ฤกษ์ยามคืออะไร
ฤกษ์ยามเป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนรู้จักมักคุ้นกันมานาน แต่ฤกษ์ยามก็มีหลายระดับชั้น มีการใช้ตำรากันผิดแผกแตต่างกันมากมาย แต่สิ่งที่ผมจะเขียนบอกเล่าในวันนี้ก็คือ ฤกษ์ยามในแบบของโหรจริงๆ นั่นก็คือแบบโหรหลวงใช้กันนั่นแหละครับ
ฤกษ์ยามแบบนี้ในสมัยโบราณถือว่าเป็นฤกษ์ยามชั้นสูง คนสามัญทั่วไปจะใช้กันไม่ได้ จะใช้ได้ก็แต่เจ้าพระมาหกษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงเท่านั้น เพราะว่ากันว่าในสมัยก่อนกว่าจะคำนวนดวงดาวได้ก็ตั้งใช้เวลากันเป็นวันๆแถมการคำนวนและการศึกษาวิชาโหราศาสตร์ชั้นสูงนี้ก็แทบจะคนเล่าเรียนได้ยากนัก จะมีก็แต่โหรในวังหรือก็พระภิกษุผู้ทรงแตกฉานในคัมภีร์โบราณ เช่นสุริยาตร์ สารัม เท่านั้น ชาวบ้านทั่วไปแทบจะไม่มีสิทธิใช้ฤกษ์แบบนี้กันได้เลย แต่ชาวบ้านก็มีแต่ฤกษ์ทั่วๆไปแบบชาวบ้านๆเช่น ยามอุบากอง วันและดิถีตามแบบกาลโยคประจำปี ว่าวันไหนดีไม่ดี เป็นต้น ในยุคนี้เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนยี การคำนวนดวงดาวหรือโหราศาสตร์ภาคคำนวนนั้นทำได้ง่ายดายกว่าเดิมมาก เพียงแค่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวเท่านั้น องศาลิปดา ของดาวต่างๆ ก็จะปรากฏออกมาให้เห็นและคำนวนกันได้อย่างง่ายดาย ทำให้หมดปัญหาในเรื่องของการคำนวนออกไปได้
ส่วนโหราศาสตร์ในภาคพยากรณ์นั้น ก็มีตำหรับตำราออกมามากมายเรียนกันไม่หวาดไม่ไหวกันเลยที่เดียว แต่ในส่วนของฤกษ์ที่ผมใช้นั้นก็คือมาจากหลักครูโหรไทยโบราณ ผสมผสานกับหลักโหราศาสตร์แบบพระเวทย์หรือโหราภารตะซึ่งก็เป็นหลักครูของโหรไทยอีกที
หลักเกณฑ์ของการหาฤกษ์แบบนี้ เรียกว่าชั้นครูเลยที่เดียว หากใครศึกษาโหราศาสตร์ (ต้องเป็นวิชาโหราศาสตร์ระบบดวงดาวเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่วิชาหมอดูทำนายทั่วๆไป) ก้ต้องเรียกว่าช่ำชองกันมานานนับสิบปีที่เดียวจึงจะให้ฤกษ์ยามใครต่อใครเอาไปใช้ได้ เพราะวิชาหาฤกษ์ยามนั้นจัดว่าเป็นสุดยอดของวิชาโหรแท้ๆ เป็นวิชาโหราศาสตร์ขั้นสูงซึ่งศึกษาร่ำเรียนกันยากมากๆ แต่เดี๋ยวนี้ผมเห็นหลายคนเพิ่งจะหัดเรียนโหรหรือเรียนหมอดู เรียนไปมาสองสามเดือนก็ตั้งตนเป็นอาจารย์ดูดวงให้ฤกษ์กันแล้ว ซึ่งก็น่าหวาดเสียวกันพอดู
