Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

ฤกษ์ยามคืออะไร

ฤกษ์ยามเป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนรู้จักมักคุ้นกันมานาน แต่ฤกษ์ยามก็มีหลายระดับชั้น มีการใช้ตำรากันผิดแผกแตต่างกันมากมาย แต่สิ่งที่ผมจะเขียนบอกเล่าในวันนี้ก็คือ ฤกษ์ยามในแบบของโหรจริงๆ นั่นก็คือแบบโหรหลวงใช้กันนั่นแหละครับ

ฤกษ์ยามแบบนี้ในสมัยโบราณถือว่าเป็นฤกษ์ยามชั้นสูง คนสามัญทั่วไปจะใช้กันไม่ได้ จะใช้ได้ก็แต่เจ้าพระมาหกษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงเท่านั้น เพราะว่ากันว่าในสมัยก่อนกว่าจะคำนวนดวงดาวได้ก็ตั้งใช้เวลากันเป็นวันๆแถมการคำนวนและการศึกษาวิชาโหราศาสตร์ชั้นสูงนี้ก็แทบจะคนเล่าเรียนได้ยากนัก จะมีก็แต่โหรในวังหรือก็พระภิกษุผู้ทรงแตกฉานในคัมภีร์โบราณ เช่นสุริยาตร์ สารัม เท่านั้น  ชาวบ้านทั่วไปแทบจะไม่มีสิทธิใช้ฤกษ์แบบนี้กันได้เลย แต่ชาวบ้านก็มีแต่ฤกษ์ทั่วๆไปแบบชาวบ้านๆเช่น ยามอุบากอง วันและดิถีตามแบบกาลโยคประจำปี ว่าวันไหนดีไม่ดี เป็นต้น ในยุคนี้เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนยี การคำนวนดวงดาวหรือโหราศาสตร์ภาคคำนวนนั้นทำได้ง่ายดายกว่าเดิมมาก เพียงแค่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวเท่านั้น องศาลิปดา ของดาวต่างๆ ก็จะปรากฏออกมาให้เห็นและคำนวนกันได้อย่างง่ายดาย ทำให้หมดปัญหาในเรื่องของการคำนวนออกไปได้

 

 

ส่วนโหราศาสตร์ในภาคพยากรณ์นั้น ก็มีตำหรับตำราออกมามากมายเรียนกันไม่หวาดไม่ไหวกันเลยที่เดียว แต่ในส่วนของฤกษ์ที่ผมใช้นั้นก็คือมาจากหลักครูโหรไทยโบราณ ผสมผสานกับหลักโหราศาสตร์แบบพระเวทย์หรือโหราภารตะซึ่งก็เป็นหลักครูของโหรไทยอีกที

หลักเกณฑ์ของการหาฤกษ์แบบนี้ เรียกว่าชั้นครูเลยที่เดียว หากใครศึกษาโหราศาสตร์ (ต้องเป็นวิชาโหราศาสตร์ระบบดวงดาวเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่วิชาหมอดูทำนายทั่วๆไป) ก้ต้องเรียกว่าช่ำชองกันมานานนับสิบปีที่เดียวจึงจะให้ฤกษ์ยามใครต่อใครเอาไปใช้ได้ เพราะวิชาหาฤกษ์ยามนั้นจัดว่าเป็นสุดยอดของวิชาโหรแท้ๆ เป็นวิชาโหราศาสตร์ขั้นสูงซึ่งศึกษาร่ำเรียนกันยากมากๆ  แต่เดี๋ยวนี้ผมเห็นหลายคนเพิ่งจะหัดเรียนโหรหรือเรียนหมอดู เรียนไปมาสองสามเดือนก็ตั้งตนเป็นอาจารย์ดูดวงให้ฤกษ์กันแล้ว ซึ่งก็น่าหวาดเสียวกันพอดู

วิชาฤกษ์นั้น เป็นหลักสำคัญในการแก้ไขดวงชาตาหลักหนึ่งซึ่งสำคัญมาก เพราะด้วยฤกษ์ยามที่จะกระทำการมงคลหรือเริ่มกิจการอันใดอันหนึ่งนั้นให้เจริญเติบโต รุ่งเรืองไปได้ตลอดรอดฝั่งนั้นจำเป้นจะต้องใช้ดวงชาตาของเจ้าการ (ที่ต้องทำการนั้น) ผสมผสานกับฤกษ์ที่อยู่บนฟ้าให้เหมาะสมลงตัว โดยดวงฤกษ์ได้ไปทำการแก้ไขจุดเสียในดวงชาตาดวงเดิมของเจ้าการอีกทั้งได้ส่งเสริมให้คุณแก่ดวงเดิมของเจ้าการนั้นๆ ให้ประกอบกิจการเจริญก้าวหน้าได้อย่างมั่นคง  ซึ่งถ้าหากดวงเดิมของเจ้าการไม่ดีหรือมีจุดเสียแล้ว ดวงฤกษ์นี่แหละที่จะช่วยปัดเป่าอุปสรรคหรือช่วยแก้ไขปัญหาใดใดไปได้โดยง่าย แต่หากดวงเดิมมีคุณหนุนนำแล้ว การใดฤกษ์ยามที่ดีก็จะช่วยส่งเสริมให้ไปได้ดียิ่งๆขึ้น

 

อีบุ๊คแจกฟรี สอนวิธีการคำนวนฤกษ์ยามชั้นสูงอย่างละเอียด

free

ปฏิทินฤกษ์มงคล ฤกษ์ยาม 3 ระบบ ไทย จีน ฮินดู

ปี 2557

 

free

วิธีการให้ฤกษ์ยามชั้นสูง

คู่มือใช้ปฏิทินฤกษ์มงคล ฤกษ์ยาม 3 ระบบ ไทย จีน ฮินดู

 

 

วิชาฤกษ์นั้นเป็นวิชาที่ว่าด้วย กาลและเวลาที่เหมาะสมสำหรับกระทำการอย่างใดอย่างที่ที่เราสามารถจะหวังผลตามที่เราปรารถนาได้ โดยใช้กฏเกณฑ์ของวิชาโหราศาสตร์ที่ตกทอดสืบต่อมานับพันๆปี มาแล้วและยังใช้ได้ผลดีเยี่ยมแม้ในปัจจุบัน

แต่ปัจจุบันคนทั่วไปมักเข้าใจผิดคิดเอาเองว่า วันนี้ดีวันนั้นดี เช่นว่า วันที่ 9 เป็นวันดี วันพฤหัสบดีเป็นวันดี หรือเวลา เช่น 09.09 นาทีเป็นฤกษ์ยามงามดีเป็นต้น ซึ่งผิดกับหลักการของฤกษ์ยามกันไปมากมายมายอย่างยิ่ง และวันดังกล่าวที่เคยเชื่อหรือยึดถือนั้น ไม่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวิชาโหราศาสตร์แต่อย่างใด และก็ไม่สามารถเชื่อถือหรือรับประกันได้ว่าวันนั้นวันนี้จะดีไปได้ตามที่เราปรารถนา หรือความเชื่อแบบหมดดูชาวบ้าน เช่นบอกว่าเกิดวันอังคารแล้วจะต้องทำการมงคลวันศุกร์เท่านั้นเพราะเป็นคู่มิตรกัน นี่ก้ไม่ใช่ฤกษ์อีกเช่นกัน  หรือใช้ฤกษ์ระบบอื่นมาปนเปกัน เช่น ปีนี้เป็นปีชง ห้ามคนเกิดลัคนาราศีเมษแต่งงาน นี่ก็ไม่ใช่ฤกษ์ หรือวันนี้เป็นวันดีเป็นวันอธิบดี วันธงชัย สามารถทำการมงคลได้ทุกชนิด นี่ก็ไม่ใช่ฤกษ์อีกเช่นกัน

