Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

ที่มาของฤกษ์

คำว่าฤกษ์ส่วนมากจะสับสนกันมากว่าอันไหนเป็นฤกษ์สำหรับตัวเราและอันไหน เป็นฤกษ์สำหรับประกอบกิจกรรมที่เราต้องการจะเริ่มต้นใหม่เพื่อให้เกิดสวัด ิมงคล ตามหลักโหรพรามณ์(โหรภารตะ) และหลักโหราศาสตร์ไทยชั้นสูงส่วนมากก็มีหลักการคล้ายๆกัน แทบจะเรียกว่าเป็นระบบแบบแผนเดียวกัน  ซึ่งฤกษ์ในที่นี้ก็คือการคำนวนตามหลักดาราศาสตร์โดยอ้างอิงการโคจรของพระ จันทร์ที่โคจรไปรอบจักรราศีทั้ง 12 ราศี ซึ่งก็มีประวัติสืบทอดยาวนานมากว่า 5000 ปีมาแล้ว ซึ่งในราศีทั้ง 12 ราศีนี้ก็จะมีกลุ่มดาวฤกษ์ (Fixed Star) ที่สถิตย์อยู่คงที่  เรียงรายล้อมจักรราศีชั้นนอกเป็นรัศมี 360 องศาตามจักราศี  โดยโหราศาสตร์ระบบดั้งเดิมของอินเดีย ใช้ระบบ 28 นักษัตร (เหมือนของจีน) ต่อมาในยุคหลัง(ก็ประมาณพันกว่าปีมาแล้ว)โหราศาตร์อินเดียได้มีการปรับปรุง ลดลงให้คงไว้เพียง 27 กลุ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวนโดยระบบคณิตศาสตร์ระยะเชิงมุม(ตรีโกณมิติ) ซึ่งกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ ก็ได้จัดเรียงและกำหนดชื่อไว้ดังนี้

๑. อัศวินี, อัสสนี (ดาวม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุ ช) มี ๗ ดวง

๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง

๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง

๔. โรหิณี (ดาวพราหมีดาว ปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง

๕. มฤคศิร, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่าดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะ เนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง

๖. อารทรา, อทระ (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสําเภา) มี ๑ ดวง

๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสําเภา ดาวสําเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง

๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา หรือ ดาวสิธยะ) มี ๕ ดวง

๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕ ดวง

๑๐. มฆ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง

๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาว งูเมีย) มี ๒ ดวง

๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัว ตัวเมีย) มี ๒ ดวง

๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง) มี ๕ ดวง

๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ) มี ๑ ดวง

๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม) มี ๕ ดวง

๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕ ดวง

๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจําฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี ๔ ดวง

๑๘. เชฏฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง

๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙ ดวง

๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ,บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาว ราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง

๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ (ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง

๒๒. ศรวณะ, ศระวณ, สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง

๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา (ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี หรือ ดาวไซ) มี ๔ ดวง

๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ (ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง

๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ (ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง

๒๖. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า) มี ๒ดวง

๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง. (ส.; ป. นกฺขตฺต).

ทั้งหมดนี้เรียกว่ากลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง27 กลุ่ม ซึ่งเป็นหลักที่เราจะนำมาคำนวนพลังของกลุ่มดาวฤกษ์ว่ามีอิทธิพลดีร้ายต่อดวง ชาตาอย่างไร ที่นี้ก็มาดูว่ากลุ่มดาวฤกษ์ที่มี 27 กลุ่มนั้นก็ได้ถูกแบ่งย่อยตามอิทธิพลของดวงดาวออกมาเป็น 3 กลุ่มใหญ่กลุ่มละ 9 ดาวฤกษ์แต่มี 9 ชนิดหรือลักษณะ(อิทธิพล) ที่เราเรียกว่าฤกษ์จริงๆก็คือตรงนี้ โดยอิทธิพลของกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 9 ชนิดนั้นก็มีชื่อเรียกและความหมายดังนี้

  1. ทลิทโทฤกษ์ แปลว่า ผู้ขอ ขอทาน คนมักน้อย คนใจดีมีเมตตา
  2. มหัทธโณฤกษ์ แปลว่า คนมีทรัพย์ เศรษฐี
  3. โจโรฤกษ์ แปลว่าโจร ขโมย การต้อสู้แย่งชิง
  4. ภูมิปาโลฤกษ์ แปลว่า ผู้รักษาแผ่นดิน
  5. เทศาตรีฤกษ์ แปลว่า สามแผ่นดิน คนต่างถิ่น หญิงแพศยา (เวสิโย)
  6. เทวีฤกษ์ แปลว่า นางพญา งามสง่า มีเสน่ห์ ราชินี
  7. เพชฌฆาตฤกษ์ แปลว่า ผู้ฆ่า เพชฌฆาต
  8. ราชาฤกษ์ แปลว่า พระราชา ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
  9. สมโณฤกษ์ แปลว่า ผู้รักสงบ นักพรต นักบวช ฤาษี