วิชาฤกษ์นั้น เป็นหลักสำคัญในการแก้ไขดวงชาตาหลักหนึ่งซึ่งสำคัญมาก เพราะด้วยฤกษ์ยามที่จะกระทำการมงคลหรือเริ่มกิจการอันใดอันหนึ่งนั้นให้เจริญเติบโต รุ่งเรืองไปได้ตลอดรอดฝั่งนั้นจำเป้นจะต้องใช้ดวงชาตาของเจ้าการ (ที่ต้องทำการนั้น) ผสมผสานกับฤกษ์ที่อยู่บนฟ้าให้เหมาะสมลงตัว โดยดวงฤกษ์ได้ไปทำการแก้ไขจุดเสียในดวงชาตาดวงเดิมของเจ้าการอีกทั้งได้ส่งเสริมให้คุณแก่ดวงเดิมของเจ้าการนั้นๆ ให้ประกอบกิจการเจริญก้าวหน้าได้อย่างมั่นคง ซึ่งถ้าหากดวงเดิมของเจ้าการไม่ดีหรือมีจุดเสียแล้ว ดวงฤกษ์นี่แหละที่จะช่วยปัดเป่าอุปสรรคหรือช่วยแก้ไขปัญหาใดใดไปได้โดยง่าย แต่หากดวงเดิมมีคุณหนุนนำแล้ว การใดฤกษ์ยามที่ดีก็จะช่วยส่งเสริมให้ไปได้ดียิ่งๆขึ้น
อีบุ๊คแจกฟรี สอนวิธีการคำนวนฤกษ์ยามชั้นสูงอย่างละเอียด
free ปฏิทินฤกษ์มงคล ฤกษ์ยาม 3 ระบบ ไทย จีน ฮินดู ปี 2557 |
|
|
||
free วิธีการให้ฤกษ์ยามชั้นสูง คู่มือใช้ปฏิทินฤกษ์มงคล ฤกษ์ยาม 3 ระบบ ไทย จีน ฮินดู |
|
วิชาฤกษ์นั้นเป็นวิชาที่ว่าด้วย กาลและเวลาที่เหมาะสมสำหรับกระทำการอย่างใดอย่างที่ที่เราสามารถจะหวังผลตามที่เราปรารถนาได้ โดยใช้กฏเกณฑ์ของวิชาโหราศาสตร์ที่ตกทอดสืบต่อมานับพันๆปี มาแล้วและยังใช้ได้ผลดีเยี่ยมแม้ในปัจจุบัน
แต่ปัจจุบันคนทั่วไปมักเข้าใจผิดคิดเอาเองว่า วันนี้ดีวันนั้นดี เช่นว่า วันที่ 9 เป็นวันดี วันพฤหัสบดีเป็นวันดี หรือเวลา เช่น 09.09 นาทีเป็นฤกษ์ยามงามดีเป็นต้น ซึ่งผิดกับหลักการของฤกษ์ยามกันไปมากมายมายอย่างยิ่ง และวันดังกล่าวที่เคยเชื่อหรือยึดถือนั้น ไม่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวิชาโหราศาสตร์แต่อย่างใด และก็ไม่สามารถเชื่อถือหรือรับประกันได้ว่าวันนั้นวันนี้จะดีไปได้ตามที่เราปรารถนา หรือความเชื่อแบบหมดดูชาวบ้าน เช่นบอกว่าเกิดวันอังคารแล้วจะต้องทำการมงคลวันศุกร์เท่านั้นเพราะเป็นคู่มิตรกัน นี่ก้ไม่ใช่ฤกษ์อีกเช่นกัน หรือใช้ฤกษ์ระบบอื่นมาปนเปกัน เช่น ปีนี้เป็นปีชง ห้ามคนเกิดลัคนาราศีเมษแต่งงาน นี่ก็ไม่ใช่ฤกษ์ หรือวันนี้เป็นวันดีเป็นวันอธิบดี วันธงชัย สามารถทำการมงคลได้ทุกชนิด นี่ก็ไม่ใช่ฤกษ์อีกเช่นกัน
