Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

ภาค 1. การคำนวณ อัตตาเถลิงศกประจำปี

ในการคำนวณปฎิทินประจำปีต่างๆตามพระคัมภีร์สุริยาตรนั้น ในสมัยโบราณจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตั้งต้นด้วย การคำนวณจากอัตตาเถลิงศกในปีนั้นๆเสียก่อน เพื่อสะดวกในการหาฤกษ์ยาม ผูกดวงชาตา หรือการคำนวนดวงาชาตาที่ลับซับซ้อนเช่นดวงพิชัยสงคราม ซึ่งโหรฯจะต้องทำการคำนวนหา”อัตตาเถลิงศก” ก่อนเป็นอันดับแรก

1.แปลงให้เป็นจุลศักราช ให้เอาปี พ.ศ. ที่เราต้องการคำนวณ มาทำการแปลงเป็นจุลศักราช ก่อน  สูตรที่ตายตัวก็คือ ลบพุทธศักราชด้วย 1181 ปี

วิธีทำ สูตร (2526- 1181 ) = จุลศักราช

1.1 (2526-1181) = 1345

1.2 ดังนั้น ปีพ.ศ. 2526 ก็คือ ปี จ.ศ. 1345

หมายเหตุ เนื่องจากปี จ.ศ. นับจากประมาณวันที่ 16 เดือนเมษายน ของทุกปี แต่ปี พ.ศ. นับจากวันที่ 1เดือนมกราคม ของทุกปี หากใครเกิดก่อนวันที่ 16 เดือนเมษา-1 มกราจะต้องลบ จ.ศ.ออกไปอีก 1 ปี

***จุลศักราชที่นิยมใช้มีที่มาจากประเทศพม่าสมัยโบราณ โดยพระสังฆราชปุพโสรหัน ลาสิกขาออกมาชิงราชสมบัติแล้วปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินพม่า การที่โหรนิยมใช้จุลศักราชก็เพราะว่าได้ทำการตัดเลขเกณฑ์คำนวณให้ลดลง ทำให้การคำนวณทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น  ในอดีตมีศักราชหลายแบบที่โหรนิยมมาตั้งเกณฑ์คำนวณกันเช่น มหาศักราช อัญชัญศักราช และกลียุคศักราช ส่วนจุลศักราชมีค่าน้อยกว่าปีมหาศักราช 560ปี จุลศักราชมีการนับขึ้นปีใหม่ในทุกๆวันเถลิงศก หรือประมาณวันที่ 16 เมษายนของทุกปีก้คือตรงกับวันที่ดาวอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราช  แต่วันขึ้นปีใหม่จะนับเป็นวันขึ้น 1ค่ำเดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติ (ตรงกับปีใหม่ของอินเดียคือเดือนจิตรามาส) ตามประวัติเล่าวันตั้งต้นจุลศักราชเริ่มเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำเดือน 6 พ.ศ. 1181 หรือทางสุริยคติคือวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 638

2. ให้หา”หรคุณอัตตา” ในปี พ.ศ. 2526  (จ.ศ. 1345)คือให้ตั้งเกณฑ์คำนวณ คือเลขจำนวน 292207 คูณด้วย จุลศักราช ได้ผลลัพธ์ เท่าใดก็ เอาเกณฑ์ 373 บวกแล้วเอา 800 หาร  ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้บวกด้วย 1 เสมอ

วิธีทำ สูตร  (292207 X จุลศักราช  ) + 373÷800 = หรคุณอัตตา

2.1)292207 X 1345 = 393018415

2.2)393018415 + 373 = 393018788

2.3)393018788÷800  = 491273 เศษ 388

2.4)491273+1 =491274

2.5)สำเร็จเป็น”หรคุณอัตตา” คือ 491274

3.ให้หา”กัมมัชพลอัตตา” โดยเอา เกณฑ์ 800 ตั้งแล้วลบด้วยเศษของผลหารในข้อ 2 ผลลัพธ์เป็น กัมมัชพลอัตตา

วิธีทำ สูตร (800-เศษจากข้อ 2.3)= “กัมมัชพลอัตตา”

3.1)800-388 =412

3.2)สำเร็จเป็น”กัมมัชพลอัตตา” คือ 412

4.ให้หา”อวมานอัตตา” โดยเอา “หรคุณอัตตา” ที่ได้จากข้อ 2 คูณด้วยเกณฑ์ 11 แล้วบวกด้วย 650 ผลลัพธ์เท่าใดเอา เกณฑ์ 692 หาร เศษของผลหาร สำเร็จเป็น “อวมานอัตตา”

