Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

Ascendant BKK

ลัคนาคืออะไร

ลัคนา คำๆนี้เราได้ยินกันบ่อยๆเวลาที่เราไปดูหมอ ดูดวง อาจารย์ก็บอกเราว่าเราเป็นคนราศีนั้น หรือก็บอกว่าเป็นลัคนาราศีนี้เป็นต้น หรือไม่ก็เวลาที่เราไปอ่านนิตยสารต่างๆที่มีการทำนายดวงชาตาผ่านคอลัมพ์ต่างๆ  ก็จะบอกว่าเราเป็นคนเกิดลัคนาราศีอะไรตามวันที่เราเกิด แต่บ่อยครั้งที่เราอ่านหนังสือต่างเล่มต่างฉบับกัน ลัคนาตามวันที่ที่เขียนไว้ในบทความก็ยังแตกต่างกันอีก เช่นบางเล่มบอกว่า ลัคนาราศีเมษคือคนที่เกิดวันที่ 13 เมษา -14 พฤษภาคม แต่บางเล่มก็บอกว่า ลัคนาราศีเมษคือคนที่เกิดวันที่ 21 มีนาคม-22 เมษายน อย่างนี้ก็ทำให้เราสับสนเหมือนกัน แต่บางทีนึกว่าตนเองราศีเมษเพราะตนเองเกิดช่วงเดือนเมษา แต่พอไปดูดวง โหรไทยท่านผูกดวงวางลัคนาเข้าให้ ก็ปรากฏว่าตนเองก็กลายไปเป็นคนเกิด”ลัคนาราศีตุลย์” แต่พอไปหาโหรที่ใช้ระบบโหราศาสตร์สากล เช่น วิชายูเรเนี่ยน ลัคนาก็เปลี่ยนไปกลายเป็น “ลัคนาราศีพิจิก” ไปก็ทำเอางงไปตามๆกัน

ความจริงก็คือระบบการพยากรณ์ในบ้านเราใช้หลักการต่างกัน ต่างแขนงต่างวิชากัน เช่น ของไทยและภารตะใช้ระบบจักรราศีคงที่(นิรายนะ) กับของสากลของชาวตะวันตกใช้ระบบจักรราศีเคลื่อนที่(สายนะ) แต่ใช้ราศีชนิดเดียวกันในการทำนายต่างหากที่ทำให้เรากลายไปเป็นคนลัคนาราศีที่แตกต่างจากที่เราเข้าใจมาก่อน และก็ทำให้เราสับสนกันมาก

Ascendant2

ความหมายของลัคนา

ผมอยากอธิบายง่ายๆเกี่ยวกับลัคนาง่ายๆก่อน ว่าลัคนา หรือ ลัคน์ เวลาเขียงลงในรูปดวงราศีจักร ก็จะใช้คำย่อว่า ” ลั” ก็เป็นอันเข้าใจว่าคือลัคนา  หรือครูอาจารย์ส่วนมากก็มักเขียนตวัดกลายเป็นตัว “ส” ซึ่งก็คือ ” ลั”นั่นเอง

ความหมายของลัคนาก็คือ” ตัวตนของเรา บุคลิกของเรา จิตวิญญาณ ร่างกาย อารมณ์และนิสัย” ของเราทั้งหมดทั้งสิ้นนับเข้าเป็น”ลัคนา”   ซึ่งลัคนาในความหมายนี้ภาษาสันสกฤตเรียกว่า “ชนมลัคน์ “ (Ascendant / Rising Sign)  ซึ่งจะต้องคำนวณจาก 4 เงื่อนไขคือ  (1)เวลาตกฟากหรือเวลาเกิดของเรา (2)เดือนเกิดของเรา (3)ปีที่เราเกิด (4)สถานที่เกิด  ผลที่ได้ก็จะเป็น”จุดลัคนา”ของเรา