ส่วนอีกอย่างหนึ่ง บางคนก็เชื่อถือฤกษ์ยามกันเหมือนกัน แต่ก็กลับไปยึดเอาเฉพาะฤกษ์บน หรือฤกษ์งามยามดีของปฎิทินทั่วไปๆ ระบุว่าวันนี้ดีเป็นมงคล วันนี้เป็นวันอธิบดี วันธงชัย ฯลฯ แล้วก็ยึดถือเอาตามนั้น และเริ่มประกอบกิจการไปตามฤกษ์นั้นๆตาปฎิทิน ซึ่งก็ไม่ถูกต้องอีกเช่นกัน
ฤกษ์จริงๆนั้นก็คือการนำฤกษ์บน ตามที่เราเห็นในปฎิทินนั่นแหละว่าวันนี้เป็นฤกษ์ดี เป็นมงคล แล้วนำผมผสมผสานกับดวงชาตาของเรา (ฤกษ์ล่าง) ว่าเข้ากันได้ไหม ตามหลักโหราศาสตร์ ซึ่งก็ไม่แน่ว่า ฤกษ์ดีตามปฎิทินที่ว่าดีนั้นแต่เมื่อเอาดวงชาตาเราไปผสมแล้วกลับกลายปรากฏว่าเป็นฤกษ์ร้ายสำหรับเราก็เป็นไปได้บ่อยๆ เห็นกันได้แบบชาชินกันทั่วๆไป
ส่วนฤกษ์ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกก็คือ ดวงฤกษ์ที่เราต้องการนั้นเราจะเอาไปทำอะไร เช่นว่า แต่งงาน ออกรถ ขึ้นบ้านใหม่ ลาสิกขาบท ฯลฯ ซึ่งก็ได้มีกฏเกณฑ์เฉพาะเป็นเรื่องๆไป จำอาแบบสุกเอาเผากินไม่ได้เลยเป็นอันขาด โดยเฉพาะเรื่องฤกษ์นี่ ถือว่าให้คุณให้โทษกันได้แบบเห็นจะจะมีการวัดผลกันมานานถึง 6000ปีมาแล้ว (เฉพาะของโหราศาสต์ภารตะ)
ตัวโหราผู้ให้ฤกษ์เองก็มีตัวบทกฏเกณฑ์และหลักครู ท่านกำหนดให้มาอยู่แล้ว ว่าต้องใช้กฏเกณฑ์แบบไหน ในเรื่องอะไร และหากกระทำการให้ฤกษ์โดยเจตนาร้ายแก่ผู้อื่น ก็ต้องโดนครูอาจารย์ท่านสาปแช่นกันแบบไม่ได้ผุดได้เกิดกันเลยทีเดียว
ฉะนั้นเรี่องฤกษ์ยามโหรทั้งหลายจึงได้กลัวกันนักกันหนา บางคนเรียนโหรมานานนับสิบๆปีแต่ไม่กล้าให้ฤกษ์ยาม ก็เพราะกลัวว่าถ้าหากผิดพลาดผลั้งเผลอไปก็จะเป็นโทษแก่ตนเอง ไม่เหมือนการพยากรณ์ดวงชาตาหากผิดพลาดผลั้งเผลอก็ยังจะพอทำเนา ฉะนั้นผู้ให้ฤกษ์จะต้องมีคุณธรรมเป็นหลักใหญ่ จะเห็นแก่อามิสสินจ้างใดใดไม่ได้เลย และผู้ที่ให้ฤกษ์ยามได้ก็ต้องศึกษาวิชาโหราศาสตร์มาไม่น้อยกว่า 10 ปีจึงพอที่ให้ฤกษ์ให้ยามกันได้
และที่ต้องระวังก็คือการใช้ฤกษ์ที่ได้มาจาก...
