จะตรงกับช่วง ศุกล ปักษ์ ทศมี ดิถี ของเดือนเชษฐะ (ขึ้น 10 ค่ำ) และตกอยู่ในราวเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน วันคงคา ทศหรา เป็นที่รู้จักกัน ในวันคงคาวตารัน ซึ่งหมายความว่าการหลั่งลงมาของแม่น้ำคงคาสู่พื้นพิภพ
โดยปกติวันคงคา ทศหราจะมีการเฉลิมฉลองหนึ่งวันก่อนถึงวันนีรชลา เอกาทศี แต่ในบางปีวันคงคา ทศหรา และ วันนีรชลา เอกกาทศี อาจจะตรงกับวันเดียวกัน
วันคงคา ทศหรา จะเป็นการบูชาอุทิศแด่พระแม่คงคาโดยเฉพาะ และวันนี้ถือเป็นอนุสรณ์ในการที่พระแม่คงคา เสด็จลงมายังโลกเพื่อที่จะล้างคำสาปให้กับดวงวิญญาณของบรรพบุรุษของท้าวภาคิรัถ และก่อนที่จะมายังโลก พระแม่คงคาผู้ซึ่งเคยอาศัยอยู่ในคณโฑน้ำของพระพรหมและการลงมาของพระแม่คงคาก็ถือว่าได้นำความบริสุทธิ์แห่งสวรรค์มายังโลก
เมื่อถึงวันคงคา ทศหราผู้ที่บูชาจะพากันไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา และทำการกุศล โดยการบริจาคทาน (ทาน ปุณญาदान - पुण्य) การอาบน้ำในแม่น้ำคงคาในวันนี้ ถือว่าเป็นมงคลอย่างสูงและชาวฮินดูเชื่อกันว่าจะสามารถล้างบาปกรรมที่เคยทำมาในอดีตได้ทั้งหมด วันคงคา ทศหรา ไม่ควรจะสับสนกับ วันประสูติของพระแม่คงคาหรือ วันคงคา ชยันตี