ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

คำขานนาค ขอบรรพชาอุปสมบท (เอสาหัง) -วัดบวรนิเวศวิหาร โดย พระมหานายก (พระมหาฉลอง ชลิตกิจฺโจ)

การเตรียมตัวก่อนบวช

ผู้จะบวชเรียกว่า อุปสัมปทาเปกข์ หรือ นาค ซึ่งต้องท่องคำบาลีหรือที่เรียกกันว่าขานนาคให้คล่องเพื่อใช้ในพิธี โดยต้องฝึกซ้อมกับพระอาจารย์ให้คล่องก่อนทำพิธีบวชเพื่อจะได้ไม่เคอะเขิน


ต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้จะบวชได้แก่
๑.เป็นคนทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน
๒.เป็นคนหลบหนีราชการ
๓.เป็นคนต้องหาในคดีอาญา
๔.เป็นคนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ
๕.เป็นคนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา
๖.เป็นคนมีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่น วัณโรคในระยะอันตราย
๗.เป็นคนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้

เครื่องอัฏฐบริขาร

และเครื่องใช้อื่นๆ ที่ควรมีหรือจำเป็นต้องใช้ได้แก่
๑.ไตรครอง ได้แก่ ...สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
๒.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา ถลกบาตร สายโยค ถุง ตะเคียว
๓.มีดโกน พร้อมทั้งหินลับมีดโกน
๔.เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย
๕.เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก)
๖.เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง
๗.จีวร สบง อังสะ ผ้าอาบ ๒ ผืน (ไตรอาศัย)
๘.ตาลปัตร ย่าม ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า
๙.โคมไฟฟ้า หรือตะเกียง ไฟฉาย นาฬิกาปลุก
๑๐.สำรับ ปิ่นโต คาว หวาน จานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ
๑๑.ที่ต้มน้ำ กาต้มน้ำ กาชงน้ำร้อน ถ้วยน้ำร้อน เหยือกน้ำและแก้วน้ำเย็น กระติกน้ำแข็ง กระติกน้ำร้อน
๑๒.กระโถนบ้วน กระโถนถ่าย
๑๓.ขันอาบน้ำ สบู่และกล่องสบู่ แปรงและยาสีฟัน ผ้าขนหนู กระดาษชำระ
๑๔.สันถัต (อาสนะ)
๑๕.หีบไม้หรือกล่องเก็บสำหรับเก็บไตรครอง

ข้อที่ ๑-๕ เรียกว่าอัฏฐบริขารซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดเสียมิได้ มีความหมายว่า บริขาร ๘ แบ่งเป็นผ้า ๕ อย่างคือ สบง ๑ ประคตเอว ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ากรองน้ำ ๑ และเหล็ก ๓ อย่างคือ บาตร ๑ มีดโกน ๑ เข็มเย็บผ้า ๑ นอกจากนั้นก็แล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละแห่งและกำลังทรัพย์


ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ

๑.ไตรแบ่ง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ ผ้ารัดอก ๑

ผ้ากราบ ๑
๒.จีวร สบง อังสะ (ไตรอาศัยหรือสำรอง) และผ้าอาบ ๒ ผืน
๓.ย่าม ผ้าเช็ดหน้า นาฬิกา
๔.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา
๕.รองเท้า ร่ม
๖.ที่นอน เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง (อาจอาศัยของวัดก็ได้)
๗.จานข้าว ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดมือ ปิ่นโต กระโถน
๘.ขันน้ำ สบู่ กล่องสบู่ แปรง ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว
๙.ธูป เทียน ดอกไม้ (ใช้สำหรับบูชาพระรัตนตรัย)
๑๐.ธูป เทียน ดอกไม้ *(อาจใช้แบบเทียนแพรที่มีกรวยดอกไม้ก็ได้ เอาไว้ถวายพระอุปัชฌาย์ผู้ให้บวช)
*อาจจะเตรียมเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และพระในพิธีนั้นอีกรูปละหนึ่งชุดก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์และศรัทธา


คำขอขมาบิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่เพื่อลาบวช

"กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่านต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดีทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตราบเท่านิพพาน เทอญ"

สถานที่ทำพิธี คือ พระอุโบสถ  

มีพระอุปัชฌาย์ ๑ พระกรรมวาจาจารย์ ๑ พระอนุสาวนาจารย์ ๑ (สองรูปหลังนี้เรียกว่าพระคู่สวด) อีก ๒๕ รูป เรียกวาพระอันดับ (๑๐ รูปขึ้นไป ไม่ถึง ๒๕ รูปก็ใช้ได้)





การบวชนาคและแห่นาค

ไตรวางไว้บนพานแว่นฟ้า บาตร สวมอยู่ในถุงตะเครียว ภายใน
บาตรใส่มีดโกนพร้อมด้วยหินลับมีดโกนเข็มพร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย และเครื่องกรองน้ำ นอกจากนั้นยังนิยมใส่พระเครื่องรางต่าง ๆ ลงในบาตร เพื่อปลุกเสกให้ขลังขึ้นอีกด้วย


การจัดกระบวนแห่ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ
- หัวโต หรือห้วสิงโต (มีหรือไม่ก็ได้)
- แตร หรือ เถิดเทิง (มีหรือไม่ก็ได้)
- ของถวายพระอุปัชฌาย์ และพระคู่สวด
- ไตรครอง ซึ่งมักจะอุ้มโดยมารดาหรือบุพการีของผู้บวช (มีสัปทนกั้น)
- ดอกบัว ๓ ดอก ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม ให้ผู้บวชพนมมือถือไว้ (มีสัปทนกั้น)
- บาตร และตาลปัตร จะถือและสะพายโดยบิดาของผู้บวช
- ของถวายพระอันดับ (จำนวน...กี่รูป)
- บริขารและเครื่องใช้อย่างอื่นของผู้บวช


เมื่อจัดขบวนเรียบร้อยแล้วก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่พระอุโบสถ เวียนขวารอบนอกขันธสีมา จนครบ ๓ รอบ

ก่อนจะเข้าโบสถ์ก็ต้องวันทาเสมาหน้าพระอุโบสถเสียก่อนว่า ..

วันทามิ อาราเม พัทธะ เสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต

เมื่อเสร็จแล้วก็โปรยทานก่อนเข้าสู่พระอุโบสถโดยให้บิดามารดาจูงติดกันไป อาจจะอุ้มข้ามธรณีประตูไปเลยก็ได้ เสร็จแล้วผู้บวชก็ไปกราบพระประธานด้านข้างพระหัตถ์ขวาขององค์พระ รับไตรครองจากมารดาบิดา จากนั้นจึงเริ่มพิธีการบวช


วันทาเสมา, บุชาพระรัตนตรัยต่อพระประธานในโบสถ์


(ยืนกล่าวคำวันทาเสมา)
อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต,มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปัญญัง มัยหัง,ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิฯ

( นั่งคุกเข่า กล่าวต่อ )
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต, อุกาสะ ทะวารัตตะ เยนะกะตัง, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต, อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ

( ลุกขึ้นยืน กล่าวต่อ )
วันทามิ  ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต,มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปัญญัง มัยหัง,ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิฯ

เสร็จแล้วไปหน้าพระอุโบสถ เพื่อโปรยทานจากนั้นจึงเข้าสู่พระอุโบสถ และบูชาพระรัตนตรัยต่อพระประธาน


พุทธะบูชา มหาเตชะวันโต, ธรรมะบูชา มหาปัญโญ,สังฆะบูชา มหาโพคะวะโห, ปิโรกะนะถัง อะภิปูชะยามิ

 