1."บุคคลที่ไม่มีความรู้ทางวิชาโหราศาสตร์" และไม่มีประสบการณ์เพียงพอ แต่รู้วิชาหมอดูซึ่ง ผู้ที่จะให้ฤกษ์ยามระบบนี้กันได้มีเฉพาะผู้ที่ศึกษาวิชาโหราศาสตร์ไทยและ/หรือโหราศาสตร์ภารตะอินเดียเท่านั้น เพราะวิชานี้มีประสบการณ์การสืบทอดมามากกว่า 6000 ปี มีการตรวจสอบสอบทานหลักวิชามาโดยตลอด
ส่วนวิชาโหราศาสตร์สากล หรือโหรตะวันตก อันนี้ผมก็ไม่รับรอง แต่อาจจะให้วันดีวันมงคลที่สมพงษ์แก่เจ้าชะตาได้บ้าง แต่ก็ไม่มีหลักวิชาที่ให้ฤกษ์ที่เป็นระบบ
วิชาโหราศาสตร์ยูเรเนียน อันนี้มีประวิติเพิ่งเกิดมาเพียง 100 กว่าปี ปูมโหรที่บันทึกไว้ไม่เพียงพอไม่น่าจะสามารถให้ฤกษ์ยามได้ แต่อาจจะให้วันดีวันมงคลที่สมพงษ์กับเจ้าชะตาได้บ้างแต่ไม่มีใครยืนยันได้ว่าถูกต้องเพราะมีปูมโหรเพียง100 ปี แต่โหราศาสตร์ภารตะมีมานานกว่า 6000 ปี
โหราศาสตร์จีนที่ให้ฤกษ์ยามได้ดีเทียบเท่ากับโหราศาสตร์ไทยนั้นก็คือ"หลักวิชาชีเจิ้งซื้ออวี"七政四餘 หรือกว๋อเล่าซิงจง ﹐果老星宗เท่านั้น ที่มีการคำนวนด้วยระบบดาราศาสตร์และ ระบบ 28 นักษัตรและใช้คัมภีร์แม่บทของอินเดียโบราณผสมผสานกับหลักวิชาของลัทธิเต๋า ซึ่งในเมืองไทยไม่มีใครได้รับการสืบทอดวิชานี้หรืออาจจะมีบ้างแต่ไม่ได้เผยแพร่กันอย่างแพร่หลาย เหมือนโป๊ยยี่
ส่วนวิชาโป๊ยยี่สี่เถียวก็จะเทียบเท่าวิชาเลข7ตัว9ฐานของไทย ความละเอียดในเรื่องการให้ฤกษ์ยามก็จะลดหลั่นกันลงไป
ส่วนวิชาหมอดูวิชาอื่นๆก็อาจให้วันดีและวันมงคลได้เท่านั้น "แต่ไม่สามารถให้ฤกษ์ยามได้ หรือวันที่สมพงษ์กับดวงชาตาใดใดได้"
2.ร่างทรงต่างๆ อ้างว่ารู้ฤกษ์ยามได้จากญาณทิพย์ อันนี้ตรวจสอบได้ยาก และส่วนมากก็ไม่ถูกต้อง
3.ปฎิทินแขวนที่จำหน่ายหรือแจกในท้องตลาดแล้วมีบรรยายว่าวันนี้ดีวันนั้นไม่ดี หรือวันนี้วันธงไชย ฯลฯ อันนี้ก็หยาบมากเกินไป และก็ใช้เป็นหลักในการคำนวนฤกษ์ยามไม่ได้ และไม่สามารถคำนวนว่าสมพงษ์กับเจ้าชาตาหรือไม่ อีกทั้งคำนวนด้วยดิถีตลาดทำให้คลาดเคลื่อนกับความเป็นจริงทางดาราศาสตร์
4.ปฎิทินโหราศาสตร์ไทยประจำปี อันนี้ก็ต้องดูให้ละเอียดมีหลายเจ้า หลายสำนัก เพราะโหรบ้านเราคำนวนกันคนละระบบปฎิทิน มีความแตกต่างคลาดเคลื่อนกันเป็นจำนวนมาก และคำนวนไม่ตรงกับความเป็นจริงทางดาราศาสตร์บนท้องฟ้า ผิดฤกษ์ ผิดดิถี ฯลฯ ก็เห็นกันบ่อยๆ บางปีทำเอาเสียกันทั้งระบบ คำนวนวันเข้าพรรษาผิดไป 1 วันทำเอาพระสงฆ์ศีลวิบัติกันทั้งประเทศ หากไม่เชื่อลองอ่านบทความนี้ครับ...ปฎิทินคลาดเคลื่อนใครผิดใครถูก?
