ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

“ หยางกง ” บูรพาจารย์ฮวงจุ้ยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน


บูรพาจารย์ “เอี๊ยอุ้งซ้งซือจุง” หรือ“หยางจวินซง 楊筠松” หรือ “หยางกง” หรือ “เอี๊ยกง”  นามว่าอี้ 益 (ประเสริฐ) ชื่อรองคือ ซู่เม่า 叔茂(ผู้เจริญ) ฉายาท่านคือ จิ้วผิน救貧(โปรดคนตกทุกข์ได้ยาก) เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของตระกูลหยาง เกิดเมื่อรัชกาลจงเหอในสมัยราชวงศ์ถัง大唐中和 ในเวลาสุก戌時 (เวลานักษัตรจอ 19-21.00น.) ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ปีกะอิ๊ง 甲寅   บรรพบุรุษเป็นชาวมณฑลโต้วโจว竇州(ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลกวางตุ้ง) บิดานามว่าซุ่เสียน 淑賢มีบุตรชาย 3 คน คนโตชื่อ จวินอวี้ 筠翌 คนรองชื่อ จวินปิ้น คนที่ 3 คือตัวท่าน จวินซง 筠松


บูรพาจารย์“หยางจวินซง” ในวัยเด็กศึกษาฉันทลักษณ์กาพย์โคลงและวิชาประวัติศาสตร์จนเชี่ยวชาญ เมื่ออายุ 17 สอบได้เข้ารับราชการ ในรัชกาลพระเจ้าซีจงแห่งราชวงศ์ถัง ในสมัยนั้นผู้ปกครองและเหล่าขุนนางล้วนแล้วแต่โลภโมโทสัน ใช้จ่ายทรัพย์สินเงินทองอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อเสวยสุขของตัวเองไปวันวันๆ บ้านเมืองนับวันก็ยิ่งอ่อนแอ เสื่อมโทรม  และเก็บภาษีอย่างหนัก ขูดรีด จนประชาชนอดอยากยากไร้
หวงเฉา 黃巢ได้เป็นผู้นำปลุกระดมชาวบ้านให้ก่อการจลาจล กองทัพประชาชนโบกธงธิวปลิวสบัด ในเดือนที่ 12 ของปีที่หนึ่งแห่งศักราชกวงหมิง 唐廣明กองทัพประชาชนก็ได้เข้ายึดครองด่านถงกวน 潼關แล้วก็เข้ายึดเมืองหลวง ฉางอัน พระจ้าถังสี่จง (หลี่ซวน)  唐僖宗[李儼] เห็นดังนั้นก็ตกพระทัย รีบนำพระสนม 3 นางพร้อมพระโอรส 4 องค์ กับนายทหารม้าอารักขาจำนวน 500 นาย หลบหนีออกจากเมืองฉางอันไปยังเสฉวน

 

ท่านหยางกง เทวะอาจารย์ของสมาคมเต็กก่า ในประเทศไทย

 


ในตอนนั้น หยางจวินซงขุนนางผู้ซื่อสัตย์ มีตำแหน่งเป็นพระราชครูของฮ่องเต้ 紫光祿大夫รับผิดชอบดูแลหอดูดาวและสำรวจภูมิศาสตร์ในหอสมุดหลวง  โดยที่ตัวท่านเองก็เป็นคนสมถะมักน้อย ไม่เคยหวังลาภยศสรรเสริญ ขณะนั้นท่านได้เห็นความพินาศของราชวงศ์ถัง ท่านจึงได้รวบรวมคัมภีร์ลับของปราชญ์โบราณเกี่ยวกับศาสตร์ฮวงจุ้ย นำออกมาจากหอสมุดหลวงหลวง เช่น คัมภีร์จ้างจิง 葬經ของท่าน ชิงอูจื่อ คัมภีร์จินหนางจิง錦囊經ของท่านกวอผู่ คัมภีร์จัวไม่ฝู  捉脈賦ของท่านเถาคัน คัมภีร์เจี้ยสุ่ยซัว界水說ของพระเถระอี้สิง คัมภีร์สุ่ยฝ่า ของท่านซือหม่าโถวทอ คัมภีร์โป๊ยยี่  八字และคัมภีร์เทียนจี天機ของท่านชิวเหยียนฮั่น ล้วนแล้วแต่เป็นคัมภีร์ที่ถูกหวงแหนเก็บรักษาไว้ในหอสมุดหลวง จนเมื่อท่านได้นำคัมภีร์เหล่านี้ออกมาเพื่อเก็บรักษาและต่อมาท่านได้นำวิชาความรู้เหล่านี้เผยแพร่สู่สาธารณะชน
เมื่อเกิดเหตุจลาจลในเมืองหลวง ท่านจึงได้สลัดทิ้งยศถาบรรดาศักดิ์และตำแหน่งขุนนาง หลีกหนีจากเมืองฉางอัน หวนกลับไปเป็นชาวบ้านธรรมดา จากนั้นก็เริ่มใช้วิชาฮวงจุ้ยออกช่วยเหลือชาวบ้าน ไปทั่วทุกแห่งหน และสำรวจหาชัยภูมิอันเป็นมงคลและมีพลัง เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านสร้างสุสานบรรพชน

 


 ศาลเจ้าหยางกง ที่หมู่บ้านซานเหลียวชุน

 


ในขณะที่ท่านอายุได้ 45 ปี เพื่อหลีกหนีความวุ่นวายจากเหตุจลาจลของหวงเฉา ก็เลยตัดสินใจ หลีกเร้นกายเพื่อหาความสงบ ปลงผมบนศีรษะขึ้นไปบำเพ็ญธรรมบนเขาคุนหลุน บังเอิญได้พบกับพระแม่จิ่วเทียน 九天玄女บนเขา  ท่านได้ประทานความรู้เกี่ยววิชาภูมิศาสตร์-ดาราศาตร์ และสั่งสอนเคล็ดลับและความหมายในคัมภีร์ลับของปราชญ์โบราณต่างๆที่นำออกมาจากหอสมุดหลวง
จากนั้นท่านก็ได้เดินทางท่องเที่ยวไปทั่ว ศึกษาภูมิทัศน์และชื่นชมภูเขาลำเนาไพร เพื่อประจักษ์ความจริงในสิ่งที่ได้เล่าเรียนมา  

เมื่อเดินทางมาถึงเมืองเฉียนโจว   虔州ก็ได้รับศิษย์ 2ท่านคือ เจิงเหวินเชียน และหลิวเจียงตง   曾文辿、劉江東และทั้งสามท่านก็ได้ร่วมเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วทุกแคว้นทั้งดินแดนเหนือใต้ ชื่มชมและศึกษาความงดงามของลำธารสายน้ำ และขุนเขาที่เลื่องชื่อ และเมื่อได้พบพานกับชัยภูมิที่เป็นมงคล ก็จะวาดและจดบันทึกเอาไว้เพื่อนำมาเผยแพร่ให้กับอนุชนรุ่นหลัง  ขณะที่ท่านเดินทางหากพบกับคนยากไร้ ตกทุกข์ได้ยาก หรือเผชิญอันตรายอย่างใดๆท่านก็ได้เข้าไปทำการช่วยเหลือ จนได้สมญานามว่า “หยางจิ้วผิน” 楊救貧หรือ ท่านแซ่หยางผู้ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก
ท่านทั้งสามยามใดเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ก็มักจะกลับไปพักค้างแรม ณ ริมแม่น้ำเหลียว เพื่อผ่อนคลายและชื่มชมภูมิทัศน์โดยรอบฝั่งแม่น้ำอันงดงาม