ส่วนอีกอย่างหนึ่ง บางคนก็เชื่อถือฤกษ์ยามกันเหมือนกัน แต่ก็กลับไปยึดเอาเฉพาะฤกษ์บน หรือฤกษ์งามยามดีของปฎิทินทั่วไปๆ ระบุว่าวันนี้ดีเป็นมงคล วันนี้เป็นวันอธิบดี วันธงชัย ฯลฯ แล้วก็ยึดถือเอาตามนั้น และเริ่มประกอบกิจการไปตามฤกษ์นั้นๆตาปฎิทิน ซึ่งก็ไม่ถูกต้องอีกเช่นกัน

ฤกษ์จริงๆนั้นก็คือการนำฤกษ์บน ตามที่เราเห็นในปฎิทินนั่นแหละว่าวันนี้เป็นฤกษ์ดี เป็นมงคล แล้วนำผมผสมผสานกับดวงชาตาของเรา (ฤกษ์ล่าง) ว่าเข้ากันได้ไหม ตามหลักโหราศาสตร์  ซึ่งก็ไม่แน่ว่า ฤกษ์ดีตามปฎิทินที่ว่าดีนั้นแต่เมื่อเอาดวงชาตาเราไปผสมแล้วกลับกลายปรากฏว่าเป็นฤกษ์ร้ายสำหรับเราก็เป็นไปได้บ่อยๆ เห็นกันได้แบบชาชินกันทั่วๆไป

ส่วนฤกษ์ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกก็คือ ดวงฤกษ์ที่เราต้องการนั้นเราจะเอาไปทำอะไร เช่นว่า แต่งงาน ออกรถ ขึ้นบ้านใหม่ ลาสิกขาบท ฯลฯ ซึ่งก็ได้มีกฏเกณฑ์เฉพาะเป็นเรื่องๆไป จำอาแบบสุกเอาเผากินไม่ได้เลยเป็นอันขาด โดยเฉพาะเรื่องฤกษ์นี่ ถือว่าให้คุณให้โทษกันได้แบบเห็นจะจะมีการวัดผลกันมานานถึง 6000ปีมาแล้ว (เฉพาะของโหราศาสต์ภารตะ)

ตัวโหราผู้ให้ฤกษ์เองก็มีตัวบทกฏเกณฑ์และหลักครู ท่านกำหนดให้มาอยู่แล้ว ว่าต้องใช้กฏเกณฑ์แบบไหน ในเรื่องอะไร และหากกระทำการให้ฤกษ์โดยเจตนาร้ายแก่ผู้อื่น ก็ต้องโดนครูอาจารย์ท่านสาปแช่นกันแบบไม่ได้ผุดได้เกิดกันเลยทีเดียว

ฉะนั้นเรี่องฤกษ์ยามโหรทั้งหลายจึงได้กลัวกันนักกันหนา บางคนเรียนโหรมานานนับสิบๆปีแต่ไม่กล้าให้ฤกษ์ยาม ก็เพราะกลัวว่าถ้าหากผิดพลาดผลั้งเผลอไปก็จะเป็นโทษแก่ตนเอง ไม่เหมือนการพยากรณ์ดวงชาตาหากผิดพลาดผลั้งเผลอก็ยังจะพอทำเนา ฉะนั้นผู้ให้ฤกษ์จะต้องมีคุณธรรมเป็นหลักใหญ่ จะเห็นแก่อามิสสินจ้างใดใดไม่ได้เลย และผู้ที่ให้ฤกษ์ยามได้ก็ต้องศึกษาวิชาโหราศาสตร์มาไม่น้อยกว่า 10 ปีจึงพอที่ให้ฤกษ์ให้ยามกันได้

และที่ต้องระวังก็คือการใช้ฤกษ์ที่ได้มาจาก...

1."บุคคลที่ไม่มีความรู้ทางวิชาโหราศาสตร์" และไม่มีประสบการณ์เพียงพอ แต่รู้วิชาหมอดูซึ่ง  ผู้ที่จะให้ฤกษ์ยามระบบนี้กันได้มีเฉพาะผู้ที่ศึกษาวิชาโหราศาสตร์ไทยและ/หรือโหราศาสตร์ภารตะอินเดียเท่านั้น เพราะวิชานี้มีประสบการณ์การสืบทอดมามากกว่า 6000 ปี มีการตรวจสอบสอบทานหลักวิชามาโดยตลอด

ส่วนวิชาโหราศาสตร์สากล หรือโหรตะวันตก อันนี้ผมก็ไม่รับรอง แต่อาจจะให้วันดีวันมงคลที่สมพงษ์แก่เจ้าชะตาได้บ้าง แต่ก็ไม่มีหลักวิชาที่ให้ฤกษ์ที่เป็นระบบ 

วิชาโหราศาสตร์ยูเรเนียน อันนี้มีประวิติเพิ่งเกิดมาเพียง 100 กว่าปี ปูมโหรที่บันทึกไว้ไม่เพียงพอไม่น่าจะสามารถให้ฤกษ์ยามได้ แต่อาจจะให้วันดีวันมงคลที่สมพงษ์กับเจ้าชะตาได้บ้างแต่ไม่มีใครยืนยันได้ว่าถูกต้องเพราะมีปูมโหรเพียง100 ปี แต่โหราศาสตร์ภารตะมีมานานกว่า 6000 ปี

โหราศาสตร์จีนที่ให้ฤกษ์ยามได้ดีเทียบเท่ากับโหราศาสตร์ไทยนั้นก็คือ"หลักวิชาชีเจิ้งซื้ออวี"七政四餘 หรือกว๋อเล่าซิงจง ﹐果老星宗เท่านั้น ที่มีการคำนวนด้วยระบบดาราศาสตร์และ ระบบ 28 นักษัตรและใช้คัมภีร์แม่บทของอินเดียโบราณผสมผสานกับหลักวิชาของลัทธิเต๋า ซึ่งในเมืองไทยไม่มีใครได้รับการสืบทอดวิชานี้หรืออาจจะมีบ้างแต่ไม่ได้เผยแพร่กันอย่างแพร่หลาย เหมือนโป๊ยยี่

ส่วนวิชาโป๊ยยี่สี่เถียวก็จะเทียบเท่าวิชาเลข7ตัว9ฐานของไทย  ความละเอียดในเรื่องการให้ฤกษ์ยามก็จะลดหลั่นกันลงไป

ส่วนวิชาหมอดูวิชาอื่นๆก็อาจให้วันดีและวันมงคลได้เท่านั้น "แต่ไม่สามารถให้ฤกษ์ยามได้ หรือวันที่สมพงษ์กับดวงชาตาใดใดได้"

2.ร่างทรงต่างๆ อ้างว่ารู้ฤกษ์ยามได้จากญาณทิพย์ อันนี้ตรวจสอบได้ยาก และส่วนมากก็ไม่ถูกต้อง

3.ปฎิทินแขวนที่จำหน่ายหรือแจกในท้องตลาดแล้วมีบรรยายว่าวันนี้ดีวันนั้นไม่ดี หรือวันนี้วันธงไชย ฯลฯ อันนี้ก็หยาบมากเกินไป และก็ใช้เป็นหลักในการคำนวนฤกษ์ยามไม่ได้ และไม่สามารถคำนวนว่าสมพงษ์กับเจ้าชาตาหรือไม่ อีกทั้งคำนวนด้วยดิถีตลาดทำให้คลาดเคลื่อนกับความเป็นจริงทางดาราศาสตร์

4.ปฎิทินโหราศาสตร์ไทยประจำปี อันนี้ก็ต้องดูให้ละเอียดมีหลายเจ้า หลายสำนัก เพราะโหรบ้านเราคำนวนกันคนละระบบปฎิทิน มีความแตกต่างคลาดเคลื่อนกันเป็นจำนวนมาก และคำนวนไม่ตรงกับความเป็นจริงทางดาราศาสตร์บนท้องฟ้า ผิดฤกษ์ ผิดดิถี ฯลฯ ก็เห็นกันบ่อยๆ บางปีทำเอาเสียกันทั้งระบบ คำนวนวันเข้าพรรษาผิดไป 1 วันทำเอาพระสงฆ์ศีลวิบัติกันทั้งประเทศ  หากไม่เชื่อลองอ่านบทความนี้ครับ...ปฎิทินคลาดเคลื่อนใครผิดใครถูก?