ว่ากันมายาวที่นี้ลองมาดูกฏเกณฑ์ของโหรว่าด้วยเรื่องฤกษ์กันบ้าง หลักใหญ่มีดังนี้
1.ห้ามวันที่พระเคราะห์ดับ หรือวันที่ดาวเคาระห์ทำมุม 0 องศากับดาวอาทิตย์ หากให้ฤกษ์ยามในวันแบบนี้เรียกว่าความวิบัติ จะเกิดขึ้นไม่เกิน 1เดือนหลักจากเริ่มทำการ ซึ่งพึงสังวรระวังกันให้มากๆ สำหรับนักโหราศาสตร์ทั้งหลาย
2.ห้ามวันพระเคาระห์เพ็ญ คือห้ามมีดาวดวงใดดวงหนึ่งในดวงฤกษ์ ทำมุม 180 องศากับดาวอาทิตย์ นัยว่าจะเกิดเหตุขัดแย้งกันรุนแรงถึงขั้นแตกหักกันเลยก็ว่าได้ ส่วนจะเกิดเรื่องอะไรนั้นก็ดูว่า ดาวดวงนั้นเป็นดาวอะไรอยู่ภพอะไร มีความหมายว่าอย่างไร
3.ห้ามวันพระเคาระห์ใหญ่ทำมุม จตุโกณแก่กัน พระเคาระห์ใหญ่ๆก็เช่นว่า ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ อังคาร ราหู
4.ลัคนาในดวงฤกษ์จะต้องไม่เป็นทุสถานะแก่เจ้าการ เช่นว่าไม่เป็น 6 เป็น 8 เป็น 12 บางครั้งแม้แต่จันทร์ในดวงฤกษ์ก็ไม่ควร
5.อย่าให้มีดาวเคาระห์สถิตย์อยุ่ทุสถานะภพในดวงฤกษ์ ข้อนี้ก้อาจจะยากสักหน่อย แต่อย่างไรก็ตามนักโหราศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญก็อาจจะปรุงดาวเคาระห์ให้อยู่ในกฏเกณฑ์ที่พอจะช่วยเหลือได้ เช่น เอาดาวบาปเคาระห์ไปอยู่ในเรือนอุปจัยแทน เช่น เรือนที่ 3 เรือนที่ 6 เรื่อนที่ 10 และ 11
6.อย่าให้ลัคนาลอย จะต้องมีดาวกุมลัคนาในดวงฤกษ์ด้วยเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง
7. การวางลัคนาควรให้เกาะนวางค์บาทที่เป็นราศีธาตุเดียวกัน เช่นลัคนาราศีธาตุไฟเช่นราศี เมษ สิงห์ ธนู ให้วางที่นวางค์อาทิตย์ (นวางศ์ที่ 5)
8.ห้ามวางลัคนาเกาะบาท”ฉินทฤกษ์” ก็คือ นวางค์แรกของราศีธาตุน้ำคือ ราศีกรกฏ พิจิก มีน และนวางค์สุดท้ายของราศีธาตุไฟ ซึ่งก็คือราศี เมษ สิงห์ ธนู อันนี้รวมความถึง “ภินทฤกษ์”ด้วย ซึ่งเป็นนวางค์บาทฤกษ์ที่ไม่บริบูรณ์ มีอดีตและอนาคตของบาทฤกษ์เกาะไปข้ามเกี่ยวของขอบเขตของราศีถัดไป นวางบาทฤกษ์เช่นนี้ไม่เป็นบูรณฤกษ์ หากไปทำการใดใดเข้า ผลร้ายและวิบัติต่างๆจะตามมามากมาย
9.ปรับใช้ ธรรมเนียมเก่า เช่น ดิถีต่างๆ จักขุมายา และกาลโยคประจำปีด้วย เนื่องจากโบราณที่ใช้มาแต่เดิม หากจะใช้แต่ขัดกับกาลโยคของชาวบ้าน ก็มักจะมีเหตุให้คนครหาเอาได้