เมื่อรู้คำแปลแล้วก็อย่าตกใจ เพราะนั่นเป็นเพียงชื่อเรียกขานเท่านั้น ฤกษ์บางฤกษ์ก็มีความเหมาะสมกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ  ชื่อฤกษ์ก็เพียงชื่อ เช่นเพชฌฆาตฤกษ์ก็เหมาะสำหรับการปลุกเสก อาคมของขลัง ตัดลูกนิมิต ผูกพัทธสีมา ฯลฯ ไม่ใช่เอาไว้ไปฆ่าใคร เพราะเพฆฌฆาตจริงๆแล้วแปลว่า”ผู้ตัด” อาจจะจะไปตัดอะไรก็ได้จะไปตัดหัวคนหรือตัดกิเลสก็ได้ทั้งนั้น

 

 

 

ส่วนเทศาตรี แปลว่าหญิงแพศยาก็เหมาะสำหรับเปิดร้านค้า ขายอาหารของกินของใช้ โรงมหสพ ให้คนเข้าไปใช้บริการมากๆแบบไม่เลือกชั้นวรรรณะ ยากดีมีจน คนชั่วคนดี เข้าไปได้หมด เปรียบเหมือนหญิงแพศยาที่คบกับใครไม่เลือกหน้า อะไรประมาณนั้น

อย่างไรก็ตามทางโหรก็มีกฏเกณฑ์ที่พอจะบอกได้ว่า ฤกษ์ทั้ง 9 ชนิดนี้ ฤกษ์ไหนดีฤกษ์ไหนชั่วเป็นเบื้องต้นก่อน (คำว่า”ฤกษ์ชั่ว”เป็นภาษาโหรนะครับแปลว่าไม่ดี) โดยกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 27 กลุ่มนี้ก็ได้ถูกจักรราศีทั้ง 12 ราศีครอบทับอีกที โดยจักรราศีมีลักษณะเป็นวงกลม มี 360 องศา และในจักรราศีก็มี 12 ราศี ๆละ 30องศา โดยมีหลักการคำนวน ดังนี้

12 ราศี = 360 องศา
1 ราศี = 30 องศา
1 องศา = 60 ลิปดา
1 ลิปดา = 60 ฟิลิปดา

ส่วน 27 กลุ่มดาวฤกษ์มีระยะหรือาณาเขตคาบเกี่ยวกันกับอาณาเขตของราศี มีหลักการคำนวนดังนี้

27 ฤกษ์ = 360 องศา
หรือ 1 ฤกษ์ = 360/27 = 40/3 องศา
= 40x60/3 ลิปดา = 800 ลิปดา

เพื่อเป็นการสะดวกในการคำนวนระหว่างตัวร่วมของเขตของราศีกับขอบเขตของ กลุ่มดาวฤกษ์ในจักราศี ก็เลยมีการค้นคิด นว-อัมศะ (แปลว่า 9 ส่วน) หรือเรียกว่า”นวางศ์”มาประกอบ โดยในจักราศีทั้ง 360 องศานี้แบ่งเป็น 108 นวางค์

ฉะนั้น 1 นวางค์ = 30/9 องศา = 30x60/9 ลิปดา = 200 ลิปดา
1 ราศี = 9 นวางค์
1 ฤกษ์ = 4 นวางค์

เมื่อเรารู้แล้วว่าใน1ราศีมี 30 องศา และมี 9 นวางศ์ เราเรียกชื่อตามลำดับว่า ปฐมนวางศ, ทุติยนวางศ, ตติยนวางศ, จตุตถนวางศ, ปัญจมนวางศ, ฉัฏฐมนวางศ, สัตตมนวางศ, อัฏฐมนวางศ และ นวมนวางศ ตามลำดับ จริงๆก็แปลว่า นวางศลูกที่ 1,2,3-9

และก็มีการแบ่ง1ราศีออกเป็นสามส่วนละ 10 องศาเรียกว่าตรียางค์ โดยรวมเอาทุกๆ 3 นวางค์ เป็น 1 ตรียางค์ และได้มีการกำหนดชื่อเรียกแต่ละ ตรียางค์ภายในราศีว่า ปฐมตรียางค์, ทุติยตรียางค์, ตติยตรียางค์ ตามลำดับ

ส่วนฤกษ์ทั้ง 27 ดาวฤกษ์ ก็แบ่งส่วนเป็น 1 ฤกษ์ ซึ่งมี 4 นวางค์ ได้มีการกำหนดชื่อเรียกแต่ละ นวางค์ภายในฤกษ์ ว่า ปฐมบาท, ทุติยบาท, ตติยบาท และ จตุตถบาท ตามลำดับ

