Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

Brahma four

โศลกที่ ๑๖ – ๑๗

  • ราศีประเภทสัตว์ ๔ เท้า หรือ จตุษบทราศีได้แก่ ครึ่งหลังของราศีธนู ราศีสิงห์ พฤศภ เมษ และครึ่งแรกของราศีมังกร ราศีจำพวกนี้จะมีความเข้มแข็งมากถ้าเป็นภพที่ ๑๐ จากลัคนา ราศีที่เป็นรูปมนุษย์ หรือสัตว์ ๒ เท้า เรียก ทวิบท หรือ นระราศี ได้แก่ราศีกันย์ เมถุน กุมภ์ ตุลย์ และครึ่งแรกของราศีธนู ราศ๊จำพวกนี้จะมีความเข้มแข็งมากถ้าเป็นภพที่ ๑ ราศีประเภทสัตว์น้ำ หรือชลราศีได้แก่ ครึ่งหลังของราศีมังกร ราศีมีน และราศีกรกฏ ราศีจำพวกนี้จะมีความเข้มแข็งมากถ้าเป็นภพที่ ๔ จากลัคนา สำหรับราศีน้ำที่เหลืออยู่อีกราศีเดียวคือราศีพิจิก เป็นราศีที่เข้มแข็งมากถ้าเป็นภพที่ ๗ จากลัคนา ฯ

หมายเหตุ

               การแบ่งราศีต่าง ๆ ออกเป็นสัตว์ ๔ ประเภท คือ มนุษย์ สัตว์บก สัตว์น้ำ และแมลงนี้ เหมือนกันทุกคัมภีร์ แต่ชื่ออาจผิดกันไปบ้างเช่น สัตว์ ๔ เท้า เรียก ปะสุ และราศีพิจิกเรียกกีฏะ เป็นต้น เมื่อเทียบกันกับของไทยเราผิดกันมากสำหรับราศีธนู และราศีมังกร คือราศีธนูทางภารตะถือป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์ คือ ๑๕ องศาแรกเป็นคน ส่วน ๑๕ องศาหลังเป็นม้า ฉะนั้นเขาจึงนับครึ่งแรกเป็นนระราศี ครึ่งหลังเป็นปะสุหรือปัสสวะราศี ราศีมังกรทองภารตะถือว่าเป็นสัตว์ประเภทสะเทินน้ำสะเทินบก โดยกำหนดเอา ๑๕ องศาแรกเป็นสัตว์บกคือกวาง ส่วน ๑๕ องศาหลังเป็นปลาฉลาม ฉะนั้น เขาจึงนับครึ่งแรกเป็นปัสสวะราศี และครึ่งหลังเป็นชลหรืออำพุราศี

โศลกที่ ๑๘

  • ท่านบังคับว่าราศีทุกราศีไม่ว่าจะเป็นราศีประเภทใด ๆ จะมีความเข้มแข็งถ้าเป็นภพเกนทระจากลัคนา คำว่าเกนทระหรือกัณฏะกะหมายความว่าเป็นภพที่ ๑-๔-๗-๑๐ นับจากตำแหน่งของลัคนา เกี่ยงกับเวลาท่านบังคับต่อไปอีกว่า ราศีประเภทมนุษย์หรือสัตว์ ๒ เท้า จะมีความเข้มแข็งในเวลากลางวันในภพ เกนทระ ราศีประเภทสัตว์ ๔ เท้า หรือสัตว์บกจะมีความเข้มแข็งในเวลากลางคืนในภพเกนทระ ราศีประเภทสัตว์น้ำที่เหลืออยู่รวมทั้งราศีพิจิกด้วยจะมีความเข้มแข็ง ในเวลาที่กลางวันกลางคืนต่อกัน คือเวลาอรุณกาลและสนธยากาล หรือ เวลาย่ำรุ่งและย่ำค่ำ ฯ

 

โศลกที่ ๑๙

  • ท่านผู้รู้ได้แบ่งราศีต่าง ๆ ออกเป็น ๓ ประเภทนับจากราศีเมษเป็นลำดับไปคือ ราศีประเภทแร่ธาตุ พืช และสัตว์ และยังแบ่งเป็นประเภทราศีคี่และคู่โดยขึ้นต้นนับราศีเมษเป็นราศีคี่ ราศีพฤษภเป็นราศีคู่ และนับสลับเรื่อยไปจนครบทั้ง ๑๒ ราศี คำว่าแร่ธาตุหมายความว่าแร่ธาตุหรือสารทุกชนิดรวมทั้งรัตนะต่าง ๆ แร่ต่าง ๆ สารทุกชนิดจนถึงดินและผง ฝุ่นละอองต่าง ๆ คำว่าพืชหมายถึงพืชทุกชนิดไม่ว่าพืชในน้ำหรือบนบกตั้งแต่ต้นไม้ยืนต้นใหญ่ ๆ จนถึงจำพวกหญ้าและสาหร่ายต่าง ๆ คำว่าสัตว์หมายถึงสัตว์น้ำ สัตว์บก และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกด้วย นับตั้งแต่สัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง ม้า ปลาวาฬ จนถึงแมลงและมด ฯ

โศลกที่ ๒๐

  • การแบ่งราศีต่าง ๆ เกี่ยวกับวรรณะ ๔ เหล่าของประชาชนอินเดียสมัยโบราณมีดังนี้ พวกพราหมณ์ได้แก่ราศีมีน พิจิก และพฤษภ พวกกษัตริย์ ได้แก่รราศีธนู เมษ และสิงห์ พวกพ่อค้าได้แก่ราศีกุมภ์ เมถุน และตุลย์ พวกคนชั้นต่ำได้แก่ราศีกันย์ มังกร และกรกฏ ฯ

หมายเหตุ

               ในบางคัมภีร์กล่าวผิดเพี้ยนกันไปบ้างคือ ราศีกรกฎจัดเป็นประเภทพราหมณ์ และราศีพฤศภจัดเป็นประเภทศูทรคือชนชั้นต่ำ สำหรับความเห็นของข้าพเจ้าเองเข้าใจว่าตามคัมภีร์อื่นควรจะถูกดีกว่า เพราะการจัดราศีเป็นตรีโกณพอดี อย่างไรก็ตามขอให้ทุกท่านผู้อ่านกรุณาใคร่ครวญดูเอาเองผิด

โศลกที่ ๒๑

  • ราศีเมษ พฤษภ และสิงห์ เป็นราศีที่เงียบสงัดหรือเป็นราศีบอกคือ มืดสนิทมองไม่เห็นอะไรเลย ถ้าเป็นเวลากลางคืน ราศีกรกฏ เมถุน และกันย์ มีสภาพเช่นเดียวกันถ้าเป็นเวลาเที่ยงวัน ราศีตุลย์และพิจิกเป็นราศีของคนหูหนวกในเวลาบ่าย ราศีธนูและมังกรมีสภาพเช่นเดียวกันในเวลาบ่าย ฯ

หมายเหตุ

               เกี่ยวกับที่ว่าราศีต่าง ๆ มีสภาพเป็นตาบอดหรือหูหนวกตามเวลาที่กล่าวมานั้น เข้าใจว่าถ้าลัคนาสถิตย์ในราศีตามนั้นและบังเอิญเวลาตรงตามกำหนดที่ว่าไว้ด้วย เจ้าชะตาจะมีอาการกระเดียดไปทางนั้นจะบอดหรือหนวกมากต้องอาศัยพิจารณาจากดาวอื่นอีกด้วย   ในโศลกนี้แปลกที่ไม่ได้กล่าวถึงราศีกุมภ์และราศีมีนเลย