จริงแล้วกฏเกณฑ์มีมากกว่านี้นับสิบๆข้อ แต่ก็อธิบายพอเป็นสังเขปเท่านั้น
หมายเหตุ 1)หากสงสัยว่าวิชาโหรฯมีการคำนวนดวงชาตาของฤกษ์ยามที่ละเอียดซับซ้อนและแตกต่างจากวิชาอื่นๆอย่างไร กรุณาอ่านบทความ โหราวิทยา บทที่ 4 การคำนวนกำลังดาวเคาระห์และเรือนชาตาโดยคลิ๊ก โหราวิทยาบทที่ 4 การคำนวณกำลังดาวเคราะห์และเรือนชาตา
หมายเหตุ 2)หากท่านเข้าใจว่าวิชาโหรฯเป็นวิชาที่งมงายไร้เหตุผล ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่มีหลักการ ขอให้ท่านเข้าไปศึกษา วิชาการคำนวณดวงชาตาของโหรฯเสียก่อน โดยคลิ๊ก การคำนวณดวงพิชัยสงคราม,คัมภีร์สุริยยาตร์และมานัตต์
วิธีการใช้ฤกษ์
ดวงชาตาที่ผูกออกมาให้ตามระบบโหราศาสตร์ และดวงฤกษ์ที่ให้ไป (PDF File) สามารถที่จะพิมพ์ออกมาใช้ได้หลายๆใบ สำหรับเอาไว้บูชาฤกษ์และดวงชาตาของตัวเอง หรือเอาไปให้โหรทำนายดวงชาตา หรือให้พระท่านสวดแผ่นดวงชาตาเสริมศิริมงคลได้ หรือ เอาไปจารใส่แผ่นทองแดงนากเงิน เพื่อบรรจุใต้ฐานพระประธานเพื่อเสริมชาตาได้นะครับ ส่วนการยกเสาเอก การวางศิลาฤกษ์ การตั้งศาลให้นำดวงฤกษ์ที่ให้มานี้จารลงไปในแผ่นทองแดง แล้วบรรจุลงไปพร้อมกันด้วยนะครับ
การใช้ฤกษ์
การให้ฤกษ์โดยระบบโหราศาสตร์ภารตะหรือโหราศาสตร์แบบโหรพรามณ์ ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับโหราศาสตร์ไทยชั้นสูงที่ใช้กันในบุคคลชั้นสูงและการกำหนดพิธีกรรมในพระราชพิธีต่างของกษัตริย์ในสมัยโบราณ มีการคำนวนโดยวิธีการสลับซับซ้อนทางดาราศาสตร์และหลักการทางโหรซึ่งต่างกับโหราศาสตร์ระบบอื่นๆ และกำหนดเป็นฤกษ์ยามเฉพาะตัวบุคคลนั้นๆในการทำการต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์เพียงเจ้าของฤกษ์คนเดียวเท่านั้น ผู้อื่นจะนำไปใช้ก็จะไม่เกิดผลดีตามฤกษ์ที่กำหนดไว้
บางคนชอบโทรมาถามว่าวันนี้เป็นวันดีไหม ผมตอบไม่ได้หรอกครับเพราะฤกษ์มีทั้งฤกษ์บนฤกษ์ล่าง ฤกษ์บนก็คือวันที่ดวงดาวบนท้องฟ้าให้พลังที่เป็นศุภผล เป็นวันดีก็จริง แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถใช้ได้ทุกคน หรือวันนี้เป็นวันดีฤกษ์ดีแต่จะดีตลอดทั้งวันก็หาไม่ และหากไปคำนวนดูชาตากำเนิดของเรา(ฤกษ์ล่าง) ก็อาจจะขัดแย้งกับฤกษ์บน(ท้องฟ้า) ก็ทำการมงคลในวันนั้นไม่ได้อีก