 

 

ศาลท่านหยางกง (องค์กลาง) ท่านเจิงเหวินเชียน (องค์ซ้าย) และท่านเลี่ยวอวี่

 


โดยที่ท่านเฉิงเหวินเชียน ได้รับการสั่งสอนวิชาฮวงจุ้ยจากท่านหยางกง และให้ท่านสืบทอดวิชาฮวงจุ้ยไปยังชนรุ่นหลัง ต่อมาทางวังหลวงให้คนมาสืบหาคัมภีร์โบราณที่หายสาบสูญไปจากหอสมุดหลวง แต่ท่านเจิงเหวินเชียนได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าเมืองเฉียนโจวอย่างลับๆ โดยการรับคัมภีร์ลับเหล่านั้นส่งกลับคืนหอสมุดหลวงและท่านก็หลุดรอดจากการสอบสวนมาได้ในที่สุด

ต่อมาอาจารย์และเหล่าศิษย์ ได้เดินเรือมาถึงคอคอดหันซิ่น ปากแม่น้ำเอี้ยวโข่ว ในปีที่ 3 แห่งรัชสมัยพระเจ้าถังเทียนโย่ว (ค.ศ.906) ถูกลอบวางยาพิษจนถึงแก่ความตาย สิริอายุได้ 73 ปี บรรจุศพไว้  ใกล้กับฝั่งแม่น้ำเหมยเจียง ณ หมู่บ้านหยางกง ตำบลกวานเถียน อำเภออวีตู มณฑลเจียงซี และอยู่ห่างจากตำแหน่ง “ม้านั่งตั้งศาล”  หรือ ศาลบรรพชนตระกูลก่วน 管氏宗祠ประมาณ 1กม. โดยตำแหน่งสุสานของท่านอาจารย์ ได้ศิษย์เอกคือท่านเจิงเหวินเชียน เป็นผู้สร้างและหาตำแหน่งด้วยตัวเอง มีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า”สุสานแปดเซียนเล่นหมากรุก” และได้บรรจุศพท่านอาจารย์ ณ ขึ้น 9 ค่ำเดือน 3 ปีแกซิม ศักราชกวงฮั่วปีที่ 3 ต่อมาเกิดอุทกภัยหนัก ตลิ่งแม่น้ำทรุดลงมา ส่งผลให้สุสานท่านอาจารย์จมอยู่ก้นแม่น้ำ จนหาร่องรอยไม่เจอ


เรื่องเล่าของ”ม้านั่งตั้งศาล 板凳定向”

นี้เล่ากันมาว่า ชาวตระกูลก่วนดำริคิดจะตั้งศาลบรรพชน ก็เลยเชิญท่านหยางกงมาช่วยตรวจดูชัยภูมิให้ ปรากฏว่าหยางกงได้มาถึงแล้ว แต่หัวหน้าตระกูลก่วนยังไม่เห็นมา มีแต่คนงาน 2-3 คนกำลังปรับที่ทางอยู่  และคนงานก็ไม่รู้จักว่าท่านคือใคร เห็นว่าท่านแต่งกายธรรมดาๆ ก็เลยไม่มีใครให้ความสนใจท่าน ท่านเลยวัดตำแหน่งองศาของศาลบรรพชนเองโดยที่ไม่มีใครรู้ พร้อมกับนำม้านั่งมาวางไว้ที่จุดคำนวนตำแหน่งแล้วท่านก็จากไป ต่อมาเมื่อหัวหน้าตระกูลก่วนเดินทางมาถึงก็ไม่พบท่านเสียแล้ว ก็เลยให้คนรีบรุดตามไปจนพบท่าน แต่ท่านก็บอกว่า มาถึงตรงนี้แล้วก็คงไม่กลับไปหรอก แต่ได้วัดตำแหน่งที่ตั้งศาลเอาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ให้ไปดูที่ม้านั่งริมฝั่งแม่น้ำก็จะรู้เอง หลังจากนั้นตระกูลก่วนก็ได้สร้างศาลบรรพชนเอาไว้ที่ตำแหน่งม้านั่งของท่านหยางกง โดยตั้งชื่อศาลว่า “จวี้ซู่ถัง” “繼述堂” ปัจจุบันศาลนี้ก็ยังคงอยู่แม้กาลเวลาจะผ่านไปเป็นพันปีมาแล้ว

กาลต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง ในปีที่ 7 แห่งรัชกาลว่านลี่ (ค.ศ.1579) เสนาบดีนามว่าท่านเยี่ยม่งซง葉夢熊เคยอยู่ที่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเหมยเจียง เห็นสายน้ำจากหมู่บ้านเหอโถว ไหลพุ่งตรงไปยังไหล่เขาที่เรียกว่า “คอคอดหันซิ่น 寒信峽” ตกลงไปยังตำแหน่งสุสานขอท่านหยางกงพอดี ก็เลยตั้งป้ายศิลาทำจากหินสีแดงจารึกว่า”ท่านหยางกง ราชครูแห่งราชวงศ์ถัง” “唐國師楊公”เอาไว้เพื่ออุทิศแด่ท่านหยางกง นับถึงปัจจุบันนี้ก็กว่า 400 ปีแล้วที่ป้ายศิลาแกะสลักนี้ก็ยังอ่านได้ชัดเจน (ปัจจุบันถูกเก็บรักษาเอาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ของตำบลอวี๋ตู) อนิจจา ท่านหยางกง ผู้ซึ่งเป็นดุจดังเทวดาแห่งพื้นพิภพที่ถึงแม้จะจากไปนานแล้ว แต่ศิลปะวิชาความรู้ที่ท่านได้ถ่ายทอดมาและฉายานาม”จิ้วผิน” ผู้ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก ก็ยังคงอยู่

 

 

(ซ้าย) ฮวงซุ้ยที่ท่านหยางกงคำนวนสถานที่ให้ชาวบ้าน (ขวา) ป้ายจารึกแทนหลุมศพของท่านหยางกงที่ริมแม่น้ำ

 


การมรณกรรมของท่านหยางกง

 