ดังนั้นเวลาใน 1 วันไม่ว่าจะเดือนใดปีใดก็ตาม ก็มีลัคนาได้ทั้ง 12 ราศี เช่นคนเกิดวันเดือนปีเดียวกัน แต่ต่างเวลากัน หรือต่างสถานที่กันก็จะมีลัคนาต่างกัน

ส่วนลัคนาราศีเกิดที่เราอ่านตามหน้าหนังสือพิมพ์นั้นจริงๆไม่ใช่”ลัคนา” แต่ทางโหรเรียกว่า”ราศีเกิด” เพราะใช้ตำแหน่งการโคจรของดาวอาทิตย์ผ่านกลุ่มดาวจักรราศีในเดือนต่างๆเป็นตัวกำหนด”ราศีเกิด” หรือเรียกว่า Sun Sign  เหตุเพราะการพยากรณ์ในนิตยสาร ผู้เขียนคำพยากรณ์ก็ไม่รู้ว่าผู้อ่านเกิดเวลาอะไร ตากฟากเวลาไหน ก็เลยใช้วันเกิดและเดือนเกิดเป็นตัวกำหนด ซึ่งแบบนี้ก็จะค่อนข้างหยาบ เพราะ”ราศีเกิด”แบบ Sun Sign ใน 1 ปีจะมี 12 ราศี (ราศีละ 30 วัน) ส่วน ลัคนา หรือ Ascendant ใน 1วันมี 12 ราศี (ราศีละ 2 ชั่วโมง) ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าละเอียดแตกต่างกันนับร้อยๆเท่าเลยทีเดียว

ซึ่ง “ลัคนา Ascendant” ที่ใช้เวลาตกฟากนี้ มักใช้กันในระบบโหราศาสตร์ทั้งแบบภารตะ-ไทย กับ สากลของตะวันตก  ซึ่งมีกฎเกณฑ์การคำนวณ”ลัคนา”และให้ความหมายของ”ลัคนา”เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่อาณาเขตและตำแหน่งของราศีต่างๆที่ไม่ตรงกัน    สาเหตุเพราะของไทยและภารตะใช้ระบบจักรราศีคงที่(นิรายนะ Sidereal Zodiac) กับของสากลของชาวตะวันตกใช้ระบบจักรราศีเคลื่อนที่(สายนะ Tropical Zodiac) ซึ่ง 2 ระบบนี้มีความแตกต่างคลาดเคลื่อนกันอยู่ประมาณ 23องศา เช่น เราผูกดวงโดยใช้โหราศาสตร์ไทย(นิรายนะ) ได้ลัคนาเมษ แต่ผูกดวงในระบบโหรสากล(สายนะ) ลัคนากลับกลายเป็นราศีพฤษภไป

 

 

Precession

 

 

ค่าอายนางศะ

ต่อมามีการค้นพบว่ามีการแกว่งตัวของแกนโลกขณะหมุนรอบตัวเอง(เพราะการหมุนของดาวเคราะห์เป็นการหมุนควงเหมือนกับลูกข่างใกล้ล้ม)เมื่อโคจรรอบดวงอาทิตย์จึงส่งผลให้แนวสุริยวิถีไม่คงที่ จุดวิษุวัตจึงมีการเคลื่อนออกไปทุกปีเล็กน้อยปีละประมาณ ๕๐-๕๕ ฟิลปดา ซึ่งหมายถึงจุดเริ่ม ๐ องศาราศีเมษเปลี่ยนไปทุกปีด้วย เมื่อนำมาใช้เป็นพื้นฐานทางโหราศาสตร์จึงเป็นแนวคิดโหราศาสตร์สายนะแบบจักรราศีไม่คงที่(Tropical Zodiac หรือ Movable Zodiac) ซึ่งยึดโยงกับฤดูกาล เช่น โหราศาสตร์สากลยูเรเนียน

