ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***


วิธีการลาสิกขา (1)

๑. กราบลาพระอุปัชฌาย์

เตรียมดอกไม้ธูปแพ เทียน แพ พร้อมกรวยดอกไม้ เข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ วางดอกไม้ธูปเทียนข้างซ้ายของตน แล้วกราบ ๓ ครั้ง เมื่อกราบเสร็จ ยกธูปเทียนขึ้นเสมออก แล้วกล่าวคำขอขมาโทษว่า   “อุปชฺฌาเย ปมาเทน ทวารฺตเย น กตํ สพฺพํ อปราธํ ขมตุ โน ภนฺเต

พระอุปัชฌาย์ ท่านจะกล่าวต่อว่า “อหํ ขมามิ ตุมฺเหหิปิ ขมิตพฺพํ” ให้ตอบรับว่า ขมามิ  ภนฺเต  จากนั้น พระอุปัชฌาย์ท่านจะให้พร เมื่อจบแล้วให้รับว่า สาธุ ภนฺเต จากนั้น ให้ประเคนพานดอกไม้ แล้วกราบ ๓ ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีลาพระอุปัชฌาย์

สำหรับการกราบลาพระอาจารย์  ให้เปลี่ยน “อุปชฺฌาเย” เป็น อาจริเย” นอกนั้นเหมือนเดิม

สำหรับการกราบลาพระพี่เลี้ยง ให้เปลี่ยน “อุปชฺฌาเย” เป็น “อายสฺมนฺเต” นอกนั้นเหมือนเดิม

หมายเหตุ  สำหรับสมเด็จพระสังฆราข ถ้ามิได้เป็นองค์อุปัชฌาย์ เปลี่ยน อุปชฺฌาเย เป็น มหาเถเร

ถ้ากล่าวพร้อมกันหลายรูป ให้เปลี่ยน “ขมตุ เม” เป็น  “ขมตุ โน”

เปลี่ยน “ขมามิ” เป็น “ขมาม”

๒. การลาสิกขา

เมื่อพระสงฆ์นั่งประชุมเรียบร้อยแล้ว ให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยแล้วหันมาทางพระสงฆ์กล่าวคำอาราธนาพระปริต ว่า

วิปตฺติ ปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติ  สิทฺธิยา

สพฺพทุกฺขวินาสาย  ปริตฺตํ พรูถ มงฺคลํ

วิปตฺติ ปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติ  สิทฺธิยา

สพฺพภยวินาสาย  ปริตฺตํ พรูถ มงฺคลํ

วิปตฺติ ปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติ  สิทฺธิยา

สพฺพโรควินาสาย  ปริตฺตํ พรูถ มงฺคลํ

พระสงฆ์จะสวดพระปริต ทำน้ำมนต์ ให้นั่งประนมมือฟังจนจบ เมื่อพระสงฆ์สวดจบ ให้หันมากราบพระพุทธรูป ๓ ครั้ง พร้อมทั้งกล่าว  “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส”  ๓ จบ แล้วกล่าวบท อตีตปัจจเวกขณะ ดังนี้

อชฺช มยา อปจฺจเวกฺขิตฺวา ยํ จีวรํ ปริภุตฺตํ, ตํ ยาวเทว สีตสฺส ปฏิฆาตาย, อุณฺหสฺส ปฏิฆาตาย  ฑํสมกสวาตาตปสิรึ สปสมฺผสฺสานํ ปฏิฆาตาย, ยาวเทว หิริโกปินฺนปฏิจฺฉาทนตฺถํ

อชฺช มยา อปจฺจเวกฺขิตฺวา โย ปิณฺฑปาโต ปริภุตฺโต โส เนว ทวาย น มทาย น มณฺฑนาย น วิภูสนาย, ยาวเทว อมสฺส กายสฺส ฐิติยา ยาปนาย วิหึ สุปรติยา พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย, อิติ ปุราณณฺจ เวทนํ ปฏิหงฺขามิ นวญฺจ เวทนํ น ปุปฺปาเทสฺสามิ ยาตฺรา จ เม ภวิสฺสติ อนวชฺชตา จ ผาสุวิหาโร จาติ

อชฺช มยา อปจฺจเวกฺขิตฺวา ยํ เสนาสนํ ปริภุตฺตํ ตํ ยาวเทว สีตสฺส ปฏิฆาตาย, อุณฺหสฺส ปฏิฆาตาย, ฑํสมกสวาตาตปสิรึ สปสมฺผสฺสานํ ปฏิฆาตาย, ยาวเทว อุตุปริสฺสยวิโนทนํ ปฏิสลฺลานารามตฺถํ.

