นายชวน หลีกภัย วันพฤหัสที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๘๑ เวลา ๐๕:๑๘ น.ตรงกับจันทรคติวันพุธ แรม ๑๕ ค่ำ |
|
ตำแหน่งมาตรฐานดาว อาทิตย์สถิตย์ราศีกรกฎ ภพกดุมภะ เป็นตนุเศษ ได้ตำแหน่ง มหาจักร จันทร์สถิตย์ราศีกรกฎ ภพกดุมภะ ได้ตำแหน่ง เกษตร อังคารสถิตย์ราศีกรกฎ ภพกดุมภะ ได้ตำแหน่ง นิจ พุธสถิตย์ราศีสิงห์ ภพสหัชชะ ได้ตำแหน่ง อุจจาวิลาส มหาจักร ราชาโชค ราหูสถิตย์ราศีพิจิก ภพอริ ได้ตำแหน่ง อุจจ์ *คำนวนจาก โปรแกรม โฮ๋ราสาด รุ่น Profesional |
สูติกาล |
การวิเคราะห์ดวงชาตาของอดีตนายกรัฐมนตรีถึง 2 สมัยท่านนี้ ระบบษัฑพละ ได้แสดงให้เห็นกำลังของดาวพุธได้อย่างชัดเจน ทั้งในรูปะพละและได้อิษฏะผลสูงสุดในดวงชาตาคือ 40.06 ซึ่งอิทธิพลของดาวพุธนักโหราศาสตร์ทั่วไปต่างก็รู้ว่าเป็นดาวแห่งสติปัญญาและการพูดการสื่อสาร การเรียนรู้ (วิทยะการกะ) ในดวงชาตานี้ดาวพุธถือว่าได้กำลังในการให้ผลดีสูงสุด ทำให้นายชวนเป็นคนที่มีความศักยภาพทางความคิด เฉลียวฉลาดและมีวาทะศิลป์อย่างที่ไม่มีใครเทียบได้
ดาวอาทิตย์ที่มีกำลังถึง 6.77 รูปะ หรือ 135.42 เปอร์เซ็นต์ทำให้นายชวนกลายเป็นผู้นำหัวหน้าพรรคการเมือง และเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 2 สมัยได้อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะอาทิตย์เป็นเกษตรอยู่ในเรือนที่ 2 หมายถึงตำแหน่ง อาชีพ หน้าที่การงาน และถึงแม้ว่าอาทิตย์จะได้ตำแหน่งนิจในนวางศ์จักร แต่ก็ไม่เสียกำลังเพราะได้กำลังอื่นๆมาชดเชยจากหลักเกณฑ์ในระบบษัฑพละ แต่ถ้าหากเป็นหลักวิชาพื้นฐานทั่วไปจะตีความว่าดวงนี้จะไม่มีฐานะ หรือ ยศศักดิ์อันใดเพราะอาทิตย์ได้ตำแหน่งนิจในนวางศ์จักร
จุดที่น่าสังเกตุอีกก็คือในเรือนที่ 2 ซึ่งเป็นเรือนวิทยสถาน (เรือนแห่งการศึกษา,ความรู้)มีดาวอาทิตย์สถิตย์ร่วมกับดาวจันทร์ซึ่งเป็นวิทยสถานธิปติ (เจ้าเรือนที่ 2) เป็นวากยะธิปติ(เจ้าการแห่งถ้อยคำ)และเป็นวากยะสะฏะถานธิปติ(เจ้าการคำพูด) ซึ่งดาวจันทร์ก็มีกำลังสูงถึง 129.32 เปอร์เซ็นต์แต่กลับให้ผลดีน้อยกว่าผลร้าย ส่งผลให้เจ้าชาตามีจุดเสียก็คือคำพูดที่อ่อนหวานและนุ่มนวลเกินไปเพราะอิทธิพลของดาวจันทร์ อีกทั้งในบางครั้งก็จะต้องเสียหายเพราะคำพูดของตนเอง