ที่พูดวันว่าวันนี้วันดีก็มิใช่ว่าจะดีเสมอไป เพราะฉะนั้นเข้าใจไว้ว่าวันดีมีทุกวัน แต่ฤกษ์ที่ดีเหมาะกับเรานั้นอาจจะทั้งปีมีแค่วันเดียว ส่วนวันร้ายก็มีทุกวันเหมือนกัน แต่จะร้ายกับเราทุกวันก็ไม่ใช่ ฉะนั้นฤกษ์ยามก็คือการคำนวนพลังความสัมพันธ์ระหว่างดาวบนท้องฟ้ากับมนุษย์ที่อยู่บนดินให้สัมพันธ์กันนั่นเอง
- เมื่อได้ฤกษ์ยามได้กำหนดไว้แล้วให้เตรียมการล่วงหน้าแต่เนิ่นๆเพื่อจะได้ไม่ให้ผิดพลาด เพราะหัวใจของฤกษ์ยามก็คือ”เวลา” ที่เป็นศุภผล
- ในการให้ฤกษ์ผมจะคำนวนเวลาที่เหมาะสมกับดวงชาตาของท่านที่ดี่ที่สุดเพียงฤกษ์เดียวเท่านั้น บางคนพยายามขอหลายๆวันเผื่อเลือก ซึ่งฤกษ์ที่ให้แต่ละฤกษ์คำนวนด้วยความยากลำบากมาก เพราะผมคำนวนด้วยมือ ดวชาตาแต่ละดวงชาตา อย่างน้อยก็ใช้เวลาเกือบชั่วโมง และสอบทานฤกษ์ในกฏเกณฑ์อื่นๆอีกเป็นวันๆ (ไม่ใช่ฤกษ์ประเภทเปิดหนังสือดูปฎิทินแล้วให้ฤกษ์อย่างที่เราคุ้ยเคยกัน ซึ่ง 5 นาทีก็ให้ฤกษ์กันได้แล้ว)
- อย่างไรก็ตามการใช้ฤกษ์ชั้นสูงนี้มักจะมีเหตุที่ทำให้เจ้าการมักจะใช้ไม่ได้ตามเวลาที่กำหนดอยู่บ่อยครั้งอันเนื่องมาจาก ดวงฤกษ์ที่สูงเกินวาสนาของเจ้าการ(เจ้าของดวง) หรือเจ้าของดวงมีเหตุที่ถูกอุปสรรคขัดขวางจากเจ้ากรรมนายเวร หรือวิบากกรรมอื่นๆ ที่จะไม่ไห้ได้ผลสำเร็จตามฤกษ์นั้นๆ เช่นว่า จะต้องออกรถในวันนี้ตามฤกษ์ แต่บังเอิญรถยังไม่เรียบร้อย ก็ออกรถในวันนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องระวัง
- การใช้เวลาตามฤกษ์ควรจะต้องคำนวนเวลาให้ตรงตามเวลาท้องถิ่นที่เป็นมาตรฐานสำหรับสถานที่นั้นๆ หรืออย่างน้อยนาฬิกาจะต้องตรง โดยเทียบจากเวลามาตรฐานของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ โดยโทรไปที่หมายเลข 181
ซึ่งจะบอกเวลามาตรฐานประเทศไทย ซึ่งผมใช้เวลามาตรฐานประเทศไทยนี้คำนวนฤกษ์ ฉะนั้นจะต้องตรงกันทั้งสองฝ่าย
- เวลาจากดวงฤกษ์ที่ให้เป็นการคำนวนเวลาเริ่มต้นของฤกษ์ และจะสิ้นสุดฤกษ์ เช่นฤกษ์ที่กำหนดเป็นเวลา 09.11 น. -09.29 น. หมายความว่าหัวใจในการทำกิจกรรมนั้นๆจะต้องเริ่มต้นในเวลา 09.11 น.