Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

101. สฤกโชค  102. สารปโชค

สัมพันธภาพ – ศุภเคราะห์ทั้งหมดอยู่ในเรือนจตุรเกณฑร์ เป็นสฤกโชค – (สฤกะ – บัว),  บาปเคราะห์ทั้งหมดอยู่ในเรือนจตุรเกณฑร์ เป็นสารปโชค – (สาระปะ – งู)

 

 

ผล

-      สฤกโชค – เจ้าชะตามีชีวิตอยู่ด้วยความสุขสบาย มียานพาหนะ และมีความสุขสำราญมาก

-      สารปโชค – ให้เจ้าชะตาทนทุกข์จากเหตุหลายอย่าง โหดร้าย โง่

ข้อสังเกต – สฤก (หรือมาล) โชคกับสารปโชคเป็นโชคในกลุ่มทลโชคที่ปะระสะระกล่าวไว้ โชคทั้งนี้ศุภเคราะห์หรือบาปเคราะห์ต้องอยู่ในเรือนจตุรเกณฑร์ ต้องสังเกตว่าจันทร์ไม่เกี่ยวกับโชคนี้ไม่ว่าในทางใด ฉะนั้นคงมีเพียง 3 ศุภเคราะห์ และ 3 บาปเคราะห์

วราหมิหิราบรรยายเรื่องของนภสโชคไว้อย่างถี่ถ้วน ซึ่งจะเข้าใจได้ไม่ยากนัก แต่มีความสำคัญบางอย่างที่ต้องพิจารณาเรื่องที่ท่านกำหนดโชคทั้งนี้ ขอให้ระลึกถึงสัมพันธภาพของอาศรัยโชค, อากฤติโชค, ทลโชค และสังขยาโชค จะเห็นได้ว่าบางโชคของอาศรัยโชคจะอย่างเดียวกันหรือพ้องกันกับอากฤติโชค สังขยาโชคจะพ้องกับอากฤติโชค อาศรัยโชคจะพ้องกับสังขยาโชค และทลโชคจะพ้องกับสังขยาโชค ถ้าเกิดมีสัมพันธภาพของ 2 โชคในต่างกลุ่มกันของนภสโชค 1 ใน 2 โชคนั้นจะให้ผลไม่ได้ เรื่องนี้วราหมิหิราอธิบายไว้ย่อ ๆ แต่ได้ความแจ่มแจ้งดี

จะเห็นว่าโชคทั้ง 3 ของกลุ่มอาศรัยโชค (รัชชุ, มุสล และนล) จะอย่างเดียวกันกับ ยว, อัพช, วัชร, อัณฑชะหรือปักษี. โคล, คท, และศกฏ ระหว่างอากฤติโชค และศูล และเกทารระหว่างสังขยาโชค ส่วน 2 โชคของกลุ่มทลโชค (สฤก, สารป) ให้ผลอย่างเดียวกันกับที่บาปเคราะห์และศุภเคราะห์อยู่ในเรือนจตุรเกณฑร์ (วัชรและยว) จะเปรียบเทียบให้เห็นต่อไป สมมุติว่า ในชะตาหนึ่ง กรกฎและตุลย์ (จรราศี) มีดาวเคราะห์ทั้งหมดสถิต นี่เป็นรัชชุโชคเพราะดาวเคราะห์ทั้งหมดสถิตในเรือนจตุรเกณฑร์ถัดกันไป. ถ้าลัคน์อยู่ในราศีกรกฎหรือตุลย์จะเป็นคทโชค พร้อมด้วยผลอย่างเดียวกันกับรัชชุโชค ทำนองเดียวกันถ้าดาวเคราะห์ทั้งหมดอยู่ในราศีกรกฎหรือมกร และลัคน์ก็อยู่ในราศีกรกฎหรือมกร จะเป็นทั้งรัชชุโชคและสกฎโชคร่วมกันทั้ง 2 โชค. ถ้าเปลี่ยนเป็นลัคน์อยู่ในราศีมิถุนหรือธนู จะเป็นนลโชคและศกฏโชคพ้องกัน ดังนี้เมื่อลัคน์อยู่ในราศีอื่น ก็จะปรากฏเป็นโชคพ้องกันได้อย่างเดียวกัน ตัวอย่างสำหรับการพ้องกันของอาศรัยโชคหรือทลโชคกับอากฤติโชคอย่างอื่น และสังขยาโชคอย่างอื่นยังมีอีก

การพ้องกันนี้อย่านำไปพิจารณารวมกับสัมพันธภาพในชะตาตัวอย่างสำหรับอาศรัยโชค และทลโชคในอากฤติโชคและในสังขยาโชค ดังนั้นแสดงว่าอาศรัยโชคและทลโชคเป็นนภสโชคด้วยกัน แต่วราหมิหิราได้บรรยายไว้ต่างหากจากกัน

จะพิจารณาจุดอื่นต่อไป ถ้าสังขยาโชคพ้องกับอากฤติโชค – อากฤติโชคอย่างเดียวที่ให้ผล. ถ้าอาศรัยโชคพ้องกับโชคอื่น (อากฤติโชค) – เพราะอาศรัยโชคไม่ได้ให้ผล. ถ้าทลโชคพ้องกับสังขยาโชค – สังขยาโชคจะหมดกำลัง. และถ้าอาศรัยโชคพ้องกับสังขยาโชคคือเกทาร, ศูล และยุค – อาศรัยโชคอย่างเดียวจะให้ผล และสุดท้ายถ้าอาศรัยโชคพ้องกับโคลโชค – อาศรัยโชคหมดกำลัง

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการแตกต่างระหว่างโชคบางโชคเป็นเพียงเล็กน้อยเหลือเกิน นักศึกษาที่มีความเฉียบแหลมจะสามารถเข้าใจและวิเคราะห์เรื่องนี้ได้ดี

นภสโชค (นภส – นโภมณฑล) รวมทั้งหมดด้วยกันมี 32 โชค แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

-      กลุ่มอากฤติโชค 20 มี – ยูป, อิษุ, ศักติ, ทัณฑ, นว, กูฏ, ฉัตร, จาป, อรรธจันทร์, จักร, คฑ, ศกฎ, วิหค, วัชร, ยว, ศฤงฆาฎก, หล, กมล, วาปี และสมุทร

-      กลุ่มสังขยาโชค 7 มี – วัลลกี, ทมินิ, ปาศ, เกทาร, ศูล, ยุค และโคล

-      กลุ่มอาศรัยโชค 3 มี – รัชชุ, สุมล และนล

-      กลุ่มทลโชค 2 มี – สฤก และสารป

--------------------------------------------