คัมภีร์ปาริชาตชาดก บทที่ ๑
คุณสมบัติของราศีต่าง ๆ
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พ.อ.(พิเศษ) ประจวบ วัชรปาณ พ.บ. ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม
โศลก ๑
- ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานระลกถึง เพื่อทำการสักการะต่อ พระอาทิตย์ผู้บรรดาลเวลากลางวันและกลางคืน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระวิษณุเจ้า รวมทั้งพระศรี พระพรหม และพระศิวะ ผู้เป็นใหญ่ในใครโลกที่สามารถจะเข้าใจต่อกลวิธีการต่าง ๆ ของธรรมชาติได้เป็นอย่างดี อันเป็นสิ่งที่พ้นวิสัยมวลมนุษย์จะล่วงรู้ได้ ต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะได้อธิบายถึงพระคัมภีร์ปาริชาดกโดยสมบูรณ์แบบ เพื่อให้ผู้รักที่จะเรียนโหราศาสตร์ทั้งหลายเข้าใจโดยแจ่มแจ้งถึงอิทธิพลของดวงดาวต่าง ๆ ซึ่งท่านโหราจารย์ เช่น ครรคะ ปะราศะระ และผู้อื่นได้ค้นคว้าพบและให้ความเห็นไว้ ฯ
หมายเหตุ
ในสมัยก่อนพุทธกาลพวกพราหมณ์มีอำนาจมาก เพราะเป็นมนุษยฺจำพวกเดียวเท่านั้นที่เรียนรู้ฤคเวท วิชานี้คือการพลีบูชาและสวดขับกล่อมสรรเสริญเทวดา เพื่อขอพรให้เกิดความสำเร็จในกิจการต่าง ๆ เชื่อถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์แท้จริง และถ้ากระทำไปโดยคร่ำเคร่งให้ถูกพิธีการจนถึงคิดกันแล้ว การพลีบูชานั้นสามารถจะบรรดาลให้มนุษย์ผู้บูชายกฐานะตัวเองขึ้นเป็นเทวดาได้ ความคิดของพราหมณ์ในเรื่องเทวดา มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา ส่วนมากเชื่อกันว่าพระพรหมเป็นใหญ่กว่าเทวดาทั้งหลาย เป็นผู้สร้างสกลโลก เป็นผู้มีภาวะทิพย์อันหาเขตมิได้ และจะแยกให้เห็นโดยต่างหากก็มิได้ ลักษณะของพระพรหมย่อมมีปรากฎแทรกแซงอยู่ในเทวดามนุษย์และสิ่งทั้งปวงทั่วไปเทวดาอื่น ๆ มีความตายเป็นี่สุดด้วยกันทั้งสิ้น นอกจากจะได้ทำการบำเพ็ญตบะ และกระทำพลีกรรมบูชาโดยถูกต้อง พระพรหมจงจะประทานความไม่ตายให้เป็นราย ๆ ไป
เทวดาต่าง ๆ บางองค์ประชาชนพากันเสื่อมความนับถือ ก็มีฐานะตกต่ำลงแต่เทวดาบางองค์กลับเฟื่องฟูขึ้น เช่น รุทระ ซึ่งแต่เดิมเป็นเทวดาประจำพายุต่ามาประชาชนหมดความนิยม พวกพราหมณ์จึงขนานนามขึ้นใหม่และเปลี่ยนเป็นเทวดาอีกสององค์โดยมีชื่อต่างกันคือองค์หนึ่งเรียกชื่อว่า พระศิวะ หรือพระอิศวร อยู่บนเขาเปนเทวดาประเภทสังหารหรือทำลาย และอีกพระองค์หนึ่งเรียกชื่อว่า พระวิษณุหรือพระนารายณ์อยู่ในทะเลเป็นเทวดาประเภทบริหาร ส่วนพระพรหมนั้นตงเป็นผู้สร้างอยู่ตามเดิม ฉะนั้นในการกระทำกิจการใด ๆ เขาต้องมีการระลึกถึง และทำการเคารพเทพเจ้าทั้งสามนี้อยู่เป็นนิจสิน
ในโศลกแห่งการไหว้ครูอันแรกนี้ได้กล่าวถึงพระศรีหรือพระลักษมี ซึ่งเป็นพระชายาของพระวิษณุเอาไว้ด้วย ท่านผู้อ่านคงแปลกใจว่าเมื่อทำการเคารพสามีแล้วทำไมจึงต้องเคารพภริยาด้วย ข้าพเจ้าขอชี้แจงให้ฟังดังนี้ ในสมัยพุทธศักราช ๑๒๐๐ ถึง ๑๗๐๐ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นสมัยที่ตำราโหราศาสตร์ต่าง ๆ กำลังเฟื่องฟูมากที่สุดสมัยหนึ่ง ลักธินิกายต่าง ๆ ที่ประชาชนนิยมนับถือนสมัยนี้ คือการบูชาพระวิษณุและพระศิวะ โดยที่อาศัยเหตุในตำนานต่าง ๆ ของมหาเทพทั้งสองซึ่งพราหมณ์เป็นผู้แต่งขึ้น