 

ว่ากันมายาวที่นี้ลองมาดูกฏเกณฑ์ของโหรว่าด้วยเรื่องฤกษ์กันบ้าง หลักใหญ่มีดังนี้

1.ห้ามวันที่พระเคราะห์ดับ หรือวันที่ดาวเคาระห์ทำมุม 0 องศากับดาวอาทิตย์ หากให้ฤกษ์ยามในวันแบบนี้เรียกว่าความวิบัติ จะเกิดขึ้นไม่เกิน 1เดือนหลักจากเริ่มทำการ ซึ่งพึงสังวรระวังกันให้มากๆ สำหรับนักโหราศาสตร์ทั้งหลาย

2.ห้ามวันพระเคาระห์เพ็ญ คือห้ามมีดาวดวงใดดวงหนึ่งในดวงฤกษ์ ทำมุม 180 องศากับดาวอาทิตย์ นัยว่าจะเกิดเหตุขัดแย้งกันรุนแรงถึงขั้นแตกหักกันเลยก็ว่าได้ ส่วนจะเกิดเรื่องอะไรนั้นก็ดูว่า ดาวดวงนั้นเป็นดาวอะไรอยู่ภพอะไร มีความหมายว่าอย่างไร

3.ห้ามวันพระเคาระห์ใหญ่ทำมุม จตุโกณแก่กัน พระเคาระห์ใหญ่ๆก็เช่นว่า ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ อังคาร ราหู

4.ลัคนาในดวงฤกษ์จะต้องไม่เป็นทุสถานะแก่เจ้าการ เช่นว่าไม่เป็น 6 เป็น 8 เป็น 12 บางครั้งแม้แต่จันทร์ในดวงฤกษ์ก็ไม่ควร

5.อย่าให้มีดาวเคาระห์สถิตย์อยุ่ทุสถานะภพในดวงฤกษ์ ข้อนี้ก้อาจจะยากสักหน่อย แต่อย่างไรก็ตามนักโหราศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญก็อาจจะปรุงดาวเคาระห์ให้อยู่ในกฏเกณฑ์ที่พอจะช่วยเหลือได้ เช่น เอาดาวบาปเคาระห์ไปอยู่ในเรือนอุปจัยแทน เช่น เรือนที่ 3 เรือนที่ 6 เรื่อนที่ 10 และ 11

6.อย่าให้ลัคนาลอย จะต้องมีดาวกุมลัคนาในดวงฤกษ์ด้วยเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง

7. การวางลัคนาควรให้เกาะนวางค์บาทที่เป็นราศีธาตุเดียวกัน เช่นลัคนาราศีธาตุไฟเช่นราศี เมษ สิงห์ ธนู ให้วางที่นวางค์อาทิตย์ (นวางศ์ที่ 5)

8.ห้ามวางลัคนาเกาะบาท”ฉินทฤกษ์” ก็คือ นวางค์แรกของราศีธาตุน้ำคือ ราศีกรกฏ พิจิก มีน และนวางค์สุดท้ายของราศีธาตุไฟ ซึ่งก็คือราศี เมษ สิงห์ ธนู อันนี้รวมความถึง “ภินทฤกษ์”ด้วย ซึ่งเป็นนวางค์บาทฤกษ์ที่ไม่บริบูรณ์ มีอดีตและอนาคตของบาทฤกษ์เกาะไปข้ามเกี่ยวของขอบเขตของราศีถัดไป นวางบาทฤกษ์เช่นนี้ไม่เป็นบูรณฤกษ์ หากไปทำการใดใดเข้า ผลร้ายและวิบัติต่างๆจะตามมามากมาย

9.ปรับใช้ ธรรมเนียมเก่า เช่น ดิถีต่างๆ จักขุมายา และกาลโยคประจำปีด้วย เนื่องจากโบราณที่ใช้มาแต่เดิม หากจะใช้แต่ขัดกับกาลโยคของชาวบ้าน ก็มักจะมีเหตุให้คนครหาเอาได้

จริงแล้วกฏเกณฑ์มีมากกว่านี้นับสิบๆข้อ แต่ก็อธิบายพอเป็นสังเขปเท่านั้น

หมายเหตุ 1)หากสงสัยว่าวิชาโหรฯมีการคำนวนดวงชาตาของฤกษ์ยามที่ละเอียดซับซ้อนและแตกต่างจากวิชาอื่นๆอย่างไร กรุณาอ่านบทความ โหราวิทยา บทที่ 4 การคำนวนกำลังดาวเคาระห์และเรือนชาตาโดยคลิ๊ก โหราวิทยาบทที่ 4 การคำนวณกำลังดาวเคราะห์และเรือนชาตา

หมายเหตุ 2)หากท่านเข้าใจว่าวิชาโหรฯเป็นวิชาที่งมงายไร้เหตุผล ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่มีหลักการ ขอให้ท่านเข้าไปศึกษา วิชาการคำนวณดวงชาตาของโหรฯเสียก่อน  โดยคลิ๊ก การคำนวณดวงพิชัยสงคราม,คัมภีร์สุริยยาตร์และมานัตต์

 

วิธีการใช้ฤกษ์


ดวงชาตาที่ผูกออกมาให้ตามระบบโหราศาสตร์ และดวงฤกษ์ที่ให้ไป (PDF  File) สามารถที่จะพิมพ์ออกมาใช้ได้หลายๆใบ สำหรับเอาไว้บูชาฤกษ์และดวงชาตาของตัวเอง หรือเอาไปให้โหรทำนายดวงชาตา หรือให้พระท่านสวดแผ่นดวงชาตาเสริมศิริมงคลได้ หรือ เอาไปจารใส่แผ่นทองแดงนากเงิน เพื่อบรรจุใต้ฐานพระประธานเพื่อเสริมชาตาได้นะครับ  ส่วนการยกเสาเอก การวางศิลาฤกษ์ การตั้งศาลให้นำดวงฤกษ์ที่ให้มานี้จารลงไปในแผ่นทองแดง แล้วบรรจุลงไปพร้อมกันด้วยนะครับ

การใช้ฤกษ์

การให้ฤกษ์โดยระบบโหราศาสตร์ภารตะหรือโหราศาสตร์แบบโหรพรามณ์ ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับโหราศาสตร์ไทยชั้นสูงที่ใช้กันในบุคคลชั้นสูงและการกำหนดพิธีกรรมในพระราชพิธีต่างของกษัตริย์ในสมัยโบราณ มีการคำนวนโดยวิธีการสลับซับซ้อนทางดาราศาสตร์และหลักการทางโหรซึ่งต่างกับโหราศาสตร์ระบบอื่นๆ  และกำหนดเป็นฤกษ์ยามเฉพาะตัวบุคคลนั้นๆในการทำการต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์เพียงเจ้าของฤกษ์คนเดียวเท่านั้น ผู้อื่นจะนำไปใช้ก็จะไม่เกิดผลดีตามฤกษ์ที่กำหนดไว้

