Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

พระแม่สรัสวดี

โศลกที่ ๒๙

  • การกำหนดราศีและองศาอุจจ์ของพระเคราะห์ต่าง ๆ มีดังนี้ อาทิตย์ราศีเมษองศา ๐-๑๐ จันทร์ราศีพฤษภองศา ๐-๓ อังคารราศีมังกรองศา ๐-๒๘ พุธราศีกันย์องศา ๐-๑๕ พฤหัสบดีราศีกรกฏองศา ๐-๕ ศุกร์ราศีมีนองศา ๐-๒๗ เสาร์ราศีตุลย์องศา ๐-๒๐ สำหรับตำแหน่งนิจของพระเคราะห์ต่าง ๆ คือตำแหน่งที่ตรงข้ามกันกับตำแหน่งอุจจ์ ตำแหน่งองศาที่เป็นอุจจ์สูงสุดหรือเรียกว่า ปรมะอุจจ์ หรือบรมอุจจ์คือองศาอุจจ์ที่มากที่สุดตามที่ได้กำหนดไว้ เช่น อาทิตย์ ๑๐ องศาในเมษ จันทร์ ๓ องศาในพฤษภ เป็นต้น ตำแหน่งเหล่านี้คือว่าให้คุณยิ่ง ฯ

หมายเหตุ

               คำว่าอุจจ์แปลว่าสูงสุดคู่กันนิจแปลว่าต่ำสุด เชื่อกันว่าดาวต่าง ๆ ที่ได้องศาเต็มที่ของอุจจ์เป็นดาวที่ให้คุณอย่างยอดเยี่ยม และถ้าเป็นตำแหน่งนิจเต็มที่หรือ ปรมะนิจ ก็ถือว่าให้โทษอย่างยิ่ง ท่านจะเห็นได้ว่าในการกำหนดตำแหน่งดาวที่เป็นอุจจ์ในราศีต่าง ๆ ดาวทุกดวงใน ๗ ดวงไม่คิดราหูและเกตุจะเป็นอุจจ์พร้อมกันไม่ได้เลย ในเมื่อเราทราบระยะเชิงมุมของดาวพุธและดาวศุกร์อย่างดีแล้ว ตัวอย่างเช่นเมื่อพุธเป็นอุจจ์ในราศีกันย์ในเวลาเดียวกันอาทิตย์และศุกร์จะอยู่ราศีเมษและมีนไม่ได้ สำหรับอาทิตย์และศุกร์เป็นอุจจ์พร้อมกันได้แต่ในขณะนั้นพุธเป็นอุจจ์ไม่ได้ ท่านจะเห็นได้ว่าการเป็นอุจจ์ของดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ พร้อมกันอย่างมากที่สุดได้เพียง ๖ พระเคราะห์เท่านั้นคือเว้นพุธดาวเดียว และเมื่อดวงอาทิตย์และจันทร์เป็นอุจจ์พร้อมกันคิดตามองศา ปรมะอุจจ์ อาทิตย์และจันทร์จะอยู่ห่างกันเพียง ๒๓ องศาเท่านั้น หรือประมาณ ๒ ค่ำ ซึ่งก็เป็นเวลาที่จันทร์มีแสงน้อยมาก โดยเหตุนี้ท่านจึงถือว่าจันทร์เพ็ญในราศีพฤษภเฉพาะอย่างยิ่งในนักษัตรกติกาเป็นจันทร์เพ็ญที่ให้คุณที่สุดในกระบวนจันทร์เพ็ญในราศีต่าง ๆ ทุกราศี เพราะจันทร์เพ็ญในราศีพฤษภยังมีโอกาสเป็นอุจจ์อีกด้วย สำหรับองศามหาอุจจ์นี้กล่าวตรงกันทุกคำภีร์