ด้วยปรากฏการณ์จุดวิษุวัตเปลี่ยนนี้ ทำให้โลกเปลี่ยนดาวเหนืออยู่ตลอดเวลา ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์กาล ดาวเหนือของโลกคือดาวทูบาน (Thuban) ในปัจจุบันนี้ดาวเหนือคือดาวโพลาริส (Polaris) และในประมาณปี ค.ศ. 14,000 ดาวเหนือจะเปลี่ยนเป็นดาววีกา (Vega) การอ่านปฏิทินดาราศาสตร์สากล(ส่วนใหญ่ใช้ของสวิสเซอร์แลนด์เป็นฐาน) หากพบว่าเขียนว่า 21 March Sun 0 Degree Aries อย่าเข้าใจว่าพระอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวราศีเมษ แต่ที่ถูกคือ Sun อยู่กลุ่มดาวราศีมีน (March) เพียงแต่คำว่า 0 Degree Aries ในแทนความหมายถึงจุดวิษุวัต

ค่าองศาที่เปลี่ยนจุดวิษุวัตนี้ทางตะวันตกเรียกว่าปรากฏการณ์ precession หรือที่นักโหราศาสตร์ไทยและอินเดียในปัจจุบันเรียกว่าค่าอายนางศะ (Ayanamsa) (ในปีพ.ศ.๒๕๔๑ ค่าอายนางศะมีค่าสะสมประมาณ ๒๓.๕๐ องศาจากจุดเริ่มต้น) ค่าหมุนควงที่แท้จริงของโลกนั้นใช้วิธีการสังเกตการณ์ในแต่ละปี ไม่มีสูตรทางคณิตศาสตร์ตายตัว การกำหนดค่าอายนางศะจึงเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอินเดียสมัยเนหรูเป็นนายกรัฐมนตรี ต้นเหตุเพราะรัฐบาลอินเดียต้องการจะใช้ปฏิทินดาราศาสตร์แบบสวิตส์เซอร์แลนด์กำหนดวันทางศาสนาเพื่อให้มีความเป็นสากล แต่เมื่อ 0 องศาราศีเมษของดาราศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์มันไม่ใช่จุดเดียวกับ 0 องศาราศีเมษของดาราศาสตร์แบบอินเดียเลย อีกทั้งต้องอาศัยการสังเกตการณ์ปีต่อปี จึงมีการค้นหาสูตรคำนวณหาค่าประมาณการของการหมุนควงนี้ได้ มีหลายสำนักทำวิจัยแต่ที่โด่งดังที่สุดคือค่าอายนางศะของลาหิรี

อันนี้มากจากการคำนวณค่า อายนางค์ (Precession)
หมายถึง ปรากฏการณ์การโคจรของจุดวิษุวัต(Equnir) หรือจุดเมษ ซึ่งโคจรไปในทิศทางย้อนจักรราศี ค่าของอายนางค์ คือ ง่ามมุม ที่จุดศูนย์กลางของโลก จาก จุดตั้งจักรราศีนิรายนะไปยัง จุดตั้งต้นจักราศีสายนะ โดยนับเวียนตามเข็มนาฬิกา  เนื่องจากจุดวิษุวัต จะโคจรย้อนจักรราศีประมาณ ปีละ 55 ฟิลิบดา ดังนั้น ค่าอยายนางค์ จึงเพิ่มขึ้นทุกปี (ปีพ.ศ.2562 ค่าประมาณ 24.07 องศา)

โดยอาศัยค่าอายนางค์นี้ ย่อมสามารถแปลงตำแหน่งสมผุสของปัจจัยต่าง ๆ จาก จักรราศีสายนะเป็นจักรราศีนิรายนะ หรือ จากจักรราศีนิรายนะเป็นจักราศีสายนะ ได้ดังนี้

         สมผุสนิรายนะ    =       สมผุสสายนะ - อายนางค์
         สมผุส สายนะ     =       สมผุสนิรายนะ + อายนางค์


1. ระบบนิรายนะ จุดเมษ หรือจุดสงกรานต์(วันขึ้นปีใหม่ไทย) กำหนดให้ดวงอาทิตย์โคจรเข้าสู่จุดนี้ตรงกับวันที่ 13 เม.ย.