สืบเนื่องมาจากการหาตำแหน่งโอรสสวรรค์“天子地”ให้กับ พระเจ้าหลูกวงโหว 盧光稠 ต่อมาพระเจ้าหลูกวงโหวเกรงว่า คนอื่นๆจะได้ฮวงจุ้ยโอรสสวรรค์เหมือนกับตน ก็เลยฆ่าท่านหยางกงเสีย  ในบันทึกของพงศาวดารของมณฑลกั้นโจว ได้บันทึกเอาไว้ว่า “พระเจ้าหลูกวงโหว ได้เชิญท่านหยางกงมาหาตำแหน่งที่ดิน”โอรสสวรรค์”ที่จะสร้างฮวงซุ้ยให้กับบิดา มารดาของตน เพื่อตนจะได้เป็นใหญ่ในแผ่นดินแต่เพียงผู้เดียว เมื่อได้ตำแหน่งฮวงจุ้ยโอรสวรรค์แล้วก็ย้ายหลุมฝังศพ บิดามารดาไปฝังไว้แล้วถามท่าน หยากงกว่า ฮวงจุ้ยโอรสสวรรค์นี้ยังมีที่อื่นอีกไหม ท่านหยางกงตอกว่า “ยังมีอีก” ท่านกล่าวอีกว่า ทุกๆที่ล้วนแบ่งออกเป็น 18 ทิศ   หลูกวงโหวจึงถามว่า”ทิศไหนเป็นทิศโอรสสวรรค์ ท่านจึงตอกว่า “ทุกๆทิศล้วนมีโอรสสวรรค์”  หลูกวงโหวเกรงว่าคนอื่นจะได้ฮวงจุ้ยโอรสสวรรค์ไป ก็เลยลอบวางยาพิษในสุราให้ท่านหยางกงดื่ม ท่านหยางกงหลงดื่มเข้าไปพิษกำเริบเสียชีวิต ณ ปากน้ำเอี้ยวโข่ว (ปากยา)
ก่อนหยางกงเสียชีวิต เห็นว่า หลูกวงโหวไม่มีคุณธรรม หากปกครอบ้านเมืองต่อไปประชาชนจะเดือดร้อน ก็เลยบอกลูกศิษย์ของท่านคือท่าน เจิงเหวินเชียน ให้ทำลายฮวงจุ้ยโอรสสวรรค์เสีย      

โดยให้ขุดบ่อน้ำและใส่กังหันน้ำที่ปากน้ำหมอเชอ磨车湾เพื่อทำลายชี่ของโอรสสวรรค์ ท่านเจิงเหวินเชียง สงสัยจึงถามถึงเหตุผล ท่านหยางกงจึงตอบว่า บริเวณปากแม่น้ำหมอเชอ เป็นตำแหน่งแผ่นหลังของหลูกวงโหว และให้ขุดบ่อน้ำก็เพื่อทำลายชี่ของโอรสสวรรค์
เมื่อท่านเจิงเหวินเชียน ทำตามตามคำสั่งของท่านหยางกง ไม่นานหลูกวงโหวก็เกิดอาหารปวดที่หลัง เป็นแผลลึกรุนแรง จนทนความเจ็บปวดไม่ไหวก็เลยผูกคอตาย 


 

 

ศาลของท่านหยางกง

 


เมื่อท่านหยางกงผู้ซึ่งเป็นขุนนางซื่อสัตย์ ไม่หวังลาภยศ แต่ถูกทำร้ายจนสิ้นชีพ ณ ปากน้ำเอี้ยวโข่ว เหล่าลูกศิษย์ของท่านก็เลยบรรจุศพของท่านเอาไว้ที่ปากน้ำเอี้ยวโข่วนี้ และเหล่าชาวบ้านเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน ก็เลยเปลี่ยนชื่อเป็นปากน้ำหยางกง ปัจจุบันคือหมู่บ้านหยางกงชุน

หลุมฝังศพของท่านหยางกง ภายหลังถูกแม่น้ำไหลท่วมจมอยู่ใต้ก้นแม่น้ำ สูญหายไร้ร่องรอยไปนานแล้ว ปัจจุบันเห็นแต่เพียงแผ่นป้ายศิลาจารึกที่สร้างขึ้นมาในสมัยหมิงตั้งอยู่ริมแม่น้ำ เพื่อให้อนุชนรุ่งหลังได้ระลึกถึงท่านหยางกง ปัจจุบันอยู่ที่ หมู่บ้านหยางกง อำเภอหนิงตู มณฑลเจียงซี


ท่านหยางกงถึงแม้ว่าจะไม่ได้ถือกำเนิดในตระกูลที่มั่งคั่ง แต่รับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เห็นลาภยศสรรเสริญเป็นเพียงควันไฟที่ลอยผ่าน มุ่งมั่นที่จะทำงานด้านภูมิพยากรณ์ด้วยใจศรัทธา ใช้วิชาเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ บำบัดทุกข์ทางใจให้กับผู้คน จนได้รับความเคารพรักจากมหาชนทั้งหลาย นอกจานี้ท่านได้แต่งคัมภีร์เกี่ยวกับวิชาฮวงจุ้ยเอาไว้มากมาย เช่น วิธีการหาชีพจรมังกร  คัมภีร์เขย่ามังกร 《撼龍經》、คัมภีร์ซ่อนมังกร《疑龍經》、คัมภีร์ความลึกซิ้งของวิชาฮวงจุ้ย《青囊奧語》、คัมภีร์ฝังฮวงซุ้ย 24 วิธี《二十四砂葬法》、คัมภีร์มังกร10คำถาม《疑龙十问》、คัมภีร์บรรจุฮวงซุ้ย《葬法倒杖》、คัมภีร์หยกสวรรค์《天玉經》、คัมภีร์ไม้บรรทัดหยก《玉尺經》《文渊阁四库全书》。และคัมภีร์อื่นๆอีกมากมาย

 

 

หมู่บ้านซานเหลียว

 


หมู่บ้านฮวงจุ้ย ซานเหลียวชุน

 


หมู่บ้านนี้มีประชากรเพียง 4600 กว่าคน แต่มีซินแสฮวงจุ้ยเลื่องชื่ออยู่ร้อยกว่าท่าน ทำงานด้านฮวงจุ้ยและภูมิพยากรณ์อยู่ทั่วประเทศ
โดยที่ท่านหยากง ได้เลือกหมู่บ้านซานเหลียวชุนเป็นที่พำนักอาศัยก็ด้วยเห็นว่าตำแหน่งชัยภูมิแห่งนี้ มีรูปักษณ์คล้ายกับ “ปา-กว้า” หรือยันต์แปดทิศ เหมาะสำหรับทำการเผยแพร่และสืบทอดวิชาฮวงจุ้ย

ในระหว่างที่ท่านหยางกง ได้พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านซานเหลียว ท่านก็ได้ใช้วิชาฮวงจุ้ยช่วยเหลือชาวบ้าน ในการแก้ไขฮวงจุ้ยที่อยู่อาศัย และหาตำแหน่งฮวงซุ้ยหรือหลุมฝังศพให้บรรพชนชาวซานเหลียว ในช่วงเวลาที่ว่างก็ได้เดินทางเยี่ยมชมทิศทัศน์เทือกเขาลำเนาไพรในมณฑลกั้นโจว และในหมู่บ้านแห่งนี้ท่านก็ได้รับศิษย์เพื่อถ่ายทอดวิชาฮวงจุ้ย ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ถูกหวงแหนเก็บไว้ในหอสมุดหลวงก็ได้ถ่ายทอดลงมาสู่สาธารณะชนเป็นครั้งแรก โดยลูกศิษย์รุ่นแรกของท่านคือ ท่านเจิงเหวินเชียน 曾文辿ท่านหลิวเจียงตง劉江東 ท่านหวงเมี่ยวอิง 黃妙應ท่านลี่ป๋อเซา厲伯紹ท่านเย่ชี葉七 และท่านหลิวเหมี่ยว劉淼
และนับจากนั้นมา ศาสตร์ฮวงจุ้ยก็ได้เผยแพร่ไปจนทั่วมณฑลกั้นโจวตอนใต้ และสืบทอดรุ่นต่อรุ่นจนมาถึงทุกวันนี้.

