โพธิสัตวทศภูมิ
จากพุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร โพธิสัตวทศภูมิวรรค (ปกรณ์ที่ ๑)พระศึกษานันทะมหาเถระ ตรีปิฎกธราจารย์ชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ประเทศจีนแปลจากสันสกฤตพากย์สู่จีนพากย์ ปี ๑๒๓๘ ถึง ๑๒๔๒ พระวิศวภัทร เส็กก่วงโต่ว (釋廣度) แปลจากจีนพากย์สู่ไทยพากย์ ส่วนในการเทียบกับทศบารมีของเถรวาทผู้เขียนเป็นคนเทียบเคียงเอง
โพธิสัตวทศภูมิวรรค
1.ประมุทิตาภูมิ (歡喜地) พระโพธิสัตว์ปราโมทย์ยินดีที่มีดวงตาเห็นธรรมบ้างแล้ว และมีความยินดีในความไร้ทุกข์ของสัตว์ ภูมินี้บำเพ็ญหนักในทานบารมี /เถรวาท-ทานบารมี (การให้ การเสียสละ-พระเวสสันดร)
2.วิมลาภูมิ (離垢地) พ้นแล้วจากมลทิน กล่าวคือ พระโพธิสัตว์ละมิจฉาจริยาได้เด็ดขาด ปฏิบัติแต่ในสัมมาจริยา แม้แต่ในความฝันก็ไม่กระทำเรื่องอกุศล ภูมินี้มีศีลบารมีเป็นใหญ่ /เถรวาท ศีลบารมี (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, ความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย-พระภูริทัตต์)
3.ประภากรีภูมิ (發光地) ประหนึ่งว่าได้แสงโอภาสเผาผลาญอกุศลมูลเสียสิ้น กล่าวคือ พระโพธิสัตว์ทำลายอวิชาได้เด็ดขาด มีความอดทน (ตบะ) ทุกประการ ภูมินี้มีขันติบารมีเป็นใหญ่ /เถรวาท-ขันติบารมี (ความอดทน, ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล และแนวทางความประะพฤติ ที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบไม่ลุอำนาจกิเลส-พระจันทกุมาร )
4.อรจิษมตีภูมิ (焰慧地 ) พระโพธิสัตว์มีปัญญาเรืองรอง หลุดพ้นจากการยึดติด ประกาศภูมิรู้ชัด อีกทั้งยังมีความเพียรในการบำเพ็ญธรรม (สมาธิ) ภูมินี้มีวิริยะบารมีเป็นใหญ่ /เถรวาท- วิริยะบารมี (ความเพียร, ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค พยายามบากบั่นอุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่-พระมหาชนก)
5.สุทุรชยาภูมิ (難勝地) หมายความว่า ผู้อื่นชนะยาก ผู้อื่นนี้คืออกุศลทั้งปวงไม่อาจเอาชนะพระโพธิสัตว์โดยง่าย ทั้งยังแทงตลอดในอริยสัจจ์ 4 ภูมินี้มีญาณบารมีเป็นใหญ่ /เถรวาท สัจจะบารมี (ความจริง คือ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ-พระวิธุร )
- อภิมุขีภูมิ (現前地) พระโพธิสัตว์บำเพ็ญยิ่งในปัญญาบารมี เพื่อรู้แจ้งเห็นชัดในปฏิจจสมุปบาท ภูมินี้มีปัญญาบารมีเป็นใหญ่ ระดับนี้พระโพธิสัตว์อาจเข้านิพพานได้แล้ว แต่ด้วยมหากรุณา เพื่อเกื้อหนุสัตว์โลก ทำให้ดำรงเพื่อเกื้อนหนุนสรรพสัตว์ต่อไป /เถรวาท-ปัญญาบารมี (ความรอบรู้, ความหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง-พระมโหสถ )
- ทูรังคมาภูมิ (遠行地) พระโพธิสัตว์มีอุบายอันฉลาดแม้บำเพ็ญกุศลน้อย แต่ได้ผลแก่สรรพสัตว์มาก ภูมินี้มีอุบายบารมีเป็นใหญ่ นอกจากจากนี้ พระโพธิสัตว์ละสภาวะสาวกยาน กับปัจเจกโพธิยาน ซึ่งเป็นธรรมเครื่องกั้นพุทธภูมิ จึงได้ชื่อว่า ทูรังคมา คือ ก้าวไปไกลเกินกว่ายานอื่น /เถรวาท- เนกขัมมะบารมี (การออกบวช, ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม-พระเตมีย์ )