2.
ระบบสายนะ จุดเมษ หรือจุดวิษุวัต(Vernal Equinor) กำหนดให้ดวงอาทิตย์โคจรเข้าสู่จุดนี้ตรงกับวันที่ 21 มี.ค.

ระบบสายนะ หรือ ระบบจักรราศีเคลื่อนที่ (Tropical Zodiac) เป็นระบบที่เปลี่ยนราศีประมาณวันที่ 21 ของแต่ละเดือน คือ ซึ่งเป็นระบบที่โหราศาสตร์ตะวันตกนิยมใช้กัน รวมถึงโหราศาสตร์ยูเรเนียนด้วย เป็นระบบที่อ้างอิงฤดูกาล เช่น 21 มีนาคม อาทิตย์จะเข้าราศีเมษ ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือ เป็นวันที่แนวโคจรของดวงอาทิตย์ (รวิมรรค) ตัดกับแนวศูนย์สูตรของโลก เมื่อเข้าฤดูใบไม้ผลิ ต้นไม้จะเริ่มผลิใบออกดอก เปรียบเสมือนการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ราศีเมษจึงให้ความหมายว่าเป็นการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ แนวคิดของสายนะนั้น กำหนดให้จุดเริ่มต้นของวสันตฤดู เป็นจุดเริ่มต้นของราศีเมษ ซึ่งไม่สนใจว่ากลุ่มดาวประจำราศีเมษจะอยู่ในตำแหน่งใด จึงเป็นที่มาของชื่อ Tropical Horoscope หรือโหราศาสตร์เชิงฤดูกาล

ระบบสายนะนั้นไม่สนใจกลุ่มดาวฤกษ์ สนใจเพียงจุดวิษุวัต (equinox) จุดที่แนวสุริยวิถีตัดกับเส้นศูนย์สูตรของโลกหรือเรียกว่าจุดราตรีเสมอภาค จุดราตรีเสมอภาคคือจุดที่ทำให้เวลากลางวันและกลางคืนมีระยะเวลา 12 ชั่วโมงเท่ากัน ซึ่งในปีหนึ่งนั้นจะมีเพียง 2 ระยะเท่านั้น ระยะแรกเรียกว่า วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) เกิดขึ้นประมาณวันที่ 20 - 21 มีนาคมของทุกปี และระยะที่สองคือ ศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) เกิดขึ้นประมาณวันที่ 22 - 23 กันยายนของทุกปี ที่มันมี ๒ จุดเพราะแกนโลกเอียงเมื่อหมุนตัดกับแนวสุริยวิถี(แนววงจรของดวงอาทิตย์)จึงเกิดจุดตัด ๒ จุด

2. ระบบนิรายนะ หรือ ระบบจักรราศีคงที่ (Sidereal Zodiac/ Fixed Zodiac) เป็นระบบที่เปลี่ยนราศีประมาณวันที่ 13-15 ของแต่ละเดือน มาจากการอ้างอิงจักรราศีกับกลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้า (Sidereal แปลว่าเกี่ยวกับดวงดาว) นั่นคือ เริ่มราศีเมษเมื่ออาทิตย์โคจรเข้ากลุ่มดาวฤกษ์ราศีเมษ ระบบนี้นิยมใช้ในโหราศาสตร์ฝั่งตะวันออก เช่น โหราศาสตร์อินเดีย โหราศาสตร์ไทย ฯลฯ โดยแนวคิดของนิรายนะนั้นจะนำ ค่าคงที่ที่เรียกว่า อายนางศ มาหักลบกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์ที่คำนวณได้ เพื่อให้ได้ตำแหน่งที่อยู่ในแนวจักรราศีเดิม จึงกำหนดจุดเริ่ม 0 องศาในราศีเมษที่ตำแหน่งเดิมตลอด ดาวฤกษ์ที่ใช้คือดาวดาวสไปกา ในจิตรานักษัตร (Chitra) ในราศีตุลย์ หรือทางดาราศาสตร์เรียกว่าดาวสไปกา (Spica) โดยจุดเริ่มต้น 0 องศาในราศีเมษนั้นอยู่ตรงข้ามกับดาวสไปกา

