ในตอนที่แล้วผมได้อธิบายในเรื่องทฤษฎี ราศี-ดุลย-นวางศ์ (นวางศ์เทียบเท่ากับราศี)ไปแล้ว คราวนี้ก็มาถึงทฤษฎี นวางศ์-ดุลย-ราศี नवांश तुल्य राशि แปลความว่า ราศีเทียบเท่ากับนวางศ์ ซึ่งหลักการนี้คล้ายกัน เพียงมองไปอีกมุมหนึ่งเพื่อความสมดุลย์กันทั้งสองฝ่ายในหลักทฤษฎีนี้ถึงแม้ว่าจะใช้กันมากในโหราศาสตร์ระบบนาฑิ แต่ก็ยังสามารถใช้ได้กับดวงชาตาโดยทั่วไปทั้งในดวงเดิมและดวงจร ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยดวงชาตาได้ง่ายและละเอียดมากยิ่งขึ้น เพื่อความเข้าใจให้พิจารณาจากดวงชาตาตัวอย่างด้านล่างนี้
|
|
ราศีจักร |
นวางศ์จักร |
จากดวงตัวอย่าง ราศีจักร –ลัคน์-ราศีธนู ราศีจักร-ดาวอาทิตย์-ราศีสิงห์ นวางศ์จักร-ดาวอาทิตย์-นวางศ์มิถุน
ผม จะอธิบายเฉพาะดาวอาทิตย์กับลัคนาก่อน เพื่อเข้าใจง่ายขึ้น โดยให้ถือลัคนาจากราศีจักรเป็นหลักก่อน ซึ่งในดวงนี้ลัคนาสถิตราศีธนู ต่อมาดูดาวอาทิตย์ราศีสิงห์(เป็นเรือนที่ 10 ในราศีจักร) กับดาวอาทิตย์ในนวางศ์มิถุน(ตรงกับเรือนที่ 7 ในราศีจักร) ซึ่งอธิบายตามทฤษฎีนี้ว่า ดาวอาทิตย์ในนวางศ์มิถุนสามารถส่งผ่านอิทธิพลย้อนกลับมาที่ราศีมิถุน ในราศีจักรได้ ดังนั้นในดวงชาตานี้ในเรือนที่ 7 ว่าด้วยคู่ครองและการแต่งงาน ไม่ใช่มีเฉพาะดาวเสาร์สถิตย์อยู่ในราศีจักรเท่านั้น แต่ยังมีดาวอาทิตย์ส่งอิทธิพลร่วมกับดาวเสาร์ผ่านทางนวางศ์จักรอีกด้วย สรุปว่าดาวทั้งสองดวงนี้(เสาร์+อาทิตย์) มีความสัมพันธ์ต่อกันตามทฤษฎีนี้
เรือนชาตาในนวางศ์จักร
ก่อน จะอธิบายต่อไป เราจะต้องรู้จักชื่อของเรือนชาตาในดวงนวางศ์ก่อน ซึ่งในการเรียกชื่อเรือนต่างๆในดวงนวางศ์นั้น มีชื่อเรียกออกไปเป็นชื่อเฉพาะ เพื่อมิให้สับสนกับเรือนชาตาในราศีจักร โดยเรียงลำดับและมีความหมายเหมือนกับเรือนชาตาในราศีจักรดังนี้
- ลัคนาอัมศะ 2. ธนะอัมศะ 3. วิกรมมะอัมศะ 4. สุขะอัมศะ 5. ปุตระอัมศะ 6. อริอัมศะ 7. กลัตรอัมศะ 8. นิธนะอัมศะ 9. ธรรมะอัมศะ 10. กรรมะอัมศะ 11. ลาภะอัมศะ 12. วยายะอัมศะ
ดังนั้นในดวงชาตานี้ การพิจารณาตามทฤษฎีนี้จะต้องเอาลัคนาในราศีจักรเป็นหลัก คือ ราศีธนู (ไม่ใช่ลัคนาในนวางศ์จักร) ก็จะได้ ดาวเคราะห์ที่เป็นเจ้าเรือนต่างๆในนวางศ์จักรที่สมดุลย์กับราศีจักรดังนี้
- ดาวอาทิตย์-นวางศ์มิถุน-กลัตระอัมศะ (สมดุลย์กับเรือนที่ 7 ปัตนิ)
- ดาวจันทร์-นวางศ์พิจิก-วยายะอัมศะ (สมดุลย์กับเรือนที่ 12 วินาส)
- ดาวอังคาร-นวางศ์พิจิก-วยายะอัมศะ (สมดุลย์กับเรือนที่ 12 วินาส)
- ดาวพุธ-นวางศ์สิงห์-ธรรมะอัมศะ (สมดุลย์กับเรือนที่ 9 ศุภะ)
- ดาวพฤหัส-นวางศ์เมษ-ปุตระอัมศะ (สมดุลย์กับเรือนที่ 5 ปุตตะ)
- ดาวศุกร์-นวางศ์ธนู-ลัคนาอัมศะ(สมดุลย์กับเรือนที่ 1 ตนุ)
- ดาวเสาร์-นวางศ์เมษ-ปุตระอัมศะ (สมดุลย์กับเรือนที่ 5 ปุตตะ)
- ราหู-นวางศ์มังกร-ธนะอัมศะ (สมดุลย์กับเรือนที่ 2 กดุมภะ)
- เกตุ(สากล)-นวางศ์พฤษภ-นิธนะอัมศะ (สมดุลย์กับเรือนที่ 8 มรณะ)
ย้อน กลับไปข้างต้น โดยมองเฉพาะจากด้านของราศีจักรจะเห็นว่า ในเรือนที่ 7 ปัตนิ(ราศีจักร)มีดาวเสาร์สถิตอยู่ในราศีมิถุน(ราศีจักร)ดาวเสาร์เป็นเจ้า เรือนที่ 2และ 3 (เรือนกดุมภะ-สหัชชะ ในราศีจักร)และ เมือมองผ่านนวางศ์จักรตามทฤษฎีนี้จะมีดาวอาทิตย์สถิตย์ร่วมด้วย (กลัตระอัมศะ=ปัตนิ) และดาวอาทิตย์เป็นเจ้าเรือนที่ 9 ทั้งในดวงราศีและดวงนวางศ์( ศุภะ=ธรรมะอัมศะ) การพิจารณาผลของเรือนที่ 7 ในดวงนี้ก็คือ ดาวเสาร์เป็นเจ้าเรือนกดุมภะ+สหัชชะ+ ดาวอาทิตย์เป็นเจ้าเรือน-ธรรมะอัมศะ (เรือนที่ 2+เรือนที่ 3+เรือนที่ 9) สรุปความว่า คู่ครองของเจ้าชาตานี้ จะต้องมาจากความเป็นเพื่อน(สหัชชะ) มีเงิน (กดุมภะ) มาจากทางไกล มีชื่อเสียงและมีคุณธรรม (ธรรมะอัมศะ)