บางคนชอบโทรมาถามว่าวันนี้เป็นวันดีไหม ผมตอบไม่ได้หรอกครับเพราะฤกษ์มีทั้งฤกษ์บนฤกษ์ล่าง ฤกษ์บนก็คือวันที่ดวงดาวบนท้องฟ้าให้พลังที่เป็นศุภผล เป็นวันดีก็จริง แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถใช้ได้ทุกคน หรือวันนี้เป็นวันดีฤกษ์ดีแต่จะดีตลอดทั้งวันก็หาไม่ และหากไปคำนวนดูชาตากำเนิดของเรา(ฤกษ์ล่าง) ก็อาจจะขัดแย้งกับฤกษ์บน(ท้องฟ้า) ก็ทำการมงคลในวันนั้นไม่ได้อีก  ที่พูดวันว่าวันนี้วันดีก็มิใช่ว่าจะดีเสมอไป เพราะฉะนั้นเข้าใจไว้ว่าวันดีมีทุกวัน แต่ฤกษ์ที่ดีเหมาะกับเรานั้นอาจจะทั้งปีมีแค่วันเดียว ส่วนวันร้ายก็มีทุกวันเหมือนกัน แต่จะร้ายกับเราทุกวันก็ไม่ใช่ ฉะนั้นฤกษ์ยามก็คือการคำนวนพลังความสัมพันธ์ระหว่างดาวบนท้องฟ้ากับมนุษย์ที่อยู่บนดินให้สัมพันธ์กันนั่นเอง

  1. เมื่อได้ฤกษ์ยามได้กำหนดไว้แล้วให้เตรียมการล่วงหน้าแต่เนิ่นๆเพื่อจะได้ไม่ให้ผิดพลาด เพราะหัวใจของฤกษ์ยามก็คือ”เวลา” ที่เป็นศุภผล
  2. ในการให้ฤกษ์ผมจะคำนวนเวลาที่เหมาะสมกับดวงชาตาของท่านที่ดี่ที่สุดเพียงฤกษ์เดียวเท่านั้น บางคนพยายามขอหลายๆวันเผื่อเลือก ซึ่งฤกษ์ที่ให้แต่ละฤกษ์คำนวนด้วยความยากลำบากมาก เพราะผมคำนวนด้วยมือ ดวชาตาแต่ละดวงชาตา อย่างน้อยก็ใช้เวลาเกือบชั่วโมง และสอบทานฤกษ์ในกฏเกณฑ์อื่นๆอีกเป็นวันๆ  (ไม่ใช่ฤกษ์ประเภทเปิดหนังสือดูปฎิทินแล้วให้ฤกษ์อย่างที่เราคุ้ยเคยกัน ซึ่ง 5 นาทีก็ให้ฤกษ์กันได้แล้ว)
  3. อย่างไรก็ตามการใช้ฤกษ์ชั้นสูงนี้มักจะมีเหตุที่ทำให้เจ้าการมักจะใช้ไม่ได้ตามเวลาที่กำหนดอยู่บ่อยครั้งอันเนื่องมาจาก ดวงฤกษ์ที่สูงเกินวาสนาของเจ้าการ(เจ้าของดวง) หรือเจ้าของดวงมีเหตุที่ถูกอุปสรรคขัดขวางจากเจ้ากรรมนายเวร หรือวิบากกรรมอื่นๆ ที่จะไม่ไห้ได้ผลสำเร็จตามฤกษ์นั้นๆ   เช่นว่า จะต้องออกรถในวันนี้ตามฤกษ์ แต่บังเอิญรถยังไม่เรียบร้อย ก็ออกรถในวันนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องระวัง
  4. การใช้เวลาตามฤกษ์ควรจะต้องคำนวนเวลาให้ตรงตามเวลาท้องถิ่นที่เป็นมาตรฐานสำหรับสถานที่นั้นๆ หรืออย่างน้อยนาฬิกาจะต้องตรง โดยเทียบจากเวลามาตรฐานของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ โดยโทรไปที่หมายเลข 181

ซึ่งจะบอกเวลามาตรฐานประเทศไทย ซึ่งผมใช้เวลามาตรฐานประเทศไทยนี้คำนวนฤกษ์ ฉะนั้นจะต้องตรงกันทั้งสองฝ่าย

  1. เวลาจากดวงฤกษ์ที่ให้เป็นการคำนวนเวลาเริ่มต้นของฤกษ์ และจะสิ้นสุดฤกษ์ เช่นฤกษ์ที่กำหนดเป็นเวลา 09.11 น. -09.29 น. หมายความว่าหัวใจในการทำกิจกรรมนั้นๆจะต้องเริ่มต้นในเวลา 09.11 น.จนถึง 09.29 น. (ปกติผมจะให้เวลาเริ่มต้นและเวลาสุดฤกษ์เอาไว้ให้)  เช่นการลงเสาเอก จะต้องกระทำการยกเสาลงหลุมให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด หรือการลาสิกขาบท ต้องให้การสวดบทขอลาสิกขาเริ่มต้นภายในเวลานี้  หรือการเอาผ้าสังฆาฏิออกจากตัว(แล้วแต่กรณี) ส่วนการตั้งศาลก็ให้ถือเอาเวลาที่อัญเชิญเจว็ดเข้าประทับในศาลหรือการตอกไม้มงคลวางรากฐานเพื่อยกเสาของศาล(แล้วแต่กรณี)  ส่วนกิจกรรมอื่นๆให้เทียบเคียงเอาตามนี้
  2. ส่วนหากกิจกรรมนั้นๆต้องใช้ระยะเวลามากกว่านี้ก็จะต้องให้มีการทำกิจกรรมต่อเนื่องโดยไม่ขาดตอนหรือหยุดไปกลางคัน ก็ยังถือเวลาอยู่ในเวลาของฤกษ์ได้
  3. แผ่นดวงฤกษ์พิมพ์ออกมาจากไฟล์ที่ผมให้มา เมื่อใช้เสร็จแล้ว ให้ใส่กรอบหรือไว้ที่หิ้งพระเอาไว้บูชาถือว่าได้บูชาเสริมดวงชาตาและดวงฤกษ์ของเราให้เกิดผลดีตลอดไป หากไม่สามารถทำได้ให้ทำการเผาด้วยไฟเท่านั้น ห้ามนำไปทิ้งในถังขยะ
  4. การใช้ฤกษ์ให้เกิดผลดีและเกิดศุภผลตามที่ท่านต้องการ อย่างน้อยที่สุดท่านจะต้องสมาทานศีล 5 รักษากายวาจาใจให้บริสุทธิ์ และในขณะที่กระทำการตามฤกษ์นั้นๆ จิตใจจะต้องแน่วแน่มั่นคงไม่หวั่นไหว ห้ามมีอารมณ์โกรธเคือง โมโห หรือมีเจตนาจะไปประทุษร้ายต่อใคร จิตใจต้องไม่วอกแวก สับสน วิตกกังวล ฯลฯ   เมื่อทำได้ครบตามที่กล่าวแล้วดวงฤกษ์ก็จะมีอิทธิพลังเป็นศุภผลส่งผลเกิดผลดีให้แก่ดวงชาตา และเกิดความเจริญรุ่งเรืองสืบไป
  5. บางคนมักชอบว่ามาขอฤกษ์กับผมต้องรอนานมากๆกว่าจะได้ บางคนเป็นเดือน บางคน สามเดือน บางคนรอมาหลายเดือนก็ไม่มีฤกษ์จะให้            ต้องขอชี้แจงอย่างนี้ว่า โหราศาสตร์ระบบนี้ไม่เหมือนระบบอื่น โหรผู้ให้ฤกษ์ ต้องต้องดูฤกษ์สำหรับการให้ฤกษ์ก่อนเหมือนกัน ไม่สามารถทำแบบสุกเอาเผากินไม่ได้ โหรผู้คำนวนฤกษ์ก็ต้องตรวจดวงดาวบนท้องฟ้าก่อนว่าวันไหนเหมาะแก่การคำนวนฤกษ์ วันไหนห้ามคำนวนฤกษ์ เช่น วันสิ้นปี สิ้นเดือน สิ้นปีนักษัตร วันพระจันทร์ดับ พระจันเทร์เต็มดวง วันโกน วันพระ วันดาวดับบนฟ้า วันที่ดาวพุธโคจรวิกลคตพักรองศา(อันนี้อาจต้องรอเป็นเดือน) วันที่มีคราส (ภายในหน้าหลัง 7 -14 วัน) ก็คำนวนฤกษ์ไม่ได้  เมื่อได้วันแล้วก็ต้องอาบน้ำชำระร่างกาย จุดธูปเทียนบูชาพระ พ่อแม่ครูอาจารย์ ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ ก่อนทำการคำนวนดวงฤกษ์ทุกครั้งไป ฉะนั้นฤกษ์ที่ออกมาจะเป็นอย่างไรก็ต้องดูชาตาและวาสนาของเจ้าชาตาก่อนด้วย