ศาสตร์ฮวงจุ้ยของสำนักกั้นโจวใต้นี้สืบทอดทฤษฎีหลักของท่านหยางกงก็คือ เน้นรูปลักษณ์และให้ความสำคัญกับชีพจรมังกร จนได้ฉายาว่าเป็น ฮวงจุ้ยสำนักรูปลักษณ์“山形派” หรือ สำนักกั้นโจวใต้ “贛南派และท่านหยางกงก็ได้รับการยกย่องว่าเป็น ปฐมบูรพาจารย์ของสำนักนี้

 

 

ท่านหยางกงและลูกศิษย์

 

ในการช่วยเหลือชาวเมืองกั้นโจวด้วยศาสตร์ฮวงจุ้ยของท่านหยางกง จนทำให้ศาสตร์นี้ได้รับการโจษขานกันไปทั่วมณฑลกั้นโจวอย่างรวดเร็ว และเมื่อชาวจีนแคะโยกย้ายถิ่นฐานไปที่ใดก็ตามก็นำศาสตร์ฮวงจุ้ยนี้ติดตามไปด้วย และถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนจนทำให้ศาสตร์แห่งฮวงจุ้ยได้รับการยอมรับนับถือมากขึ้น
จากนั้นความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ยก็แผ่ขยายไปถึงมณฑลใกล้เคียง เช่น ฮกเกี้ยน กาวงตุ้ง กว่างซี และที่อื่นๆอีกจนทั่วประเทศจีน   
ศาลเจ้าหยางกง
ต่อมาชาวบ้านก็ได้สร้างศาลของท่านหยางกงเอาไว้เพื่อกราบไหว้บูชา พร้อมกันกับบูชาท่านเจิงเหวินเชียน(ลูกศิษย์) และท่านเหลียวอวี่廖瑀  (หลานศิษย์)โดยสร้างรูปเหมือนของทั้งสามท่านเอาไว้คู่กัน  หรือแม้แต่ศาลบรรพชนของตระกูลก่วน ซึ่งท่านหยางกงเคยไปชี้ทิศทางไว้ให้ก็ได้อัญเชิญรูปเหมือนของท่านหยางกงประดิษฐานเอาไว้บูชาเอาไว้ที่แท่นบูชาด้านทิศตะวันออกอีกด้วย และก็ได้บูชาสืบเนื่องต่อมาจนถึงทุกวันนี้

หมู่บ้านซานเหลียวชุนตั้งอยู่ระหว่าง 3ตำบล คือ ตำบลซิงกว๋อ ตำบลอวี๋ตูและตำบลหนิงตู แต่เดิมเป็นหมู่บ้านเล็กๆอยู่ริมชายเขาที่ไม่มีเคยได้ยินแม้แต่ชื่อ  ในรัชสมัยพระเจ้าถังสี่จง ศักราชเฉียนฟู่ปีที่ 18 乾符พระราชครูหยางกงเห็นว่าราชวงศ์ถังใกล้จะสิ้นสุดแล้ว ก็เลยอำลาราชสำนัก เดินทางออกมาจากเมืองฉางอัน เดินทางข้ามห้วยหนองคลองบึงมุ่งสู่ทิศใต้ เมื่อมาถึงหมู่บ้านซานเหลียวในมณฑลเจียงซี ท่านได้ถือเข็มทิศหล่อแกขึ้นไปบนเขา เมื่อมองลงไปเบื้องล่างก็ต้องตกตะลึง เห็นเบื้องล่างมีรูปลักษณ์คล้ายกับยันต์ปากว้า หรือยันต์แปดทิศ ก็เลยตัดสินใจลงหลักปักฐาน ณ ที่แห่งนี้ ตลอด 20 กว่าปีที่อาศัยอยู่ที่นี่ก็ได้มีการรับศิษย์เพื่อถ่ายทอดวิชา  วางรากฐานและสถาปนาวิชาฮวงจุ้ยแห่งภาคใต้ของจีนขึ้นมาเป็นครั้งแรก

 

ศาลบรรพชนตระกูลก่วน ซึ่งท่านหยางกงไปชี้จุดให้สร้างโดยตั้งม้านั่งเอาไว้

 


ในปี ค.ศ. 1421 ฮ่องเต้จูตี้ องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์หมิงขึ้นครองราชย์ ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงปักกี่ง เมื่อฮ่องเต้ได้ไปถึงเมืองปักกิ่งก็ได้ป่าวประกาศไปทั่วแผ่นดิน สืบหานักปราชญ์ผู้มีความรู้ เข้าเมืองหลวงเพื่อดูฮวงจุ้ยสร้างเมืองใหม่
ปรากฏว่าแสงจากสวรรค์ได้ส่องลงไปยังหมู่บ้านซานเหลียว มีบรมราชโองการให้ท่านเลี่ยวจวินชิง廖均卿และท่านเลี่ยวซิ่นโหว廖信厚ท่านเจิงฉงเจิ้ง曾從政 แห่งหมู่บ้านซานเหลียวชุน เข้าวังเพื่อดูฮวงจุ้ย และสร้างสุสานของราชวงศ์
ส่วนท่านเลี่ยวเหวินเจิ้ง廖文政ท่านเลี่ยวเซิ่งไก้廖勝概ท่านเจิงปั่งเหวิน曾邦文และท่านเจิงเฮ่อปิน曾鶴賓 แห่งหมู่บ้านซานเหลียวได้รับราชโองการให้ไปสำรวจและขยายขอบเขตของกำแพงเมืองจีนและบริหารจัดการน้ำของแม่น้ำฮวงโห      

หมู่บ้านซานเหลียวได้ก่อกำเนิดซินแสฮวงจุ้ยแห่งวังหลวง จนหมู่บ้านซานเหลียวมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่ว ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างบ้านเรือน ศาลบรรพชน สร้างบ้านแปลงเมือง สร้างหลุมศพ สร้างวัดวาอาราม สร้างศาลเจ้า ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศก็จะมาเชิญซินแสที่หมู่บ้านแห่งนี้

ภูมิปัญญาฮวงจุ้ยของหมู่บ้านซานเหลียวชุน เริ่มต้นมาจากยุคปลายราชวงศ์ถังสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ ก็ร่วมพันกว่าปีมาแล้ว ในตลอดพันปีมานี้ นักปราชญ์แห่งหมู่บ้านนี้ได้รับพระราชทานยศเป็นตำแหน่งพระมหาราชครู 國師จำนวน 24 ท่าน ได้ตำแหน่งรองราชครู明師จำนวน 72 ท่านและตำแหน่งโหราราชบัณฑิต欽天監博士จำนวน 36 ท่าน จากการที่ท่านหยางกงได้ให้กำเนิดภูมิปัญญาสายนี้ ได้เจริญงอกงามแผ่นขยายไปจนทั่วราชอาณาจักรและไปจนถึงแผ่นดินโพ้นทะเล


