เหตุผลในการให้คะแนนหน่วยกำลัง เวลาเช้าเป็นเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับการเรียนรู้ ดังนั้นดาวพุธและดาวพฤหัสซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้จึงให้คุณแข็งแรงดีในช่วงเวลานี้ (ในเวลาที่พระอาทิตย์ใกล้กับลัคนา) พระอาทิตย์และดาวอังคาร เป็นดาวที่กระตือรือร้น ซึ่งต้องการกำลังเมื่อยามเที่ยงๆบ่ายๆ (ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เดินทางมาถึงประมาณเรือนที่สิบ)ดาวเสาร์เป็นดาวแห่งความมืดมิด เงามืด จึงมีแรงในช่วงเย็นย่ำค่ำ (ในเวลาที่พระอาทิตย์อยู่ตรงข้ามกับลัคนา)พระจันทร์และดาวศุกร์ เป็นดาวอ่อนโยนซึ่งมีกำลังดีในช่วงนอนหลับ (ในเวลาเที่ยงคืนพระอาทิตย์จะอยู่ในเรือนที่สี่)ดาวใดๆจะรับ ทีคะพละ สูงสุดเมื่ออยู่ในกึ่งกลางของภวะ-เรือน ซึ่งจะให้กำลังมากเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น พระจันทร์สถิตอยู่ในตำแหน่งกลางเรือนของเรือนที่สี่ จะได้รับ ทีคะ พละ สูงสุดและได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ ถ้าพระจันทร์สถิตอยู่ในตำแหน่งกลางเรือนของเรือนที่สิบได้รับ 0 ษัทฎิอัมศะ
ความซับซ้อนเล็กน้อยคือการพิจารณาในเรื่องภวะ (ภวะคือเรือน) ที่ไม่ใช่ราศีจักร จุดกึ่งกลางของแต่ละเรือนในภวะจักร อาจแตกต่างจากจุดกึ่งกลางของเรือนในราศีจักร(ซึ่งนับที่ 15 องศาเสมอ) ใน ภวะจักร แต่ละเรือนจะมีช่วงองศาไม่เท่ากัน ซึ่งสามารถเทียบได้กับเรือนชาตาในแบบโหราศาสตร์ตะวันตก ทีคะพละจะให้กำลังความเข้มแข็งของดาวแต่ละดวงได้ดี เมื่อดาวนั้นๆอยู่ในเรือนของตัวเอง
ทิคะพละ จะส่งอิทธิพลต่อกำลังของดาวเคราะห์โดยตรง โดยดาวเคราะห์ที่มีทิคะพละสูง จะให้ผลดีและมีความเข้มแข็งจากทิศทางการโคจรของดาวเคราะห์ ส่วนดาวเคราะห์ที่มีทิคะพละต่ำจะให้ผลร้าย และสูญเสียกำลังความเข้มแข็งจากทิศทางการโคจรของดาวเคราะห์โดยทิศที่ให้กำลัง ทิคะพละมีดังนี้ อาทิตย์ -ทิศตะวันออก ดาวเสาร์: ทิศตะวันตก ดาวพุธ: ทิศเหนือ ดาวอังคาร: ใต้ดาวพฤหัส-ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ดาวราหู-ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ดาวจันทร์-ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ดาวศุกร์-ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
การคำนวน
ดาวเคราะห์แต่ละดวงมีความเข้มแข็งในทิศทางที่กำหนดตามแผนภูมิ ด้านล่างนี้ิ โดยจุดที่จะแสดงถึงกำลังดาวเคราะห์คือ
1.ลัคนา หรืออุทัยลัคน์ 2. เรือนที่ 4 หรือเรือนพันธุ 3.เรือนที่ 7 หรืออัสตะลัคน์ และ 4.เรือนที่ 10 หรือทศมลัคน์ดาวอาทิตย์และดาวอังคารมีความเข้มแข็งในเรือนที่ 10, ดาวพฤหัสบดีและดาวพุธความเข้มแข็งในเรือนลัคนา ดวงจันทร์และดาวศุกร์ความเข้มแข็งในเรือนที่ 4 และดาวเสาร์มีความเข้มแข็งในเรือนที่ 7ทิคพละของดาวเคราะห์คือระยะ ระหว่างตำแหน่งของจุดเข้มแข็งที่สุดกับจุดที่อ่อนแอที่สุด ค่าที่ได้สูงสุดคือ 180 องศา หรือได้คะแนน
สูงสุดคือ 60 ษัทฎิอัมศะ (วิรูปะ) หากค่าใดที่ได้เกิน 180 องศาจะต้องลบด้วย 360 องศาหรือลบคะแนนด้วย 120 ษัทฎิอัมศะ(วิรูปะ)ดังนั้นทิคพละของดาวเคราะห์ต้องอยู่ระหว่าง0และ 60 ษัทฎิอัมศะ (วิรูปะ)
ตารางด้านล่างจะแสดงให้เห็นถึงจุดที่เข้มแข็งและอ่อนแอที่สุดของการหาทิคพละของดาวเคราะห์
ตัวอย่างการคำนวนทิคะพละของดาวจันทร์
-ดาวจันทร์สถิตย์ที่ 3 องศาในราศีพฤษภ และจุดศูนย์กลางของเรือนที่ 10 คือ 17 องศาในราศีกรกฏ ดังนั้น (97องศา - 33 องศา) หาร 3 เท่ากับ 64 , 64 หาร 3 เท่ากับ 21 ษัทฎิอัมศะ(วิรูปะ)
ตัวอย่างการคำนวนทิคะพละของดาวอาทิตย์
-ดาวอาทิตย์สถิตย์อยู่ในราศีมังกร 12 องศาและลัคนาสถิตย์ราศีกรกฏ 23 องศา การคำนวนทิคะพละของดาวอาทิตย์จะต้องคำนวน จากจุดศูนย์กลางของเรือนที่ 7 (อัสตะลัคน์) คือ 23 องศาในราศีมังกร
ดังนั้น (293 องศา - 272 องศา) หาร 3 เท่ากับ 21 , 21 หารด้วย 3 เท่ากับ 7 ษัทฎิอัมศะ(วิรูปะ)