 


ที่มาของฤกษ์

คำว่าฤกษ์ส่วนมากจะสับสนกันมากว่าอันไหนเป็นฤกษ์สำหรับตัวเราและอันไหน เป็นฤกษ์สำหรับประกอบกิจกรรมที่เราต้องการจะเริ่มต้นใหม่เพื่อให้เกิดสวัด ิมงคล ตามหลักโหรพรามณ์(โหรภารตะ) และหลักโหราศาสตร์ไทยชั้นสูงส่วนมากก็มีหลักการคล้ายๆกัน แทบจะเรียกว่าเป็นระบบแบบแผนเดียวกัน  ซึ่งฤกษ์ในที่นี้ก็คือการคำนวนตามหลักดาราศาสตร์โดยอ้างอิงการโคจรของพระ จันทร์ที่โคจรไปรอบจักรราศีทั้ง 12 ราศี ซึ่งก็มีประวัติสืบทอดยาวนานมากว่า 5000 ปีมาแล้ว ซึ่งในราศีทั้ง 12 ราศีนี้ก็จะมีกลุ่มดาวฤกษ์ (Fixed Star) ที่สถิตย์อยู่คงที่  เรียงรายล้อมจักรราศีชั้นนอกเป็นรัศมี 360 องศาตามจักราศี  โดยโหราศาสตร์ระบบดั้งเดิมของอินเดีย ใช้ระบบ 28 นักษัตร (เหมือนของจีน) ต่อมาในยุคหลัง(ก็ประมาณพันกว่าปีมาแล้ว)โหราศาตร์อินเดียได้มีการปรับปรุง ลดลงให้คงไว้เพียง 27 กลุ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวนโดยระบบคณิตศาสตร์ระยะเชิงมุม(ตรีโกณมิติ) ซึ่งกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ ก็ได้จัดเรียงและกำหนดชื่อไว้ดังนี้

๑. อัศวินี, อัสสนี (ดาวม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุ ช) มี ๗ ดวง

๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง

๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง

๔. โรหิณี (ดาวพราหมีดาว ปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง

๕. มฤคศิร, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่าดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะ เนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง

๖. อารทรา, อทระ (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสําเภา) มี ๑ ดวง

๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสําเภา ดาวสําเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง

๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา หรือ ดาวสิธยะ) มี ๕ ดวง

๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕ ดวง

๑๐. มฆ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง

๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาว งูเมีย) มี ๒ ดวง

๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัว ตัวเมีย) มี ๒ ดวง

๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง) มี ๕ ดวง

๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ) มี ๑ ดวง

๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม) มี ๕ ดวง

๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕ ดวง

๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจําฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี ๔ ดวง

๑๘. เชฏฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง

๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙ ดวง

๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ,บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาว ราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง

๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ (ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง

๒๒. ศรวณะ, ศระวณ, สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง

๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา (ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี หรือ ดาวไซ) มี ๔ ดวง

๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ (ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง

๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ (ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง

๒๖. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า) มี ๒ดวง

๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง. (ส.; ป. นกฺขตฺต).

ทั้งหมดนี้เรียกว่ากลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง27 กลุ่ม ซึ่งเป็นหลักที่เราจะนำมาคำนวนพลังของกลุ่มดาวฤกษ์ว่ามีอิทธิพลดีร้ายต่อดวง ชาตาอย่างไร ที่นี้ก็มาดูว่ากลุ่มดาวฤกษ์ที่มี 27 กลุ่มนั้นก็ได้ถูกแบ่งย่อยตามอิทธิพลของดวงดาวออกมาเป็น 3 กลุ่มใหญ่กลุ่มละ 9 ดาวฤกษ์แต่มี 9 ชนิดหรือลักษณะ(อิทธิพล) ที่เราเรียกว่าฤกษ์จริงๆก็คือตรงนี้ โดยอิทธิพลของกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 9 ชนิดนั้นก็มีชื่อเรียกและความหมายดังนี้

  1. ทลิทโทฤกษ์ แปลว่า ผู้ขอ ขอทาน คนมักน้อย คนใจดีมีเมตตา
  2. มหัทธโณฤกษ์ แปลว่า คนมีทรัพย์ เศรษฐี
  3. โจโรฤกษ์ แปลว่าโจร ขโมย การต้อสู้แย่งชิง
  4. ภูมิปาโลฤกษ์ แปลว่า ผู้รักษาแผ่นดิน
  5. เทศาตรีฤกษ์ แปลว่า สามแผ่นดิน คนต่างถิ่น หญิงแพศยา (เวสิโย)
  6. เทวีฤกษ์ แปลว่า นางพญา งามสง่า มีเสน่ห์ ราชินี
  7. เพชฌฆาตฤกษ์ แปลว่า ผู้ฆ่า เพชฌฆาต
  8. ราชาฤกษ์ แปลว่า พระราชา ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
  9. สมโณฤกษ์ แปลว่า ผู้รักสงบ นักพรต นักบวช ฤาษี

เมื่อรู้คำแปลแล้วก็อย่าตกใจ เพราะนั่นเป็นเพียงชื่อเรียกขานเท่านั้น ฤกษ์บางฤกษ์ก็มีความเหมาะสมกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ  ชื่อฤกษ์ก็เพียงชื่อ เช่นเพชฌฆาตฤกษ์ก็เหมาะสำหรับการปลุกเสก อาคมของขลัง ตัดลูกนิมิต ผูกพัทธสีมา ฯลฯ ไม่ใช่เอาไว้ไปฆ่าใคร เพราะเพฆฌฆาตจริงๆแล้วแปลว่า”ผู้ตัด” อาจจะจะไปตัดอะไรก็ได้จะไปตัดหัวคนหรือตัดกิเลสก็ได้ทั้งนั้น

 

 

 

ส่วนเทศาตรี แปลว่าหญิงแพศยาก็เหมาะสำหรับเปิดร้านค้า ขายอาหารของกินของใช้ โรงมหสพ ให้คนเข้าไปใช้บริการมากๆแบบไม่เลือกชั้นวรรรณะ ยากดีมีจน คนชั่วคนดี เข้าไปได้หมด เปรียบเหมือนหญิงแพศยาที่คบกับใครไม่เลือกหน้า อะไรประมาณนั้น

อย่างไรก็ตามทางโหรก็มีกฏเกณฑ์ที่พอจะบอกได้ว่า ฤกษ์ทั้ง 9 ชนิดนี้ ฤกษ์ไหนดีฤกษ์ไหนชั่วเป็นเบื้องต้นก่อน (คำว่า”ฤกษ์ชั่ว”เป็นภาษาโหรนะครับแปลว่าไม่ดี) โดยกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 27 กลุ่มนี้ก็ได้ถูกจักรราศีทั้ง 12 ราศีครอบทับอีกที โดยจักรราศีมีลักษณะเป็นวงกลม มี 360 องศา และในจักรราศีก็มี 12 ราศี ๆละ 30องศา โดยมีหลักการคำนวน ดังนี้

12 ราศี = 360 องศา
1 ราศี = 30 องศา
1 องศา = 60 ลิปดา
1 ลิปดา = 60 ฟิลิปดา

ส่วน 27 กลุ่มดาวฤกษ์มีระยะหรือาณาเขตคาบเกี่ยวกันกับอาณาเขตของราศี มีหลักการคำนวนดังนี้

