การรักษาไทรอยด์ด้วยการควบคุมอาหาร ทั้งไทยรอยด์สูง (Hyper) ไทยรอยด์ต่ำ (Hypo) ไทรอยด์อักเสบ จากภูมิแพ้ (Hashimoto's thyroiditis) หลายคนคิดว่าอาหารไม่เกี่ยวกับโรคไทรอยด์ แม้แต่แพทย์บางท่านก็คิดอย่างนั้น จริงๆแล้วไม่ใช่ มันคือโรคที่มาจากอาหารโดยตรง หรือบางคนคิดว่าการขาดธาตุไอโอดีนจะทำให้ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ แต่ในทางกลับกัน การได้รับไอโอดีนมากเกินไปไปก็ทำให้เป็นโรคไทรอยด์ได้เช่นกัน
เวลาเราไปพบแพทย์แพทย์ก็จะทำการตรวจ Free T3 ,T4 ,TSH ซึ่งก็แค่บอกสถานะภาพของโรคในสัปดาห์ที่ตรวจเท่านั้น ความจริงไม่ว่าจะเป็นไฮโปหรือไฮเปอร์มันมีขึ้นมีขึ้น-ลงตลอด 7วัน แต่แพทย์ส่วนมากก็ไม่เคยแนะนำเรื่องอาหารแต่อย่างใด ท่านบอกว่าไม่เกี่ยว
แต่ผลวิจัยของนักวิจัยอเมริกันได้ยอมรับแล้วว่า โรคไทรอยด์นั้นมีผลมาจากอาหารที่เรากินสะสมมา อาจจะเกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้อาหารแบบหนึ่ง และแม้แต่การรับไอโอดีมากเกินไป ก็ทำให้เป็นไทรอยด์ได้เช่นกัน ลองดูสิว่าทางราชการกำหนดให้อาหารทุกชนิดและเครื่องปรุงทุกชนิดต้องมีสารไอโอดีน ไม่ว่าจะเป็นเกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรส นมบรรจุกล่อง อาหารกระป๋อง และแม้แต่ขนมขบเคี้ยวของเด็กๆ ต่างก็มีการเติมสารไอโอดีนเข้าไป บางครั้งเกินมาตรฐาน และเป็นไอโอดีนสงเคราะห์ไม่ใช่ไอโอดีนธรรมชาติ
เมื่อเรากินสะสมไปมากๆขึ้น ต่อมไทรอยด์ก็จะหยุดทำงานเพราะมีไอโอดีนมากเกินไปในร่างกาย ทำให้เป็นไทรอยด์ต่ำHypothyroidism (Underactive Thyroid)
แต่ในคนบางคนต่อมไทรอยด์กลับทำงานมากขึ้น ทำให้ไทรอยด์เป็นพิษ (thyrotoxicosis) หรือจนเป็นโรคไทรอยด์สูงจนควบคุมไม่ได้ (thyroid storm)
คนที่เป็นโรคนี้อาจจะมีอาการบ่งชี้ที่แสดงออกมาทางร่างกาย เช่น เหนื่อยง่าย เหงื่อออกมาก ทั้งกลางวันและในตอนนอนหลับ มือเท้าเย็น มือสั่น ใจสั่น ง่วงนอน หรือ นอนไม่หลับ วิตกกังวล ตกใจง่าย ขี้หนาว หรือ ขี้ร้อน ฯลฯ แต่ผลทางคลินิกและผลเลือดกลับปกติ ซึ่งทุกคนมองข้ามในระยะนี้ที่เรียกว่า subclinical thyroid
ผมจึงอยากให้ทุกคนลองกลับไปใช้แพทย์องค์รวมแบบโบราณ ที่มีทฤษฎีว่าอาหารคือยารักษาโรคและก็เป็นสาเหตุของโรคด้วยเช่นกัน ดังนั้นท่านที่เป็นโรคไทรอยด์ไม่ว่าชนิดใด ให้ควบคุมอาหารดังนี้
- อาหารทะเลทุกชนิด กุ้ง ปลาหมึก ปลาทู ฯลฯเพราะเป็นแหล่งไอโอดีน และเกลือไอโอดีน โดยเฉพาะสาหร่ายทะเลซึ่งมีไอโอดีนสูงมาก แนะนำให้ใช้เกลือสินเธาว์ในการปรุงอาหาร (มีผลต่อ F3,F4)
- อาหารหมักดองทุกชนิด เช่น น้ำปลา ซีอิ้ว ผักดอง ปลาร้า อาหารกระป๋อง และขนมที่ใช้ผงฟูประกอบอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภูมิแพ้ (มีผลต่อ TSH)
- อาหารแปรรูปที่ใช้สารกันเสียทุกชนิด เป็นสาเหตุให้เกิดภูมิแพ้ (มีผลต่อ TSH)
- อาหารจากผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ ทั้งสดและบรรจุกล่องฯลฯ และผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองเหล่านี้จากกระบวนการดัดแปลงพันธุกรรมGMO และรวมถึงถั่วลิสงด้วย (มีผลต่อ TSH)
- อาหารจากผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากแป้งสาลี โดยจะมี “Gluten-กลูเตน” ซึ่งก่อปฏิกิริยาภูมิแพ้ได้มากที่สุด ดังนั้นอาหารเจที่ทำจาก กลูเตน เช่น เนื้อเทียม หมี่กึง บะหมี่ หมี่เหลือง และขนมที่ทำจากแป้งสาลี เช่น ขนมเปี๊ยะ ปาท่องโก๋ ฯลฯ(มีผลต่อ TSH และระบบภูมิคุ้มกัน)
- ผลิตภัณฑ์จากไข่และนมทุกชนิด เพราะไข่และนมเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ทุกชนิด (มีผลต่อ TSH)
- ผักบางชนิด เช่น ตระกูลกระหล่ำ เช่น กระหล่ำปลี กระหล่ำดอก บรอกโคลี คะน้า และ มะเขือเทศ ก็ต้องงด (มีผลต่อ กระบวนการแปลง T4 เป็น T3)
สรุปแล้ว อาหารเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อระบบออโต้อิมมูน (Autoimmune) ของร่างกาย หากได้รับมากเกินไป ก็จะส่งผลทำให้ร่างกายขาดความสมดุล ควรงดก่อนสัก 6 เดือนแล้วก็จะพบว่าอาหารต่าง ๆลดน้อยลงไป หรือไม่มีเลย และหลังจาก 1เดือน ที่งดอาหารเหล่านี้ เมื่อทานอาหารต้องห้ามเหล่านี้เข้าไปเพียง 30 นาที โรคก็จะกำเริบขึ้นทันที
การงดอาหารเหล่านี้ ไม่ใช่ได้ผลดีกับโรคไทรอยด์เท่านั้น แต่ได้ผลดีกับโรคภูมิแพ้ต่างๆ และโรคที่เกิดการอับเสบในร่างกายทั้งภายในภายนอก เช่น เป็นแผลหนองรักษายาก หายช้า โรคระบบภูมิคุ้มกัน ,โรค SLE และโรคที่ต้องใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid) ในการรักษา
โรคไทรอยด์-ในทรรศนะของแพทย์จีน ท่านอธิบายถึงจุดเชื่อมโยงระหว่างการทำงานของไทรอยด์สงเคราะห์เข้าไปในระบบไต ระบบชี่และเชื่อมโยงถึงสมอง คนที่เป็นโรคนี้จะพบว่ามีชี่พร่อง 气虚 และไตอ่อนแอ 肾阳虚 เป็นอาการนำส่วนอาการที่ส่งผลต่อสมองและระบบประสาท ก็จะทำให้นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป และเป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล แพนิก และโรคทางประสาทอื่นๆ
ซึ่งการรักษาโรคไทรอยด์ด้วยการแพทย์แผนจีนก็จะเน้นบำรุงชี่ก่อนเป็นหลัก และบำรุงหยางในไตเป็นรอง ผลที่ได้จากการรักษาด้วยยาจีนก็เป็นการปรับสมดุลย์ของร่างกาย ก็จะได้ผลเทียบเท่ากับยา Methimazole สำหรับในกรณีที่มีไทรอยด์เกิน ก็จะทำให้ควบคุมการแปลงไอโอดีนร่วมกับกรดอะมิโน Tyrosine เพื่อให้เกิดความสมดุลของการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ให้กับร่างกาย ให้เหมาะสม
และในกรณีไทรอยด์ต่ำการบำรุงชี่และหยางให้กับไตก็จะทำให้ฮอร์โมน T4 – thyroxine แปลงเป็น triiodothyronine (T3) เพื่อการนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น