ส่วนดาวอังคารเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีกำลังสูงสุดคือ 151.08 เปอร์เซ็นต์ และให้ผลร้าย (กัษฏะผล)มากถึง 56.02 ษัฏิอัมศะส่งผลร่วมกันระหว่างดาวจันทร์(อ่อนหวาน)และดาวอังคาร (ร้าย-รุนแรง) ดาวอาทิตย์(หลักการ- ทิฐิมานะ) ซึ่งทำให้เจ้าชาตามีวาทะศิลป์ในแบบที่เรียกว่า “มีดโกนอาบน้ำผึ้ง” นอกจากนี้ ดาวอังคารดาวแห่งสงครามหรือกำลังทหารอยู่ในเรือนที่ 2(อาชีพ)ได้แสดงอิทธิพลให้เจ้าชาตาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 พร้อมควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมานายชวนเป็นพลเรือนคนที่สอง นับจาก ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากองศาดาว ปรากฏว่าดาวอังคารเป็นอัสตะ(ดับ)เพราะรัศมีอาทิตย์ย่อมส่งผลให้เจ้าชาตามีอำนาจในทางทหารอย่างไม่เต็มที่
การวิเคราะห์ดวงชาตาจากโยค
“โยค”เป็นกลวิธีวินิจฉัยดวงชาตาในระบบพิเศษของโหราศาสตร์ฮินดู-ภารตะซึ่งมีความสำคัญมาก โดยมีการกำหนดกฏเกณฑ์ว่่าดาวเคราะห์ที่สถิตย์อยู่ในดวงชาตาแต่ละดวงนั้น มีโยคเกณฑ์และทำมุมสัมพันธ์กันอย่างไร และกำหนดเป็นรูปโยคต่างๆขึ้นมา ซึ่งก็มีทั้งโยคดีและโยคร้าย ซึ่งก็อาจจะเทียบได้กับดวงมาตรฐานของโหราศาสตร์ไทย เช่น ดวงมหาจักร เทวีโชค องค์เกณฑ์ ฯลฯ และการพิจารณาดาวเคราะห์ต่างๆที่ประกอบเป็นรูปโยคนั้น จะต้องคำนึงถึงกำลังของดาวเคราะห์นั้นๆว่าจะสามารถส่งผลได้จริงทั้งดีและร้าย ซึ่งกำลังของดาวเคราะห์ในระบบษัฑพละจะเป็นตัวตัดสิน
โยคดี-ร้ายในดวงชาตา ของนายชวน หลีกภัย (คำนวนเฉพาะโยคที่มีกำลังในดวงชาตา)
จากเครื่องมือทางโหราศาสตร์สำหรับการวินิจฉัยดวงชาตานี้ จะเห็นได้ว่าเป็นดวงที่ีมีสัมพันธภาพพิเศษที่หาได้ยาก ดาวต่างๆ ที่ประกอบเป็นรูปโยค ล้วนแต่มีกำลังในการให้ผลดี และปรากฏว่าไม่มีโยคร้ายใดใดที่จะบั่นทอนกำลังของโยคดีในดวงชาตานี้ ทำให้เจ้าชาตาประสบความสำเร็จในอาชีพหน้าที่การงานอย่างสูงสุด มีอำนาจและได้รับความนิยมชมชอบจากประชาชน อย่างไรก็ดีผลดีร้ายของ ดาวเคราะห์ต่างๆนั้นก็ไม่ได้ให้ผลตลอดเวลา แต่จะปรากฏผลดี-ร้ายให้เห็นได้ชัดเจนจากการเสวยอายุของดาวต่างๆ ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตของเจ้าชาตา และโหราศาสตร์ฮินดูจึงมีระบบการคำนวนดาวเสวยอายุที่ได้มีรับรองผลและใช้กันอย่างแพร่หลาย เรียกว่า“ระบบวิมโษตรีทักษา” หรือดาวเสวยอายุ 120 ปี ซึ่งจะได้ อธิบายต่อไป
ทักษาระบบ 120 ปี วิมโษตรีทศา
จากเครื่องมือทางโหราศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีเครื่องมือที่ทรงพลังอีกอันหนึ่งในระบบโหราศาสตร์ภารตะ สำหรับตัดสินชี้วัดว่า ดาวเคราะห์ที่ให้ผลดี-ร้ายในดวงชาตา จะให้ผลเมื่อใด หรือผลดี-ร้ายจะเริ่มต้นและสิ้นสุดในวันเดือนหรือปีไหน ระบบดังกล่าวนี้เรียกว่า ทักษาเสวยอายุ ซึ่งในโหราศาสตร์มีระบบทักษาให้ใช้กันหลายสิบระบบ โดยแบ่งประเภท ว่าเป็นทศาคำนวนจากดาวเคราะห์(ครหะทศา)หรือคำนวนจากดาวนักษัตร (นักษัตรทศา) หรือคำนวนจากราศี (ราศีทศา) ซึ่งประเภทต่างๆก็มีวิธีการใช้ตามความต้องการในมิติที่ต่างกัน ในที่นี้เราจะใช้ ระบบของนักษัตรทศา หรือ ดาวฤกษ์ ที่เรียกว่า วิมโษตรีทศา มาใช้ในการวินิจฉัยดวงชาตา
