ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

คัมภีร์กรรม กั่นอิ่งเพียน บทที่หนึ่ง ความหมาย

คัมภีร์ : ไท่ซั่งกล่าวว่า ภัยพิบัติบุญวาสนาไร้ทวารสุดแต่คนกวักหา อธิบาย :ไท่ซั่งกล่าวว่า : ภัยพิบัติบุญวาสนาไร้ทวาร สุดแต่คนกวักหา ไทซั้ง  คือ  ไท่ซั้งเหล่าจวิน  เป็นพระนามที่ได้รับการสถาปนาท่านศาสดาเหล่าจื่อ ท่านมีพระนามเดิมว่า เอ๋อ  แซ่หลี  ฉายาว่าป๋อหยาง เป็นอริยบุคคลใสสมัยราชวงศ์โจว  ภายหลังสำเร็จมรรคผลแล้ว  ได้รับการสถาปนาเป็นศาสดาแห่งศาสนาเต๋า  เป็นพระเจ้าศักดิ์สิทธิ์เบื้องบน  คัมภีร์กรรมเล่มนี้เป็นคำสอนของพระองค์ที่ใช้สั่งสอนคนให้ทำดีละชั่ว  สอนผู้คนว่า เอาความดีความชั่วเป็นเหตุ ก็จะได้รับผลกรรมคือภัยพิบัติและบุญวาสนาจากฟ้า เพราะฉะนั้นเมื่อมีกรรมก็ย่อมมีการตอบสนอง ตามกรรมตอบสนอง  เป็นหลักธรรมฟ้าที่ให้กลับคืนมาอย่างแจ่มแจ้ง ช่วยฟื้นฟูจิตใจชาวโลกให้รู้จักเกรงกลัวให้รู้ว่าการก่อกรรมชั่วย่อมได้รับภัยพิบัติ  การเจ็บป่วย  การนับทอน อายุขัย  และความทุกข์เป็นการตอบสนอง เหตุนี้ ถ้าจิตใจรู้สึกเกรงกลัวก็จะไม่กล้าไปกระทำความชั่ว  ให้รู้วาการทำความดีย่อมได้รับบุญวาสนา อายุยืนและความสุขเป็นการตอบสนอง ดังนั้น ถ้าใจปรารถนาอย่างไรก็จะไปกระทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นที่มาของคัมภีร์กรรม

ภัยพิบัติบุญวาสนาไร้ทวาร สุดแต่คนกวักหา บาปบุญตอบสนองเหมือนเงาตามตัว  สี่ประโยคนี่คือสาระสำคัญของคัมภีร์นี้  และเป็นจุดมุ่งหมายที่ท่านไท่ซั่งแสดงคำสอน พูดถึงใจของปราชญ์อริยะแล้วไม่ใช้เป็นผู้แสวงหาบุญวาสนาหรือหลบหลีกภัยพิบัติแล้วค่อยไปทำดีละชั่ว พูดถึงหลักการสร้างสรรค์แปรเปลี่ยนก็ขึ่นอยู่กับการสั่งสมความดีหรือความชั่ว  ถ้าสั่งสมความดีบุญบารมีก็จะคุ้มครองลูกหลานถ้าสั่งสมความชั่วภัยพิบัติก็จะตกถึงลูกเช่นกัน ในคัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า “บ้านที่สั่งสมความดี ย่อมมีงานฉลองบ้านที่ไม่ทำความดี ย่อมมีภัย” หลักการนี้ไม่มีการผิดเพี้ยนแม้แต่น้อย