ดังที่มีปรากฎอยู่ในหนังสือ มหาการตะ รามายณะ และในคัมภีร์ปุราณะอื่น ๆ อีกมาก นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจอย่างให่แบบล้ำยุคเกิดขึ้นในลักธิต่าง ๆ อีกด้วย คือเขาพากันลงความเห็นเป็นเอกฉันท์กันว่าพระเทวี หรือเทวดาผู้หญิงซึ่งเป็นชายาของมหาเทพต่าง ๆ เช่น พระอุมา หรือพระลักษมี เป็นต้น ย่อมทรงกำลังของเทพสามีไว้เป็นอันมากเรียกว่า “ศักติ” เขาพากันเชื่อว่าองค์มหาเทพพระศิวะหรือพระวิษณุก็ตาม มนุษย์จะเข้าถึงได้นั้นเป็นการยากยิ่งนัก เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยการบูชาศัดิ์เสียก่อน จึงจะได้สมความปรารถนาทุกประการเป็นทางลัด และคัมภีร์เกี่ยวกับนิกายนี้เรียกว่า ตันตระ
ส่วนคำที่ตั้งชื่อคัมภีร์เล่มนี้ว่า ปริชาตชาดกนั้น ควจะหมายความถึงต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในสวรรค์คือต้นปาริชาตหรือต้นปะการัง ตามตำนานกล่าวว่า ต้นปาริชาตเป็นต้นไม้วิเศษที่ขึ้นจากทะเลนม หรือเกษียรสมุทร เมื่อคราวที่พวกเทวดาทำพิธีกวนน้ำอมฤต เทวดาได้ยกต้นปาริชาตนี้ให้แก่พระอินทร์ พระอินทร์ได้เอาไปปลูกไว้กลางสวนชื่อนันทนะอุทธยาน เป็นต้นไม้ที่พระศะจีพระชายาของพระอินทร์โปรดปรานเป็นที่สุด แต่ในตอนหลังพระกฤษณะหรือพระวิษณุได้ขโมยเอาไปอีกต่อหนึ่ง
โศลกที่ ๒
- ข้าพเจ้าผู้มีชื่อว่า ไวทยะนาละ เป็นบุตรชายของ เวงกะฏาทริ ซึ่งเป็นผู้คงแก่เรียนและรอบรู้ในวิชาโหราศาสตร์ผู้หนึ่งในตระกูล ภะระทวาชะ จะได้บรรยายถึงขีดจำกัดความเกี่ยวกับจักรราศีต่าง ๆ เพื่อจะให้ผู้ที่สนใจในวิชานี้รู้ถึงความจริงของโหราศาสตร์ ฯ
หมายเหตุ
เป็นธรรมเนียมของพวกพราหมณ์อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะบอกชื่อของตนรวมทั้งชื่อของบิดาและตระกูลไว้โดยแจ่มแจ้งในการเขียนตำราต่าง ๆ เมื่อได้ไหว้เทวดาและขอพรตามธรรมเนียมเสร็จเรียบรอยแล้ว ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ไวทยะนาถะทิกษิตะ ผู้เขียนคัมภีร์ปาริชาตชาดกนี้คงจะเกิดในระหว่าง พ.ศ.๑๙๖๘ และ ๑๙๙๓ เพราะปรากฎว่า เกศะวะไทวะคนะ ผู้เขียนคัมภีร์มุหูรตะตัตวะ คือคัมภีร์ว่าด้วยการหาฤกษ์งามยามดีต่าง ๆ ได้ยกย่องว่าไวทยะนาถะผู้นี้เป็นอาจารย์ที่นับถือของเรา และมีหลักฐานยืนยันเป็นที่แน่นอนว่า เกศะวะไทวะคนะเกิดในประมาณ พ.ศ. ๒๐๖๓ เพราะฉะนั้นคัมภีร์ปาริชาตชาดกนี้ได้แต่งขึ้นประมาณ ๕๐๐ ปีนี้เอง ทั้งนี้เป็นความเห็นของข้าพเจ้าซึ่งอาจจะผิดก็ได้
โศลกที่ ๓
- ข้าพเจ้าขอกราบสักการะระลึกถึงพระระฆุมหาเทพ ซึ่งยืนอยู่บนคอกบัวอันเป็นที่เคารพสักการะต่อผู้ที่เป็นกวีทั้งหลาย เพื่อความสำเร็จในการเขียนคัมภีร์ปาริชาตชาดกเล่มนี้การเขียนคัมภีร์ปาริชาตชาดกเล่มนี้ขึ้นได้ ก็โดยอาศัยที่ได้ย่อความเป็นส่วนมากมาจากคัมภีร์ สาราวลี อีกทอดหนึ่ง ฯ
หมายเหตุ
ในโศลกนี้ผู้แต่งคัมภีร์ได้ไหว้พระระฆุอีกครั้งหนึ่ง พระระฆุนี้เป็นชื่อปางชื่อหนึ่งของพระวิษณุที่อวตารลงมาช่วยปราบยุคเข็ญในมนุษย์โลก บางคัมภีร์กล่าวว่าเป็นปางที่ ๒ ซึ่งมีชื่อเต็มว่า ระฆุนันทนะ และในโศลกนี้ผู้แต่งก็ได้ยอมรับว่า ได้ใช้หลักเกณฑ์ส่วนใหญ่จากคัมภีร์สาราวะลี ซ่งเป็นคัมภีร์โหราศาสตร์ที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดคัมภีร์หนึ่ง