“กาลิทาส”*หนึ่งในมหาคุรุของวิชาโหราศาสตร์ท่านหนึ่ง ได้บรรยายในคัมภีร์อุตรกาละมฤตที่ท่านรจนาขึ้นเกี่ยวกับทักษาว่า“ผลที่ได้รับ เป็นผลของความดี-ร้ายที่ทำเอาไว้แต่อดีต(กรรมดี-ชั่ว) ซึ่งจะรู้ได้จากมหาทศา หรือ อนุทศาของดาวเคราะห์...................เจ้าชาตาจะประสบความสุขหรือทุกข์จะรู้ได้จากผลของทศาย่อยตามลับดับของทศา และถ้าหากเป็นผลร้ายก็จะเอาชนะผลร้ายได้บางส่วน โดยประกอบพิธีศานติ”
จากทฤษฎีอายุขัยของมนุษย์ของปรัชญาฮินดูจะสัมพันธ์กับยุคต่างๆ ในคัมภีร์พระเวทซึ่งในขณะนี้อยู่ในกาลียุคซึ่งเป็นยุคเสื่อม และมนุษย์จะมีอายุขัยไม่เกิน 120 ปี จากประสบการณ์ของนักโหราศาสตร์ หรือนักศึกษาวิชานี้บางส่วนที่ยังไม่เข้าใจการเสวยอายุของดาวเคราะห์ก็มักจะตกใจกลัวในขณะที่ดาวร้ายต่างๆจะโคจรมาทับลัคนา หรือทับดาวต่างๆในดวงชาตากำเนิดของตนหรือพวกพ้องเพื่อนฝูง หรือพบว่าจะมีดาวดี ดาวศุภเคราะห์จะนำโชคใหญ่มาให้ แต่ท้ายที่สุดก็ไม่มีปรากฏการณ์ใดใดเกิดขึ้น หรือมีแต่น้อยมากจนยากที่จะสัมผัส จนเป็นเหตุให้ผู้ศึกษาโหราศาสตร์บางคนเข้าใจว่า ภาคพยากรณ์หรือทฤษฎีจากตำรามีข้อผิดพลาด หรือไม่ก็โทษว่าภาคการคำนวนอาจจะมีความผิดพลาดตกหล่น จนทำให้ผลของการพยากรณ์ไม่ตรงกับความเป็นจริง
แต่ในความเป็นจริง หากเราได้นำทฤษฎีของทักษาระบบเข้ามาจับ และตรวจดูปรากฏกาณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆในดวงชาตาก็จะเห็นความจริงว่า ทศาระบบสามารถตรวจสอบอิทธิพลของดาวเคราะห์ที่แสดงเหตุการณ์ย้อนหลังหรืออดีตไปจนถึงอนาคตได้อย่างชัดเจนโดยวิธีการคำนวนทางคณิตศาสตร์ และเมื่อดาวเคราะห์ใดยังไม่เสวยอายุ หรือยังไม่ได้กำลังในอายุ ก็จะไม่แสดงผลดี-ร้ายอันใดได้เลย ไม่ว่าดาวจรจะทำมุมโยคเกณฑ์กับดวงชาตาเดิมอย่างไรก็ตาม ทั้งนี้เพื่อความถูกต้องแม่นยำเราจะต้องตรวจสอบผลการเสวยอายุทั้งในระดับมหาทศา อันตรทศา(หรือ อนุทศา) และวิทศา (หรือ สูกะษะมะทศา) อย่างละเอียด
การคำนวนดาวเสวยอายุและแทรก (มหาทศา-อันตรทศา)
จากตารางข้างต้น สมมุติว่าเราอยู่ในช่งของดาวจันทร์เป็นดาวมหาทศาเสวยอายุ ซึ่งมีระยะเวลายาวถึง 10 ปีซึ่งตลอด 10 นี้ ก็ไม่ใช่ว่าชีวิตจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของดาวจันทร์ไปทั้งหมด เพราะยังจะต้องมีดาวแทรกเข้ามาอีกเป็นช่วงๆ ในระดับย่อยลงไปอีก ซึ่งมีอยู่ 3 ขั้น คือ 1.มหาทศา 2.อันตรทศา(หรือ อนุทศา) และ 3.วิทศา (หรือ สูกะษะมะทศา) โดยนับจากมหาทศาซึ่งเป็นช่วงกว้างที่
