Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

TriYang 2ตรียางค์ ในโหราศาสตร์พระเวท คืออะไร ใช้อย่างไร ตอนที่ 2

นักโหราศาสตร์พระเวท ส่วนใหญ่มักใช้แผนภูมิตรียางค์จักร ระบบ ปะราศะระ เทรษกาณะ  पराशर द्रेष्काण เนื่องจากสามารถอธิบายเกี่ยวกับชะตาชีวิตในอีกด้านหนึ่งที่ถูกซ่อนเร้นอยู่ ที่ไม่สามารถหาได้จาก ราศีจักร หรือ นวางค์จักร

ปฐมตรียางค์ ซึ่งมีระยะ 10° แรกในราศีใดใด ก็จะเป็นดาวเคราะห์เกษตรของราศีนั้น ครองปฐมตรียางค์ในราศีนั้นๆ เช่น ราศีเมษ ดาวเกษตรของราศีเมษคือดาวอังคาร ดังนั้นปฐมตรียางค์ในราศีเมษ จึงเป็น ดาวอังคาร

ทุติยะตรียางค์ ซึ่งมีระยะ 10° ในกลางราศีใดใด ก็จะเป็นดาวเคราะห์เกษตรของราศีที่ 5 (ตรีโกณ)จากราศีนั้นๆ ครองทุติยะตรียางค์ในราศีนั้นๆ เช่น ราศีเมษ ดาวเกษตรของราศีเมษคือดาวอังคาร ราศีที่ 5 จากเมษคือราศีสิงห์ ดังนั้นดาวอาทิตย์เกษตรเจ้าราศีสิงห์ จึงครองทุติยะตรียางค์ในราศีเมษ

ตติยะตรียางค์ ซึ่งมีระยะ 10° สุดท้ายในราศีใดใด ก็จะเป็นดาวเคราะห์เกษตรของราศีที่ 9 (ตรีโกณ)จากราศีนั้นๆ ครองตติยะตรียางค์ในราศีนั้นๆ เช่น ราศีเมษ ดาวเกษตรของราศีเมษคือดาวอังคาร ราศีที่ 9 จากเมษคือราศีธนู ดังนั้นดาวพฤหัสเกษตรเจ้าราศีธนู จึงครองตติยะตรียางค์ในราศีเมษ

**หมายเหตุ-ในโหราศาสตร์พระเวทบางระบบ กำหนดให้ ตติยะตรียางค์ เป็น ดาวเกษตรของราศีที่ 10 จากราศีนั้นๆ  

โดยมหาฤๅษีปะราสาระได้กำหนดให้ฤๅษีสามตนให้เป็นเจ้าแห่งทเรกกะนะ(ตรียางค์)ทั้งสามของแต่ละราศี โดยมี (1) ฤษีนาระทะ नारद (ฤษีนารอด) ครองปฐมตรียางค์ (2) ฤษีอะคัสตยะ अगस्त्य  ครองปฐมทุติยะยางค์ (3) ฤษีทุรวาสา दुर्वासा ครองตะติยะตรียางค์

สำหรับตรียางค์หรือ เทรษกาณะ ลำดับที่ 1, 2 และ 3 นี้จะถูกปกครองโดยฤษี 3 ตน ตามลำดับ ซึ่งหมายถึงลักษณะต่างๆ ของจิต วิญญาณ สมอง ประสาทสัมผัสและธาตุทั้ง 5 ดังนี้:-

ฤษีนาระทะ มุนี नारद (ฤษีนารอด) ผู้มีชื่อเสียงในด้านความภักดีที่ไม่สั่นคลอน เป็นตัวแทนของอาตมันหรือจิตวิญญาณ ตรียางค์นี้กล่าวถึงแนวคิดจิตวิญญาณทางโลกและวิบากกรรมของมนุษย์ รวมถึงความสัมพันธ์กับพี่น้องของเจ้าชะตาเป็นตัวแทนของอาตมันหรือจิตวิญญาณ  

ฤษีอะคัสตยะ มุนี अगस्त्य มีชื่อเสียงในด้านผู้รอบรู้สภาวะแห่งจิตใจ ได้ถูกกล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจในหลาย ๆ แห่งในคัมภีร์พระเวท  ซึ่งสะท้อนถึงคุณลักษณะทางจิตวิทยาและสภาพจิตใจของเจ้าชะตา

ฤษีทุรวาสา มุนี  दुर्वासा มีชื่อเสียงจากความพยายาม ในการควบคุมประสาทสัมผัสของตนเอง ดังนั้น จึงเป็นตัวแทนของอินทริยะหรือประสาทสัมผัส และความเชี่ยวชาญในการควบคุมสิ่งเร้าทั้ง 5 ประการ ตรียางค์นี้เป็นตัวแทนของตัวรับอำนาจทั้ง 5 ประการของเจ้าชะตาผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5

**หมายเหตุ ในตรียางค์บางระบบ เช่น ในปรัศนศาสตร์* ได้จัดตำแหน่งปกครองของฤษีต่างๆ สลับกันไปดังนี้

จรราศี: ราศีเมษ ราศีกรกฎ ราศีตุลย์ และราศีมังกร – ปฐมตรียางค์-ฤษีนาระทะ ,ทุติยะตรียางต์-ฤษีอะคัสตยะ,ตติยะตรียางค์- ฤษีทุรวาสา

สถิรราศี: ราศีพฤษภ ราศีสิงห์ ราศีพิจิก และราศีกุมภ์ –ปฐมตรียางค์-ฤษีอะคัสตยะ ,ทุติยะตรียางต์-ฤษีทุรวาสา,ตติยะตรียางค์-ฤษีนาระทะ

ทวิภาวะราศี: ราศีเมถุน ราศีกันย์ ราศีธนู และราศีมีน –ปฐมตรียางค์-ฤษีทุรวาสา ,ทุติยะตรียางต์-ฤษีนาระทะ,ตติยะตรียางค์-ฤษีอะคัสตยะ

ดังนั้นเราจึงอาจกล่าวได้ว่าตรียางค์ทั้งสาม เป็นสัญลักษณ์ของ(1) the soul จิตวิญญาณ (2) the mindจิตใจ และ(3) the senses ประสาทสัมผัส

********************************************************************