อชฺช มยา อปจฺจเวกฺขิตฺวา โย คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขาโร ปริภุตฺโต, โส ยาวเทว อุปฺปนฺนานํ เวยยาพาธิกานํ เวทนานํ ปฏิฆาตาย อพฺยาปชฺฌปรมตายาติ

เมื่อสวดจบแล้ว กราบ ๓ ครั้ง หันมาทางพระสงฆ์ กราบ ๓ ครั้ง แล้วกล่าวคำลาสิกขาบท ว่า “สิกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าลาสิกขา

คิหีติ มํ ธาเรถ ขอท่านทั้งหลาย จงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นคฤหัสถ์” แล้วกราบ ๓ ครั้ง

จากนั้น เปลี่ยนผ้าเป็นผ้าขาว กราบพระสงฆ์ ๓ ครั้ง แล้วกล่าวถึงพระไตรสรณคมน์ แสดงตนเป็นอุบาสก ว่า

“เอสาหํ ภนฺเต สุจิรปรินิพุตมฺปิ, ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ  อุปาสกํ  มํ สงฺโฆ ธาเรตุ, อชฺชตคฺเคปาณุเตํ สรณํ คตํ”

เมื่อกล่าวจบแล้ว พระผู้เป็นประธาน จะกล่าวให้ศีล ให้อุบาสกใหม่ว่าตามไปทุกบท ดังนี้

ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

สุรา เมรย มชฺช ปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

พระผู้ให้ศีลจะกล่าวสรุปว่า “อิมานิ ปญฺจ สิกฺขาปทานิ นิจฺจสีลวเสน สาธุกํ รกฺขิตพฺพานิ.

อุบาสกใหม่ รับว่า อาม ภนฺเต

จบแล้ว อุบาสกใหม่ กราบพระสงฆ์ ๓ ครั้ง ลุกออกมานั่ง ณ ที่ซึ่งเตรียมไว้อาบน้ำมนต์ ในขณะที่พระสงฆ์รดน้ำมนต์ ให้อุบาสกใหม่นั่งประนมมือ เมื่อรดน้ำมนต์เสร็จแล้ว ก็เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวเป็นชุดคฤหัสถ์ ซึ่งอาจเป็นชุดขาวล้วน จากนั้นเข้ามากราบหมู่พระสงฆ์ อีก ๓ ครั้ง ประเคนถวายไทยธรรม เป็นดอกไม้ ธูปเทียน ใบปวารณา ตามแต่จะศรัทธา

จากนั้น พระสงฆ์จะกล่าวอนุโมทนา ให้อุบาสกกรวดน้ำ เมื่อพระสงฆ์สวดจบให้กราบ ๓ ครั้ง แล้วกราบ มารดาบิดา ท่านละ ๑ ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีในการลาสิกขา.

ที่มา-วัดบวรฯ

--------------------------------------------------------------------------------


วิธีการลาสิกขา(2)

เมื่อถึง กำหนดพระสงฆ์ผู้จะนั่งเป็นพยานเข้าประชุมพร้อมกัน ภิกษุผู้จะต้องการลาสิกขาแสดงอาบัติหมดจดสิ้นดีแล้ว พาดผ้าสังฆาฏิเข้าไปนั่งกระเหย่ง หันหน้าตรงต่อพระพุทธรูป (ที่ประดิษฐานบนที่บูชา) กราบลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ หน ประณมมือ เปล่งวาจา นะโม ๓ จบ แล้วกล่าวอตีตปัจจเวกขณ์ทั้ง ๔ ปัจจัย พอให้สงฆ์ได้ยิน (ถ้าผู้สึกหลายรูปให้ว่าพร้อม กันก็ได้) เปล่งวาจาทั้งอรรถทั้งแปล พร้อมด้วยเจตนาที่จะละเพศออกเป็นคฤหัสถ์ คราวละคน ว่า...

