ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

ปัญจกสุทธิ รวมกำลังทั้ง 5 ประการ

 

พลังงานทั้งหมดทั้ง 5 ประการที่กล่าวมา หากช่วงเวลาที่ต้องการได้ผลเป็นมงคลดีครบถ้วนทั้ง 5 ประการและไม่มีส่วนร้ายก็ถือว่าช่วงเวลานั้นๆสามารถนำไปกำหนดฤกษ์ยามมงคลจะได้ผลดี มีความเจริญรุ่งเรืองและประสบความสำเร็จตามที่ปรารถนา แต่อย่างไรก็ตามยังมีลักษณะพิเศษบางประการของกำลังฤกษ์ยามในปฏิทินปัญจางคะนี้ มีขอบเขตจำกัดในการกระทำกิจการในบางอย่างและต้องงดเว้นสำหรับกิจการบางประเภท ซึ่งขึ้นอยู่กับบางส่วนของ วาร ดิถี นักษัตร โยค และกรณะ เช่น

1.วารที่เป็นวันสำหรับทำการมงคลโดยทั่วไป คือ วันจันทร์ วันพุธ วันพฤหัส และวันศุกร์เท่านั้นส่วนวันเสาร์สามารถทำได้โดยมีกฏยกเว้นบางอย่างตามหลักของคัมภีร์มุหูรตะ ส่วนวันอังคารให้งดเว้นงานมงคลโดยเด็ดขาด

2.ดิถีที่ดีและเป็นมงคลโดยทั่วไป คือ ดิถีที่ 2,5,7,10,11,13 (ข้างขึ้น) และแรม 1ค่ำ ห้ามแรม 13 ,14 ค่ำและวันอมาวสีตามการคำนวนของดิถีเพียร ห้ามริกตะดิถีนอกจากจะได้กำลังอื่นๆและจากกฏเกณฑ์ข้อยกเว้นตามหลักของคัมภีร์มุหูรตะดิถีที่เหมาะกับการเริ่มงานใหม่คือ วาร วันอาทิตย์ วันพุธ วันพฤหัสและวันศุกร์ ได้ทุกดิถีตามข้อ 2 และห้าม ขึ้น 1 ค่ำ ดิถีที่เหมาะกับงานมงคลสมรส ห้ามริกตดิถีและ ขึ้น 1 ค่ำดิถีที่เหมาะกับการเดินทางไกล ได้ทุกวัน ยกเว้น วาร วันอาทิตย์และวันพุธ ห้ามดิถีข้างขึ้น 1,4,9,14 ค่ำ  และข้างแรม4,9,13,14 ค่ำ ดิถีที่เหมาะกับการออกรถใหม่ได้ทุกวันตามข้อ 1และดิถีที่ดีคือ ดิถี 3,4,5,7,10,13,15 ทั้งข้างขึ้นข้างแรมนอกนั้นควรงด

3.นักษัตรที่ให้ผลดีที่สามารถใช้ได้โดยทั่วไป คือ อัศวินี,โรหินี,มฤคศิระ,ปุรวสุ,ปุษยะ,อุตรผลคุนี,หัสตะ,จิตรา,สวาติ,อนุราธะ,อุตราษาฒ,สรวณะ,ธนิษฐะ,ศตภิษก,อุตรภัทรปท,เรวดีสามารถใช้ได้ดี เพียงแต่ห้ามใช้นักษัตรกำเนิด (นักษัตรที่จันทร์เสวยในเวลาเกิดของเจ้าชาตา)นักษัตรที่เหมาะกับงานมงคลสมรสที่สามารถใช้ได้โดยทั่วไป คือ โรหิณี,มฤคศิระ,มาฆะ(ยกเว้นบาทแรก) อุตรผลคุนี,หัสตะ,สวาติ,มูละ,อารทรา,อุตรษาฒ,อุตรภัทรปท,เรวดี (ยกเว้นบาทสุดท้าย) นักษัตรที่เหมาะกับการเดินทางไกลที่สามารถใช้ได้โดยทั่วไป คือ โรหิณี, มฤคศิระ,ปุษยะ,อุตรผลคุนี,หัสตะ,จิตรา,สวาติ, อนุราธะ, อุตราษาฒ,สรวณะ,ธนิษฐะ,ศตภิษก,อุตราภัทรปท และ เรวดีนักษัตร นักษัตรที่เหมาะการออกรถใหม่ที่สามารถใช้ได้โดยทั่วไป คือ อัศวินี,มฤคศิระ,ปุษยะ,อุตรผลคุนี,หัสตะ,จิตรา,สวาติ,อนุราธะ,อุตราษาฒ,สรวณะ,ธนิษฐะ,ศตภิษก,อุตราภัทรปท และเรวดี นักษัตรที่เหมาะกับการเริ่มงานใหม่ เปิดร้านค้า เปิดกิจการใหม่ที่สามารถใช้ได้โดยทั่วไป คือ โรหิณี, อุตรผลคุนี, อุตราษาฒ,ธนิษฐะ,ศตภิศกและเรวดี

