ในบรรดาวรรคทั้ง 16 วรรคในดวงชาตา(ส่วนย่อยของราศีทั้ง 16 -โษทศวรรค) "นวางศ์" นับเป็นวรรคที่สำคัญที่สุดของโหราศาสตร์ฮินดู ซึ่งโดยปกติแล้วในการวินิจฉัยดวงชาตา ราศีจักร และ นวางศ์จักร จะต้องนำทั้งสองอย่างมาพิจารณาประกอบพร้อมๆกัน
การศึกษารายละเอียดของนวางศ์จักร และการนำไปใช้อย่างเหมาะสม จะสามารถช่วยให้เรามองเห็นเหตุการณ์ในระดับลึกในชีวิตของเจ้าชาตาได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก ดวงนวางศ์จักร ถือว่าเป็นภาพขยายของดวงชาตา และทำให้การวินิจฉัยดวงชาตาสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น
สำหรับ นวางศ์ นั้นก็คือ 3 ° :20 'x 12 = 40 ° (เป็นรอบนับจากนวางศ์เมษไปนวางศ์ราศีมีน) วงรอบของ 12 ลูกนวางศ์จะมีรอบละ 40 ° จะเกิดซ้ำกันในทุกๆ ช่วงๆละ 40 ° ดังนั้น นวางศ์ราศีเมษ จะเกิดซ้ำ 9 ครั้งใน 1รอบจักรราศี ในทำนองเดียวกันกับลูกนวางศ์อื่น ๆ เช่น นวางศ์ราศีพฤษภไปจนถึงนวางศ์ราศีมีน โดยจะเกิดซ้ำเก้าครั้ง โดยในโหราศาสตร์ตะวันตก หรือโหราศาสตร์สากล มุม 40 ° แบบนี้เรียกว่า "Nonile Aspect" ซึ่งหมายถึงพลังงานแห่งความสมบูรณ์แบบและ / หรือความเป็นอุดมคติ
โยคเกณฑ์และเทคนิคบางอย่างที่มักใช้ใน ดวงนวางศ์จักร สำหรับการพยากรณ์ ได้แก่ -
1. ในดวงนวางศ์จักร ตำแหน่งตรีโกณ 120 ° ของดาวเคราะห์ใดใด ก็จะเสวยนวางศ์ราศีเดียวกันและนักษัตรฤกษ์เดียวกันเสมอ และดาวเคราะห์เจ้านวางศ์กับดาวเจ้าฤกษ์ทั้งสองนี้ ถือว่าเป็นคู่มิตรกัน ตัวอย่าง เช่น ดาวศุกร์เสวย 2 ° ในราศีเมษ ซึ่งก็คือดาวศุกร์เกาะนวางศ์ราศีเมษ และ 120 °องศาก็คือ 2 ° ในราศีสิงห์ ซึ่งก็เกาะนวางศ์ราศีเมษเช่นเดียวกัน อีกทั้งเสวยทลิทโทฤกษ์เหมือนกัน โดยมีดาวเกตุเป็นดาวเจ้าฤกษ์อีกเหมือนกัน ดังนั้น ดาวศุกร์ที่สถิตย์นวางศ์เมษ กับ ดาวอังคารเจ้านวางศ์และดาวเกตุเจ้าฤกษ์ถือว่าเป็นคู่มิตรต่อกัน
2. ในพื้นดวงชาตาคู่บ่าวสาว หากดาวจันทร์ในดวงชาตาของเจ้าบ่าวเกาะนวางศ์ที่ 88 หรือ นวางศ์ที่ 108 เมื่อนับจากนวางศ์ที่ดาวจันทร์ของดวงชาตาเจ้าสาวเกาะ จะบ่งบอกถึงความชั่วร้ายรุนแรงในชีวิตแต่งงาน
3. ในช่วงเวลาของพิธีมงคลสมรส (णिग्रहण ปาณิคฺรหณ ) ห้ามมีดาวเคราะห์สถิตย์ในนวางศ์ที่ 55 จากลัคนาในดวงฤกษ์
4. ในพื้นดวงกำเนิดของบุคคลใดก็ตาม หากในราศีใดมีดาวเคราะห์ดวงเดียวเกาะนวางศ์ลูกที่ 5 (ซึ่งก็คือนวางศ์ที่อยู่กึ่งกลางราศี-ปัญจมนวางศ์) จะทำให้เจ้าชาตาเป็นคนที่มีสถานะ มีเกียรติยศและมีตำแหน่งสูง
5. ในพื้นดวงกำเนิด นวางศ์ที่ 36 จากนวางศ์ที่ดาวจันทร์เกาะ เรียกว่า กรรมะภาม (कर्मभाम् ) ,นวางศ์ที่ 64 จากนวางศ์ที่ดาวจันทร์เกาะ เรียกว่า นวางศ์มรณะ หรือ สางฆะติกะ( सांघातिक) , นวางศ์ที่ 72 จากนวางศ์ที่ดาวจันทร์เกาะ เรียกว่า ไวนาศิกะ (वैनाशिक) ,นวางศ์ลำดับที่ 96 จากนวางศ์ที่ดาวจันทร์เกาะ เรียกว่า มานะสะ (मानस)