27 ฤกษ์ = 360 องศา
หรือ 1 ฤกษ์ = 360/27 = 40/3 องศา
= 40x60/3 ลิปดา = 800 ลิปดา

เพื่อเป็นการสะดวกในการคำนวนระหว่างตัวร่วมของเขตของราศีกับขอบเขตของ กลุ่มดาวฤกษ์ในจักราศี ก็เลยมีการค้นคิด นว-อัมศะ (แปลว่า 9 ส่วน) หรือเรียกว่า”นวางศ์”มาประกอบ โดยในจักราศีทั้ง 360 องศานี้แบ่งเป็น 108 นวางค์

ฉะนั้น 1 นวางค์ = 30/9 องศา = 30x60/9 ลิปดา = 200 ลิปดา
1 ราศี = 9 นวางค์
1 ฤกษ์ = 4 นวางค์

เมื่อเรารู้แล้วว่าใน1ราศีมี 30 องศา และมี 9 นวางศ์ เราเรียกชื่อตามลำดับว่า ปฐมนวางศ, ทุติยนวางศ, ตติยนวางศ, จตุตถนวางศ, ปัญจมนวางศ, ฉัฏฐมนวางศ, สัตตมนวางศ, อัฏฐมนวางศ และ นวมนวางศ ตามลำดับ จริงๆก็แปลว่า นวางศลูกที่ 1,2,3-9

และก็มีการแบ่ง1ราศีออกเป็นสามส่วนละ 10 องศาเรียกว่าตรียางค์ โดยรวมเอาทุกๆ 3 นวางค์ เป็น 1 ตรียางค์ และได้มีการกำหนดชื่อเรียกแต่ละ ตรียางค์ภายในราศีว่า ปฐมตรียางค์, ทุติยตรียางค์, ตติยตรียางค์ ตามลำดับ

ส่วนฤกษ์ทั้ง 27 ดาวฤกษ์ ก็แบ่งส่วนเป็น 1 ฤกษ์ ซึ่งมี 4 นวางค์ ได้มีการกำหนดชื่อเรียกแต่ละ นวางค์ภายในฤกษ์ ว่า ปฐมบาท, ทุติยบาท, ตติยบาท และ จตุตถบาท ตามลำดับ

ภาพ-การคำนวนดวงชาตาโดยใช้ระบบโหราศาสตร์ไทยโดยโปรแกรมของอ.พลังวัชร์

เมื่อรู้จักราศีและนวางศ์และขอบเขตของมันแล้วก็นำมาเรียงกันให้ครบ 360 องศาเป็นวงกลม

ทีนี้กลับมาที่ฤกษ์ดี-ชั่วกันต่อ

เมื่อเรียงลำดับทั้ง 27 ฤกษ์ครบทั้งจักราศีแล้วเราก็มาดูว่าฤกษ์ที่มี 4บาท (มี4ขา) ขาไหนคาบเกี่ยวกับไปราศีข้างหน้าหรือฤกษ์ไหนมีขาไปเกี่ยวกับราศีหลัง และฤกษ์ไหนอยู่ในราศีครบทั้งสี่บาท(สี่ขา) ภาษาโหรเรียกว่าฤกษ์คาบเกี่ยวอดีตไปกี่บาท ไปอนาคตกี่บาท ที่นี้ก็มีชื่อเรียกดังนี้

ก.บูรณฤกษ์ คือฤกษ์ที่นวางค์ทั้งสี่ลูกอาศัยในราศีใดราศีหนึ่ง ไม่คร่อมสองราศี เรียกว่าฤกษ์ดี สมบูรณ์พร้อม บริสุทธิ์

ข. ฉินทฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่ลูกนวางค์ทั้งสี่อยู่คร่อม ทั้งสองราศีซึ่งมีคือ เอกตรีนิคือฤกษ์ที่นวางค์ลูกแรกอยู่ราศีหนึ่ง อีกสามลูกไปอยู่ในราศีถัดไป ตรีนิเอก กลับกันกับเอกตรีนิคือฤกษ์ที่นวางค์สาม ลูกแรกอยู่ราศีที่หนึ่ง แต่นวางค์ลูกสุดท้ายไปอยู่ราศีถัดไปเรียกว่าฤกษ์ชั่ว

ค. ภิณทฤกษ์หรือฤกษ์อกแตก ฤกษ์นี้นวางค์สี่ ลูกของฤกษ์แบ่งครึ่งอยู่คนละราศี เรียกว่าฤกษ์ชั่ว(มาก)

แล้วก็มาดูว่าฤกษ์ทั้ง 27 กลุ่มๆไหนตรงกับกฏเกณฑ์ 3ข้อที่ว่านี้ก็ ตัดสินได้ว่ากลุ่มฤกษ์ไหนดี-ชั่ว

เมื่อเราแบ่งฤกษ์ได้แล้ว รู้ว่าอันไหนดีชั่วแล้วก็มาดูชื่อที่เราใช้เรียกกันตามลำดับ ก็คือ ทลิทโท มหัธโณ ฯลฯ แล้วก็เรียงไปให้ครบ 9 ชื่อ 9ดาวฤกษ์ แล้วก็ซ้ำอีก 2 ครั้งตามกลุ่ม ที่แบ่งซึ่งทุกกลุ่ม(1กลุ่มมี 9 กลุ่มดาวฤกษ์) ก็จะมีฤกษ์ ทลิทโท มหัธโณ โจโร ฯลฯ เหมือนกัน

เมื่อได้ชื่อดาวฤกษ์ ราศี บาทฤกษ์ ชื่อฤกษ์ เราก็จะพบว่าฤกษ์ดีชั่วมีผลออกมาดังนี้

ฤกษ์ดี หรือ ฤกษ์บริสุทธิ์ (บูรณะฤกษ์) ได้แก่ ทลิทโท มหัทธโน ภูมิปาโล เทวี ราชา สมโณ
ฤกษ์ไม่ดี หรือ ฤกษ์แตก (ฉินทฤกษ์ ภิณทฤกษ์) ได้แก่ โจโร เทศาตรี เพชฌฆาต

นี่เรียกว่าฤกษ์บน (ท้องฟ้า) สำหรับดูความเป็นพลังศุภมงคลจากฟากฟ้า ตามที่เรามักเห็นทั่วไปตามปฎิทินโหรนั่นแหละครับ ว่าวันนี้เป็นวันดี ฯลฯ ตามฤกษ์อะไรเป็นต้น --แต่--- ฤกษ์ยามที่เราจะใช้สำหรับประกอบกิจกรรมที่เป็นมงคลเฉพาะตัวของเรา ไม่ใช่ใช้ฤกษ์บนอย่างเดียวนะครับ เพราะต้องใช้ดวงชาตากำเนิดเรามาเทียบกับฤกษ์บนว่าสัมพันธ์กันหรือไม่ อันนี้เรียกว่า"ฤกษ์ล่าง" ซึ่งหลายๆคนมักไม่รู้ เดี๋ยวมาเล่าต่อครับ....