สิกขัง ปัจจักขามิ ข้าพเจ้าลาสิกขา
คิหีติ มัง ธาเรถะ ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นคฤหัสถ์


ถ้าความรู้สึกใจดิ่งเที่ยวลงไปว่าเป็นคฤหัสถ์แน่แล้ว ว่าเพียง ๑ จบ ก็ใช้ได้ แต่ถ้ายังไม่แน่วแน่พอ จะว่ากี่ครั้งก็ได้ ว่าไปจนตกลงใจ

เมื่อว่าไปจนปลงใจแล้วกราบสงฆ์ ๓ หน ออกไปผลัดผ้าขาวโจงกระเบน (ให้เอาผ้าขาวสอด เข้าไปในผ้าเหลือง) ห่มผ้าขาวเฉวียงบ่าแล้วเข้าไปหันหน้าตรงต่อสงฆ์ กราบ ๓ หน ประณมมือเปล่งวาจาถึงพระไตรสรณคมน์พร้อมกัน แสดงตนเป็นอุบาสกว่า

เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวะตัง สะระณัง คัจฉามิ.
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ,
อุปาสะกัง มัง สังโฆ ธาเรตุ,
อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง.

แปลว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพานนานแล้วนั้น กับพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.


เมื่อกล่าวจบแล้ว พระผู้เป็นประธานแห่งสงฆ์กล่าวคำให้ศีลตั้งแต่... ปาณาติปาตา เวระมะณี
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ เป็นต้นไปจนถึง สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะ
ทัง สะมาทิยามิ (ยกไตรสรณคมณ์เพราะผู้ลาสิกขาเปล่งวาจาถึงพระไตรสรณคมณ์ แสดงตน
เป็นอุบาสกแล้ว)

อุบาสกใหม่ว่าตามไปทุกสิกขาบทจนจบ พระผู้ให้ศีลสรุปว่า...

อิมินา ปัญจะ สิกขาปะทานิ นิจจะสีละวะเสน สาธุกัง รักขิตัพพานิ.

อุบาสกใหม่รับว่า... อามะภันเต.

แล้วพระผู้ให้ศีลกล่าวต่อไปว่า...

สีเลนะ สุคะตึ ยันติ,
สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุตึ ยันติ,
ตัสมา สีลัง วิโสธะเย.

จบแล้ว อุบาสกใหม่กราบพระสงฆ์ ๓ หน ถือบาตรน้ำมนต์ออกไป ณ ที่ซึ่งเตรียมไว้อาบน้ำ
มนต์ เมื่อพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งลงมือหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา เริ่ม
ต้นว่า...

ชะยันโต โพธิยา มูเลฯ.

จบหนึ่งหรือสามจบ หรือมากกว่านี้ สุดแล้วแต่รูปงาน แล้วว่า...

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง. ต่อท้าย

เสร็จแล้ว อุบาสกใหม่พึงผลัดผ้าขาวอาบน้ำเสีย นุ่งผ้าสำหรับคฤหัสถ์ เข้ามากราบพระสงฆ์
อีก ๓ หน

ต่อไป อุบาสกใหม่จะอังคาสพระภิกษุด้วยอาหารบิณฑบาต เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว ถวายไทยธรรมเสร็จแล้ว พระสงฆ์กล่าวอนุโมทนา... ยะถา สัพพี ใช้ โสอัตถะลัทโธ หรือ เต อัตถะ ลัทธา. ต่อตามจำนวนอุบาสกคนเดียวหรือหลายคน แล้วใช้... ภะวะตุ สัพพะมัง คะลัง.

เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา กำลัง... ยะถา (นำรูปเดียว) อุบาสกใหม่พึงกรวดน้ำรินลงภาชนะ พอพระสงฆ์ว่า สัพพี พร้อมกัน อุบาสกใหม่พึงเทน้ำให้หมด แล้วนั่งประณมมือฟังจนจบ เมื่อจบ แล้วพึงนั่งกระหย่งกราบตรงหน้าพระสงฆ์อีก ๓ หน เพียงเท่านี้เป็นเสร็จพิธีลาสิกขา

ที่มา : ธรรมะไทย

-----------------------------------------------------

 

พิธีลาบรรพชา(ลาสิกขา หรือ ลาสึก) (3)

