล

(๔๒) ตั้งเกณฑ์ ๕๔ มหานาฑี เอาราหูวิกขิปลบ ผลลัพธ์ที่เหลืออยู่ให้เอาฉายาราหู ต่อไปนี้ ๑, ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๑๒, ๑๔ ลบไปโดยลำดับทีละฉายา ถ้าลบมิได้ที่ฉายาตัวใดให้กาไว้ที่ฉายาตัวนั้น เศษที่เหลือจากที่เอาฉายาลบนั้น เอา ๖๐ คูณ บวกมหาวินาฑีขึ้น แล้วเอาฉายาราหูที่กาไว้นั้นมาหาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี แล้วให้นับฉายาราหูที่ลบได้นั้นเป็นกี่หนคิดเป็นมหานาฑี หนละหนึ่งมหานาฑี ตั้งไว้บนตัวผลลัพธ์มหาวินาฑีนั้น ทั้งนี้เป็นมหานาฑีและมหาวินาฑีที่ราหูแรกจับจนหลุดพ้น ชื่อมูลมหานาฑี ตราไว้

(๔๓) ตั้งมูลมหานาฑีลงทั้งสองฐาน ฐานมหานาฑีเอา ๒ หาร ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเอา ๖๐ คูณ แล้วเอามาบวกเข้ากับมหาวินาฑี แล้วเอา ๒ หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ผลลัพธ์ที่ได้ทั้งสองฐานนี้ ชื่อติตถมหานาฑี ตราไว้ (ที่ใดออกชื่อแต่มหานาฑี ไม่ได้ออกชื่อ มหาวินาฑีด้วยนั้น เป็นการเรียกโดยย่อ เพราะมีมหานาฑีเป็นประธาน แต่ก็หมายความรวมกันทั้งมหาวินาฑีด้วยทุกแห่ง)

(๔๔) ตั้งปุณมีลง เอาติตถมหานาฑีลบ ลบกันตามมาตรา มหานาฑีและมหาวินาฑี ผลลัพธ์ชื่อ ปรัสถกลหมหานาฑี มัธยมประเวสกาล คือ เป็นเวลาที่เริ่มจับ เมื่อดวงจันทร์แรกเข้าถึงหลังเงามืด คือ ราหู

(๔๕) ตั้งปุณมี เอาติตถมหานาฑีบวก ผลลัพธ์ชื่อมุขกลหมหานาฑี มัธยมโมกษกาล คือ เวลาที่ดวงจันทร์หลุดพ้นทางหน้าเงามืดไป

(๔๖) ตั้งตักกลารวิ เอา ๑๘๐๐ หาร เศษเป็นภาคกุลา ตราไว้ ตั้งอันโตฌาน ราศีมหาวินาฑี ในราศีที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ในเวลานั้นลง แล้วนับแต่ราศี ที่พระอาทิตย์โคจร

(รูปภาพ)


อยู่ในเวลานั้นไปข้างหน้า ๗ ราศี คือ ถึงราศีที่เล็งตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์นั้น ตราไว้ เรียกว่าสมาสัปต์ เอาอันโตฌานราศีที่พระอาทิตย์อยู่กับสมาสัปต์มาลบกัน คือ เอาจำนวนน้อยลบจำนวนมาก ผลลัพธ์นั้นเอาไปคูณภาคกุลา แล้วเอา ๑๘๐๐ หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑีอุทัยตราไว้ แล้วให้นับมหาวินาฑีอันโตฌานราศี ตั้งแต่ราศีพระอาทิตย์อุทัยไปข้างหน้า ๖ ราศี จึงประสมกันเข้าเป็น มิสสกมหาวินาฑี ตราไว้

ให้ดูมหาวินาฑี อันโตฌานราศีที่พระอาทิตย์สถิตย์กับในราศีสมาสัปต์ ถ้าที่พระอาทิตย์ลบสมาสัปต์ได้ ให้เอามหาวินาฑี อุทัยบวกมิสสกมหานาฑี ถ้าที่สมาสัปต์ลบที่พระอาทิตย์สถิตย์ได้ เอามหาวินาฑีอุทัยลบมิสสกมหาวินาฑี แล้วเอา ๖๐ หาร ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเป็นมหาวินาฑี ชื่อ ทินประมาณ ตราไว้

(๔๗) ตั้งทินประมาณลงทั้งสองฐาน เอา ๒ หารฐานมหานาฑี ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเอา ๖๐คูณ เอามาบวกกับมหาวินาฑีเข้าแล้ว เอา ๒ หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ชื่อ ทินาฒ ให้ตราไว้