 

 

 

筠松

 

หยางกง ” บูรพาจารย์ฮวงจุ้ยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน

บูรพาจารย์ “เอี๊ยอุ้งซ้งซือจุง” หรือ“หยางจวินซง” หรือ “หยางกง” หรือ “เอี๊ยกง”  นามว่าอี้ (ประเสริฐ) ชื่อรองคือ ซู่เม่า 叔茂(ผู้เจริญ) ฉายาท่านคือ จิ้วผิน救貧(โปรดคนตกทุกข์ได้ยาก) เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของตระกูลหยาง เกิดเมื่อรัชกาลจงเหอในสมัยราชวงศ์ถัง大唐中和 ในเวลาสุก戌時 (เวลานักษัตรจอ 19-21.00น.) ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ปีกะอิ๊ง 甲寅 บรรพบุรุษเป็นชาวมณฑลโต้วโจว竇州(ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลกวางตุ้ง) บิดานามว่าซุ่เสียน 淑賢มีบุตรชาย 3 คน คนโตชื่อ จวินอวี้ 筠翌 คนรองชื่อ จวินปิ้น คนที่ 3 คือตัวท่าน จวินซง 筠松

 

楊筠松[]. 曾文辿[]. 廖瑀[]

บูรพาจารย์“หยางจวินซง” ในวัยเด็กศึกษาฉันทลักษณ์กาพย์โคลงและวิชาประวัติศาสตร์จนเชี่ยวชาญ เมื่ออายุ 17 สอบได้เข้ารับราชการ ในรัชกาลพระเจ้าซีจงแห่งราชวงศ์ถัง ในสมัยนั้นผู้ปกครองและเหล่าขุนนางล้วนแล้วแต่โลภโมโทสัน ใช้จ่ายทรัพย์สินเงินทองอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อเสวยสุขของตัวเองไปวันวันๆ บ้านเมืองนับวันก็ยิ่งอ่อนแอ เสื่อมโทรม  และเก็บภาษีอย่างหนัก ขูดรีด จนประชาชนอดอยากยากไร้

หวงเฉา 黃巢ได้เป็นผู้นำปลุกระดมชาวบ้านให้ก่อการจลาจล กองทัพประชาชนโบกธงธิวปลิวสบัด ในเดือนที่ 12 ของปีที่หนึ่งแห่งศักราชกวงหมิง 唐廣明กองทัพประชาชนก็ได้เข้ายึดครองด่านถงกวน 潼關แล้วก็เข้ายึดเมืองหลวง ฉางอัน พระจ้าถังสี่จง (หลี่ซวน) 唐僖宗[李儼] เห็นดังนั้นก็ตกพระทัย รีบนำพระสนม 3 นางพร้อมพระโอรส 4 องค์ กับนายทหารม้าอารักขาจำนวน 500 นาย หลบหนีออกจากเมืองฉางอันไปยังเสฉวน

 

ในตอนนั้น หยางจวินซงขุนนางผู้ซื่อสัตย์ มีตำแหน่งเป็นพระราชครูของฮ่องเต้ 紫光祿大夫รับผิดชอบดูแลหอดูดาวและสำรวจภูมิศาสตร์ในหอสมุดหลวง  โดยที่ตัวท่านเองก็เป็นคนสมถะมักน้อย ไม่เคยหวังลาภยศสรรเสริญ ขณะนั้นท่านได้เห็นความพินาศของราชวงศ์ถัง ท่านจึงได้รวบรวมคัมภีร์ลับของปราชญ์โบราณเกี่ยวกับศาสตร์ฮวงจุ้ย นำออกมาจากหอสมุดหลวงหลวง เช่น คัมภีร์จ้างจิง 葬經ของท่าน ชิงอูจื่อ คัมภีร์จินหนางจิง錦囊經ของท่านกวอผู่ คัมภีร์จัวไม่ฝู 捉脈賦ของท่านเถาคัน คัมภีร์เจี้ยสุ่ยซัว界水說ของพระเถระอี้สิง คัมภีร์สุ่ยฝ่า ของท่านซือหม่าโถวทอ คัมภีร์โป๊ยยี่ 八字และคัมภีร์เทียนจี天機ของท่านชิวเหยียนฮั่น ล้วนแล้วแต่เป็นคัมภีร์ที่ถูกหวงแหนเก็บรักษาไว้ในหอสมุดหลวง จนเมื่อท่านได้นำคัมภีร์เหล่านี้ออกมาเพื่อเก็บรักษาและต่อมาท่านได้นำวิชาความรู้เหล่านี้เผยแพร่สู่สาธารณะชน

เมื่อเกิดเหตุจลาจลในเมืองหลวง ท่านจึงได้สลัดทิ้งยศถาบรรดาศักดิ์และตำแหน่งขุนนาง หลีกหนีจากเมืองฉางอัน หวนกลับไปเป็นชาวบ้านธรรมดา จากนั้นก็เริ่มใช้วิชาฮวงจุ้ยออกช่วยเหลือชาวบ้าน ไปทั่วทุกแห่งหน และสำรวจหาชัยภูมิอันเป็นมงคลและมีพลัง เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านสร้างสุสานบรรพชน

 

ในขณะที่ท่านอายุได้ 45 ปี เพื่อหลีกหนีความวุ่นวายจากเหตุจลาจลของหวงเฉา ก็เลยตัดสินใจ หลีกเร้นกายเพื่อหาความสงบ ปลงผมบนศีรษะขึ้นไปบำเพ็ญธรรมบนเขาคุนหลุน บังเอิญได้พบกับพระแม่จิ่วเทียน 九天玄女บนเขา  ท่านได้ประทานความรู้เกี่ยววิชาภูมิศาสตร์-ดาราศาตร์ และสั่งสอนเคล็ดลับและความหมายในคัมภีร์ลับของปราชญ์โบราณต่างๆที่นำออกมาจากหอสมุดหลวง

จากนั้นท่านก็ได้เดินทางท่องเที่ยวไปทั่ว ศึกษาภูมิทัศน์และชื่นชมภูเขาลำเนาไพร เพื่อประจักษ์ความจริงในสิ่งที่ได้เล่าเรียนมา

 

