การเปลี่ยนปีนักษัตร (ชวด,ฉลู ฯลฯ)
เนื่องการนับปีนักษัตรแบบโบราณ เช่น ชวด ฉลู ขาล ฯลฯ มีคความนิยกและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไปในประเทศจีนและประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า ลาวกัมพูชา และเวียดนาม แม้แต่ไทยเองในการใช้ปีนักษัตรและการเปลี่ยนปีนักษัตรก็ยังมีความสับสนและแตกต่างกันอยู่มากทั้งแบบของราษฎร์และของหลวง บางคนก็นึกว่าตนเองเกิดปีชวด แต่พอมาผูกดวงทางโหราศาสตร์ไทยก็กลายเป็นปีฉลูไป หรือแม้แต่จีนเองการนับปีนักษัตรก็ต่างกันไปอีก ผมจะอธิบายย่อๆพอให้เข้าใจนะครับ ว่าการนับปีนักษัตรนั้นมีการนับแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
1.การนับปีนักษัตรแบบจีน จะใช้การเปลี่ยนนักษัตรในวันสารทลิบชุน หรือสารทที่เริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ ประมาณเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ หรือก่อนวันตรุษจีนประมาณ 1-15 วัน ซึ่งไม่เท่ากันในแต่ละปี
2.การนับนักษัตรแบบไทยก็มีกัน 5 แบบดังนี้
2.1การนับตามปฎิทินโหราศาสตร์ของอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว จะเปลี่ยนปีนักษัตรในวันที่ 1มกราคมของทุกปี
2.2การนับตามปฎิทินโหราศาสตร์ของอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร จะเปลี่ยนปีนักษัตรในวันที่ 1เมษายนของทุกปี
2.3การนับตามปฎิทินหลวง สำนักพระราชวัง จะเปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น 1 ค่ำเดือนอ้าย (เดือน 1ไทย) ซึ่งจะตกราวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม หรือหลังจากวันลอยกระทงแล้ว 15 วัน
2.4การนับตามปฎิทินโหราศาสตร์ของอาจารย์พันเอกสุชาติ ศุภประเสริฐ จะเปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ของทุกปี
2.5การนับปีนักษัตรแบบทางเหนือ จะเปลี่ยนในวันสังขารล่อง หรือในวันสงกรานต์
เมื่อเป็นแบบนี้ก็ขึ้นอยู่ว่าเราจะเลือกใช้แบบไหน หรือครูอาจารย์ท่านใดใช้หลักไหนในการดูดวงชาตา ก็อนุโลมตามนั้นครับ