กวักหา คือสิ่งที่ตนเองกวักหามาเอง ดังคำที่ว่า ทำเองรับเองเราต้องรู้ว่าฟ้าดินไม่มีลำเอียงหรือเห็นแก่ตัว มงคลหรือเคราะห์เป็นสิ่งที่ใจคนกวักหามาเอง ตอนที่คนยังไม่เกิดความคิด ใจนั่นยังใจบริสุทธิ์ประดุจอวกาศ ความดีความชั่วมีอยู่ที่ไหนกัน พอใจนี้เคลื่อนไหวเริ่มคิดถ้าสิ่งที่คิดเป็นเรื่องดีก็คือความดี ถ้าสิ่งที่คิดเป็นเรื่องชั่วก็คือความชั่วเห็นไหมเพียงแค่เริ่มต้นของความคิดเกิดขึ้นเท่านั้น แล้วก็ไปทำสิ่งที่คิดเป็นเรื่องกีก็คือความดี ถ้าสิ่งที่คิดเป็นเรื่องชั่วก็คือความชั่วเห็นไหมเพียงแค่เริ่มต้นของความคิดเกิดขึ้นเท่านั้น  แล้วก็ไปทำสิ่งที่คิดต่อมาภายหลัง  ผ่านวันผ่านเดือนค่อยๆ สั่งสม ก็มีความแบ่งแยกระหว่างคนดีคนชั่ว  เพราะฉะนั้น คนๆ หนึ่งที่ได้รับบุญหรือภัยก็ล้วนเกิดจากความคิดเริ่มแรกทั้งสิ้น  เพราะฉะนั้น  เริ่มแรกท่านไท่ซั่งก็กล่าวว่า “ภัยพิบัติบุญวาสนาไร้ทวาร สุดแต่คนกวักหา”  จึงเป็นการปลุกให้รู้สึกตัวตื่นและตักเตือนให้สนใจการเคลื่อนไหวความคิดเริ่มแรกแต่ความแตกต่างทางความคิดเท่านั้น  ผลตอบสนองก็แตกต่างกันราวฟ้ากับดินเลยทีเดียว

 


นิทาน ๑ : .ในสมัยราชวงศ์ซ้ง  ธรรมาจารย์เซ็น หลินหยวน  ได้กล่าวกับนายอี้ชวนว่า “ภัยสามารถเกิดบุญ บุญก็สามารถเกิดภัยได้ สาเหตุของภัยสามารถเกิดบุญคือ เมื่อคนตกอยู่ในอันตรายหรือภัยพิบัติในขณะนั้น ถ้าเขาจริงใจคิดแสวงหาความสงบสุข  ทั้งยังสามารถเข้าถึงหลักธรรมของความสงบสุขด้  โดยเฉพาะจิตใจเขายังมีความเกรงกลัวอยู่ และเผ้าระมัดระวังการกระทำของตนอย่างนอบน้อมแล้ว บุญก็ย่อมเกิดขึ้นได้  สาเหตุที่บุญสามารถเกิดภัยได้คือ  ขณะที่คนมีความเป็นอยู่อย่างสงบสุข  ก็จะไม่คิดถึงเรื่องภัยพิบัติ  แถมยังเหลิงระเริงปล่อยตัวคิดแต่จะเสพสุขสุรุ่ยสุร่ายแต่อย่างเดียว  พฤติกรรมก็หยิ่งทะนงและเกียจคร้าน งานต่างๆ ก็จะดูแคลน ท่าทางยโส  แถมยังรังแกผู้อื่นเป็นนิจ “นี่แหละบุญก็สามารถเกิดภัยได้”

นิทาน ๒ : .ในสมัยราชวงศ์ซ้ง ปราชญ์ จางจื่อ (จาง เหลียง) กล่าวว่า “เริ่มต้นใจให้ตรง ให้เอาใจของตนเป็นอาจารย์ผู้เคร่งครัด  สิ่งที่กระทำก็จะรู้จักระมัดระวังเตือนตนได้  ฝึกฝนเช่นนี้สัก 1-2 ปี ก็เพียงต้องจริงใจขยันรักษาให้มั่น  เช่นนี้แล้วใจก็จะตรงได้เอง”

