มาศพละ กำลังที่ได้จากเดือน การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าวัน ของวันแรกในแต่ละเดือนที่เจ้าชะตากำเนิด ดาวที่เป็นเจ้าวันของวันแรกในแต่ละเดือนที่เจ้าชะตากำเนิดจะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ
กฎ-มาสครหะ= ((12 * ปี + + 6 เดือน) * 2) หารด้วย 7 (**เดือนมกราคมนับเป็น 1 จนถึงเดือนธันวาคม นับเป็น 12)ตัวอย่าง: พฤศจิกายน ปี คศ. 2006
(12 * 2006 + 11 +6) * 2 = 48178 หารด้วย 7 เหลือเศษ 4 ดังนั้นดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเจ้าการของเดือน
ทินะพละ-วารพละ การพิจารณาหน่วยกำลังตามนี้จะยึดตามดาวเจ้าวันของวันที่เจ้าชะตากำเนิด ดาวเจ้าวันจะได้รับ 45 ษัทฎิอัมศะตัวอย่าง เจ้าชาตาเกิดวันเสาร์ ดาวเสาร์จะได้กำลังจากฏนี้ 45 ษัทฎิอัมศะ
โหราพละ การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามโหรา ซึ่งดาวที่เป็นเจ้าโหราของเจ้าชะตาจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะในหนึ่งวันจะแบ่งได้เป็น 24 ชั่วโมงหรือโหรา ในแต่ละโหราจะครอบครองโดยดาวแต่ละดวง (ดาวเจ้าโหรา)โหราแรกจะครอบครองโดยดาวที่เป็นเจ้าการประจำวันนั้นๆ ในยามต้นหรือโหราแรกทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนตัวอย่างเช่น วันจันทร์ โหราแรกในเวลากลางวันและกลางคืนจะเป็นดาวจันทร์และตามด้วยดาวอื่นๆตามลำดับของดาวประจำโหรา (ดูตารางข้างล่างนี้ประกอบ) โหราจะคล้ายกับโหราศาสตร์ไทยที่แบ่งเวลาออกเป็น 8 ยาม หรือ ยามอัฐกาล หากเจ้าชะตาเกิดในที่ห่างจากศูนย์สูตร ช่วงเวลาของโหราจะไม่เท่ากัน และหน่วยเวลาโหราวันหนึ่งจะมี 24 โหรา โดยจะแบ่งเป็น 12 โหราในช่วงเวลากลางวัน และ 12 โหราในช่วงเวลากลางคืน นับจากพระอาทิตย์ขึ้น-พระอาทิตย์ตก หรือในกรณีวันที่พระอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.00 น.และตกเวลา 18.00 น. ตรง ใน 1 โหราจะมีช่วงเวลาโหราละ 1 ชั่วโมง
การเรียงลำดับดาวเคราะห์เจ้าโหรา จะถือหลักมาจากการโคจรของดาวเคราะห์ ใน 1รอบจักราศี โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือเสาร์ พฤหัส อังคาร อาทิตย์ ศุกร์ พุธ และจันทร์