การสึก ถือว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญอย่างยิ่งในชีวิต เพราะการลาจากสมณเพศมาเป็นคฤหัสถ์นั้น ก็เพื่อหวังการตั้งตัวในฐานะที่จะเป็นผู้ครองคฤหาสน์(พ่อบ้าน) ต่อไป เท่ากับเอากำเนิดใหม่ในชีวิตบั้นปลายปฐมวัย จึงจำต้องเลือกทำกันในวันที่มีฤกษ์งามยามดี สำหรับเดือนนั้นไม่ห้าม จะใช้เดือนใดก็ได้ ธรรมดามักจะลาสึก เมื่อออกพรรษาแล้ว ถ้าผู้ใดสึกระหว่างเข้าพรรษา ก็กล่าวกันว่า “แหกพรรษา” ตามนิยมแท้จริง หากรอไปจนรับผ้ากฐินแล้วจึงสึก ท่านว่ามีผลานิสงส์มาก เนื่องจากได้รู้เห็นในศาสนพิธี พร้อมกับได้ร่วมการนั้นๆด้วย ไม่เสียทีที่ได้บวชมา

เกณฑ์เข้าพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ส่วนแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ นั้น เป็นวันออกพรรษา และอยู่ในเกณฑ์รับกฐินเป็นต้นไปจนถึงกลางเดือน ๑๒ จึงจะหมดเขตการทอดกฐิน ถ้าปีใดมีอธิกมาส(เดือนแปดสองหน) เกณฑ์เข้าพรรษาก็ต้องเลื่อนไปอีกเดือนหนึ่ง คือเริ่มแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง และไปออกพรรษาเอาวันแรม ๑ค่ำ เดือน ๑๑ เช่นเดียวกัน พิธีนี้จำต้องเลือกหาวันคืนที่ดีจริงๆ อย่าให้เป็นวันอุบาทว์ โลกาวินาศ หรือวันดิถีที่ไม่เป็นมงคล และวันจม เป็นต้น เวลาฤกษ์คือเวลาที่ชักผ้าสังฆาฎิออกนั้น เป็นเวลาอันสำคัญ ต้องให้โหรหรือผู้รู้การให้ฤกษ์ทางโหราศาสตร์เป็นผู้คำนวณให้ ขณะได้เวลาฤกษ์ ผู้จะสึกต้องนั่งหันหน้าไปสู่เบื้องมงคลทิศ เช่นทิศศรีของวันสึก ขณะเมื่อพระท่านจะชักผ้าสังฆาฏิออก ผู้สึกจะต้องตั้งสติอารมณ์ให้แน่วแน่ นึกหวังทางดีภายหน้าตามจิตปรารถนา ฉะนั้น เวลาของฤกษ์ตอนนี้จึงควรเป็นเวลาที่เงียบสงัด เพื่อมิให้จิตใจรู้สึกวอกแวกไม่ปรกติ ควรเป็นเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนล่วงแล้วไป ยิ่งจวนรุ่งสว่างได้ยิ่งดี หมดเขตนิยมไม่ควรเกิน ๘ นาฬิกา

อนึ่ง เมื่อสึกแล้วควรกำหนดฤกษ์เวลาเข้าบ้านด้วย ถ้ายังไม่มีฤกษ์งามยามดี ก็ให้อาศัยอยู่กับวัดไปก่อน รอจนกว่าจะถึงฤกษ์ดีจึงจะออกจากวัด ขณะจะออกจากวัด ให้หันหน้าไปสู่ทิศอันเป็นสิริมงคล ยืนสงบนิ่งกระทำจิตใจให้ผ่องแผ้วอยู่สักอึดใจหนึ่งก่อน แล้วจึงก้าวเท้าเดินไปทางทิศนั้นสัก ๓-๔ ก้าวพอเป็นพิธี ต่อจากนั้นจึงก้าวเดินไปทางทิศซึ่งจะไปยังเคหสถานบ้านเรือนตน

การลาบรรพชากรรม ตามประเพณีโบราณมามีแบบอย่างปฏิบัติกันตามลำดับพิธีดังต่อไปนี้ คือ:


๑)จัดการขอขมา

เมื่อกำหนดวันฤกษ์ดีคืนดีได้แล้ว ครั้นใกล้จะถึงกำหนดให้จัดเครื่องสักการบูชาไปขอขมาดังนี้