วิธีทำ สูตร (หรคุณอัตตา X 11)+650 ÷692  = xx เศษเป็น “อวมานอัตตา”

4.1)491274 X 11 =5404014

4.2)5404014+650 =5404664

4.3)5404664 ÷692  =7810 เศษ 144

4.4)สำเร็จเป็น”อวมานอัตตา” คือ 144

5.ให้หา”มาสเกณฑ์อัตตา”และ”ดิถีอัตตา”ในปี พ.ศ. 2526  (จ.ศ. 1345)โดยเอาหรคุณอัตตาในข้อ 2 เป็นตัวตั้งแล้วบวกด้วยผลหารจากข้อ 4 แล้วเอา 30 หาร ผลลัพธ์เป็น “มาสเกณฑ์อัตตา” เศษเป็น “ดิถีอัตตา”

วิธีทำ สูตร (หรคุณอัตตา +ผลหารจากข้อ4.3) ÷30 = “มาสเกณฑ์อัตตา” เศษเป็น “ดิถีอัตตา”

5.1)491274 + 7810 =499084

5.2)499084 ÷ 30  =16636 เศษ 4

5.3)สำเร็จเป็น”มาสเกณฑ์อัตตา” คือ 116636 “ดิถีอัตตา” คือ 4

6.ให้หาอุจจพลอัตตา ในปี พ.ศ. 2526  (จ.ศ. 1345) โดยเอาหรคุณอัตตาในข้อ 2 เป็นตัวตั้งแล้วลบด้วยเกณฑ์ 621  หาร ผลลบหารด้วย เกณฑ์ 3232 เศษเป็น “อุจพลอัตตา”

วิธืทำ สูตร (หรคุณอัตตา - 621) ÷3232 = xx เศษเป็น “อุจพลอัตตา”

6.1)491274 – 621  =490653

6.2)490653 ÷3232 =151 เศษ 3197

6.3)สำเร็จเป็น”อุจพลอัตตา” คือ 3197

7.ให้หาวันเถลิงศกประจำปี พ.ศ. 2526 (จ.ศ. 1345) โดยเอาหรคุณอัตตาในข้อ 2 เป็นตัวตั้งแล้วหารด้วยเกณฑ์ 7  เศษเป็น “วาร”หรือ “วันเถลิงศกประจำปี” หากเหลือเศษ 1 เป็นวันอาทิตย์ เศษ 2 เป็นวันจันทร์

เศษ 3 เป็นวันอังคาร เศษ 4 เป็นวันพุธ เศษ 5 เป็นวันพฤหัส เศษ 6 เป็นวันศุกร์ เศษ 7  หรือ 0เป็นวันเสาร์

วิธืทำ สูตร (หรคุณอัตตา ÷7) = xx เศษเป็น “วาร”

7.1)491274÷7    =70182 เศษ 0

สำเร็จเป็น”วันเถลิงศก” คือ วาร 0 เป็น วัน เสาร์

หมายเหตุ

  1. การหาเดือนของวันเถลิงศก หากดิถีอัตตา(ในข้อ 4) ตกเลข 0,1,2,3,4,5 วันเถลิงศก จะตกในเดือน 6 นอกนั้นจะตกในเดือน 5  ในกรณีนี้ ตกเลข 4 ดังนั้นวันเถลิงศกจะเป็นเดือน 6
  2. การหาว่าวันเถลิงศกจะตกปักษ์ข้างขึ้นหรือข้างแรม ให้ตั้งดิถีอัตตา(ในข้อ4) หารด้วย 15 หากหารลงตัวได้ผลลัพธ์เท่ากับ 0 วันเถลิงศกจะตกข้างขึ้น นอกนั้นวันเถลิงศกจะตกข้างแรม หากดิถีอัตตาน้อยกว่า 15 ให้เอาดิถีอัตตานั้นและเป็นผลลัพธ์  ในกรณีนี้เป็นเลข 4 ผลลัพธ์ ดังนั้นวันเถลิงศกจะเป็นปักษ์ข้างแรม

 

เฉลิมรูปหน้าเถลิงศกประจำปี พ.ศ. 2526 ดังนี้

จุลศักราช    ๑๓๔๕ กัมมัชพล      ๔๑๒

มาสเกณฑ์   ๑๑๖๖๓๖ อุจจพล        ๓๑๙๗

อวมาน        ๑๔๔ ดิถี     

หรคุณ         ๔๙๑๒๗๔ วาร