- อจลาภูมิ (不動地) พระโพธิสัตว์มั่นคงไม่คลอนแคลน บำเพ็ญหนักในปณิธานบารมี ในระดับนี้พระโพธิสัตว์เรียว่า อารยะโพธิสัตว์ แต่ยังดำรงขันธ์อยู่เพื่อกุศลแก่สรรพสัตว์ /เถรวาท-อธิษฐานบารมี (ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นแน่นแน่-พระเนมิราช)
9.สาธุมตีภูมิ (善慧地) พระโพธิสัตว์แตกฉานในอภิญญา และปฏิสัมภิทาญาณ ภูมินี้บำเพ็ญหนักในพละบารมี สามารถแทงทะลุในยานทั้ง 3 คือ สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตว์ยาน สามารถวิสัชชนากังขาของสรรพสัตว์ได้ในวจีเดียว /เถรวาท-เมตตาบารมี (ความรักใคร่, ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุขความเจริญ-พระสุวรรณสาม )
10.ธรรมเมฆภูมิ (法雲地) พระโพธิสัตว์เหมือนหนึ่งเมฆล่องลอย ไร้การยึดติดในสภาวะใด บำเพ็ญหนักในญาณบารมีมีจิตอิสระ ไม่ติดในรูปธรรม นามธรรม บำเพ็ญหนักญาณบารมี ทั้งยังโปรดสรรพสัตว์ถ้วนทั่ว เหมือนในจากฟ้า หลั่งมาจากเมฆ /เถรวาท- อุเบกขาบารมี (ความวางใจเป็นกลาง, ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้ายหรือชอบฟัง-พระนารท)
ทศบารมีของเถรวาท
บารมี 10 ทัศ หรือ ทศบารมี (ปฏิปทาอันยวดยิ่ง, คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นมหาสาวก เป็นต้น
- ทานบารมี (การให้ การเสียสละ-พระเวสสันดร)
- ศีลบารมี (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, ความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย-พระภูริทัตต์)
- เนกขัมมะบารมี (การออกบวช, ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม-พระเตมีย์ )
- ปัญญาบารมี (ความรอบรู้, ความหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง-พระมโหสถ )
- วิริยะบารมี (ความเพียร, ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค พยายามบากบั่นอุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่-พระมหาชนก)
- ขันติบารมี (ความอดทน, ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล และแนวทางความประะพฤติ ที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบไม่ลุอำนาจกิเลส-พระจันทกุมาร )
- สัจจะบารมี (ความจริง คือ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ-พระวิธุร )
- อธิษฐานบารมี (ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นแน่นแน่-พระเนมิราช)
- เมตตาบารมี (ความรักใคร่, ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุขความเจริญ-พระสุวรรณสาม )
- อุเบกขาบารมี (ความวางใจเป็นกลาง, ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้ายหรือชอบฟัง-พระนารท)
ระดับขั้นของบารมี
บารมีนั้น ท่านกล่าวว่าจะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ ต้องครบ 3 ขั้นตอนคือ ยกตัวอย่าง เช่น ข้อ 1ทานบารมี
- บารมี (ระดับสามัญ เช่น ทานบารมี ได้แก่ ให้ทรัพย์สินเงินทอง สมบัตินอกกาย )
- อุปบารมี (ระดับรองหรือจวนจะสูงสุด เช่น ทานอุปบารมี ได้แก่ การเสียสละอวัยวะเป็นทาน)
- ปรมัตถบารมี (ระดับสูงสุด เช่น ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ การสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น)
เมื่อบำเพ็ญทั้ง 10 บารมี ครบ 3 ขั้นในทุกๆบารมีนี้ เรียกว่า สมตึสปารมี หรือ สมดึงสบารมี แปลว่า บารมี 30 ถ้วน หรือบารมี 30 ทัศ.