ก.ขอขมาเสมา จัดกรวยดอกไม้ ธูป เทียน หมากพลู ไปบูชาขอขมาเสมาที่หน้าพระอุโบสถ

ข.ขอขมาพระประธาน จัดเครื่องสักการะ คือ ดอกไม้ ธูป เทียน หมาก พลู ไปขอขมาพระประธาน เครื่องสักการะเหล่านี้ให้อุทิศถวายแก่พระสงฆ์ ในเมื่อบูชาขอขมาพระประธานเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ค.ขอขมาพระสงฆ์ จัดเครื่องสักการะ คือ ดอกไม้ ธูป เทียน หมาก พลู ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ ตลอดจนถึงพระสงฆ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือทุกองค์

 

๒) พิธีลาสิกขา

เมื่อถึงวันกำหนดฤกษ์ พึงเตรียมการจัดสถานที่ ตั้งที่บูชา นิมนต์พระ และจัดหาดอกไม้ ธูป เทียน ไว้ให้พร้อมเสร็จ นิมนต์พระสงฆ์มานั่งประชุมกัน ภิกษุผู้จะสึกพึงแสดงอาบัติให้ตัวบริสุทธิ์เสียก่อน แล้วเข้าไปหาพระมหาเถระ นั่งคุกเข่าลง หันหน้าตรงต่อพระพุทธรูป แล้วกราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง นั่งประนมมือ ว่านะโม ๓ จบ แล้วว่าอตีตปัจจเวกขณ์ทั้ง ๔ บท ว่าจบแล้วกราบลงอีก ๓ หน ต่อจากนี้ เมื่อได้เวลาฤกษ์พึงตั้งสติสำรวมใจให้แน่วแน่ กล่าวคำปฏิญาณที่จะละจากสมณเพศออกเป็นคฤหัสถ์ ทั้งคำบาลีและคำแปล คราวละรูปว่า “สิกขัง ปัจจักขามิ ข้าพเจ้าลาสิกขา คิหีติ มัง ธาเรถะ ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ ว่า เป็นคฤหัสถ์แล้ว” ดังนี้ ๓ ครั้ง

ลำดับนั้น พระมหาเถระท่านจะถามถึงเจตนาตามคำปฏิญญา เมื่อตอบตรงกันแล้ว ท่านก็จะจับผ้าสังฆาฏิออกจากบ่า ในขณะเมื่อได้ฤกษ์ พระสงฆ์เริ่มสวดชัยมงคลคาถา(ชะยันโต...) ๑ จบ หรือ ๓ จบก็ได้ แล้วแต่กาลเทศะแล้วสวด”ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง...” ต่อท้าย เมื่อสวดจบแล้ว ผู้ลาสิกขากราบลง ๓ หน ออกไปผลัดผ้าเหลืองออก นุ่งผ้าขาวโจงกระเบนแทน (การผลัดผ้านี้ต้องระวัง คือให้เอาผ้าขาวสอดเข้าใต้ผ้าเหลือง อย่าเอาผ้าขาวทับผ้าเหลือง) และห่มผ้าขาวอีกผืนหนึ่ง โดยวิธีห่มเฉวียงบ่า เข้าไปหาพระมหาเถระ กราบลง ๓ หน จึงยกบาตรน้ำมนต์ ออกไปตั้งยังที่ซึ่งเตรียมไว้ ตอนนั้นผู้ลาสิกขาต้องนั่งผินหน้าไปสู่เบื้องมงคลทิศ(ทิศศรีในวันนั้น) พระมหาเถระท่านนั้นจะหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ให้ เสร็จแล้วจึงผลัดผ้าและเข้ามากราบพระมหาเถระอีก พึงนั่งคุกเข่า ประนมมือ เปล่งวาจาขอพระไตรสรณาคมน์และศีล เพื่อแสดงตนเป็นอุบาสก ถ้ามีผู้สึกหลายคนก็ให้ว่าพ้อมกัน เมื่อรับศีลแล้วกราบลงอีก ๓ หน หากมีเครื่องไทยธรรมที่จะถวายก็ให้ถวายในตอนนี้

ครั้นแล้วพระมหาเถระท่านอนุโมทนา อุบาสกใหม่กรวดน้ำเมื่อพระขึ้นว่า “ยถา...” พอพระว่าถึงบท”สัพพีติโย” ก็นั่งประนมมือรับพรจนจบ แล้วคุกเข่ากราบลงอีก ๓ หน จึงเป็นอันเสร็จพิธี

ที่มา-มงคลพิธีไทย