นิทาน ๓ : สมัยก่อนที่วัดเจิ้นคง  พระภิกษุเฒ่ากล่าวว่า “ความคิดฟุ้งซ่านของปุถุชนไม่แน่นอน  บางครั้งก็หวนคิดถึงอดีตย้อนหลังหลายสิบปี มีทั้งเกียรติยศ  อัปยศ  บุญคุณ  โกรธแค้น  ซึ่งเต็มไปด้วยความอิ่มใจเศร้าโศก  พบกัน  ตายจาก  และอารมณ์ต่างๆ  เหล่านี้คือความฟุ้งซ่านในอดีต  บางครั้งปัจจุบันมีงานต้องไปทำ  ในใจก็กลัวนั่นกลัวนี่ ตัดสินใจไม่ได้  นี่คือความคิดฟุ้งซ่านในปัจจุบัน  บางครั้งก็คาดหวังถึงเกียรติยศ ความร่ำรวยในภายภาคหน้า  ลูกหลานมีความเจริญ  และบางสิ่งก็มองไม่เห็นความสำเร็จ บางสิ่งก็มองเห็นความสำเร็จ  นี่คือความคิดฟุ้งซ่านในอนาคต”  ความคิดฟุ้งซ่านทั้ง 3 นี้ บางทีก็เกิดขึ้นแล้ว  บางทีก็ดับไปแล้ว  เราเรียกมันว่าใจฟุ้งซ่าน  ถ้าเราสามารถส่องเห็นใจฟุ้งซ่านแล้วติดตามความคิดฟุ้งซ่านนั้นไป  ตอนที่มันเกิดขึ้นก็ให้ตัดมันเสียนี่เรียกว่าใจรู้ (รู้ทัน) เพราะฉะนั้นจึงพูดว่า “ไม่กลัวความคิดฟุ้งซ่านเกิดขึ้ น  แต่กลัวรู้สายไป”  หากใจนี้สะอาดใสดุจอวกาศ กิเลสก็ไม่มีที่ให้เกาะอยู่ใช่ไหม?

นิทาน ๔ :  สมัยราชวงศ์ซ้ง  นายเซียวคังจิ้ง  เขาใช้ขวด  ถั่วดำ  ถั่วขาวมาใช้ฝึกใจ  หากใจเกิดคิดในทางที่ดีก็หย่อนเมล็ดถั่วขาวลงในขวดใบหนึ่ง  ถ้าเกิดความคิดในทางชั่วก็หย่อนเมล็ดถั่วดำลงใ นขวดอีกใบหนึ่งตอนเริ่มต้นใหม่ๆ  ขวดที่ใส่ถั่วดำมีมากมาย  ต่อๆ ไปก็ค่อยๆ ลดน้อยลงพอฝึกไปนานๆ  ความคิดทั้งสองก็ลืมหมดคือเข้าสู่ “ไม่คิดดีไม่คิดชั่ว”  ใจอยู่ในสภาวะไม่มีความคิด (จิตว่าง)  สุดท้าย  ทั้งขวดและถั่วก็โยนทิ้ง