สุดถัดจากดาวมหาทศา ก็จะเป็นดาวอันตรทศาแทรกดาวมหาทศาอีกที และย่อยลงไปอีกก็คือมีดาววิทศาแทรกดาวอันตรทศาอีก ซึ่งระยะเวลาการแทรกอายุจะเป็นสัดส่วนเดียวกันกับดาวเจ้ามหาทศา และเรียงตามลำดับที่กำหนด (ตามตาราง)
ตัวอย่างการแทรกเสวย 3 ชั้น ดาวจันทร์เสวยอายุ/ดาวจันทร์แทรก/ดาวจันทร์วิทศา
ระดับที่ 1.-มหาทศา(ปี) -ดาวจันทร์เสวยอายุ 10 ปี
ระดับที่ 2.-อนุทศา(เดือน) -ดาวจันทร์เสวย/ดาวจันทร์แทรก มีระยะเวลา 10 * 10/120 ปี = 0.83 ปี หรือ 10 เดือน
ระดับที่ 3.-วิทศา(วัน) -ดาวจันทร์เสวย/ดาวจันทร์แทรก/ดาวจันทร์วิทศามีระยะเวลา 10 * 10/1440 เดือน = 25 วัน
ตัวอย่างการแทรกเสวย 2 ชั้น ดาวจันทร์เสวยอายุ/ดาวอังคารแทรก
ระดับที่ 1.-มหาทศา(ปี) -ดาวจันทร์เสวยอายุ 10 ปี
ระดับที่ 2.-อนุทศา(เดือน) -ดาวจันทร์เสวย/ดาวอังคารแทรก มีระยะเวลา 10 * 7/120 ปี = 0.58 ปี หรือ 7 เดือน
การเริ่มต้นนับดาวเสวยอายุ
โดยคำนวนจากดาวจันทร์ในดวงชาตากำเนิดว่าสถิตย์ในฤกษ์หรือนักษัตรอะไร มีองศาลิปดาเท่าใด แล้วดาวอะไรเป็นดาวเจ้าฤกษ์ และดาวเจ้าฤกษ์นั้นมีอำนาจในการเสวยอายุนานเท่า แล้วนำองศาลิปดาของดาวจันทร์ที่เสวยนักษัตรนั้นมาเฉลี่ยอายุที่เหลือ ซึ่งเรียกว่า “สมดุลย์จันทรทศา” แล้วนำมาคำนวนต่อเนื่องจากลำดับดาวเคราะห์เสวยอายุเป็นเจ้ามหาทศาตามตารางจนครบ 120 ปีและ
ในระหว่างดาวเจ้ามหาทศาเสวยอายุอยู่นั้นก็ให้นำมามาเฉลี่ยหาดาวเจ้าอนุทศา กับ วิทศา อีกชั้นหนึ่ง โดยวิธีการคำนวนโดยละเอียดจะอธิบายแยกต่างหาก ในหนังสือชื่อ “วิมโษตรีทศา”
จุดเริ่มต้นชีวิตการเมืองของนายชวน หลีกภัย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 นับเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทย เป็นครั้งที่ 11 มีขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 โดยนายชวนได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยแรก) พ.ศ. 2512 นี่เป็นจุดแปลงเปลี่ยนครั้งใหญ่ในชีวิตและเป็นจุดเริ่มของชีวิตนักการเมืองตลอดมา จนกระทั่งได้ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจทางการเมือง
สำหรับการพิจารณาดาวเสวยอายุจะต้องนำเรื่องอวัสถาของดาวเคราะห์และดาวคู่มิตร-ศัตรูเฉพาะชาตามาประกอบด้วย แต่เนื่องจากดวงชาตานี้เป็นคนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และจะทำให้การอธิบายความยืดยาวต่อไปอีก จึงขออธิบายเฉพาะเรื่องทศาและมุมสัมพันธ์ของดาวเคราะห์ดังนี้
