ป้ายฮวงซุ้ย(สุสาน) องค์ฮ้อเอี๊ยฮุ้งเซี้ยโจ้ว ปรมาจารย์ด้านฮวงจุ้ย 蝨母仙何野雲聖祖之墓 ที่ตำบลแต่เอี้ย เมืองแต้จิ๋ว ประเทศจีน กับนัยะทางการเมืองที่แฝงอยู่
บนป้ายสลักคำว่า 元地僊虱母山先生之墓
คำว่า 元 หยวน คือยุคแผ่นดินราชวงศ์หยวน แต่จริงๆเป็นต้นยุคราชวงศ์หมิง ประมาณ ค.ศ. 1300
คำว่า 地僊 ตี้เซียน เป็นคำยกย่องเป็นผู้หลุดพ้นในลัทธิเต๋า(เซียน)
คำว่า 虱母 แปลว่า ตัวเหา แต่ในที่นี้เขียนตัวย่อ 虱จะเห็นได้ว่า อักษรจีนตัวย่อ กัใช้กันมานานแล้ว ตัวเต็มต้องเขียนว่า 蝨
คำว่า 山 อ่านว่าเซียน แปลว่าเทพเจ้า
คำว่า 先生 อ่านว่า เซียนเซิง หรือง ซิงแซ เป็นคำยกย่องแก่ผู้รอบรู้ ผู้มีอาวุโส ครูบาอาจารย์ ฯลฯ
คำว่า 之 อ่านว่า จรือ แปลว่า แห่ง(ท่าน) ,เป็น(เจ้า)ของ
คำว่า 墓 อ่านว่า มู่ แปลว่า ฮวงซุ้ย หรือ หลุมฝังศพ
จีนสมัยโบราณ ก่อนราชวงศ์หมิงไม่มีคำว่าคำว่า เซียน(仙)เทพเจ้า แต่ใช้อักษรคำว่า ซัว(ภูเขา)山 แทน แต่ก็อ่านว่า เซียน เหมือนกัน
นอกจากนี้ก็มีอักษรอื่นอีก ที่แปลว่า 仙 เซียน คือ 山 ,僊, 仚 ทั้งสามตัวออกเสียงเหมือนกัน แปลเหมือนกัน ใช้แทนกันได้ แต่ความหมายลึกซึ้งเจาะจงต่างกันและวิธีใช้ก็ต่างกัน
นอกจากนี้ยังมีคำว่า 元 อยู่ด้านบนสุด หมายถึงยุคราชวงศ์หยวน เพราะไม่ยอมรับราชวงศ์หมิง 明 ของจูหยวนจาง 朱元璋 ที่ก่อตั้งขึ้นใหม่
สุสานนี้สร้างในสมัยราชวงศ์หมิง 明 แต่แกะสลักอักษรเป็นยุคสมัยของราชวงศ์หยวน元แทนเพราะองค์ฮ้อเอี๊ยฮุ้งเป็นกุนซือของแม่ทัพ 陳友諒 เฉินโหยวเหลียง ที่พยายามก่อตั้งรัฐ ต้าฮั่น 大漢 แทนราชวงศ์หยวนที่กำลังจะล่มสลาย แต่กลับถูกกองทัพของจูหยวนจางยกมาตีทัพของเฉินโหย่วเหลียงจนแตกพ่าย ก็เลยถือเป็นศัตรูกันทั้งๆที่เป็นชาวฮั่นเหมือนกัน
石碑 ป้าย(เจียะปี)หรือ 墓铭碑 ฮวงซุ้ย(สุสาน)บรมครูสายฮวงจุ้ยเทวะอาจารย์องค์ฮ้อเฮี๊ยฮุ้งฮุดโจ้ว หรือซักบ๊อเซียนก็ใช้คำว่า ซัว 山แต่อ่านเป็นเซียน 仙 ส่วนแผ่นป้ายศิลาใช้สีทองหมายถึง 文物古碑 แสดงถึงการยกย่องให้เกียรติในระดับสูงสุด
石碑 ป้ายศิลานี้ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของจีน อย่างหนึ่ง สำหรับ จารึกเกียรติคุณของผู้วายชนม์ และถือเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงแบ่งออกเป็น 22 ประเภท
เช่น ในสุสานบรรพกษัตริย์ของจีนถังไท่จงฮ่องเต้ ในสมัยถัง ก็จะมีป้ายศิลาของฮ่องเต้ในราชวงศ์หลังๆ ตั้งป้ายศิลา 石碑 นี้ เป็นร้อยๆป้าย รวมไปถึงฮ่องเต้ราชวงศ์ชิง(ชาวแมนจู)ทุกๆองค์ก็ต้องมาตั้งป้ายสรรเสริญเกียรติคุณ ฮ่องเต้จีน(ชาวฮั่น) พระองค์นี้
อ่านประวัติของท่านได้ที่ ฮ้อเอี้ยฮุ้งเซี้ยโจ้ว