นิทาน ๕ :  ใสสมัยราชวงศ์ซ้ง  นายเหว่ยต๋งต๋า  เป็นข้าราชการในสำนักราชบัณฑิต  มีอยู่ครั้งหนึ่งเขาถูกยมฑูตจัใบตัวไปยังยมโลก  ยมบาลผู้ตัดสินความ สั่งให้ท้าวสุวรรณตรวจสอบบัญชีบาปบุญ  เมื่อบัญชีบันทึกบาปบุญถูกส่งมาที่ห้องพิจารณาคดี  บัญชีที่บันทึกความผิดมีมากมาย  ส่วนบัญชีบันทึกความดีมีความหนาเท่ากับความหนาของตะเกียบเท่านั้น  ยมบาลจึงส่งให้นำขึ้นชั่ง  ปรากฎว่าบัญชีความผิดซึ่งมีมากมายกลับเบากว่าบัญชีบันทึกความดี  นายเหว่ยต๋งต๋าจึงถามขึ้นว่า “อายุฉันยังไม่ถึง 40 ปี ทำไมจึงทำผิดมากมายเช่นนี้”  ยมบาลตอบว่า “เพียงแค่เกิดความคิดชั่วเกิดขึ้นก็บาปแล้วไม่ต้องรอไปกระทำหรอก”  สมมุติเห็นหญิงสาว  เกิดใจคิดลามกก็มีความผิดแล้ว  แล้วนายเหวยต๋งต๋าก็ถามต่อว่า แล้วบัญชีบันทึกความดีนั้นคืออะไร  ยมบาลตอบว่า “มีอยู่ครั้งหนึ่ง ฮ่องเต้คิดจะสร้างสะพานหินบน 3  ภูเขา เจ้าก็ทูลฮ่องเต้ว่าอย่าไปสร้างเลย  เพราะราษฎรจะได้รับความเหนื่อยยากทั้งแรงกายและเงินทอง  นี่คือสิ่งที่เจ้าได้กราบทูล แต่ฮ่องเต้ไม่ทรงฟัง  และก็ได้ลงมือสร้าง การกราบทูลห้ามก็ไม่มีผลประการใด  แล้วผลความดีทำไมจึมีน้ำหนักมากนัก”  ยมบาลตอบว่า  “ถึงแม้ฮ่องเต้จะไม่ฟังคำของเธอ  แต่ความคิดของเธอนั้นจริงใ จ  จุดมุ่งหมายไม่อยากให้ประชาราษฎรต้องเหน็ดเหนื่อยถ้าหากฮ่องเต้ฟังคำของเธอแล้ว ความดีของเธอก็จะยิ่งใหญ่กว่านี้มาก  ถ้าเธอยอมเอาใจนี้มากล่อมเกลาผู้คนก็ไม่ใช่จะยากเย็นอะไร! น่าเสียดายที่ความคิดชั่วเธอมีมากมาย เพราฉะนั้นปริมาณความดีจึงถูกลดไปกึ่งหนึ่ง เพราะฉะนั้น เธอจึงไม่มีโอกาสไปถึงตำแหน่งมหาอำมาตย์” ก เป็นจริงดังว่า  นายเหวยต๋งต๋ารับราชการไปถึงตำแหน่งบรรณาลักษณ์ด้านประวัติศาสตร์เท่านั้นไปไม่ถึงตำแหน่งมหาอำมาตย์

สรุป : ความคิดแค่เกิดขึ้นจากความคิดยังไม่ได้กระทำก็ยังถูกบั่นทอนบุญวาสนาแล้ว  เช่นเดียวกัน  ความคิดดี  แม้ไม่ถูกนำไปกระทำ ก็ให้มีพลังมีอานุภาพมาก  ดังตัวอย่างในนิทาน  ถ้าหากความคิดดี ความคิดชั่วถูกนำไปกระทำแล้ว  พลังความดีความชั่วจะมีมากขนาดไหนจะเห็นว่า แค่เคลื่อนไหวทางความคิดเท่านั้น นี่คือ ทยารแห่งภัยพิบัติและบุญวาสนา

คติพจน์ : “ทำความดีเหมือนหญ้าในฤดูใบไม้ผลิ  คือไม่เห็นต้นหญ้าสูงรก แต่มีหญ้าเพิ่มขึ้นทุกวัน  ทำความชั่วเหมือนหินลับมีด คือไม่เห็นหินมันสึกกร่อน  แต่นับว่าก็สึกกร่อนไป” เพราะฉะนั้น บุญก็ดี บาปก็ดี มันเพิ่มลดโดยเราไม่รู้สึกตัว  ผู้ไม่มีปัญญา ไม่อาจจะเข้าใจได้ง่ายนัก

ท่านเหวยหล่าง (ฮุยเหนิง) สังฆปริณายกในสมัยราชวงศ์ถังกล่าวไว้ว่า “เนื้อนาบุญ ไม่พ้นตารางนิ้ว” ในพุทธธรรมก็ว่า “บาปบุญมงคลเคราะห์ สุดแต่ใจสร้าง”

คัมภีร์ : บุญบาปตอบสนอง เหมือนเงาตามตัว

อธิบาย : การตอบสนองของบาปบุญ  ก็เหมือนเงาที่ติดตามตัวคนเดินไปถึงที่ไหนเงาก็ตามไปที่นั่น  มันไม่แยกจากกันเลยตลอดกาล