โศลกที่ ๓๐

  • ในที่นี้จะพูดถึงการแบ่งราศีหนึ่งราศีใดออกเป็นส่วนย่อย ๆ ลงไปแต่ละส่วนที่แบ่งเรียกว่า วรรค การแบ่งราศีหนึ่งราศีใดออกเป็นย่อย ๆ ๑๐ ประการเรียกระบบนี้ว่า ทศวรรค โดยมีชื่อดังต่อไปนี้ ราศีเต็มคือ ๓๐ องศาเรียกว่า ลัคนา ครึ่งหนึ่งของราศีคือ ๑๕ องศา เรียกว่า โหรา หนึ่งในสามของราศีหรือ ๑๐ องศาเรียกว่า ทเรกกาณะหรือตรียางค์ หนึ่งในเจ็ดของราศีเรียกว่า สวะรำศะ หนึ่งในเก้าของราศีเรียกว่า นะวำศะ หรือ นวางศ์ หนึ่งในสิบของราศีเรียกว่า ทศมำศะ หนึ่งในสิบสองของราศีเรียกว่า ทวาทะศำศะ หนึ่งในสิบหกของราศีเรียกว่า กะลำศะ หนึ่งในสามสิบของราศีเรียกว่า ตริมศำศะ หนึ่งในหกสิบของราศีเรียกว่า ษัษฐะยำศะ การแบ่งราศีแต่ละราศีออกเป็นส่วน ๆ ปลีกย่อยลงไปถึงเช่นนี้ก็เพื่อจะไว้ช่วยในการพิจารณาความเข้มแข็งและการให้คุณโทษของพระเคราะห์ต่าง ๆ อย่างละเอียดพิศดารยิ่งขึ้น ในระบบที่แบ่งราศีหนึ่งออกเป็น ๒ ส่วนเท่า ๆ กัน แต่ละส่วนเรียกว่า โหรานั้นในราศีก็เช่นราศีเมษ โหราที่ ๑ จัดพระอาทิตย์เข้าครอง โหราที่ ๒ ในราศีเมษจัดพระจันทร์เข้าครอง ส่วนราศีคู่เช่น ราศีพฤษภจัดอาทิตย์และจันทร์เข้าครองสลับกันคือ โหราที่ ๑ ในราศีพฤษภจัดพระจันทร์เข้าครอง ส่วนโหราที่ ๒ ในราศีพฤษภจัดพระอาทิตย์เข้าครอง การจัดพระเคราะห์เข้าครองโหราใช้กฎเกณฑ์อย่างนี้ทั้ง ๑๒ ราศี ในระบบที่แบ่งราศีหนึ่งออกเป็น ๓ ส่วนเท่า ๆ กันที่เราเรียกว่า ตรียางค์นั้นการจัดพระเคราะห์เข้าครองถือหลักตายตัวเหมือนกันทุกราศีคือ ใช้ดาวพระเคราะห์ในการครองเรือนเกษตร์ของราศีเป็นหลักตามกฏของตรีโกณจากราศีนั้น เช่น ราศีเมษตรียางค์ที่ ๑ ครองด้วยอังคาร เพราะตรียางค์ที่ ๑ ของเมษต้องครองด้วยดาวเกษตร์ของราศีเมษ ราศีเมษตรียางค์ที่ ๒ ครองด้วยอาทิตย์เพราะอาทิตย์ครองราศีสิงห์ซึ่งเป็นภพที่ ๕ จากราศีเมษ และเป็นตรีโกณอันดับที่ ๒ จากเมษ ราศีเมษตรียางค์ที่ ๓ ครองด้วยพฤหัสบดี เพราะพฤหัสบดีครองราศีธนูซึ่งเป็นภพที่ ๙ จากราศีเมษและเป็นตรีโกณอันดับที่ ๓ จากเมษ ในทำนองเดียวกันการคิดตรียางค์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเข้าครองของพระเคราะห์ก็คิดตามทำนองนี้ ฯ