เมื่อเดินทางมาถึงเมืองเฉียนโจว 虔州ก็ได้รับศิษย์ 2ท่านคือ เจิงเหวินเชียน และหลิวเจียงตง 曾文辿、劉江東และทั้งสามท่านก็ได้ร่วมเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วทุกแคว้นทั้งดินแดนเหนือใต้ ชื่มชมและศึกษาความงดงามของลำธารสายน้ำ และขุนเขาที่เลื่องชื่อ และเมื่อได้พบพานกับชัยภูมิที่เป็นมงคล ก็จะวาดและจดบันทึกเอาไว้เพื่อนำมาเผยแพร่ให้กับอนุชนรุ่นหลัง  ขณะที่ท่านเดินทางหากพบกับคนยากไร้ ตกทุกข์ได้ยาก หรือเผชิญอันตรายอย่างใดๆท่านก็ได้เข้าไปทำการช่วยเหลือ จนได้สมญานามว่า “หยางจิ้วผิน” 楊救貧หรือ ท่านแซ่หยางผู้ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก

ท่านทั้งสามยามใดเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ก็มักจะกลับไปพักค้างแรม ณ ริมแม่น้ำเหลียว เพื่อผ่อนคลายและชื่มชมภูมิทัศน์โดยรอบฝั่งแม่น้ำอันงดงาม

 

โดยที่ท่านเฉิงเหวินเชียน ได้รับการสั่งสอนวิชาฮวงจุ้ยจากท่านหยางกง และให้ท่านสืบทอดวิชาฮวงจุ้ยไปยังชนรุ่นหลัง ต่อมาทางวังหลวงให้คนมาสืบหาคัมภีร์โบราณที่หายสาบสูญไปจากหอสมุดหลวง แต่ท่านเจิงเหวินเชียนได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าเมืองเฉียนโจวอย่างลับๆ โดยการรับคัมภีร์ลับเหล่านั้นส่งกลับคืนหอสมุดหลวงและท่านก็หลุดรอดจากการสอบสวนมาได้ในที่สุด

 

ต่อมาอาจารย์และเหล่าศิษย์ ได้เดินเรือมาถึงคอคอดหันซิ่น ปากแม่น้ำเอี้ยวโข่ว ในปีที่ 3 แห่งรัชสมัยพระเจ้าถังเทียนโย่ว (ค.ศ.906) ถูกลอบวางยาพิษจนถึงแก่ความตาย สิริอายุได้ 73 ปี บรรจุศพไว้  ใกล้กับฝั่งแม่น้ำเหมยเจียง ณ หมู่บ้านหยางกง ตำบลกวานเถียน อำเภออวีตู มณฑลเจียงซี และอยู่ห่างจากตำแหน่ง “ม้านั่งตั้งศาล”  หรือ ศาลบรรพชนตระกูลก่วน 管氏宗祠ประมาณ 1กม. โดยตำแหน่งสุสานของท่านอาจารย์ ได้ศิษย์เอกคือท่านเจิงเหวินเชียน เป็นผู้สร้างและหาตำแหน่งด้วยตัวเอง มีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า”สุสานแปดเซียนเล่นหมากรุก” และได้บรรจุศพท่านอาจารย์ ณ ขึ้น 9 ค่ำเดือน 3 ปีแกซิม ศักราชกวงฮั่วปีที่ 3 ต่อมาเกิดอุทกภัยหนัก ตลิ่งแม่น้ำทรุดลงมา ส่งผลให้สุสานท่านอาจารย์จมอยู่ก้นแม่น้ำ จนหาร่องรอยไม่เจอ

เรื่องเล่าของ”ม้านั่งตั้งศาล 板凳定向” นี้เล่ากันมาว่า ชาวตระกูลก่วนดำริคิดจะตั้งศาลบรรพชน ก็เลยเชิญท่านหยางกงมาช่วยตรวจดูชัยภูมิให้ ปรากฏว่าหยางกงได้มาถึงแล้ว แต่หัวหน้าตระกูลก่วนยังไม่เห็นมา มีแต่คนงาน 2-3 คนกำลังปรับที่ทางอยู่  และคนงานก็ไม่รู้จักว่าท่านคือใคร เห็นว่าท่านแต่งกายธรรมดาๆ ก็เลยไม่มีใครให้ความสนใจท่าน ท่านเลยวัดตำแหน่งองศาของศาลบรรพชนเองโดยที่ไม่มีใครรู้ พร้อมกับนำม้านั่งมาวางไว้ที่จุดคำนวนตำแหน่งแล้วท่านก็จากไป ต่อมาเมื่อหัวหน้าตระกูลก่วนเดินทางมาถึงก็ไม่พบท่านเสียแล้ว ก็เลยให้คนรีบรุดตามไปจนพบท่าน แต่ท่านก็บอกว่า มาถึงตรงนี้แล้วก็คงไม่กลับไปหรอก แต่ได้วัดตำแหน่งที่ตั้งศาลเอาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ให้ไปดูที่ม้านั่งริมฝั่งแม่น้ำก็จะรู้เอง หลังจากนั้นตระกูลก่วนก็ได้สร้างศาลบรรพชนเอาไว้ที่ตำแหน่งม้านั่งของท่านหยางกง โดยตั้งชื่อศาลว่า “จวี้ซู่ถัง” “繼述堂” ปัจจุบันศาลนี้ก็ยังคงอยู่แม้กาลเวลาจะผ่านไปเป็นพันปีมาแล้ว

 

กาลต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง ในปีที่ 7 แห่งรัชกาลว่านลี่ (ค.ศ.1579) เสนาบดีนามว่าท่านเยี่ยม่งซง葉夢熊เคยอยู่ที่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเหมยเจียง เห็นสายน้ำจากหมู่บ้านเหอโถว ไหลพุ่งตรงไปยังไหล่เขาที่เรียกว่า “คอคอดหันซิ่น 寒信峽” ตกลงไปยังตำแหน่งสุสานขอท่านหยางกงพอดี ก็เลยตั้งป้ายศิลาทำจากหินสีแดงจารึกว่า”ท่านหยางกง ราชครูแห่งราชวงศ์ถัง” “唐國師楊公”เอาไว้เพื่ออุทิศแด่ท่านหยางกง

นับถึงปัจจุบันนี้ก็กว่า 400 ปีแล้วที่ป้ายศิลาแกะสลักนี้ก็ยังอ่านได้ชัดเจน (ปัจจุบันถูกเก็บรักษาเอาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ของตำบลอวี๋ตู) อนิจจา ท่านหยางกง ผู้ซึ่งเป็นดุจดังเทวดาแห่งพื้นพิภพที่ถึงแม้จะจากไปนานแล้ว แต่ศิลปะวิชาความรู้ที่ท่านได้ถ่ายทอดมาและฉายานาม”จิ้วผิน” ผู้ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก ก็ยังคงอยู่

