ความแตกต่างของปฏิทินจันทรคติฮินดู ระบบปูรณิมันตะ กับ อามาวาสยันตะ
ในประเทศอินเดียตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีปฏิทินจันทรคติที่มีความแตกต่างกันอยู่ 2 ระบบ สำหรับการนับและลำดับเดือนทางจันทรคติ
(1)โดยระบบแรกเรียกว่า ระบบปูรณิมันตะ(Purnimant หรือ Purnimanta lunisolar calendar) โดยเป็นระบบที่ถือว่าในวันเพ็ญ(ปูรณิมา) เป็นวันสิ้นเดือนทางจันทรคติ ของเดือนๆนั้น และต่่อจากนั้นก็จะเริ่มนับจากวันแรม 1ค่ำเป็นเดือนใหม่ ซึ่งนิยมใช้กันนินเดียภาคเหนือ เช่น รัฐพิหาร หารยานะ หิมาจัลประเทศ จันมูแคชเมียร์ มัธยประเทศ โอริส ปัญจาบ อุตรประเทศ ฯลฯ
(2)อีกระบบหนึ่งเรียกว่า ระบบอามาวาสยันตะ (Amavasyant หรือ Amanta lunisolar calendar) โดยเป็นระบบที่ถือว่าในวันดับ(อมาวาสี) เป็นวันสิ้นเดือนทางจันทรคติ ของเดือนๆนั้น และต่อจากนั้นก็จะเริ่มนับจากวันขึ้น 1ค่ำเป็นเดือนใหม่ ซึ่งนิยมใช้กันในอินเดียภาคใต้ เช่น รัฐอัตรประเทศ อัสสัม คุชราช มหาราช เกราล่า ทมิฬนาดู เบงกอลตะวันตก ตริปุระ และประเทศไทยก็ใช้ระบบนี้ ฯลฯ
ซึ่งทั้งสองระบบนี้แตกต่างกันเพียงเรื่องลำดับชื่อเดือนทางจันทรคติเท่านั้น ส่วนอื่นๆไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด
ชื่อเดือนต่างๆของปฏิทินจันทรคติฮินดู
1.จิตตรามาส (चैत्र) (มีนา-เมษา)
2.วิสาขะมาส (वैशाख) (เมษา-พฤษภา)
3.เชษฐะมาส (ज्येष्ठ) (พฤษภา-มิถุนา)
4.อาสาฬหะมาส (आषाढ ) (มิถุนา-กรกฏา)
5.สราวณะมาส (श्रावण) (กรกฏา-สิงหา)
6.โปฏฐะปะทะ หรือ ภัททะปะทะมาส (भाद्रपद,भाद्र,प्रोष्ठपद) (สิงหา-กันยา)
7.อัสสะวินา หรือ อัสสะยุชะมาส( आश्विन,अश्वयुज) (กันยา-ตุลา)
8.กฤติกามาส (कार्तिक) (ตุลา-พฤศจิกา)
9.มฤคะสิระมาส (मार्गशीर्ष,अग्रहायण) (พฤศจิกา-ธันวา)
10.ปุษยะมาส (पौष) (ธันวา-มกรา)
11.มาฆะมาส (माघ) (มกรา-กุมภา)
12.ผัคคุนะมาส (फाल्गुन) (กุมภา-มีนา)
ภาพแสดงแผนที่ที่นิยมใช้ระบบปฏิทินทั้งสองระบบ