 


 

 

ปกติการคำนวนดวงฤกษ์และดวงชาตาในสมัยก่อนค่อนข้างยุ่งยาก (เรียกว่าโหราศาสตร์ภาคคำนวน) เพราไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ เดี๋ยวนี้ง่ายกว่าเดิมมาก แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องมีหลักการมาประกอบมิฉะนั้นก็ไมาเข้าใจ(เรียกว่าโหราศาสตร์ภาคพยากรณ์) ปัจจุบันนี้ผมใช้โช้โปรแกรมโหราศาสตร์ของอินเดียชื่อ "จักรนารท โหราไลท์" มาช่วยในการคำนวน

โปรแกรมสามารถบอกรายละเอียดดวงชาตาและฤกษ์ยามบนท้องฟ้าตามหลักดาราศาสตร์ที่ถูกต้องขององค์การนาซา

การคำนวนกำลังของดาวเคราะห์หลายระบบ เช่น ษัฑพละ

การคำนวนทักษาเสวยอายุ เช่นระบบ วิมโษตรีทักษา ราศีทักษา นักษัตรทักษา ฯลฯ

การคำนวนโดยระบบอัษฐวรรค

การคำนวน จันทรการณ จากองศาดาวจันทร์

การคำนวน วรรคทั้ง 16 วรรค (โษทศวรรค) และการคำนวนในระบบโหราศาสตร์ภารตะที่

ละเอียดซับซ้อนยิ่งนัก

การคำนวนพลังอิทธิพลของดวงอาทิตย์ที่มีต่อเจ้าชาตา

 


 

 

ฤกษ์บน-ฤกษ์ล่าง

อย่างที่กล่าวกันมาแล้วว่าฤกษ์ที่อยู่บนท้องฟ้าตามปฎิทินโหร ที่บอกว่าวันนี้เป็นวันดี ฤกษ์ดีเหมาะแก่การมงคลต่างๆนั้น เรียกว่าฤกษ์บน ซึ่งเป็นฤกษ์ทั่วไป แต่เราก็อาจะใช้ไม่ทุกคนเสมอไปนะครับ เพราะหากสอบเข้ากับดวงชาตากำเนิดเราแล้วก็อาจจะเป็นฤกษ์ที่ไม่ดีก็ได้

ฉะนั้นการใช้ฤกษ์ที่เหมาะกับตัวเราจริงๆจะต้องสมดุลย์กันทั้งฤกษ์บนและฤกษ์ล่าง(ของเราด้วย) อย่างที่บอกมาแต่แรกว่าฤกษ์ดีประเภทบูรณฤกษ์ เช่น ทลิทโท มหัทธโน ภูมิปาโล เทวี ราชา สมโณ แต่หากมาคำนวนดวงชาตาของเราไปร่วมด้วย ก็ต้องให้เป็นบูรณฤกษ์เช่นเดียวกัน คือจะต้องตก ทลิทโท มหัทธโน ภูมิปาโล เทวี ราชา สมโณ
เช่นกัน แต่บางทีมันมักมิใช่อย่างนั้น ก้อาจจะตกฤกษ์ร้ายประเภท โจโร เทศาตรี เพชฌฆาต ซึ่งนำผลร้ายมาให้ ส่วนการคำนวนสอบฤกษ์บน-ล่างให้ถูกต้องก็ต้องให้โหรเป็นผู้คำนวนจึงจะรู้ได้ หากได้สัมพันธ์กันทั้งฤกษ์ บน-ล่าง ก็นับว่าเป็นฤกษ์ที่ดีสำหรับตัวเราโดยบริสุทธิจริงๆ ก็จะบันดาลผลดีส่งอำนวยให้ หากฤกษ์บนดี แต่ฤกษ์ล่างไม่ดีก็อาจจะเป็นฤกษ์ที่ให้ผลดี-ร้ายคลุกเคล้ากันไป

ผู้คนส่วนมากมักจะละเลยการใช้ฤกษ์ยามที่ถูกต้องตามหลักโหราศาสตร์ ส่วนมากก็ใช้ฤกษ์สะดวก ฤกษ์ที่คิดเอาเอง ว่าดี เช่น วันที่ 9 ดี 9โมงเช้าดี วันศุกร์ดี วันที่เป็นวันสำคัญ เช่นวันสงกรานต์ วันวาเลนไทน์ วันขึ้นปีใหม่ วันขึ้น 15 ค่ำดี ตอนเช้าดี ฯลฯ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเป็นอย่างยิ่ง วันและเวลาดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องใดใดกับฤกษ์ แต่บางวันก็นับว่าให้โทษรุนแรงมากในเรื่องฤกก์ยาม เช่นวันสงกรานต์ ซึ่งทุกคนคิดว่าดีเป็นมงคล แต่ในคติทางโหราศาสตร์กลับเป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายราศียกเข้าราศีเมษ และเป็นวันสุดท้ายของปีนักษัตร (ซึ่งบางปีจะตกประมาณวันที่ 13 หรือ 14 หรือ 15 )ซึ่งเป็นกฏห้ามฤกษ์อันดับหนึ่งของโหร ห้ามให้ฤกษ์ใดใดเป็นอันขาด

อีกอย่างที่เป็นสมัยนิยมเช่นการตดทะเบียนสมรสในวันวาเลนไทน์ ซึ่งคิดว่าเป็นวันแห่งความรัก จะช่วยให้ความรักยั่งยืน แต่ในทางโหรนับว่าเป็นวันที่เสี่ยงเอาการ เพราะหากปีใดวันนั้นเป็นวันดีนั่นก็พอไปได้ แต่หากปีใดตกวันไม่ดี เรื่องร้ายๆระหว่างความรักย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่น่อน

จากปัจจุบันจะเห็นว่าเกิดสถิติการหย่าร้างสูง อุบัติเหตุทางรถยนต์ การตาย การบาดเจ็บ ก้เพราะคนในปัจจุบันไม่เชื่อเรื่องฤกษ์ยาม หรือใช้ฤกษ์ยามแบบผิดๆที่ไม่ถูกต้องตามหลักโหรราศาสตร์

ทำไมจึงกล่าวอย่างนั้น ก้เพราะเหตุที่ว่า หากเราไปออกรถ หรือไปจดทะเบียนหรือลงทุนเข้าหุ้นส่วน เริ่มต้นทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งโดยไม่ได้ดูฤกษ์ แต่เรากลับไปทำการนั้นๆ แล้วเกิดปัญหาผิดพลาดขึ้นมา ลองเอาวันเวลาที่เราทำการนั้นไปสอบทานฤกษ์กับโหรผู้รู้โหราศาสตร์คำนวนแล้ว ท่านก็มักจะบอกเหตุร้ายต่างๆที่เกิดขึ้นกับเราจากเวลาที่เราไปทำการนั้น(โดยไม่ดูฤกษ์)ได้อย่างชัดเจน

ในทางกลับกันหากเราใช้ฤกษ์ยามเข้าช่วยแล้ว อย่างน้อยผลร้ายต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นก็ถูกดวงฤกษ์ทำลายลบล้างไปหมด และกิจกรรมต่างๆที่กระทำไปก็สามารถที่จะหวังผลตามที่เราต้องการได้โดยการกำหนดฤกษที่สอดคล้องกับกิจการนั้นๆ แต่หากปีนั้นดวงเราไม่เหมาะกับการกิจการใดใด โหรผู้คำนวนดวงชาตาและฤกษ์ก็จะสามารถบอกล่าวตักเตือนเราให้รู้เสียก่อนว่าไม่ควรกระทำในช่วงเวลานั้นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลร้ายที่จะเกิดขึ้น เช่นห้ามลงทุน ห้ามเข้าหุ้นส่วน ห้ามแต่งงาน ฯลฯ

 