หมายเหตุ

               การแบ่งราศีหนึ่งออกเป็นหลายส่วนเท่า ๆ กัน แต่ละส่วนมีชื่อรวมเรียกว่า วรรค และมีชื่อพิเศษเรียกอีกต่างหาก ซึ่งชื่อนั้นเองบอกเสร็จว่าราศีหนึ่งแบ่งออกเป็นกี่ส่วน การที่แบ่งกล่าวในโศลกนี้แบ่งราศีออกเป็น ๑๐ ประการจึงเรียกระบบอันนี้ว่า ทศวรรค ในคัมภีร์อื่นๆ มีกล่าวอีกหลายประการหลายระบบ เช่น ษัทวรรค หมายความว่าการแบ่งราศีออกเป็นส่วนๆ ๖ ชนิดด้วยกัน และสัปตะวรรคคือการแบ่งราศีออก    เป็น ๗ ชนิด ในบางคัมภีร์การแบ่งราศีแย่งอกมากมายถึง ๑๖ อย่างมีชื่อเรียกระบบนี้ว่า โษฑะวรรค คือแบ่งราศีหนึ่งออกเป็น ๑๖ อย่างมีชื่อดังนี้คือ ราศีคือ ๓๐ องศา โหราคือ ๑๕ องศา ทเรกกาณะคือ ๑๐ องศา   จตุรถำศะ คือหนึ่งในสี่ของราศี สัปตะมำศะคือหนึ่งในเจ็ดของราศี นะวำศะ คือหนึ่งในเก้าของราศี    ทะศะมำศะ คือหนึ่งในสิบของราศี ทวาทะศำศะ คือหนึ่งในสิบสองของราศี โษฑะศำศะ คือหนึ่งในสิบหกของราศี วิมศำศะ คือหนึ่งในยี่สิบของราศี สิทฐำศะ คือหนึ่งในยี่สิบสี่ของราศี ภำศะ คือหนึ่งในยี่สิบเจ็ดของราศี ตริมศำศะ คือหนึ่งในสามสิบของราศี ชะเวทำศะ คือหนึ่งในสี่สิบราศี อักษะเวทำศะ คือหนึ่งในสี่สิบห้าของราศี ละ ษัษฐะยำศะ คือหนึ่งในหกสิบของราศี

               เมือมีการแบ่งแต่ละราศีออกเป็นส่วนเท่า ๆ กันหลายระบบเช่นนี้ การจัดพระเคราะห์เข้าครองในส่วนปลีกย่อยต่างๆ ที่แบ่งไว้ มีหลายระบบเช่นกัน และระบบการจัดพระเคราะห์เข้าครองส่วนย่อย ๆ เหล่านี้ ไม่ค่อยเหมือนกันทุกคัมภีร์ จึงเป็นการยากต่อผู้ทีศึกษาอยู่มาก ว่าสมควรจะเชื่อคัมภีร์ใด ตามความเห็นของข้าพเจ้าข้อแรกท่านต้องรู้ความแตกต่างกันทุก ๆ คัมภีร์ ข้อสองควรยึดถือคัมภีร์ใหญ่มากว่าคัมภร์เล็กๆ ข้อสามกฎเกณฑ์อะไรเหมือนกันในหลายๆ คัมภีร์ยึดถือกฎเกณฑ์อันนั้น ข้อที่สำคัญที่สุดถ้าท่านมีเวลาค้นคว้า ผลของการค้นคว้าของท่านเองจะเป็นคำตอบที่ดีและถูกที่สุด

โศลกที่ ๓๑

               ในหนึ่งราศรีถ้าเราแบ่งออกเป็นเจ็ดส่วนเท่าๆ กัน แต่ละส่วนเรียกว่าสัปตะมำศะ การจัดพระเคราะห์เข้าครองสัปตะมำศะของราศีต่างๆ มีกฎเกณฑ์ดังนี้ ในประเภทราศีคี่เช่นราศี เมษ สัปตะมำศะครองด้วย อังคาร ศุกร์ พุธ จันทร์ อาทิตย์ พุธ และศุกร์ ตามลำดับกันไป ราศีคี่ทุก ๆ ราศีขึ้นต้นด้วยดาวเกษตร์ที่ครองในราศีนั้นแล้วเรียงสลับกันไป สำหรับราศีคู่เช่นราศีกรกฏ การจัดพระเคราะห์เข้าครองสัปตะมำศะ ให้นับราศีที่ ๗ จากราศีนี้ ตั้งต้นครองแล้ว เรียงลำดับกันไป คือ เสาร์ เสาร์ พฤหัสบดี อังคาร ศุกร์ พุธ และจันทร์ เป็นต้น ฯ