ความดีความชั่วก็คือการพูดถึงใจของคน  การตอบสนองก็คือหลักธรรมฟ้า  ถ้าร่างกายของ่คนตรงเงาก็ตรง  ถ้าร่างกายเอียงเงาก็เอียงไป เป็นเช่นนี้อย่างไม่ผิดเพี้ยน หากสร้างเหตุความดีไว้ ก็ย่อมได้รับผลของความสุข  หากได้สร้างเหตุความชั่วก็ย่อมได้รับความทุกข์เป็นผล  เหตุผลเหล่านี้ อริยเจ้าได้พูดไว้ละเอียดมาก น่าเสียดาย คนที่มีความรู้ คือมีการศึกษา ส่วนใหญ่จะไม่เชื่อเหตุผลเหล่านี้  ส่วนคนโง่ที่ไม่มีปัญญาก็ไม่เชื่อเพราะมองไม่เห็น  ดังนี้จึงละดีทำชั่ว  เพราะว่าพวกเขามักเห็นคนที่ทำความดี มักมีชะตาชีวิตที่ผกผัน กับคนที่เรื่องชั่ว ไม่เพียวมีอายุยืนยาวแถมร่ำรวยอีกต่างหาก เพราะปัจจุบันการรับกรรมตอบสนองมีต่างๆ กัน  ซึ่งความดีความชั่วกลับไม่เห็นการตอบสนอง  ดังนั้น  เหตุต่นผลกรรมจึงดูไม่มีเหตุผลเพียงพอต่อคยามเชื่อถือ  ทั้งนี้ เพราะคนโง่ผู้ไร้ปัญญา พวกเขาไม่รู้ว่า มนุษยโลกไม่มีใครอายุยื่นหลายร้อยปี และสวรรค์ก็ไม่ได้คิดบัญชีในทันที และค่นในโลกนี้ดีบริสุทธิ์หรือชั่วบริสุทธิ์ก็มีน้อยมาก  ดังนั้นโอกาสทำความดีความชั่วก็มีมากมาย  เพราะว่าความคิดนี้ก็มีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาผลตอบสนองก็ควรสลับไปสลับมา  บางทีก็ตอบสนองบนตัวเขาเอง บางทีก็ตอบสนองกับลูกหลานเขา  บางทีก็ตอบสนองในปัจจุบันชาติ

บางทีก็ตอบสนองในชาติหน้า บางครั้งการตอบสนองก็มากบ้างน้อยบ้างเร็วบ้างช้าบ้าง ถึงแม้ในนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงแยกย้าย แต่ถึงอย่างไรก็ไม่มีการผิดเพี้ยน ดังที่พูดกันว่า “ความดีความชั่วถึงที่สุด แล้วมีตอบสนองเพียงแต่เร็วหรือช้าเท่านั้น”  “ไม่มีหรอกที่จะไม่ตอบ เวลายังมาไม่ถึง”  เพราะฉะนั่นจึงไม่ควรมองเฉพาะหน้า ควรจะติดตามให้ถึงที่สุด  เพราะว่าการตอบสนองของความดีความชั่ว  เป็นเหมือนเงาตามตัวแน่นอน

ถ้าว่าตามพุทธธรรม กฎแห่งกรรมต้องพูดถึง 3 ชาติ ชนิดแรกคือปัจจุบัน ก็คือจะได้รับผลตอบสนองในชั่วชีวิตนี้ ชนิดสองคือชาติหน้าคือได้ผลตอบสนองในชาติถัดไป  ชนิดสามคือชาติถัดๆ ไป คือได้ผลตอบสนองในชาติอื่นๆ ถัดไป  อาจะป็นสิบชาติถัดๆ ไป คือได้ผลตอบสนองในชาติอื่นๆ  ถัดไป อาจเป็นสิบชาติร้อยชาติพันชาติก็ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าปัจจุบันทำดีกลับได้รับภัยพิบัติ  อันนี้เกิดจากกรรมชั่วที่เขาทำเมื่อชาติที่แล้ว  มาถึงปัจจะบันชาติก็ประจวบเหมาะกรรมตอบสนองพอดี  ผู้ที่ปัจจุบันทำชั่วกลับมีบุญวาสนา  อันนี้เกิดจากกรรมดีที่เขาทำเมื่อชาติที่แล้ว  มาถึงปัจจุบันก็ประจวบเหมาะกับกรรมดีตอบสนอง  เพราะฉะนั้น ในบุญมีเคราะห์ ในเคราะห์มีบุญ ก็เพราะว่าคนเราไม่มีใครที่ดีบริสุทธิ์หรือชั่วบริสุทธิ์ บางคนเริ่มต้นก็มีบุญวาสนาสุดท้ายกลับมีภัยพิบัติ นี้เพราะใจอันดีงามของเขาถดถอยไป บางคนเริ่มต้นมีแต่ภัยเคราะห์ ต่อมาภายหลังกลับมีบุญวาสนา  ทั้งนี้เพราใจชั่วของเขารู้สำนึกผิด  ถ้าหากผลตอบสนองไม่มีการเปลี่ยนแปลงนั่นคือ การตอบสนองโดยตรง  ถ้าหากภัยพิบัติกับบุญวาสนาช่วยกันปรากฎให้เห็น ก็แสดงว่าผลตอบสนองคลุมเครือและบังเอิญกับพอดียิ่งบางคนไม่เข้าใจกุศลลับกับอกุศลลับด้วยแล้ว  มันไม่ใช่หูหรือตาของคนที่สามารถมองเห็นฟังถึงผลกรรมตอบสนองได้