การมรณกรรมของท่านหยางกง

สืบเนื่องมาจากการหาตำแหน่งโอรสสวรรค์“天子地”ให้กับ พระเจ้าหลูกวงโหว 盧光稠 ต่อมาพระเจ้าหลูกวงโหวเกรงว่า คนอื่นๆจะได้ฮวงจุ้ยโอรสสวรรค์เหมือนกับตน ก็เลยฆ่าท่านหยางกงเสีย  ในบันทึกของพงศาวดารของมณฑลกั้นโจว ได้บันทึกเอาไว้ว่า “พระเจ้าหลูกวงโหว ได้เชิญท่านหยางกงมาหาตำแหน่งที่ดิน”โอรสสวรรค์”ที่จะสร้างฮวงซุ้ยให้กับบิดา มารดาของตน เพื่อตนจะได้เป็นใหญ่ในแผ่นดินแต่เพียงผู้เดียว เมื่อได้ตำแหน่งฮวงจุ้ยโอรสวรรค์แล้วก็ย้ายหลุมฝังศพ บิดามารดาไปฝังไว้แล้วถามท่าน หยากงกว่า ฮวงจุ้ยโอรสสวรรค์นี้ยังมีที่อื่นอีกไหม ท่านหยางกงตอกว่า “ยังมีอีก” ท่านกล่าวอีกว่า ทุกๆที่ล้วนแบ่งออกเป็น 18 ทิศ   หลูกวงโหวจึงถามว่า”ทิศไหนเป็นทิศโอรสสวรรค์ ท่านจึงตอกว่า “ทุกๆทิศล้วนมีโอรสสวรรค์”  หลูกวงโหวเกรงว่าคนอื่นจะได้ฮวงจุ้ยโอรสสวรรค์ไป ก็เลยลอบวางยาพิษในสุราให้ท่านหยางกงดื่ม ท่านหยางกงหลงดื่มเข้าไปพิษกำเริบเสียชีวิต ณ ปากน้ำเอี้ยวโข่ว (ปากยา)

ก่อนหยางกงเสียชีวิต เห็นว่า หลูกวงโหวไม่มีคุณธรรม หากปกครอบ้านเมืองต่อไปประชาชนจะเดือดร้อน ก็เลยบอกลูกศิษย์ของท่านคือท่าน เจิงเหวินเชียน ให้ทำลายฮวงจุ้ยโอรสสวรรค์เสีย

 

โดยให้ขุดบ่อน้ำและใส่กังหันน้ำที่ปากน้ำหมอเชอ磨车湾เพื่อทำลายชี่ของโอรสสวรรค์ ท่านเจิงเหวินเชียง สงสัยจึงถามถึงเหตุผล ท่านหยางกงจึงตอบว่า บริเวณปากแม่น้ำหมอเชอ เป็นตำแหน่งแผ่นหลังของหลูกวงโหว และให้ขุดบ่อน้ำก็เพื่อทำลายชี่ของโอรสสวรรค์

เมื่อท่านเจิงเหวินเชียน ทำตามตามคำสั่งของท่านหยางกง ไม่นานหลูกวงโหวก็เกิดอาหารปวดที่หลัง เป็นแผลลึกรุนแรง จนทนความเจ็บปวดไม่ไหวก็เลยผูกคอตาย

 

 

 

 

เมื่อท่านหยางกงผู้ซึ่งเป็นขุนนางซื่อสัตย์ ไม่หวังลาภยศ แต่ถูกทำร้ายจนสิ้นชีพ ณ ปากน้ำเอี้ยวโข่ว เหล่าลูกศิษย์ของท่านก็เลยบรรจุศพของท่านเอาไว้ที่ปากน้ำเอี้ยวโข่วนี้ และเหล่าชาวบ้านเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน ก็เลยเปลี่ยนชื่อเป็นปากน้ำหยางกง ปัจจุบันคือหมู่บ้านหยางกงชุน



หลุมฝังศพของท่านหยางกง ภายหลังถูกแม่น้ำไหลท่วมจมอยู่ใต้ก้นแม่น้ำ สูญหายไร้ร่องรอยไปนานแล้ว ปัจจุบันเห็นแต่เพียงแผ่นป้ายศิลาจารึกที่สร้างขึ้นมาในสมัยหมิงตั้งอยู่ริมแม่น้ำ เพื่อให้อนุชนรุ่งหลังได้ระลึกถึงท่านหยางกง ปัจจุบันอยู่ที่ หมู่บ้านหยางกง อำเภอหนิงตู มณฑลเจียงซี

 

 

ท่านหยางกงถึงแม้ว่าจะไม่ได้ถือกำเนิดในตระกูลที่มั่งคั่ง แต่รับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เห็นลาภยศสรรเสริญเป็นเพียงควันไฟที่ลอยผ่าน มุ่งมั่นที่จะทำงานด้านภูมิพยากรณ์ด้วยใจศรัทธา ใช้วิชาเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ บำบัดทุกข์ทางใจให้กับผู้คน จนได้รับความเคารพรักจากมหาชนทั้งหลาย นอกจานี้ท่านได้แต่งคัมภีร์เกี่ยวกับวิชาฮวงจุ้ยเอาไว้มากมาย เช่น วิธีการหาชีพจรมังกร  คัมภีร์เขย่ามังกร 《撼龍經》、คัมภีร์ซ่อนมังกร《疑龍經》、คัมภีร์ความลึกซิ้งของวิชาฮวงจุ้ย《青囊奧語》、คัมภีร์ฝังฮวงซุ้ย 24 วิธี《二十四砂葬法》、คัมภีร์มังกร10คำถาม《疑》、คัมภีร์บรรจุฮวงซุ้ย《葬法倒杖》、คัมภีร์หยกสวรรค์《天玉經》、คัมภีร์ไม้บรรทัดหยก《玉尺經》《文渊阁》。และคัมภีร์อื่นๆอีกมากมาย

 

 

 

หมู่บ้านฮวงจุ้ย ซานเหลียวชุน

หมู่บ้านนี้มีประชากรเพียง 4600 กว่าคน แต่มีซินแสฮวงจุ้ยเลื่องชื่ออยู่ร้อยกว่าท่าน ทำงานด้านฮวงจุ้ยและภูมิพยากรณ์อยู่ทั่วประเทศ

โดยที่ท่านหยากง ได้เลือกหมู่บ้านซานเหลียวชุนเป็นที่พำนักอาศัยก็ด้วยเห็นว่าตำแหน่งชัยภูมิแห่งนี้ มีรูปักษณ์คล้ายกับ “ปา-กว้า” หรือยันต์แปดทิศ เหมาะสำหรับทำการเผยแพร่และสืบทอดวิชาฮวงจุ้ย

 

ในระหว่างที่ท่านหยางกง ได้พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านซานเหลียว ท่านก็ได้ใช้วิชาฮวงจุ้ยช่วยเหลือชาวบ้าน ในการแก้ไขฮวงจุ้ยที่อยู่อาศัย และหาตำแหน่งฮวงซุ้ยหรือหลุมฝังศพให้บรรพชนชาวซานเหลียว ในช่วงเวลาที่ว่างก็ได้เดินทางเยี่ยมชมทิศทัศน์เทือกเขาลำเนาไพรในมณฑลกั้นโจว และในหมู่บ้านแห่งนี้ท่านก็ได้รับศิษย์เพื่อถ่ายทอดวิชาฮวงจุ้ย ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ถูกหวงแหนเก็บไว้ในหอสมุดหลวงก็ได้ถ่ายทอดลงมาสู่สาธารณะชนเป็นครั้งแรก โดยลูกศิษย์รุ่นแรกของท่านคือ ท่านเจิงเหวินเชียน 曾文辿ท่านหลิวเจียงตง劉江東 ท่านหวงเมี่ยวอิง 黃妙應ท่านลี่ป๋อเซา厲伯紹ท่านเย่ชี葉七 และท่านหลิวเหมี่ยว劉淼

และนับจากนั้นมา ศาสตร์ฮวงจุ้ยก็ได้เผยแพร่ไปจนทั่วมณฑลกั้นโจวตอนใต้ และสืบทอดรุ่นต่อรุ่นจนมาถึงทุกวันนี้.