ในดวงจร เมื่อดาวบาปเคราะห์โคจรผ่าน "นวางศ์ทั้งสี่" ข้างต้น เจ้าชาตาจะต้องทนทุกข์ทรมานจากความปวดร้าวทางจิตใจ การสูญเสียความมั่งคั่งและโรคภัย ซึ่งโรคดังกล่าวจะสร้างความเจ็บปวดอย่างรุนแรงให้แก่เจ้าชาตา
และหากดาวเคราะห์สำคัญในดวงชาตาได้มีโยคเกณฑ์กับหรือโคจรเกาะ "นวางศ์ทั้งสี่" ข้างต้นของพื้นดวงกำเนิด ไม่ว่าจะนับจากลัคนา หรือดาวจันทร์ หรือดาวอาทิตย์ ก็จะบ่งบอกว่ามีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในชีวิตของเจ้าชาตา ซึ่งก็จะมีทั้งทางดีและทางร้าย ผลจะเด่นชัดมากขึ้นหากดาวเคราะห์นั้นเป็นดาวที่โคจรช้า เช่น เสาร์ พฤหัส ราหู เป็นต้น
ส่วนดาวเคราะห์ที่เคลื่อนที่เร็ว เช่น ดวงอาทิตย์ ดาวอังคาร ดาวพุธและดาวศุกร์ก็จะให้ผลลัพธ์ที่น้อยลงเช่นกัน
6. ดาวเคราะห์ใด ๆ ที่อยู่ในนวางศ์ราศีของภพที่ 8 ของราศีจักร เรียกว่า นิธะนัมมะอัฏฐะ ถือได้ว่าให้โทษรุนแรง เช่น ลัคนาราศีพฤษภ ภพที่ 8 ของราศีพฤษภคือราศี ธนู ดังนั้น นวางศ์ราศีธนู ย่อมให้โทษ
7.ลัคนาของนวางศ์จักร เรียกว่า อุทิตะ นะวางศะ उदितनवांश หรือ ลัคนานวางศ์ และสำหรับนวางศ์แรกในจรราศี ,นวางศ์กลางในสถิระราศี และนวางศ์สุดท้าย ในทวิภาวะราศี เรียกว่า "วรโคตมนวางศ์" หากลัคนาของเจ้าชาตาเกาะวรโคตมนวางศ์นี้ จะทำให้เจ้าชาตาได้เป็นผู้นำ
8.ดาวเคราะห์ใดใดที่โคจรผ่านนวางศ์ที่เป็นจุดเชื่อมต่อของเรือนต่าง ๆ จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างเต็มที่ ณ เวลานั้น และจากจุดเชื่อมต่อทั้งหมด คือจุดเชื่อมต่อของเรือนที่ 10 ถัดมาก็คือเรือนที่ 4 และสุดท้ายคือเรือนที่ 7 มีความสำคัญสูงสุดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย หากดาวปาปเคราะห์ เช่น ราหูหรือเกตุผ่าน นวางศ์ ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เกิดเหตุการณ์ที่น่าเศร้าในช่วงมหาทศาที่ดาวนั้นๆเสวยอายุ
9. องศาที่ 21 °, 14 °, 24 °, 7 °, 21 °, 14 °, 24 °; 7 °, 21 °, 14 °, 24 °และ 7 °ในราศีเมษและราศีถัดไปนับไปจนถึงราศีมีน เรียกว่า ปุษการะองศา หรือปุษการะนวางศ์ ซึ่งมีประโยชน์ในการเลือกเฟ้นฤกษ์ยามมงคล(มุหูรตะ) สำหรับกิจกรรมมงคลโดยทั่วไป
10.ในการกำหนดช่วงเวลาดี-ร้ายของเหตุการณ์ในชีวิตของแต่ละบุคคล เราจะใช้เทคนิคในการนับ 1 ลูกนวางศ์จะเท่ากับหนึ่งปีของอายุเจ้าชาตา ด้วยเทคนิคนี้ลูกนวางศ์นับจากนวางศ์ลัคน์ไปจนถึงอายุที่ประสงค์ เริ่มตั้งแต่ 1 ขวบเป็นต้นไป และในนวางศ์ที่ผ่านมาเหล่านั้นครอบครองด้วยดาวเคราะห์ใดใด ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ดีหรือร้ายแก่เจ้าชาตา เป็นรายปีตามลำดับลูกนวางศ์
การโคจรของดาวเคราะห์ โดยใช้นวางศ์จักรนับเป็นเครื่องมือที่สำคัญและเชื่อถือได้ ในการกำหนดเวลาและเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตของแต่ละบุคคล
ทั้งนี้ยังต้องพิจารณาถึงผลของดาวเคราะห์ที่โคจรช้า เช่น เสาร์ ราหู พฤหัส และเกตุ(สากล) และดาวเคราะห์โคจรเร็ว เช่น อาทิตย์ จันทร์ ฯลฯ ทั้งราศีจักรและนวางศ์จักร อันจะทำให้เกิดเหตุการณ์เชิงบวกหรือเชิงลบในชีวิตของแต่ละบุคคล