Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

14 DuangChaTa Ps

วาสุมติโชค หรือ वसुमती योग  วสุมะตี โยค สัมพันธภาพ – ถ้าศุภเคราะห์อยู่ในเรือนอุปจัย (3.6.10.11) จากลัคน์หรือจากจันทร์เป็นวาสุมติโชค (วาสุมติ – พุทธิของพระวิษณุ)

ผล – เจ้าชะตาเป็นอิสระไม่อยู่ใต้อำนาจผู้ใด ครอบครองทรัพย์สินมากมาย

ข้อสังเกต – วาสุมติโชคสำแดงผลเรื่องทรัพย์สินมากกว่าอย่างอื่น ผลของวาสุมติโชคที่เกิดจากลัคน์มีอิทธิพลมากกว่าผลของวาสุมติโชคที่เกิดจากจันทร์

ตามความหมายของโชคนี้แสดงว่า ถ้ามีเพียง 2 ศุภเคราะห์จะให้มีทรัพย์สินน้อย และถ้ามีศุภเคราะห์เดียวมีทรัพย์สินอย่างสามัญ ถ้าเรือนอุปจัยเป็นเรือนอุจจ์ของศุภเคราะห์นั้นโชคนี้จะมีกำลังแรงเต็มที่ ถ้าเป็นเรือนนิชค์ผลจะตรงข้ามกับที่เป็นผลดี

สัมพันธภาพนี้ ถ้านับจากจันทร์จะไม่มีดาวเคราะห์อยู่ในเรือนอุปจัยของจันทร์ได้ครบทั้ง 4 เรือน เพราะจะเหลือศุภเคราะห์เพียง 3 ศุภเคราะห์เท่านั้น

แต่เรื่องนี้ในคัมภีร์ไม่มีกล่าวถึง วราหมิหิราว่าถ้าพิจารณาเฉพาะลักษณะของสัมพันธภาพ อาจทำให้เข้าใจว่าผลนั้นจะเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าพิจารณาในแง่เป็นโชคจะได้รับผลนั้นแน่นอน แต่ต้องประมาณกำลังจริงของโชคด้วย การพิจารณาสัมพันธภาพด้วยความระมัดระวัง และหาดูว่านอกจากนี้ยังมีโชคอื่นที่มีกำลังแรงกว่าร่วมอยู่ด้วยหรือไม่

อนึ่งจะเห็นได้ว่าวาสุมติโชคบริสุทธิ์หาได้ยาก จะพบเห็นได้น้อยเหลือเกินว่ามีศุภเคราะห์ในเรือนอุปจัยได้ครบทั้ง 4 เรือน และแม้มีศุภเคราะห์อยู่ในเรือนอุปจัยได้ครบทั้ง 4 เรือน ก็ยังอาจมีบาปเคราะห์ร่วมหรือเป็นโยค อย่างนี้ทำให้คุณค่าของโชคลดลง

ชะตา (14)  เกิดวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เวลามัธยมท้องถิ่น  7.00 ก.ท. ทศาพุธ 14 ปี 5 เดือน 12 วัน

ชะตานี้เรือนที่ 3 ที่ 6 ที่ 10 มีจันทร์, ศุกร์ และพฤหัสบดี สถิตตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าเป็นวาสุมติโชค ใน 3 ดาวเคราะห์ที่ร่วมกันเป็นโชค ศุกร์มีกำลังดีที่สุด ฉะนั้นในความหมายของโชค จะสำแดงผลในมหาทศาหรือในอนุทศาของศุกร์ ศุภผลของวาสุมติโชคที่บริสุทธิ์หาได้ยาก อย่างเดียวกันกับหาวาสุมติโชคที่มี 4 ศุภเคราะห์ อยู่ในเรือนอุปจัยครบทั้ง 4 เรือน

--------------------------------------------

वसुमती योग  วสุมะตี โยค คำอธิบายเพิ่มเติม

เรื่องวสุมะตี โยค” นี้คำอธิบายข้างต้นก็น่าจะเพียงพอต่อการทำความเข้าได้ไม่ยาก เพราะหากเรือนอุปจัยคือเรือนที่ 3 ที่ 6 ที่ 10 และ 11 มีศุภเคราะห์ครบทั้ง 4 เรือน  ก็จะกลายเป็นวสุมะตี โยค”ที่มีกำลังเข้มแข็งมากที่สุด และให้ผลในด้านทรัพย์สินและความมั่งคั่งสูงสุด