 

 

Ascendant horizon

 

 

ลัคนาคืออะไร

ที่นี้ก็มาว่าเรื่องของตัวลัคนาจริงๆว่าคืออะไร ลัคนาก็คือจุดตัดของเส้นรวิมรรคหรือเส้นสุริยะวิถีที่พระอาทิตย์โคจร (Ecliptic) และแกนขอบฟ้าของโลกทางทิศตะวันออกที่เรียกว่า Horizon ในขณะที่พระอาทิตย์กำลังขึ้นสู่ขอบฟ้า เช่นในเดือนเมษายน พระอาทิตย์ขึ้นที่จุดตัดที่ว่านี้ตรงกลุ่มดาวราศีเมษพอดีในตอนเช้า

ฉะนั้นคนที่เกิดในตอนเช้าสมมุติว่า เป็นเวลา 05.30-07.30 ขณะที่พระอาทิตย์ขึ้นก็จะกลายเป็นคนลัคนาราศีเมษ (ซึ่งคนเกิดช่วงเช้าตอนพระอาทิตย์ขึ้นนี้ลัคนาก็จะตรงกันกับแบบ Sun Sign ด้วยเหมือนกัน) แต่หากเกิดสายกว่านี้เช่นเป็นเวลา 08.00น.ในวันเดียวกัน จุดตัดที่ว่านี้และพระอาทิตย์ก็เคลื่อนออกมาตามเวลา ผ่านไปที่กลุ่มดาวราศีพฤษภ ดังนั้นคนที่เกิดวันเดียวกันนี้แต่เป็นเวลา 08.00 ก็กลายเป็นคนลัคนาราศีพฤษภไป  แล้วเราก็ไล่ไปตามลำดับราศีจนครบ 24 ชั่วโมง และจนครบ 12 ราศี ไล่ไปถึงกลางคืนจนถึงเช้าวันใหม่ เราก็จะเห็นว่าการหาลัคนาแบบนี้ใน 1วันก็จะมีครบทั้ง 12 ลัคนา ซึ่งเป็นแบบที่ถูกต้องและละเอียดแม่นยำกว่าแบบ SunSign ตามที่เราดูตามนิตยสารต่างๆ

ลัคนาจากภาพตัวอย่างด้านบนสุด  หมายถึงราศีที่โผล่ขึ้นเหนือขอบฟ้าทางทิศตะวันออก (Eastern Horizol) ณ เวลาที่เกิดและสถานที่เกิด  ตัวอย่างตามภาพด้านบนสุด เด็กคนหนึ่งถือกำเนิดในขณะที่พระอาทิตย์กำลังขึ้น ณ วันที่ 16 มกราคม 2563 เวลา 06.49 น. ณ กรุงเทพมหานคร

ขณะที่ วันที่ 16 มกราคม 2563  พระอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.49 น. ณ กรุงเทพมหานคร  ตำแหน่งอาทิตย์ 01.09 องศา ราศีมังกรตำแหน่งลัคนาก็คือ 01.09 องศา ราศีมังกร  **องศาลัคนาจะเท่ากับองศาอาทิตย์

ศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับโหรา-ดาราศาสตร์

Zenith ในทางดาราศาสตร์ จุดจอมฟ้า (จุดเหนือศีรษะ) คือจุดสูงสุดของท้องฟ้าที่อยู่ในแนวตั้งฉากกับพื้นโลก ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจุดจอมดิน เฉพาะในเขตร้อนเท่านั้น ที่จะมีช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่ที่จุดจอมฟ้า