จะต้องรู้ว่ากฎหมายในดลกยังมีรอยรั่วและไม่รัดกุม  แต่การตอบสนองของธรรมแห่งฟ้าไม่มีการรั่วไหลหรือมีช่องโหว่ เพราะฉะนั้นจึงกล่าวว่า “สร้างความดีความชั่ว ตอบสนองเหมือนเงาตามตัวจงอย่าพูดว่าทำชั่วไม่ตอบสนอง รอให้ชั่วมันเอ่อล้น จงอย่าพูดว่าทำดีไม่ได้รับ รอผลดีสมบูรณ์ก่อน” ในพุทธธรรมก็ว่า “ถึงแม้จะเป็นร้อยพันกัป กรรมที่ทำไม่สลาย เหตุสัมพันธ์ได้เวลา จงรับผลตอบสนอง” เหล่านี้ก็น่าจะรู้ว่า เราได้รัยสุขทุกข์ในสามภพภูมิ วนเวียนอยู่ในวิถีหกข้างบนคือภพภูมิสามที่ดี  ข้างล่างคือภพภูมิบาปทั้งสม  ล้วนสุดแต่ใจคนจะกวักหามา ควรรู้เอาไว้ว่าตาข่ายฟ้าหลุดรอดยาก  แม้คิดจะหลบหนีก็เหมือนเดินอยู่กลางทุ่งโล่ง  เมื่อเกิดฝนตกหนัก มองไปทุกทิศล้วนแต่เปียกปอน ที่แท้ก็ไม่มีที่จะหลบฝนได้ แต่ชาวโลกไม่บรรลุรู้ จึงหมดทางสำรวจถึงภาพลักษณ์ที่แท้จริงของการตอบสนอง หากผลตอบสนองยังอยู่ไกล แน่นอนเราก็จะมองไม่เห็น ผลตอบสนองที่มองเห็นได้ ก็ทึกทักเหมาเอาว่า มันเป็นไปตามสภาวะปกติที่ราบรื่นบ้าง  ขรุขระบ้าง  จึงไม่เพิ่มความสำคัญ ยามปกติก็ดูแคลนกันแบบนี้ จึงไม่เอามาวินิจฉัย  บางครั้งประสบกับมหาโชค หรือมหาภัยซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจะเชื่อถือได้ แต่กลับนำเอาเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องน่าเชื่อถือมายอมรับแบบนี้เป็นเรื่องตัวเองหลอกตัวเอง สงสัยตัวเอง ถึงแม้คนที่ผ่านชีวิตมายาวนาน บังเอิญบรรลุรู้หลักธรรมบ้าง แต่เพราะคนก็แก่ชราแล้วนิสัยก็ยึดติดแน่นแล้ว ยากที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง ยิ่งคนหนุ่มสาวที่แข็งแรงเลือดลมดี ก็ยิ่งยากที่จะเชื่อถือ นี่แหละทำไมในโลกนี้จึงมีคนหลงลืมตนเองจำนวนมาก จึงเดินไปสู่ทางสามแพร่ง เป็นเรื่องที่น่าเวทนานัก