แต่หากในเรือนอุปจัย  มีศุภเคราะห์เพียง 3 หรือ 2 เรือนหรือเพียง 1 เรือน ความมั่งคั่งก็จะลดน้อยถอยลงตามลำดับ

เงื่อนไขของวสุมะตี โยค

1.เงื่อนไขแรก ดาวศุภเคราะห์ต้องเป็นศุภเคราะห์ที่คุณแก่ดวงชะตาแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หมายความว่า ดาวศุภเคราะห์นั้นจะต้องไม่เป็นเจ้าเรือนทุสถานะด้วย หากเป็นเจ้าเรือนทุสถานะในดวงชะตาด้วย วสุมะตี โยค ก็อาจจะไม่เกิดขึ้น

2.เงื่อนไขที่สอง เรือนอุปจัยอย่างน้อยสามเรือนควรมีดาวศุภเคราะห์สถิตย์ประโยชน์ เพื่อสร้างวสุมะตี โยคในดวงชะตา

3.เงื่อนไขที่สาม ในกรณีส่วนใหญ่ตำแหน่งของดาวศุภเคราะห์ในเรือนอุปจัยนับจากดาวจันทร์อาจไม่ส่งผลให้เกิด วสุมะตี โยค ในดวงชะตา ดังนั้นควรพิจารณาโยคนี้จากลัคนาเป็นหลัก

 

การพิจารณากำลังของดาวเคราะห์

เว้นแต่ว่าศุภเคราะห์นั้นมีกำลังมากเช่นเป็นอุจน์ เสวยนวางศอุจน์ เสวยวรโคตรนวางศ์ (วรรคอุตตมางศะ) เสวยนวางศ์คู่มิตร หรือได้กำลังดีและให้ผลดี(อิฏฐะผล)จากระบบษัฑพละ  ก็ย่อมส่งเสริมให้”วสุมะตี โยค”นี้มีกำลังมากขึ้น

แต่ในทางกลับกัน หากศุภเคราะห์ไร้กำลัง เช่น เป็นนิจ เสวยนวางศ์นิจ เสวยนวางศ์ศัตรู เป็นอัสตะ(ดับ)เพราะรัศมีอาทิตย์ ไร้กำลังและให้โทษ(กัษฏะผล)จากระบบษัฑพละ และแพ้เคราะห์ยุทธ ความหมายก็กลับเป็นตรงกันข้าม ก็คือกลายเป็นคนยากจน

อีกกรณีหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาก็คือดาวศุภเคราะห์นั้นเป็นเจ้าเรือนทุสถานะด้วยหรือไม่ ในกรณีนี้ยกเว้นเรือนที่ 6 (อริ) เพราะเป็นหนึ่งในเรือนอุปจัย คงเหลือแต่เจ้าเรือนที่ 8 และ 12 หากดาวศุภเคราะห์ที่เป็นโยคและเป็นเจ้าเรือนทุสถานะด้วย กำลังของศุภเคราะห์นั้นก็ย่อมลดลงไป

กฏทั่วไปของโหราศาสตร์พระเวท

และข้อสังเกตุอีกประการหนึ่งก็คือตามกฎทั่วไปของโหราศาสตร์พระเวท มีดาวศุภเคราะห์บริสุทธิ์จริงๆเพียงแค่ 2ดวงเท่านั้นคือดาวศุกร์และดาวพฤหัส  ส่วนดาวพุธนั้นเป็นดาวกึ่งศุภเคราะห์กึ่งบาปเคราะห์ หากดาวพุธสถิตย์ร่วมกับดาวบาปเคราะห์ดาวพุธก็จะกลายเป็นบาปเคราะห์  หากดาวพุธสถิตย์ร่วมกับดาวศุภเคราะห์ดาวพุธก็จะกลายเป็นศุภเคราะห์ 

ส่วนดาวจันทร์นั้นหากเป็นจันทร์เป็นจันทร์ไร้แสงไม่มีกำลัง(แรม 8 ค่ำถึงขึ้น 6 ค่ำ) หรือจันทร์ดับ(แรม15ค่ำ)นั้นก็ถือว่าจันทร์เป็นดาวบาปเคราะห์ แต่หากเป็นจันทร์มีแสง(ขึ้น 7 ค่ำถึงแรม 7 ค่ำ) หรือจันทร์เพ็ญ(ปูรณมี)ถือว่ามีกำลังและถือว่าจันทร์เป็นดาวศุภเคราะห์