Prime Meridian เส้นเมริเดียน  เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ สร้างขึ้นจากการสมมติเส้นเมริเดียนปฐม มีค่ามุม 100 องศา ลากผ่านไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ด้านละ 180 องศา โดยเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันออกและ 180 องศาตะวันตก จะทับกันเป็นเส้นเดียวนี้ให้เป็นเส้นวันที่หรือเส้นแบ่งเขตวันระหว่างชาติ หรือเส้นแบ่งเขตวันสากล เส้นเมริเดียนแรก หรือ เส้นเมริเดียนปฐม (Prime Meridian) คือเส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวแห่งหนึ่ง ตำบลกรีนิช ใกล้กรุงลอนดอนในประเทศอังกฤษทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักอ้างอิงในการนับเส้นเมริเดียนอื่น ๆ ต่อไป เส้นเมริเดียนรอบโลก มี 360 เส้น แบ่งเป็นเส้นองศาตะวันออก 180 เส้น และเส้นองศาตะวันตก 180 เส้น ความสำคัญของเส้นเมริเดียน คือ บอกพิกัดของตำแหน่งที่ตั้งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกโดยใช้ร่วมกันเส้นขนาน (เส้นละติจูด) และใช้เป็นแนวแบ่งเขตเวลาของโลก

Midheaven จุดอาทิตย์เที่ยงวัน ใช้ในทางโหราศาสตร์ถือเป็นจุดหรือภพสูงสุดในดวงชาตา  ส่งผลต่อดวงชาตาได้อย่างเต็มที่ บางทีก็เรียกว่า จุดจอมฟ้าทางโหราศาสตร์ หรือ เรียก ทศมลัคน์ หรือภพที่10 ในดวงชาตา

Ecliptic  สุริยวิถี หมายถึงเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า  เกิดจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี โดยที่แกนของโลกเอียง 23.5° จากแนวตั้งฉากกับระนาบวงโคจร

Horizon ขอบฟ้า, เส้นขอบฟ้า

Ascendant ลัคนา แสดงตัวตนของเจ้าชาตา

Descendant จุดอาทิตย์อัสดง ตรงข้ามกับลัคนา

IC จุดอาทิตย์เที่ยงคืน (Imum Coeli)

Nadir ในทางดาราศาสตร์ จุดจอมดิน (จุดใต้เท้า) คือจุดที่อยู่ตรงข้ามกับจุดจอมฟ้า ซึ่งอยู่ในทิศทางลงตั้งฉากกับพื้นโลก

Prime Vertical Circle วงกลมดิ่งเอก หรือวงกลมที่ตั้งฉากกับเมริเดียนท้องฟ้า

Vertex ,Anti-Vertex จุดเวอร์เทคซ์เพิ่มเริ่มมีความสำคัญในทางโหราศาสตร์มากขึ้นเมื่อประมาณปี 2524  โดยนักโหราศาสตร์ชื่อ Charles Jayne  ได้ค้นคว้าจุดเวอร์เทคซ์ในฐานะจุดเจ้าชะตาอย่างเอาจริงเอาจัง ได้เผยแพร่แก่นักโหราศาสตร์ทั่วโลกต่อผลการค้นคว้าที่ได้รับทำให้การพิจารณาดวงละเอียดยิ่งขึ้น

                    จุดเวอร์เทคซ์และจุดแอนตี้เวอร์เทคซ์(อยู่ตรงกันข้ามกัน)   เป็นจุดอิทธิพลในดวงที่บ่งบอกถึงมิติที่สามของดวงนั้นๆ  (มิติที่หนึ่งและมิติที่สอง คือแกนลัคนาและแกนเมอริเดี่ยน)  เป็นแกนบอกความเข้าใจในส่วนลึกของดวงกำเนิด  แกนลัคนาบอก เหนือ ใต้ เส้นศูนย์สูตร เส้นขอบฟ้า ตามเส้นรุ้ง  และแกนเมอริเดี่ยนบอก ตามเส้นแวง  และแกนเวอร์เทคซ์บอกส่วน ขึ้น  บน  ลง  ล่าง  ทำให้นักโหราศาสตร์พิจารณาดวงได้เป็นสามมิติมากกว่าแต่ก่อน