วิธีบรรพชาอุปสมบทแบบเอสาหัง


กุลบุตรผู้มีศรัทธามุ่งอุปสมบท พึงรับผ้าไตรอุ้มประนมมือเข้าไปในสังฆสันนิบาต วางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌายะ แล้วกราบลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้งแล้วนั่งคุกเข้าอุ้มผ้าไตรประนมมือเปล่งวาจา ถึงสรณะและขอบรรพชาด้วยคำมคธ หยุดตามจุดจุลภาค
ว่า
.........เอสาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณังคัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง
.........ทุติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง
.........ตะติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตังสะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะภะคะวะโต,ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสังปะทัง
.........อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิคะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ
.........ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายามิวัตถานิ คะเหตวา, ปัพพเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ
.........ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิวัตถานิ คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ
.........ถ้าบวชเป็นสามเณร ยกคำว่า ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ออกเสีย
.........ในลำดับนั้น พระอุปัชฌายะรับเอาผ้าไตรจากผู้มุ่งบรรพชาวางไว้ตรงหน้าตัก แล้วกล่าวสอนถึงพระรัตนตรัยเป็นต้น และบอก ตะจะปัญจะกะกัมมัฏฐาน ให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลมและปฏิโลม ดังนี้
.........เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
.........ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)


.........ครั้นสอนแล้วพระอุปัชฌายะชังอังสะออกจากไตร สวมให้แล้ว สั่งให้ออกไปครองไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วเข้าไปหาพระอาจารย์ รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ หน นั่งคุกเข่า ประนมมือเปล่งวาจา
ขอสรณะและศีลดังนี้
........................อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ
.........ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ
.........ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ
.........ลำดับนั้น พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการนำให้ผู้มุ่งบรรพชาว่าตามไปดังนี้
.........นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธสสะ
ว่า ๓ หน
.........แต่นั้นท่านจะสั่งด้วยคำว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ
ตัง วะเทหิ พึงรับว่า อามะ ภันเต
.........ครั้นแล้วท่านนำให้เปล่งวาจาว่าสรณคมน์ตามไปทีละพากย์ดังนี้
..................พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
..................ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
..................สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
..................ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
..................ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
..................ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
..................ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
..................ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
..................ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
.........เมื่อจบแล้ว ท่านบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง พึงรับว่าอามะ ภันเต ลำดับนั้นพระอาจารย์จะบอกให้รู้ว่า การบรรพชาเป็นสามเณรสำเร็จด้วยสรณคมน์เพียงเท่านี้ ทีนั้นพึงสมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการ
ว่าตามท่านไปดังนี้
..................ปาณาติปาตา เวระมะณี
..................อะทินนาทานา เวระมะณี
..................อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี
..................มุสาวาทา เวระมะณี
..................สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี
..................วิกาละโภชะนา เวระมะณี
..................นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมะณี
..................มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี
..................อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี
..................ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมะณี
..................อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ ฯ (ว่า ๓ หน)
.........ในลำดับนั้น สามเณรพึงรับบาตร อุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌายะในสังฆสันนิบาตวางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่าน แล้วกราบ
๓ หน นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำขอนิสัย ว่าดังนี้
...........................อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ
..................ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ
..................ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ
..................อุปัชฌาโย เม ภันเต, โหหิ ว่า ๓ หน
.........พระอุปัชฌายะกล่าวว่า โอปายิกัง, ปะฏิรูปัง, ปาสาทิเกนะสัมปาเทหิ บทใดบทหนึ่งพึงรับว่า สาธุ ภันเต ทุกบทไป แต่นั้น
สามเณรพึงกล่าวรับเป็นธุระให้ท่านว่าดังนี้
.........อัชชะตัคเคทานิ เถโร, มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะภาโร
...........................ว่า ๓ หน เสร็จแล้วกราบลง ๓ หน
.........ลำดับนั้น พระอุปัชฌายะแนะนำสามเณรไปตามระเบียบแล้ว พระอาจารย์ผู้เป็นกรรมวาจา เอาบาตรมีสายคล้องตัวผู้มุ่งอุปสมบท บอกบาตรและจีวร ผู้มุ่งอุปสมบทพึงรับว่า อามะ ภันเต ๔ หนดังนี้
คำบอกบาตรจีวร คำรับ
คำบอกบาตรจีวร
๑. อะยันเต ปัตโต
๒. อะยัง สังฆาฏิ
๓. อะยัง อุตตะราสังโค
๔. อะยัง อันตะระวาสะโก..................     
คำรับ
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต


.........ต่อจากนั้นพระอาจารย์ท่านบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะอะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ พึงถอยออกลุกขึ้นเดินไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้พระอาจารย์ท่านแสดงสมมติตนเป็นผู้สอนซ้อม แล้วออกไปสวดถามอันตรายิกกรรม พึงรับว่า นัตถิ ภันเต ๕ หน อามะ ภันเต ๘ หน ดังนี้
...........ถาม
๑. กุฏฐัง
๒. คัณโฑ
๓. กิลาโส
๔. โสโส
๕. อะปะมาโร
๑. มะนุสโสสิ๊
๒. ปริโสสิ๊
๓. ภุชิสโสสิ๊
๔. อะนะโณสิ๊
๕. นะสิ๊ ราชะภะโฏ
๖. อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ
๗. ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊
๘. ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง.......
๑. กินนาโมสิ
.
๒. โก นามะ เต อุปัชฌาโย
.1
2
ตอบ
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อะหัง ภันเต........................
นามะ
อุปัชฌาโย เม ภันเต
อายัสมา.............................
นามะ
.........ถ้าตอบพร้อมกันให้เปลี่ยน เม เป็น โนช่องที่...ไว้ พระอุปัชฌายะหรืออาจารย์ท่านจะตั้งชื่อของ อุปสัมปทาเปกขะ กรอกลงช่องให้ไว้ก่อนวันบวช และช่องที่ ... ไว้ในช่องชื่อของพระอุปัชฌาย์ ก็เช่นเดียวกัน ให้กรอกตามชื่อของพระอุปัชฌายะ ซึ่งท่านจะบอกและกรอกให้ไว้ก่อนวันบวช
.........ครั้นสวดสอนซ้อมแล้ว ท่านกลับเข้ามาสวดขอเรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้ามา อุปสัมปทาเปกขะ พึงเข้ามาในสังฆสันนิบาต กราบลงตรงหน้า
พระอุปัชฌายะ ๓ หน แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ เปล่งวาจาขออุปสมบท
ว่าดังนี้
.........สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตู มัง ภันเต,สังโฆ อะนุกัมปัง อุปายทายะ
.........ทุติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุปะตุมัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปทายะ
.........ตะติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุมัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
.........ถ้าว่าพร้อมกันให้เปลี่ยน ยาจามิ เป็น ยาจามะ เปลี่ยน มังเป็น โน
.........ในลำดับนั้น พระอุปัชฌายะกล่าวเผดียงสงฆ์แล้ว และพระอาจารย์สวดสมมติตน ถามอันตรายิกธรรมอุปสัมปทาเปกขะ พึงรับว่า นัถติ ภันเต๕ หน อามะ ภันเต ๘ หน ตอบชื่อตนและอุปัชฌายะรวม ๒ หนโดยนัยหนหลัง แต่นั้นนั่งฟังท่านสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ ครั้นจบแล้วท่านเอายาตรออกจากตัง แล้วพึงกราบ ๓ หน นั่งพับเพียบประนมมือนั่งพระอุปัชฌายะบอกอนุศาสน์ไปจนจบแล้วรับว่า อามะ ภันเต แล้วกราบ๓ หน ถวายไทยทาน กรวดน้ำ เหมือนกล่าวแล้วในแบบ อุกาสะ

จบวิธีอุปสมบทแบบเอสาหัง