**หมายเหตุ-ดาวจันทร์ที่กลายไปเป็นดาวบาปเคราะห์(กสิณจันทร์)ได้อีกกรณีหนึ่งก็คือ จันทร์สถิตย์อยู่ในเรือนที่ ๘ และได้รับอิทธิพลจากดาวบาปเคราะห์(สำหรับเจ้าชาตาที่เกิดในเวลากลางคืน)

ส่วนกฎทั่วไปกล่าวว่าดาวบาปเคราะห์อยู่ในเรือนอุปจัยจะให้คุณ แต่ศุภเคราะห์อยู่ในเรือนอุปจัยจะกลับกลายเป็นไม่ให้คุณ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ”วสุมะตี โยค” นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีดาวศุภเคราะห์ครบในเรือนอุปจัยทั้ง 4 เรือน มิฉะนั้นก็จะขัดกับกฎทั่วไปหรืออาจจะเป็นข้อยกเว้นหรือไม่ ก็ต้องให้ท่านผู้อ่านเป็นผู้พิจารณาและตัดสิน 

ดังนั้นจะเห็นว่าการจะได้เห็น”วสุมะตี โยค”ที่บริสุทธิ์และสมบูรณ์จริงๆนั้นหาได้ยากอย่างยิ่ง เพราะจะได้ศุภเคราะห์ครบทั้ง 4 เรือนนั้น คือจะต้องนับจากลัคนาเท่านั้น(เพราะเราจำเป็นต้องใช้ดาวจันทร์ซึ่งเป็นศุภเคราะห์ด้วย)

เรามาดูกันว่าโยคนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไรเมื่อนับจากดาวจันทร์ ในกรณีที่ดาวจันทร์เป็นดาวศุภเคราะห์ในดวงชะตา ดาวศุภเคราะห์อื่นๆอยู่ในเรือนอุปจัย(นับจากจันทร์) แม้มีเพียง 3 เรือน ”วสุมะตี โยค” ก็อาจเกิดขึ้นได้ในดวงชะตา

ตัวอย่างดวงชะตา

สมมุติ เช่น ลัคนาราศีเมษ ดาวจันทร์สถิตย์ในเรือนที่ 3 (ราศีมิถุน-ราศีมิตร) ดาวพฤหัสสถิตย์ในเรือนที่ 6 (ราศีกันย์-ราศีศัตรู) ดาวศุกร์สถิตย์ในเรือนที่ 10 (ราศีมังกร-ราศีมิตร) และดาวพุธสถิตย์ในเรือนที่ 11 (ราศีกุมภ์-ราศีเป็นกลาง) จะเห็นได้ว่าดาวพฤหัสสถิตย์ราศีศัตรูและเป็นดาวเจ้าเรือนตรีโกณที่ 9 และทุสถานะภพที่ 12 ด้วย 

อย่างไรก็ตามในกรณีนี้วสุมะตี โยค”ก็สามารถเกิดขึ้นได้ตามกฏ แต่หากจันทร์ในเรือนที่ 3 เป็นจันทร์ดับ(อมาวสี) ผลของโยคก็อาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้หรือเกิดขึ้นได้แค่บางส่วนเพราะไม่ครบ 4เรือน ในทางกลับกันหากจันทร์เป็นจันทร์เพ็ญ(ปูรณมี) ผลของโยคก็ย่อมแข็งแกร่งขึ้น

แต่ในตัวอย่างข้างต้นไม่ได้กล่าวถึงโยคเกณฑ์ร้ายของดาวบาปเคราะห์ที่อาจจะส่งผลถึง ซึ่งหากมีโยคของบาปเคราะห์ส่งผลถึง ผลของโยคก็ย่อมลดลงไปอีก

การให้ผลของวสุมะตี โยค”

ในแง่ของผลดีของโยค จะเห็นได้เด่นชัดในช่วงเมื่อดาวศุภเคราะห์ที่เป็นโยคเสวยอายุในมหาทศาและอันตรทศา ตัวอย่างเช่น ถ้าดาวพฤหัสบดีและจันทร์อยู่ในเรือนที่ 10 และ 11 ตามลำดับ ในมหาทศาของดาวพฤหัสบดี -จันทร์อันตรทศา ผลดีตามความหมายของเรือนที่ 10 และ 11 จะปรากฏ นอกจากนี้ก็ยังจะเห็นผลดีได้บ้างเล็กน้อยเมื่อดาวเคราะห์สองนี้โคจรถึงลัคน์