ภาพ-การคำนวนดวงชาตาโดยใช้ระบบโหราศาสตร์ไทยโดยโปรแกรมของอ.พลังวัชร์

เมื่อรู้จักราศีและนวางศ์และขอบเขตของมันแล้วก็นำมาเรียงกันให้ครบ 360 องศาเป็นวงกลม

ทีนี้กลับมาที่ฤกษ์ดี-ชั่วกันต่อ

เมื่อเรียงลำดับทั้ง 27 ฤกษ์ครบทั้งจักราศีแล้วเราก็มาดูว่าฤกษ์ที่มี 4บาท (มี4ขา) ขาไหนคาบเกี่ยวกับไปราศีข้างหน้าหรือฤกษ์ไหนมีขาไปเกี่ยวกับราศีหลัง และฤกษ์ไหนอยู่ในราศีครบทั้งสี่บาท(สี่ขา) ภาษาโหรเรียกว่าฤกษ์คาบเกี่ยวอดีตไปกี่บาท ไปอนาคตกี่บาท ที่นี้ก็มีชื่อเรียกดังนี้

ก.บูรณฤกษ์ คือฤกษ์ที่นวางค์ทั้งสี่ลูกอาศัยในราศีใดราศีหนึ่ง ไม่คร่อมสองราศี เรียกว่าฤกษ์ดี สมบูรณ์พร้อม บริสุทธิ์

ข. ฉินทฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่ลูกนวางค์ทั้งสี่อยู่คร่อม ทั้งสองราศีซึ่งมีคือ เอกตรีนิคือฤกษ์ที่นวางค์ลูกแรกอยู่ราศีหนึ่ง อีกสามลูกไปอยู่ในราศีถัดไป ตรีนิเอก กลับกันกับเอกตรีนิคือฤกษ์ที่นวางค์สาม ลูกแรกอยู่ราศีที่หนึ่ง แต่นวางค์ลูกสุดท้ายไปอยู่ราศีถัดไปเรียกว่าฤกษ์ชั่ว

ค. ภิณทฤกษ์หรือฤกษ์อกแตก ฤกษ์นี้นวางค์สี่ ลูกของฤกษ์แบ่งครึ่งอยู่คนละราศี เรียกว่าฤกษ์ชั่ว(มาก)

แล้วก็มาดูว่าฤกษ์ทั้ง 27 กลุ่มๆไหนตรงกับกฏเกณฑ์ 3ข้อที่ว่านี้ก็ ตัดสินได้ว่ากลุ่มฤกษ์ไหนดี-ชั่ว

เมื่อเราแบ่งฤกษ์ได้แล้ว รู้ว่าอันไหนดีชั่วแล้วก็มาดูชื่อที่เราใช้เรียกกันตามลำดับ ก็คือ ทลิทโท มหัธโณ ฯลฯ แล้วก็เรียงไปให้ครบ 9 ชื่อ 9ดาวฤกษ์ แล้วก็ซ้ำอีก 2 ครั้งตามกลุ่ม ที่แบ่งซึ่งทุกกลุ่ม(1กลุ่มมี 9 กลุ่มดาวฤกษ์) ก็จะมีฤกษ์ ทลิทโท มหัธโณ โจโร ฯลฯ เหมือนกัน

เมื่อได้ชื่อดาวฤกษ์ ราศี บาทฤกษ์ ชื่อฤกษ์ เราก็จะพบว่าฤกษ์ดีชั่วมีผลออกมาดังนี้

ฤกษ์ดี หรือ ฤกษ์บริสุทธิ์ (บูรณะฤกษ์) ได้แก่ ทลิทโท มหัทธโน ภูมิปาโล เทวี ราชา สมโณ
ฤกษ์ไม่ดี หรือ ฤกษ์แตก (ฉินทฤกษ์ ภิณทฤกษ์) ได้แก่ โจโร เทศาตรี เพชฌฆาต

นี่เรียกว่าฤกษ์บน (ท้องฟ้า) สำหรับดูความเป็นพลังศุภมงคลจากฟากฟ้า ตามที่เรามักเห็นทั่วไปตามปฎิทินโหรนั่นแหละครับ ว่าวันนี้เป็นวันดี ฯลฯ ตามฤกษ์อะไรเป็นต้น --แต่--- ฤกษ์ยามที่เราจะใช้สำหรับประกอบกิจกรรมที่เป็นมงคลเฉพาะตัวของเรา ไม่ใช่ใช้ฤกษ์บนอย่างเดียวนะครับ เพราะต้องใช้ดวงชาตากำเนิดเรามาเทียบกับฤกษ์บนว่าสัมพันธ์กันหรือไม่ อันนี้เรียกว่า"ฤกษ์ล่าง" ซึ่งหลายๆคนมักไม่รู้ เดี๋ยวมาเล่าต่อครับ....