(๔๘) ตั้งเกณฑ์วันหนึ่ง คือ ๖๐ มหาวินาฑี เอาทินประมาณลบ ผลลัพธ์เป็นรัตติประมาณ

(๔๙) ตั้งรัตติประมาณลงทั้งสองฐาน ฐานมหานาฑีเอา ๒ หาร ผลลัพธ์เป็นมหานาฑี เศษเอา ๖๐ คูณ ผลคูณเอามาบวกกับมหาวินาฑีแล้วเอา ๒ หาร ผลลัพธ์เป็นมหาวินาฑี ผลลัพธ์ท้ง ๒ ฐานนี้ ชื่อ นิสาฒ ตราไว้

ถ้าจะทำฉายาขันธ์หรือชั้นฉาย เพลาจับและปล่อยนั้นให้กระทำดังต่อไปนี้

ถ้าจะรู้เวลาราหูแรกจับ ให้ตั้ง ปรัสถกลหมหานาฑี เอาทินประมาณลบ แล้วเอานิสาฒลบ ถ้าเอานิสาฒลบไม่ได้เป็นเพลาราหูแรกจับ เมื่อตอนหัวค่ำก่อนเที่ยงคืน แล้วทำเป็นพลหาร คือเอา ๖๐ คูณมหานาฑีที่เอนิสาฒลบไม่ได้นั้น แล้วเอามหาวินาฑีบวกเข้าเป็นพลหารตราไว้

ถ้าเอานิสาฒลบได้ ผลลัพธ์นันเป็นเพลาราหูแรกจับเมื่อตอนดึก คือ ตั้งแต่เที่ยงคืนแล้วไป แล้วทำเป็นพลหาร คือ เอาเพลาที่จับตอนดึกนั้ไปลบนิสาฒ ได้ผลลัพธ์เป็นมหานาฑีและมหาวินาฑีเท่าใด ให้เอา ๖๐ คูณมหานาฑี ผลคูณเอามาบวกกับมหาวินาฑี เป็นพลหาร ตราไว้

ถ้าจะรู้เพลาราหูปล่อย ตั้งมุขกลหมหานาฑี เอาทินประมาณลบ แล้วเอานิสาฒลบ ถ้าเอานิสาฒลบมิได้ เป็นเพลาราหูปล่อยเมื่อตอนหัวค่ำก่อนเที่ยงคืน แล้วทำเป็นพลหาร คือ เอา ๖๐ คูณมหานาฑี ที่เอานิสาฒลบมิได้นั้น ผลคูณเอามาบวกกับมหาวินาฑี เป็นพลหาร ตราไว้

ถ้าเอานิสาฒลบได้ เป้นเพลาราหูปล่อยเมื่อตอนดึก คือ ตั้งแต่เยงคืนแล้วไป แล้วทำเป็นพลหาร คือ เอามหานาฑีและมหาวินาฑีเพลาราหูปล่อยเมื่อตอนดึกไปลบนิสาฒ แล้วทำต่อไป คือผลลัพธ์ที่เป็นมหานาฑีนั้น เอา ๖๐ คูณ เอาผลคูณมาบวกกับมหาวินาฑี เป็นพลหาร ตราไว้

ตั้งนิสาฒลงทั้งสองฐาน คือทั้งฐานมหานาฑีและมหาวินาฑี แล้วเอา ๖๐ คูณมหานาฑี ผลลัพธ์เอามาบวกกับมหาวินาฑี แล้วเอา ๗ คูณ เป็นพลอักษร ตราไว้

ตั้งพลอักษร เอาพลหารมาหาร ผลลัพธ์เป็นฉายา เศษเอา ๑๕ คูณ เอาพลหารมาหารอีก ผลลัพธ์เป็นองคุลี เศษเอา๔ คูณ แล้วเอาพลหารมาหารอีก ผลลัพธ์เป็นเมล็ดข้าว แล้วให้เอามาศฉายาในราศีที่พระจันทร์โคจรอยู่ในเวลานั้นมาบวกเข้าด้วย แล้วเอา ๗ ลบที่ฐานฉายา ผลลัพธ์ที่เหลืออยู่ คือ ฉายา องคุลี เมล็ดข้าว เป็นชั้นฉายที่ต้องการทราบในเวลานั้น คือ เมื่อพลหารเป็นเวลาแรกจับ ผลลัพธ์ชั้นฉายก็เป็นชั้นเมื่อแรกจับ ถ้าพลหารเป็นเวลาปล่อยชั้นฉายก็เป็นชั้นเมื่อปล่อยนั่นแล


จบจันทรคราสแต่เพียงนี้


-----------------