นิทาน ๑ :  ในสมัยราชวงศ์ชิง ที่เมืองฉงหมิง มีคนชื่อ หวงย่งเจียะ มีหมอดูคนหนึ่ง ทายดวงชะตาของว่า เขาจะมีอายุแค่ 60 ปีต่อมามีเรือจากหนานหยางลำหนึ่งประสบกับลมพายุ เรือใกล้จะจมลงนายหวงย่งเจียะรีบเอาเงินสิบตำลึงซื้อเรือประมงให้ออกไปฉุดช่วยเขาฉุดช่วยคนมาได้ 13 ชีวิต ต่อมาเขาได้พบหมอดูคนนั้นอีก หมอดูคนนั้นมองหน้าเขาแล้วประหลาดใจถามว่า “คุณหวง เส้นชะตาชีวิตบนหน้าท่าน สั่งสมบุญกุศลมามาก คงไปทเรื่องดีมามาก ไม่เพียงแต่ท่านจะได้บุตร บุตรของท่านยังจสอบเข้าราชสำนักได้ ชีวิตของท่านก็จะยืนยาวขึ้น” ต่อมานายหวงย่งเจียะก็ได้บุตรคนหนึ่ง ในสมัยพระเจ้าคังฮีก็สอบเข้ารับราชการเป็นที่หนึ่ง  ตัวหวงย่งเจียะก็มีอายุยืนยาวถึง 90 ปี และสิ้นขัยอย่างสงบ นิทานนี้ก็ให้รู้ว่าธรรมแห่งฟ้าน่าเชื่อถือ แล้วคนทำไมไม่ยอมละชั่วทำดีน่ะ?

นิทาน ๒ : ที่เมืองซิ้วซุ่ย มคนชื่อเจ่อฟานฉี เขาเป็นคนทำชั่วมากยุยงให้คนมีคดีความกัน ชอบด่าพระด่าเจ้า มีอยู่วันหนึ่ง เขาก็ล้มตายฉับพลัน ผ่านไปคืนหนึ่งก็ฟื้นขึ้นมาใหม่ เขาจึงเรียกลูกเมียให้ไปเรียกชาวบ้านมารวมกัน แล้วเล่าว่า “ยมบาลบอกว่าคนตายในยมโลกต้องรับโทษตอบสนอง คนบนโลกนี้ไม่รู้อะไร การได้รับกรรมตอบสนองจะรู้สึกเจ็บปวดมาก ถึงตอนนั้นก็สายไปแล้ว ที่น่าสมเพชคือชาวโลกไม่รู้จักความน่ากลัวของนรก จึงยังทำความชั่วกันจริงจัง เจ่อฟานฉีมีโทษมหันต์  เพราะฉะนั้นจึงอาศัยพวกท่านมาบอกกล่าวตักเตือน “พูดจบเขาเอามีดเฉือนเจ้าโลกทิ้งพร้อมพูดว่า”  นี่คือการตอบสนองการล่วงประเวณี  “เขายังควักลูกตาออกพร้อมพูดว่า  “นี่เพราะดูถูกลบหลู่เซียนพุทธบิดามารดา”  เขายังตัดมือของเขาแล้วพูดว่า  “นี่คือมือที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต”  เขายังผ่าท้องควักหัวใจ  พูดว่า  “นี่คือกรรมตอบสนองความชั่วร้าย”  เขาตัดลิ้นแล้วว่า  “เพราะพูดจาหลอกลวง” คนรอบข้างมองดูแล้วรู้สึกสะพรึงกลัว เขาทรมานอยู่ถึง 6 วันจึงตายร่างกายไม่มีชิ้นดี นี่คือทำเองรับเองการตอบสนองช่างรวดเร็วจริงหนอ!

สรุป : ที่ศาลเจ้าตงอี้ มีกลอนคู่ เขียนไว้ว่า : “บนโลกอันธพาลฝื่นหลักธรรม ยมโลกตอบสนอง อดีตมาเคยละเว้นใคร” ทำไมคนต้องรู้อาญากรรม ด้วยก่อความทุกขไม่จบสิ้น

 

อ่านต่อทั้งหมดคลิ๊กที่นี่.....