อธิบายปักษ์พละ
๑ ให้หาค่าศุกรปักษ์กับกฤษณาปักษ์ โดยเอาองศาอาทิตย์ลบกับองศาจันทร์ ถ้าผลต่างน้อยกว่า ๑๘๐ องศาเป็นศุกรปักษ์ถ้ามากกว่าเป็นกฤษณาปักษ์
๒ ให้แยกเป็นปาปเคราะห์และศุภเคราะห์ เพราะค่าที่ได้ต่างกัน
ปาปเคราะห์ คือ อาทิตย์ อังคาร เสาร์
ศุภเคราะห์คือ จันทร์ พุธ ศุกร์ พฤหัส
๓ ถ้าผลต่างปรากฏว่าเป็น ศุกรปักษ์ เอาองศาอาทิตย์ลบด้วยองศาจันทร์ แล้วหารด้วย สาม
ผลหารที่ได้เป็นปักษ์พละของดาวศุภเคราะห์
เอาผลปักษ์พละของศุภเคราะห์ลบด้วย ๖๐ ษัษติอางศะผลเป็นปักษ์พละของปาปเคราะห์
๔ ถ้าผลต่างเป็นกฤษณาปักษ์ เอาองศาอาทิตย์ลบองศาจันทร์ ผลที่ได้ลบด้วย ๓๖๐ แล้วหารด้วย ๓
ผลหารที่ได้เป็นปักษ์พละของดาวศุภเคราะห์
เอาผลปักษ์พละของศุภเคราะห์ลบด้วย ๖๐ ษัษติอางศะผลเป็นปักษ์พละของปาปเคราะห์
๕ กฏพิเศษ ปักษ์พละของจันทร์ที่ได้ ให้คูณด้วย ๒ เสมอ
อธิบายไตรภาคพละ
๑ ถ้าเกิดในภาคกลางวัน
ปฐมภาค พุธจะได้ ไตรภาคพละ ๖๐ ษัษติอางศะ
ทุติยภาค อาทิตย์จะได้ ๖๐
ตติยภาค เสาร์จะได้ ๖๐
๒ ถ้าเกิดภาคกลางคืน
ปฐมภาค จันทร์จะได้ ไตรภาคพละ ๖๐ ษัษติอางศะ
ทุติยภาค ศุกร์จะได้ ๖๐
ตติยภาค อังคารจะได้ ๖๐
๓ กฏพิเศษ พฤหัสจะได้กำลังเสมอ
แนะนำควรจะคำนวณจากเวลาพระอาทิตย์ขึ้นตกมากกว่า เพราะบางเดือนตีห้าก็สว่างแล้ว อังคารในตติยภาคตอนตีห้ากว่าก็ไม่ควรได้ ๖๐ ษัษติอางศะแต่พุธควรจะได้แทน หรือหน้าหนาว ห้าโมงเย็นก็มืดแล้วดังนั้นจันทร์ควรจะได้ไตรภาคพละ ๖๐ ษัษติองศะตั้งแต่ห้าโมงเย็นแล้ว