จนถึง 09.29 น. (ปกติผมจะให้เวลาเริ่มต้นและเวลาสุดฤกษ์เอาไว้ให้) เช่นการลงเสาเอก จะต้องกระทำการยกเสาลงหลุมให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด หรือการลาสิกขาบท ต้องให้การสวดบทขอลาสิกขาเริ่มต้นภายในเวลานี้ หรือการเอาผ้าสังฆาฏิออกจากตัว(แล้วแต่กรณี) ส่วนการตั้งศาลก็ให้ถือเอาเวลาที่อัญเชิญเจว็ดเข้าประทับในศาลหรือการตอกไม้มงคลวางรากฐานเพื่อยกเสาของศาล(แล้วแต่กรณี) ส่วนกิจกรรมอื่นๆให้เทียบเคียงเอาตามนี้
- ส่วนหากกิจกรรมนั้นๆต้องใช้ระยะเวลามากกว่านี้ก็จะต้องให้มีการทำกิจกรรมต่อเนื่องโดยไม่ขาดตอนหรือหยุดไปกลางคัน ก็ยังถือเวลาอยู่ในเวลาของฤกษ์ได้
- แผ่นดวงฤกษ์พิมพ์ออกมาจากไฟล์ที่ผมให้มา เมื่อใช้เสร็จแล้ว ให้ใส่กรอบหรือไว้ที่หิ้งพระเอาไว้บูชาถือว่าได้บูชาเสริมดวงชาตาและดวงฤกษ์ของเราให้เกิดผลดีตลอดไป หากไม่สามารถทำได้ให้ทำการเผาด้วยไฟเท่านั้น ห้ามนำไปทิ้งในถังขยะ
- การใช้ฤกษ์ให้เกิดผลดีและเกิดศุภผลตามที่ท่านต้องการ อย่างน้อยที่สุดท่านจะต้องสมาทานศีล 5 รักษากายวาจาใจให้บริสุทธิ์ และในขณะที่กระทำการตามฤกษ์นั้นๆ จิตใจจะต้องแน่วแน่มั่นคงไม่หวั่นไหว ห้ามมีอารมณ์โกรธเคือง โมโห หรือมีเจตนาจะไปประทุษร้ายต่อใคร จิตใจต้องไม่วอกแวก สับสน วิตกกังวล ฯลฯ เมื่อทำได้ครบตามที่กล่าวแล้วดวงฤกษ์ก็จะมีอิทธิพลังเป็นศุภผลส่งผลเกิดผลดีให้แก่ดวงชาตา และเกิดความเจริญรุ่งเรืองสืบไป
- บางคนมักชอบว่ามาขอฤกษ์กับผมต้องรอนานมากๆกว่าจะได้ บางคนเป็นเดือน บางคน สามเดือน บางคนรอมาหลายเดือนก็ไม่มีฤกษ์จะให้ ต้องขอชี้แจงอย่างนี้ว่า โหราศาสตร์ระบบนี้ไม่เหมือนระบบอื่น โหรผู้ให้ฤกษ์ ต้องต้องดูฤกษ์สำหรับการให้ฤกษ์ก่อนเหมือนกัน ไม่สามารถทำแบบสุกเอาเผากินไม่ได้ โหรผู้คำนวนฤกษ์ก็ต้องตรวจดวงดาวบนท้องฟ้าก่อนว่าวันไหนเหมาะแก่การคำนวนฤกษ์ วันไหนห้ามคำนวนฤกษ์ เช่น วันสิ้นปี สิ้นเดือน สิ้นปีนักษัตร วันพระจันทร์ดับ พระจันเทร์เต็มดวง วันโกน วันพระ วันดาวดับบนฟ้า วันที่ดาวพุธโคจรวิกลคตพักรองศา(อันนี้อาจต้องรอเป็นเดือน) วันที่มีคราส (ภายในหน้าหลัง 7 -14 วัน) ก็คำนวนฤกษ์ไม่ได้ เมื่อได้วันแล้วก็ต้องอาบน้ำชำระร่างกาย จุดธูปเทียนบูชาพระ พ่อแม่ครูอาจารย์ ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ ก่อนทำการคำนวนดวงฤกษ์ทุกครั้งไป ฉะนั้นฤกษ์ที่ออกมาจะเป็นอย่างไรก็ต้องดูชาตาและวาสนาของเจ้าชาตาก่อนด้วย