ความหมายของโหราศาสตร์

โหรา วิทยา-อารัมภบท

โดย อาจารย์รัตน์-ศิระ นามะสนธิ

การศึกษาโหราศาสตร์ให้ได้ความรู้ที่ลึกซึ้งนั้น จำเป็นต้องพยายามทำความเข้าใจในหลักการโหราศาสตร์ให้แจ่มแจ้ง ทฤษฎีต่างๆทางโหราศาสตร์กำหนดใว้ให้เป็นเครื่องมือ ค้นคว้าตรวจสอบอิทธิพลของดาวเคาระห์ที่สำแดงปรากฏการณ์ต่อพื้นปฐพี เรื่องนี้บางคนยอมรับว่าความเป็นไปของชีวิติสัมพันธ์กัความเคลื่อนไหวของ เหตุผลลึกลับในจักรวาล เช่นในความหมายของโชคดี โชคร้ายส่วนบุคคล ความเจริญรุ่งเรืองและตกต่ำของอาณาจักร ความเจริญและความเสื่อมเสียในความปรารถนาในความก้าวหน้าของมนุษย์ ทั้งความวิวัฒนาการและความทรุดโทรมของศิลปะ,วิทยา,วรรณกรรมและปรัชญา บางคนปิดหูหลับตาปฎิเสธความสัมพันธ์ไม่ว่าทางใดใด ที่มีอยู่จริงในระหว่างประชากรของดลกกับดาวเคราะห์ ความจริงที่ปฎิเสธเป็นเพราะผู้นั้นมีจิตใจเป็นอคติทำให้เกิดความลำเอียง ความรังเกียจเดียดฉันท์ และความหลงยึดถือ การพิจารณาตรวจสอบด้วยความไม่มีอคติเท่านั้นที่จะสามารถให้ได้เห็นคุณค่าของ ความเป็นจริง ที่แฝงอยู่ของเขตของวิทยาการแต่ละอย่าง คนฉลาดบางคนผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงที่พยายามขัดแย้งเพราะมีมูลเหตุเพียงมีอคติ หรือความลำเอียงในจิตใจ ด้วยการโต้แย้งหลักฐานที่เสนอด้วยความเป็นจริง ก่อนได้ศึกษาทฤษฎีและความเข้าใจในกฏหลักต่างๆกันแล้ว การวินิจฉัยในเรื่องของโหราศาสตร์ การลงความเห็นภายหลังการตรวจสอบทฤษฎี และขั้นสุดท้ายด้วยการทดลองปฏิบัติตามแนวทางของทฤษฎี จนเป็นที่พอใจเสียก่อน ไม่มีวิทยาหรือศิลปะใดใดที่น่าสนใจในการให้ความรู้และเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ ในการช่วยเหลือทางศีลธรรมและความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุได้มากว่าวิทยาการสูง สุดด้านโหราศาสตร์  วิทยการนี้เป็นวิทยากรเก่าแก่ที่สุดของวิทยาการทั้งมวล ที่เจริญรุ่งเรืองเต็มที่ในดินแดนภารตะมาหลายพันปีมาแล้ว

นักวิทยาศาสตร์และผู้ที่มีความรู้ทาง ดาราศาสตร์สมัยนี้ยิ้มเยาะโหราศาสตร์และไม่ยอมรับความดูหมิ่นอย่างที่สุดคิด เห็นไปในทางเป็นของเลวทรามและคิดเห็นว่าความเห็นของตนเป็นฝ่ายที่ถูกต้อง เสมอด้วยความทนงตนและความงมงาย วิธีชีแจงสั่งสอนของบุคคลจำพวกนี้เปิดเผยดีและวิจัยด้วยความยุติธรรมและ เหตุผล แต่เมื่อถูกแนะนำให้รู้จักโหราศาตร์กลับแสดงความหลงวิชาที่ตนรู้อย่างรุนแรง

โหราศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สามารถที่ให้คำพยากรณ์ล่วงหน้าได้โดยอาศัยมูลฐาน การเคลื่อนไหว โดยปกติวิสัยของดาวเคราะห์ที่สำแดงให้เห็นปรากฏการณ์ในเรื่องโชคดีโชคร้าย ของบุคคล เคาระห์กรรมของอาณาจักร แผ่นดินไหว โรคร้ายแรง ภูเขาไฟระเบิด และเหตุอุบัติอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์บนพื้นปฐพี คำว่าโหราศาสตร์เป็นภาษาสันสกฤตหมายความว่า “ศาสตร์ที่กล่าวถึงเรื่องของเวลา” และเรียกว่า “โชยติษ” หรือความรู้ที่ให้ความสว่างแก่มนุษย์

ผู้มีจิตใจปกติจะปฎิเสธอิทธิพลของดาวเคาระห์ที่สำแดงอำนาจแก่มนุษย์ นในเรื่องของความปิดกั้นและการให้ความสะดวกแก่การดำรงชีพต่อไปในแนวทาง  ประการของชีวิตมนุษย์ คืออุปนิสัย ลักษณะ ความคิด และพละกำลังในความปรารถนา

เป็นที่รู้แจ้งทั่วไปว่า ให้ห้วงจักรวาลมีอิทธิพลธรรมชาติที่แน่นอนอย่างหนึ่งแผ่สร้านปกคลุมอยุ่ไป ทั่ว และปฐพีที่เราอาศัยอยู่นี้ก็อยู่ภายใต้อิทธิพลลี้ลับและเคลื่อนไหวอยู่เสมอ นี้ด้วยการสร้าง การบำรุงรักษาและการทำลาย การเปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจของกาลเวลา ซึ่งเป็นผลลัพท์ของอิทธิพลทางธรรมชาติในจักรวาล

ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาลในระบบดวงดาวบนท้องฟ้า ดาวเคราะห์และดาวนักษัตรหลากหลายอยู่ภายใต้อิทธิพลรังษีของดวงอาทิตย์

การโคจรของดวงอาทิตย์เป็นมูลเหตุให้มีการเปลียนแปลงฤดู การให้ความเจริญงอกงามแก่เมล็ดพันธ์พืช และการเจริญเติบโตของสัตว์อ่อน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆบนพื้นพิภพ

ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และสำแดงอิทธิพลเหนือพิภพมากมาย เช่นการขึ้นลงของน้ำในแม่น้ำและทะเลตลอดจนพฤษชาติ สัตว์ และมนุษย์ล้วนแล้วได้รับการเปลี่ยนแปลงเพราะอิทธิพลของจันทร์มากน้อยดี ร้ายอย่างไร สุดแท้แต่คราวที่จันทร์เป็นจันทร์แรมและจันทร์ที่เป็นข้างขึ้น

ดังนั้นเป็นความแน่นอนโดยไม่เปลี่ยนแป ลงที่วัตุธรรมชาติทั้งมวล ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเลื่อนไหวของดาวเคาระ ห์ในเวหา และมีใช่เพียงแต่เท่านี้ อิทธิพลนี้ยังครอบคลุมถึงความเจริยในการงอกของเมล็ดพืช และความเจริญสมบูรณ์ของทารกและสัตว์อ่อนในครรภ์ด้วย จะเป็นผลดีร้ายมากน้อยอย่างไร สุดแต่ปริมาณและคุณภาพของอิทธิพลในขณะเวลาตั้งครรภ์

โหราศาสตร์ไม่ใช่ศาสตร์ในเรื่องโชคลาง เวทมนต์ ลายมือและการเสี่ยงทาย โหราศาสตร์เป็นศาสตร์ที่แปลความหมายของโชคเคาระห์ปัจจุบันและอนาคตจากผลอดีต กรรมของบุคคล ซึ่งหมายโดยที่สถิตย์ของดาวเคาระห์ในเวลาเกิด

ผู้ใดรู้ความจริงในเรื่องอิทธิพลของดาวเคาระห์ จะสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าในลักษณะของจิตใจ และร่างกายของบุคคลตลอดจนโชคร้ายที่คอยให้ผลในอนาคตและการดำรงชีพได้อย่าง ถูกต้องถ้าได้รู้เวลาเกิดที่แน่นอน

เมื่อผู้ใดได้รู้ผลของอดีตกรรมของตนได้อย่างถูกต้อง ก็อาจจะสร้างพฤติกรรมหรือปรับปรุงจิตใจและร่างกายให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ ชี้หมายอย่างกว้างขวาง อิทธิพลของดาวเคาระห์เพื่อต่อสู้ระยะที่เป็นผลร้ายต่อชีวิตให้เบาบางลง ความปรารถนาของบุคคลไม่มีขอบเขตจำกัด แต่ถ้าความปรารถนานั้นเป็นความปรารถนาที่ต้องการความสุขในชีวิตจากสิ่งที่ ไกลจากเหตุผลของธรรมะ ผู้นั้นก็ไม่สามารถเข้ถึงคุณค่าในเนื้อแท้ของการบรรเทาทุกข์ จะไม่มีความสุขและขาดความก้าวหน้าในการดำรงชีวิต “คนโง่ย่อมตกเป็นทาสของ อิทธิพลแห่งดาวเคาระห์ ส่วนคนฉลาดเตรียมพร้อมเสมอที่จะต่อสู้ยับยั้งผลของอิทธิพลนั้นให้บรรเทาเบา บางลง”