1.จากหัวข้อที่ผ่านมาเรารู้ว่าดาวพุธเป็นดาวที่ให้คุณแก่ดวงชาตาสูงสุด เจ้าชาตาได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในขณะที่ดาวพุธเสวยอายุเป็นเจ้ามหาทศา ซึ่งดาวพุธเป็นลัคนาธิปติ (เจ้าเรือนลัคน์) ส่วนดาวเสาร์แทรกและวิทศาโดยดาวพฤหัส ซึ่งสองดาวเคราะห์นี้ประกอบร่วมกันเป็นรูป “ราชาโยค” โดยการสลับเรือนเกษตร(ปริวรรตนเกษตร)กับเรือนที่ 9 หมายถึงชื่อเสียงและเรือนที่ 10 หมายถึงการงานอาชีพที่สดใสรุ่งโรจน์และมีชื่อเสียงของเจ้าชาตา
2.ในดวงจร ขณะที่เจ้าชาตาได้รับการเลือกตั้ง ดาว ๑ จรเล็งกับ ดาว ๑ ,๒,๓ เดิม , ดาว ๒,๓ จร ทำมุมตรีโกณกับ ดาว ๒,๓ เดิมดาว ๗,๘ จรกุมกันในเรือนกรรมะ กุมและตรีโกณกับดาว ๗,๘ เดิมและในดวงจรสังเกตุว่ามีดาว 3 ดวงสลับเรือนกัน(ปริวรรตนเกษตร)คือ ดาว ๔ อยู่ในเรือนดาว ๗ และดาว ๗ ไปอยู่ในเรือนดาว ๕ และดาว ๕ ไปอยู่ในเรือนดาว ๔ อันหมายถึง ความมีกำลังของดาว
ทั้ง ๓ ซึ่งเป็นดาวเสวยและแทรกอายุในขณะนั้น สรุปว่าดาวจรต่างก็ทำมุมสัมพันธ์ถึงดาวเดิมในทุกๆจุด และดาวเสวยอายุ/แทรกก็ได้แสดงผลสัมพันธ์กันทั้งในดวงจรและดวงเดิม
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรกของนายชวน หลีกภัย
การได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยแรกนี้ โดยได้จากอิทธิพลดาวพุธที่มีกำลังแรงในชาตา อีกทั้งเป็นดาวเจ้าลัคน์ ได้เริ่มแทรกอายุในวันที่ 8 มิถุนายนพ.ศ. 2535 เมื่อได้รับโปรดเกล้าฯให้ได้รับตำแหน่งนายกฯในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2535 ซึ่งในดวงจรดาวพุธโคจรได้ตำแหน่งมหาอุจน์ในราศีกันย์ สถิตย์ร่วมกับดาวเจ้าเรือนกรรมะ (๕) เล็งเรือนกรรมะ(ราศีมีน)เล็งดาว ๗ เดิม ตรีโกณกับดาวที่สถิตย์ในเรือนกรรมะ(ดาว๗ จร) ดาว ๒ ทับดาว ๒ เดิม และโปรดสังเกตุว่าดาวแทรก หรือดาวอนุทศา (๔) สถิตย์ร่วมกับดาวเจ้ามหาทศา (๖) ในดวงเดิม
เมื่อสิ้นสุดอนุทศาพุธ ในวันที่ 7 เมษายน 2538 ดวงการงานของเจ้าชาตาก็เป็นอันหมดพลังการสนับสนุนจากการแทรกอายุของดาวพุธ และมีดาวเกตุทำหน้าที่แทรกอายุแทน ซึ่งดาวเกตุเป็นดาวสถิตย์ในเรือนวินาสน์ในดวงเดิม ทำให้เจ้าชาตาต้องเผชิญกับปัญหาทางการเมืองและเสถียรภาพของรัฐบาลจนต้องประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2538 โดยในช่วงนี้เป็นมหาทศาศุกร์ช่วงสุดท้ายมีดาวเกตุ(สากล)แทรกและดาวศุกร์วิทศา ซึ่งช่วงนี้จะมีปรากฏการณ์จันทรุป-ราคาและสุริยุปราคาระหว่างวันที่ 15 และ 29 เมษายน 2538 อันมีผลให้ดาวราหูและดาวเกตุจะทำการแสดงผลดี-ร้ายในช่วงนี้และจะมีอิทธิพลมากเป็นพิเศษ
