ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

ขันหมากเอก ขันหมากโท

เมื่อได้ผ่านพิธีการสู่ขอตกลงกันได้แล้ว และถึงวันนัดหมายพิธีการหมั้นตามฤกษ์ยามที่ได้หามาแล้ว ก็ต้องเตรียมการแห่ขันหมากหมั้น ซึ่งในสมัยก่อนมีแยกทั้งขันหมากแต่ง ขันหมากหมั้น  แต่ในปัจจุบันนี้คงจะเหลือแบบเดียว ซึ่งองค์ประกอบและสิ่งที่ต้องใช้ในขบวนขันหมากมีดังนี้

ขันหมากเอก จะจัดเป็นขันเดี่ยว หรือขันคู่ ก็แล้วแต่ประเพณีนิยม ของแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่มีขันใส่หมากพลู ขันใส่เงินทองหรือสินสอด ขันใส่สิ่งของอันเป็นมงคล เช่น ถั่ว งา ข้าวเปลือก ใบเงินใบทอง ฯลฯ ขันหมากเอก นี้นิยมจัดเป็นคู่ ถือว่าเป็นเคล็ดมงคลสำหรับการแต่งงาน

ขันหมากโท ได้แก่ พวกของที่ใช้เป็นอาหารและขนม รวมทั้งบริวารขันหมากอื่น ๆ เช่น ต้นกล้วย ต้นอ้อย นิยมจัดเป็นคู่ ๆ เช่นกัน มีการนำกระดาษสีแดง ประดับตกแต่งให้สวยงาม

พานขันใส่หมาก จะมีหมากดิบ 8 ผล พลู 4 เรียง (เรียงละ 8 ใบ) หรืออาจใช้มากกว่านี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ขอแค่ให้เป็นจำนวนเลขคู่ และอาจจัดแยกเป็นหมากหนึ่งขันและพลูอีกหนึ่งขันก็ได้

ขันหมากพลูนั้น บางที่ก็มีการจัดที่แตกต่างกันไป เช่น อาจมีหมากทั้งลูก ๘ ผล พลู ๘ เรียง หรือ หมากทั้งลูก ๔ ผล พลู ๔ เรียง บางทีก็กำหนดหมากทั้งลูก ๑๖ ผล พลู ๓ เรียง การเรียงพลูนั้น ในแต่ละเรียงยังกำหนดต่างกันไป แล้วแต่ความนิยม เช่น เรียงละ ๕ ใบ หรือ ๘ ใบ ส่วนหมากนั้น นอกจากจะต้องเป็นหมากทั้งลูก ไม่นิยมการผ่า หรือแบ่งเป็น ๒ ซีกแล้ว ยังควรให้อยู่ในตะแง้เดียวกันทั้ง ๘ ผล หรือ ๑๖ ผลอีกด้วย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ถือเคล็ดการนับเป็นคู่ และการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ขันใส่ของหมั้น มักจะเป็นทองรูปพรรณ เครื่องเพชรพลอย สร้อยต่างหูกำไล หรือแหวนทอง ห่อไว้ด้วยผ้าหรือกระดาษสีแดง ให้เรียบร้อย สวยงาม ก่อนบรรจุ ลงในขัน

ขันประกอบ มีการเพิ่มขันที่สามเข้าไปเพื่อเป็นขันประกอบโดยบรรจุใบเงินใบทอง ถุงเล็กถุงน้อยที่ใส่ข้าวเปลือก ข้าวตอก ถั่วเขียว และงา (เป็นจำนวนคู่) ซึ่งจัดไว้เพื่อเอาความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองและความงอกงามในวันข้างหน้า ส่วนขันใส่หมาก ขันใส่ของหมั้นขันใส่ข้าวเปลือก ถั่วงา และใบเงินใบทอง ทั้งหมดจัดแต่งอย่างประณีต อาจมีการเย็บใบตองจับจีบประดับด้วยมาลัย ดอกรักและบานไม่รู้โรยแล้วคลุมด้วยผ้าอย่างดีให้เรียบร้อยสวยงาม

ต้นกล้วยต้นอ้อย

ต้นกล้วยต้นอ้อย ที่ใช้ในขบวนขันหมากนั้น จะต้องให้มีติดรากหรือมีตา และเลือกเอาต้นหรือหน่อที่สมบูรณ์ โดยขุดมาเป็นคู่ นำมาประดับตกแต่งด้วยกระดาษสีให้ดูสวยงาม ซึ่งเจ้าบ่าวเจ้าสาว จะต้องทำการปลูกร่วมกัน คล้ายกับเป็นการเสี่ยงทายอย่างหนึ่ง ซึ่งหากต้นกล้วยเจริญเติบโตออกดอกออกผลสมบูรณ์ และต้นอ้อยเติบโต หอมหวาน เชื่อกันว่าความรักของหนุ่มสาวคู่นี้จะเป็นไปอย่างราบรื่น มีลูกหลานเต็มบ้านเหมือนเครือกล้วย  และความรักหวานชื่นเหมือนกับน้ำอ้อย

ผ้าไหว้บรรพบุรุษ

ส่วนผ้าไหว้ นั้น นิยมจัดเป็นคู่ ๆ เช่น ๒ คู่ หรือ ๓ คู่ นำมาห่อกระดาษแดงให้สวยงาม ผ้าไหว้นี้ใช้สำหรับ ไหว้ผีบรรพบุรุษ หรือไว้พ่อแม่ของฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นคนละอย่างกับผ้าไหว้ ที่เจ้าบ่าวเจ้าสาว มอบให้ญาติผู้ใหญ่ ที่มาทำพิธีรับไหว้ในขั้นตอนการแต่งงาน

ชุดพานขันหมากเอก

1.พานขันหมาก 1 พาน ( พานเย็บด้วยใบตอง )

2. พานสินสอดวางเงิน 1 พาน ( พานเย็บด้วยใบตอง )

3.พานสินสอดวางทอง 1 พาน ( พานเย็บด้วยใบตอง )

4.จัดเตรียมพานแหวนหมั้น 1 พาน ( พานเย็บด้วยใบตอง )

5.จัดเตรียมพานไหว้ผู้ใหญ่ 1 พาน ( ทำจากดอกไม้สด )

6. จัดเตรียมพานเชิญขันหมาก 1 ท่าน ( ทำจากดอกไม้สด )

7.พานขันหมากเอก 2 คู่

ขันหมากโท ประกอบด้วย 18คู่

1. จัดเตรียมพานขนมมงคล 9 อย่าง 1 คู่

( จ่ามงกุฎ/ทองเอก/เสน่ห์จันทร์/ทองหยด/ทองหยิบ/ฝอยทอง/เม็ดขนุน/ขนมชั้น/ถ้วยฟู/ขนมกง / ขนมชะมด/ ขนมสามเกลอ /ขนมโพรงแสม /ขนมรังนก )

2. ต้นกล้วย 1 คู่

3. ต้นอ้อย 1 คู่

4. หมูนอนตอง 1 คู่

5. ขนมรูปตัวไก่ 1 คู่

6. ขนมรูปตัวเป็ด 1 คู่

7.เหล้า 1 คู่

8. วุ้นเส้น

9. มะพร้าว 1 คู่

10. ขนมกงฝาชี 4 คู่

11. กล้วย 1 คู่

12. ขนมรูปตัวปลา

13. ส้ม 1 คู่

14. ขนมจันอับ 1 คู่

15.ขนมเปี๊ยะ 1คู่