วันปงกัล / อุตรายัน สังกรานติ / มกรา สังกรานติ
เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวในภาคใต้ของอินเดียการสิ้นสุดของฤดูเก็บเกี่ยว.ซึ่งเป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญที่สุดของการเฉลิมฉลองโดยชาวทมิฬในรัฐทมิฬนาฑู ของอินเดีย ศรีลังกาและเนปาล
“ปงกัล” คือจุดเริ่มต้นของการโคจรของดวงอาทิตย์ปัดไปทางเหนือ (หรืออุตรายัน) และเป็นเทศกาลที่เกิดขึ้นพร้อมกับงานเทศกาล “มกรา สังกรานติ” ที่มีการเฉลิมฉลองทั่วประเทศอินเดียในขณะที่การเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูหนาว โดยมักจะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 13-16 มกราคมในปฏิทินสุริยะคติ ซึ่งก็คือจากวันสุดท้ายของเดือน Maargazhi (மார்கழி )ของปฏิทินทมิฬ หรือ ตรงกับเดือน มฤคศิระมาสตามปฏิทินฮินดู หรือ ประมาณเดือนธันวา-มกรา จนถึงวันที่สามของเดือน Tai (தை) หรือประมาณกลางเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
ช่วงที่สองในสี่วันหรือวันแรกของเดือนไท Tai (தை) ถือเป็นวันหลักของงานซึ่ง เป็นที่รู้จักกันว่าวัน ไท ปงกัลTai Pongal นอกจากนี้วันนี้ยังหมายถึงการที่ดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมังกร
คำว่า ปงกัล หรือ Pongal หมายถึง "การเดือด"และ”การล้นออกมา” ของนมและข้าวในช่วงเดือนไทของชาวทมิฬ ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ โดยจะทำการต้มนม น้ำตาลโตนด และข้าวให้เดือนจนล้นออกมาและนำมาราดด้วยน้ำตาลและเนยเป็นขนมชนิดหนึ่งที่นิยมทำกันในเทศกาลนี้
นอกจากนี้เทศกาลนี้ชาวทมิฬยังถือว่าเป็นวันขอบคุณสุริยะเทพ สำหรับการเก็บเกี่ยวและผลผลิตที่ดีและอุทิศข้าวเม็ดแรกที่เก็บเกี่ยวได้ เพื่อบูชาสุริยะเทพ
ในวันนี้ชาวทมิฬจะตกแต่งบ้านเรือน โดยมีใบกล้วยและมะม่วงและประดับประดาให้งดงาม เป็นชั้นๆ และมีรูปแบบการตกแต่งวาดโดยใช้แป้งข้าวเจ้าผสมสีเป็นลวดลายต่างๆ
วันโภคี
วันก่อนวันปงกัลป์เรียกว่า”วันโภคี” เป็นวันที่ผู้คนจะทิ้งสิ่งของเก่าๆและเปลี่ยนไปใช่ที่ข้าวของใหม่ๆ และการกำจัดของสิ่งที่ถูกทิ้งร้าง หรือเอาของเก่าๆออกไปทำลายทิ้งไป ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ วันโหลิกาในภาคเหนือของอินเดีย
ในวันนี้ผู้คนจะรวมตัวกันในยามรุ่งอรุณในรัฐทมิฬนาฑูและรัฐอานธรประเทศ ก่อกองไฟให้แสงสว่างก่อนที่จะทิ้งข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้เก่าๆ ส่วนบ้านเรือนก็จะทำความสะอาดทาสีและตกแต่งให้ดูใหม่สดใส ส่วนในหมู่บ้านวัวควายก็จะถูกนำมาทาสี ตกแต่งให้ดูสวยงาม
วันนี้ในรัฐอื่นๆของอินเดีย
ในวันนี้มีการเฉลิมฉลองในรัฐปัญจาบจะเป็นเทศกาล และในรัฐอัสสัมเรียกว่า Bihu / Bhogali Bihu ในรัฐทมิฬนาฑู – เรียกว่าเทศกาล ไท ปงกัล รัฐอานธรประเทศ, เบงกอล, เกรละ, พิหารกัวร์, โอริสสา, มัธยประเทศ, มหาราษฏระ, มณีปุระ, อุตตรประเทศ เรียกว่าเทศกาล “มกรา สังกรานติ” รัฐคุชราตและราชสถานเรียกว่าเทศกาล “อุตรายัน”
หรยาณา หิมาจัลประเทศและรัฐปัญจาบ – เรียกว่าเทศกาล “โลหรี” อัสสัม เรียกว่าเทศกาล “Bhogali Bihu”
เนปาล เรียกว่าเทศกาล Maghe Sankranti หรือ Makar Sankranti