อีกวิธีหนึ่งในการพิจารณาดาวเสวยอายุให้ถือราศีที่ดาวเจ้ามหาทศาสถิตย์เป็นราศีลัคน์ ซึ่งในชาตานี้จะตกราศีสิงห์และดาวเกตุสถิตย์อยู่ในเรือนที่ 10 (กรรมะ)ของดาวศุกร์เจ้ามหาทศา ซึ่งส่งผลร้ายในเรื่องหน้าที่การงานของเจ้าชาตาโดยตรง
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ของนายชวน หลีกภัย
การได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 นี้จะสังเกตุเห็นมีดาวที่ส่งผล ราชาโยค (๕+๗) ที่ส่งผลด้านอาชีพการงานของเจ้าชาตาสลับเรือนกันในราศีมังกรและราศีมีนตามลำดับ (ปริวรรตนเกษตร) เหมือนกับการดำรงตำแหน่งสมัยแรก และดาวเสาร์จร(๗)ทับดาวเสาร์เดิมในเรือนกรรมะ ดาวอาทิตย์จร (๑) ทำมุมจตุเกณฑ์กับดาวอาทิตย์เดิม ดาวพฤหัส(๕) จรอยู่ในราศีของดาวเสาร์ทั้งในดวงจรและดวงเดิมถือว่าสัมพันธ์เท่ากับดาวพฤหัส(๕)กุมกัน
สำหรับมหาทศาครั้งนี้ดาวทิตย์เสวยอายุ ซึ่งดาวอาทิตย์ทำมุมจตุเกณฑ์ต่อกันทั้งในดวงเดิมดวงจร ดาวราหูแทรกอาทิตย์และดาวเสาร์วิทศา จะเห็นว่าดาวราหูทำมุมตรีโกณกับเสาร์และตรีโกณดาวอาทิตย์ในดวงเดิม ซึ่งเป็นจุดให้กำลังแก่เรือนที่ 10 (กรรมะ) ดาวพุธเดิม (๔) เป็นจตุเกณฑ์กับพุธเดิมและตรีโกณกับดาวเสาร์ (๗)ในเรือนกรรมะ ซึ่งมีผลให้เจ้าชาตาได้รับตำแหน่งสูงสุดในทางการเมืองอีกครั้ง
ในการพิจารณาเรือนใดก็ตามจะต้องดูการสนับสนุนกำลังจากดาวเคราะห์ ที่สถิตย์ในเรือนตรีโกณของเรือนนั้นซึ่งก็คือเรือนที่2 และเรือนที่ 6 เป็นตำแหน่งค้ำจุนสนับสนุนเรือนที่ 10 และในทางกลับกันเรือนที่ 2 กับเรือนที่ 6 ก็จะได้กำลังจากเรือนที่ตรีโกณกับเรือนตนเองด้วยเช่นกัน
อีกวิธีหนึ่งในการพิจารณาดาวเสวยอายุให้ถือราศีที่ดาวเจ้ามหาทศาสถิตย์เป็นราศีลัคน์ ซึ่งในชาตานี้จะตกราศีกรกฏและดาวอาทิตย์(๑)สถิตย์อยู่ในราศีกรกฏ ดาวเสาร์(๗) และราหู (๘) ซึ่งเป็นดาวแทรกและวิทศา ทำมุมตรีโกณกับอาทิตย์(๑)เจ้ามหาทศา
การอธิบายโดยวิธีนี้ก็คือลัคนาของเจ้าชาตาเปลี่ยนเป็นราศีกรกฏชั่วคราว มีดาวจันทร์ (๒) เจ้าเรือนลัคน์(ตัวเจ้าชาตา)และดาวอังคาร (๓)เจ้าเรือนที่ 5 ภพปุตตะ (การมีโชค) เรือนที่ 10 ภพกรรมะ(การงาน) กุมลัคนา (หมายถึงตนเองได้โชคใหญ่ด้านการงาน) ซึ่งดาวทั้ง 3 ดวงนี้มีกำลังมากในระบบษัฑพละ (ถึงแม้ว่าดาวอังคารจะเป็นนิจในราศี แต่ได้กำลังจากส่วนอื่นมาทดแทน)และดาวเจ้าเรือนภพกรรมะ(การงาน)คือดาวอังคาร (๓) กับเจ้าเรือนที่ 2 ภพกดุมภะ คือดาวอาทิตย์ (๑) (การเงิน,อาชีพ,ตำแหน่ง,อำนาจ) ซึ่งเป็นเจ้ามหาทศาล้วนได้การสนับสนุนจากดาวแทรกอายุคือดาวราหู (๘) ดาวเสาร์ (๗) ในฐานะที่ตรีโกณกันในดวงเดิม