4.ทาระพละ คือการคำนวณหาจุดไม่ดีนับจากนักษัตรกำเนิดของดวงชาตา ของผู้ที่จะใช้ฤกษ์ยามนั้นๆ โดยห้ามใช้นักษัตรที่1-3-5-7-10-12-14-16-19-21-23-25 ที่นับจากนักษัตรกำเนิดของเจ้าชาตา(ที่จันทร์เสวยเวลาเกิด) ตัวอย่างเช่น เจ้าชาตา เกิดในสวาตินักษัตรที่ 15 และวันที่ต้องการจะทำการมงคลเป็นวันที่ดาวจันทร์เสวยอัศวินีนักษัตรที่ 1 ตามทีปรากฏในปฏิทิน(ฤกษ์บน) และนับจากสวาตินักษัตรได้14ซึ่งจะเป็นผลร้าย ถึงแม้ว่าดวงฤกษ์ในจุดอื่นๆจะดีก็ตามก็ต้องงดเว้น  


ทั้งหมดนี้เป็นการหาฤกษ์ยามที่ได้ผลดี ตามหลักทั่วไปจากคัมภีร์มุหูรตะ ซึ่งได้ผลดีและการคำนวณและหาฤกษ์ยามได้ง่าย แม้ว่าจะไม่มีความรู้พื้นฐานทางโหราศาสตร์หรือมีเพียงเล็กน้อยก็จะสามารถเข้าใจได้จากปฏิทินโหราศาสตร์ปัญจางคที่ได้คำนวนเวลาของดิถี นักษัตรโยค การณะ ฯลฯ ดีร้ายเอาไว้ให้อย่างละเอียดแล้ว ส่วนข้อ 4 ทาระพละ ผู้ใช้ปฏิทินอาจจะต้องมีความรู้ทางโหราศาสตร์บ้างจึงจะพอเข้าใจได้ไม่ยากหรือจะปรึกษานักโหราศาสตร์ หรือเว็บไซด์โหราศาสตร์ หรือโปรแกรมโหราศาสตร์ เพื่อคำนวนหานักษัตรกำเนิดของตัวท่านเอง
โดยไปที่.......http://www.indianhindunames.com/nakshatra-calculator-find-birth-star.htm  กรอกข้อมูลวันเดือนปีเกิด เวลาเกิด ประเทศ
และเขตเวลาที่เกิดของท่าน
ก็จะปรากฏข้อมูลของนักษัตรกำเนิดของท่าน (โดยผลการคำนวณจะระบุว่า Your Nakshatra / Birth star / Naal is ................)
สำหรับภาษาไทยท่านสามารถไปที่เว็บพยากรณ์.คอม http://www.payakorn.com/luk_lahiri.php กรอกข้อมูลกำเนิดให้ครบถ้วนก็จะแสดงผลออกมาเป็นฤกษ์ต่างๆของดาวเคราะห์ทุกดวงและลัคนา กรุณาดูที่ตำแหน่งดาวจันทร์ในดวงชาตาว่าเกาะฤกษ์ใด ราศีใดก็สามารถนำมาประกอบการคำนวนฤกษ์ยามร่วมกับกฏเกณฑ์ที่ระบุข้างต้น