“หล่อแก”นับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในการนำมาใช้กับวิชาฮวงจุ้ย สำหรับใช้ในการกำหนดทิศทางในการดูฮวงจุ้ย หากเราต้องการรู้เกี่ยวกับวิธีการหลี่ชี่ (ลี่ขี่) 理氣 ซึ่งก็คือการคำนวณพลังของดวงดาวบนท้องฟ้า(โหราศาสตร์) และเราก็ต้องเรียนรู้วิธีการใช้ ”หล่อแก” เพื่อกำหนดทิศทางหรือ “ติ้งเซี่ยง” หรือ 定向(เตี่ยเหี่ยง) ให้ได้เสียก่อน
“หล่อแก” หรือ “หลอผาน” มีชื่อเป็นทางการว่า “หลอจิง” 羅經 สำหรับการดูฮวงจุ้ยได้ถูกคิดค้นและประดิษฐ์ในยุคจักรพรรดิเหลือง(หวงตี้) 軒轅黃帝หรือประมาณเมื่อ 5000 ปีก่อน จากนั้นยุคต่อๆมาก็ได้ถูกพัฒนามาโดยตลอดโดยนักปราชญ์และผู้รู้หลายรุ่น ซึ่งได้นำเอาหลักทฤษฎีหลักมาจากคัมภีร์อี้จิง (易經) และแผนผัง”เหอถู”(河圖)และจัตุรัส”ลั่วซู”(洛書) รวมไปถึงทฤษฎีของโหราศาสตร์ที่มีการคำนวณวิถีการโคจรของดาวทั้ง 7 (หยิน-หยาง 5 ธาตุ) คือ อาทิตย์(หยาง) จันทร์(หยิน) ดาวพุธ(ดาวธาตุน้ำ) ดาวศุกร์(ดาวธาตุทอง) ดาวอังคาร(ดาวธาตุไฟ) ดาวพฤหัส(ดาวธาตุไม้) และ ดาวเสาร์(ดาวธาตุดิน) ซึ่งเรียกว่า วิชาชีเจิ้ง (七政)
ผสมผสานกับอิทธิพลของดาวนักษัตรทั้ง 28 นักษัตร (28星宿) เพื่อดูอิทธิพลที่สะท้อนกลับลงไปบนโลก ทั้งยอดเขาและสายน้ำ ลักษณะลูกคลื่นที่ซัดส่าย ผืนแผ่นดินราบเรียบหรือสูงต่ำ อีกทั้งได้แก้ไขปรับปรุงรุ่นแล้วรุ่นเล่า จนกระทั่งสำเร็จเป็น”หล่อแก”สำหรับดูฮวงจุ้ยที่เราเห็นในปัจจุบัน เพื่อใช้กำหนดทิศทางและสำรวจภูมิประเทศตามที่เราต้องการ
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นหล่อแกสำหรับดูฮวงจุ้ยของสำนักซำง้วน (สามยุค三元盤) หล่อแกของสำนักซาฮะ (สามประสาน三合盤) หล่อแกระบบจงฮะ (จงฮะป๊ว綜合羅盤)
นอกจากนี้ก็ยังมี”หล่อแก”สำหรับดูฮวงจุ้ยของระบบอื่นๆอีก เช่น อี้ผาน 易盤 เสวียนคงผาน 玄空盤 และหล่อแกของสำนักย่อยต่างๆที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้เองอีก ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น”หล่อแก"ระบบใดก็ตามตำแหน่งชั้นตรงกลางก็จะต้องเป็นตำแหน่งขุนเขา 24 ทิศเสมอ โดยแบ่งทิศหลักเป็น 8 เรือน แต่ละเรือนมี 3 ทิศย่อย(ขุนเขา) รวมเป็น 24 ทิศพอดีซึ่งจะมีองศาตามตารางด้านล่างนี้