3.การเฉลี่ยกำลังของดาวคู่มิตร คู่ศัตรูเฉพาะดวงชาตา
เมื่อได้ดาวเคราะห์คู่มิตร-ศัตรู แบบชั่วคราวเฉพาะชาตานี้แล้ว เราก็นำมาเฉลี่ยกำลังกับ ดาวเคราะห์คู่มิตร-ศัตรูแบบถาวรอีกทีหนึ่ง ผล
รวมก็คือ ดาวเคราะห์คู่มิตร-ศัตรูที่เป็นเฉพาะแต่ละชาตาอย่างแท้จริง ดังตัวอย่างด้านบนนี้
อธิบาย- ในชาตานี้จะสังเกตุเห็นว่า บรรทัดแรก ดาวอาทิตย์เป็นมิตรใหญ่ต่อดาวจันทร์-อังคาร ดาวอาทิตย์เป็นกลางต่อดาวพฤหัส-เสาร์-ศุกร์ ดาวอาทิตย์เป็นศัตรูน้อยกับพุธ ส่วนบรรทัดถัดไปก็จะอธิบายความสัมพันธ์ในลักษณะเดียวกัน
ในกรณีของคู่มิตร-ศัตรูดาวอาทิตย์ในบรรทัดแรก ซึ่งในทางกลับกัน ดาวเคราะห์จะมีปฏิสัมพันธ์กับดาวอาทิตย์ดังนี้-ดาวอาทิตย์เป็นมิตรใหญ่ต่อดาวจันทร์-อังคาร (ดาวจันทร์และอังคารก็เป็นมิตรใหญ่ต่ออาทิตย์)
-ดาวอาทิตย์เป็นกลางต่อดาวพฤหัส-เสาร์-ศุกร์ (ดาวพฤหัสและเสาร์ก็เป็นกลางต่ออาทิตย์) (แต่ดาวศุกร์เป็นศัตรูน้อยต่อดาวอาทิตย์)-ดาวอาทิตย์เป็นศัตรูน้อยกับพุธ (แต่ดาวพุธเป็นกลางต่อดาวอาทิตย์) อธิบายให้เข้าใจง่ายๆว่า เมื่ออาทิตย์ไปอยู่เรือนพุธ ถือว่าไปอยู่เรือนศัตรู แต่หากดาวพุธไปอยู่เรือนอาทิตย์ถือว่าเป็นกลาง ดังนี้เป็นต้น
***ส่วนราหูและเกตุ เราจะใช้ระบบ คู่-มิตรศัตรูแบบชั่วคราวมาใช้แทน เนื่องจากไม่มีคู่มิตรศัตรูแบบถาวร ตามธรรมชาติ สรุปจากดวงชาตานี้จะเห็นได้ว่า การเป็นคู่มิตรคู่ศัครูแบบภารตะกับโหราศาสตร์ไทยนั้นแตกต่างกันมากมาย ดังจะเห็นว่าดาวเสาร์ กับอังคาร ในดวงชาตานี้ อังคารก็จะเป็นมิตร(น้อย) ต่อเสาร์ และดาวเสาร์ก็จะเป็นกลางต่ออังคาร ดังนั้นเมื่อดาวสองดวงโคจรมาต้องกันมาเสวยอายุ (ตามระบบวิมโษตรีทักษาหรือทักษาระบบอื่นๆในโหราศาสตร์ภารตะ) การสถิตย์อยู่ในดวงเดิมดวงจร ก็จะไม่มีปัญหาต่อกันเท่าใดนัก และกลับกลายเป็นผลดี ไม่เหมือนกับความเชื่อแบบดั้งเดิมที่เสาร์และอังคารเป็นศัตรูตัวฉกาจต่อกัน แต่ในกรณีนี้กลับมิใช่
และดาวอื่นๆอีกเช่นกัน บางครั้งดาวดวงหนึ่งเป็นศัตรูต่อดาวดวงหนึ่งแต่ในทางกลับกันดาวดวงนั้นก็อาจจะเป็นมิตรกับดาวที่เป็นศัตรูต่อตนก็เป็นได้ การพิจารณาผลของการเป็นมิตร-ศัตรูนั้นเราจะพิจารณาได้จาก“อวัสถา”ของดาวเคราะห์ ซึ่งได้อธิบายต่อในบทความต่อไป