ศาสตร์ฮวงจุ้ยของสำนักกั้นโจวใต้นี้สืบทอดทฤษฎีหลักของท่านหยางกงก็คือ เน้นรูปลักษณ์และให้ความสำคัญกับชีพจรมังกร จนได้ฉายาว่าเป็น ฮวงจุ้ยสำนักคีรีลักษณ์ หรือ สำนักกั้นโจวใต้ และท่านหยางกงก็ได้รับการยกย่องว่าเป็น ปฐมบูรพาจารย์ของสำนักนี้

 

 

ในการช่วยเหลือชาวเมืองกั้นโจวด้วยศาสตร์ฮวงจุ้ยของท่านหยางกง จนทำให้ศาสตร์นี้ได้รับการโจษขานกันไปทั่วมณฑลกั้นโจวอย่างรวดเร็ว และเมื่อชาวจีนแคะโยกย้ายถิ่นฐานไปที่ใดก็ตามก็นำศาสตร์ฮวงจุ้ยนี้ติดตามไปด้วย และถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนจนทำให้ศาสตร์แห่งฮวงจุ้ยได้รับการยอมรับนับถือมากขึ้น

จากนั้นความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ยก็แผ่ขยายไปถึงมณฑลใกล้เคียง เช่น ฮกเกี้ยน กาวงตุ้ง กว่างซี และที่อื่นๆอีกจนทั่วประเทศจีน

ศาลเจ้าหยางกง

ต่อมาชาวบ้านก็ได้สร้างศาลของท่านหยางกงเอาไว้เพื่อกราบไหว้บูชา พร้อมกันกับบูชาท่านเจิงเหวินเชียน(ลูกศิษย์) และท่านเหลียวอวี่廖瑀 (หลานศิษย์)โดยสร้างรูปเหมือนของทั้งสามท่านเอาไว้คู่กัน  หรือแม้แต่ศาลบรรพชนของตระกูลก่วน ซึ่งท่านหยางกงเคยไปชี้ทิศทางไว้ให้ก็ได้อัญเชิญรูปเหมือนของท่านหยางกงประดิษฐานเอาไว้บูชาเอาไว้ที่แท่นบูชาด้านทิศตะวันออกอีกด้วย และก็ได้บูชาสืบเนื่องต่อมาจนถึงทุกวันนี้

 

หมู่บ้านซานเหลียวชุนตั้งอยู่ระหว่าง 3ตำบล คือ ตำบลซิงกว๋อ ตำบลอวี๋ตูและตำบลหนิงตู แต่เดิมเป็นหมู่บ้านเล็กๆอยู่ริมชายเขาที่ไม่มีเคยได้ยินแม้แต่ชื่อ  ในรัชสมัยพระเจ้าถังสี่จง ศักราชเฉียนฟู่ปีที่ 18 乾符พระราชครูหยางกงเห็นว่าราชวงศ์ถังใกล้จะสิ้นสุดแล้ว ก็เลยอำลาราชสำนัก เดินทางออกมาจากเมืองฉางอัน เดินทางข้ามห้วยหนองคลองบึงมุ่งสู่ทิศใต้ เมื่อมาถึงหมู่บ้านซานเหลียวในมณฑลเจียงซี ท่านได้ถือเข็มทิศหล่อแกขึ้นไปบนเขา เมื่อมองลงไปเบื้องล่างก็ต้องตกตะลึง เห็นเบื้องล่างมีรูปลักษณ์คล้ายกับยันต์ปากว้า หรือยันต์แปดทิศ ก็เลยตัดสินใจลงหลักปักฐาน ณ ที่แห่งนี้ ตลอด 20 กว่าปีที่อาศัยอยู่ที่นี่ก็ได้มีการรับศิษย์เพื่อถ่ายทอดวิชา  วางรากฐานและสถาปนาวิชาฮวงจุ้ยแห่งภาคใต้ของจีนขึ้นมาเป็นครั้งแรก

 

 

 

ในปี ค.ศ. 1421 ฮ่องเต้จูตี้ องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์หมิงขึ้นครองราชย์ ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงปักกี่ง เมื่อฮ่องเต้ได้ไปถึงเมืองปักกิ่งก็ได้ป่าวประกาศไปทั่วแผ่นดิน สืบหานักปราชญ์ผู้มีความรู้ เข้าเมืองหลวงเพื่อดูฮวงจุ้ยสร้างเมืองใหม่

ปรากฏว่าแสงจากสวรรค์ได้ส่องลงไปยังหมู่บ้านซานเหลียว มีบรมราชโองการให้ท่านเลี่ยวจวินชิง廖均卿และท่านเลี่ยวซิ่นโหว廖信厚ท่านเจิงฉงเจิ้ง曾從政 แห่งหมู่บ้านซานเหลียวชุน เข้าวังเพื่อดูฮวงจุ้ย และสร้างสุสานของราชวงศ์

ส่วนท่านเลี่ยวเหวินเจิ้ง廖文政ท่านเลี่ยวเซิ่งไก้廖勝概ท่านเจิงปั่งเหวิน曾邦文และท่านเจิงเฮ่อปิน曾鶴賓 แห่งหมู่บ้านซานเหลียวได้รับราชโองการให้ไปสำรวจและขยายขอบเขตของกำแพงเมืองจีนและบริหารจัดการน้ำของแม่น้ำฮวงโห

 

หมู่บ้านซานเหลียวได้ก่อกำเนิดซินแสฮวงจุ้ยแห่งวังหลวง จนหมู่บ้านซานเหลียวมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่ว ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างบ้านเรือน ศาลบรรพชน สร้างบ้านแปลงเมือง สร้างหลุมศพ สร้างวัดวาอาราม สร้างศาลเจ้า ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศก็จะมาเชิญซินแสที่หมู่บ้านแห่งนี้

ภูมิปัญญาฮวงจุ้ยของหมู่บ้านซานเหลียวชุน เริ่มต้นมาจากยุคปลายราชวงศ์ถังสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ ก็ร่วมพันกว่าปีมาแล้ว ในตลอดพันปีมานี้ นักปราชญ์แห่งหมู่บ้านนี้ได้รับพระราชทานยศเป็นตำแหน่งพระมหาราชครู 國師จำนวน 24 ท่าน ได้ตำแหน่งรองราชครู明師จำนวน 72 ท่านและตำแหน่งโหราราชบัณฑิต欽天監博士จำนวน 36 ท่าน จากการที่ท่านหยางกงได้ให้กำเนิดภูมิปัญญาสายนี้ ได้เจริญงอกงามแผ่นขยายไปจนทั่วราชอาณาจักรและไปจนถึงแผ่นดินโพ้นทะเล