คัมภีร์ไตรศตโชคมัญชริ
ฉบับ ของ บ.ว. รามณ รัตน์และศิระ นามะสนธิ รวบรวม
จัดพิมพ์ครั้งแรกโดย บรรณารักษ์สมาคมโหรแห่งประเทศไทย สิงหาคม ๒๕๐๗
คำนำ
วิถีชีวิตของมนุษย์ มีความสำคัญและสลับซับซ้อนอยู่มาก คัมภีร์โหราศาสตร์จำแนกเรื่องราวต่างๆในขอบเขตชีวิตของบุคคลตามลำดับเรื่องไว้ ความสำเร็จผลในชีวิตจะเป็นไปได้ตามความต้องการหรือไม่นั้น อาศัยความไพบูลย์หรือความขัดสนเป็นเรื่องสำคัญ เรื่องนี้ในคัมภีร์โหราศาสตร์ได้แสดงให้รู้ได้จากโยคหรือโชค ซึ่งหมายถึงลำดับชั้นของทรัพย์สิน,ชื่อเสียง,ยศศักดิ์,ฐานะ และความขัดสน,การเจ็บป่วยหรือสุขภาพไม่สมบูรณ์และโชคร้าย ที่บุคคลได้รับในปัจจุบันอันเป็นผลเนื่องจากอดีตกรรม โยคคือสัมพันธภาพของดาวเคราะห์ที่ร่วมกันให้ผลอย่างใดอย่างหนึ่งในรูปที่เรียกว่าโชค หรือว่าโชคต่างๆเกิดจากผลร่วมของดาวเคราะห์ที่สัมพันธ์กันหรือเป็นโยคแก่กัน โชคในตำราเล่มนี้ บ.ว.รามณ เลือกเฟ้นด้วยความประณีตจากคัมภีร์โหราศาสตร์ต่างๆ เป็นสัมพันธภาพหรือโชคสำคัญที่ชี้ให้เห็นผลที่ร่างกายหรือจิตใจที่ได้รับ พร้อมทั้งลำดับชั้นของทรัพย์สิน มีทั้งศุภโชค(โชคดี) หรือปาปโชค (โชคร้าย)นักศึกษาไม่ควรละเลยการศึกษาเรื่องนี้ซึ่งให้ประโชยน์อย่างยิ่ง ในการพิจารณาฐานะโชคกำเนิดของเจ้าชาตาซึ่งเป็นมูลฐานสำคัญในการพยากรณ์โชคเคาระห์จร เรื่องโชคหรือโยคนี้ได้พิมพ์แล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เรียกว่า “ศตโชคมัญชริ”ซึ่งมีเพียง ๑๐๐ โยค และจำหน่ายหมดแล้ว ในการพิมพ์ครั้งนี้ได้พยายามคัดเลือกต้นฉบับที่ให้นักศึกษาได้ความรู้ที่กว้างขวางยิ่งขึ้น
การพิจารณาโยคหรือสัมพันธภาพที่เป็นรูปในโยคในดวงชาตา ต้องการวิธีคำนวณในโหราคณิตศาสตร์เป็นเบื้องต้น มีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นจุดของสัมพันธภาพที่เกิดให้เป็นโชค พร้อมด้วยคำอธิบายแจ่มแจ้ง ไม่มีความยากลำบากในการศึกษา จุดที่มีการขัดแย้งกันก็มีคำอธิบายที่ไม่มีคำยากจนเกินไป
โชคที่เกิดจากสัมพันธภาพของดาวเคราะห์มี ๒ อย่าง คือ ศุภโชค(โชคดี) และอริษฏหรือบาปโชคหรือโชคร้าย คำว่าโยคในวิธีทางของโหราศาสตร์หมายถึงความสัมพันธ์ และโยคหรือการสัมพันธ์ ในตำราเล่มนี้หมายถึงสัมพันธภาพของดาวเคราะห์ที่เป็นรูปโชค (โยคหรือโยคะ หมายถึงการติดต่อ ,การรวบรวม หรือการพบปะ ฯลฯ) เพื่อป้องกันการเข้าใจไขว้เขวในตำราเล่มนี้และเล่มต่อไป คำว่าโยคใช้แทนคำว่าเกณฑร์ซึ่งหมายถึงการสัมพันธ์ เช่น โยตจตุรเกณฑร์ โยคตรีโกณ,และโยคพิเศษ ฯลฯ และคำว่าโชค หมายถึง สัมพันธภาพของดาวเคราะห์ที่ร่วมกันในรูปโชคให้คุณหรือให้โทษซึ่งอาจจะเป็น ราชาโชค (อำนาจทางการเมือง) ธนะโชค (ทรัพย์สิน) และ คณนะโชค (ความรู้และจิตใจสูง)
การแปลความหมายของโชค มีบรรยายในบทแรกของตำราเล่มนี้ ขอให้ถือว่าจำเป็นเรื่องนี้เป็นพิเศษให้มากเท่าที่จะศึกษาได้เพราะทำให้มีความสามารถคำนวณค่าของโชคได้ถูกต้อง อนึ่งได้จำแนกโชคพิเศษรวมทั้งที่เรียกว่า นะภะสะโชค พร้อมด้วยตัวอย่างเท่าที่จำเป็น ทั้งอธิบายเรื่องของอาศัยโชคและอกฤติโชคไว้อย่างถูกต้อง(ดูโชค ๗๑-๑๐๒) ซึ่งโชคทั้งนี้จะทำให้เกิดความยากลำบากในการพิจารณาเมื่อมี๒ หรือมากกว่า ๒โชค รวมทั้งสัมพันธภาพที่เป็นโชคสำหรับความขัดสนและยากจนด้วย ทั้งได้มีการจำแนกสัมพันธภาพที่เด่นเช่น ราชาโชค อริษฏโชค และนิชค์ภังคราชาโชค ทบสุดท้ายที่เป็นบทรวมความทั้งหมด ตอนจบเป็นชาตาตัวอย่างที่นักศึกษาควรสนใจเป็นพิเศษอเพราะแสดงถึงรูปโฉมของโชคต่างๆ ที่มีในแต่ละเรื่อง ทั้แสดงให้เห็นความจริงว่าผลของบางโชคเป็นผลที่เกิดขึ้นในระหว่างทศาเท่านั้น หวังว่าคำอธิบายเรื่องโชคในตำราเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาในการค้นคว้าต่อไป
อนึ่งในการเขียนชื่อโชค (โยค) และออกเสียงภาษาสันสกฤตนั้น ได้อาศัยการสอบถามจากท่านผู้รู้ภาษานี้หลายท่าน รวมทั้งสอบจากพจนานุกรมภาษาสันสกฤตของเซ่อร์มอเนียร์ มอเนียร์วิลเลี่ยมทั้งฉบับเล็กและฉบับใหญ่ รวมทั้งพจนานุกรมของ DR. G.v. Devasthali Ph.D. ซึ่งใช้อยู่ในโรงเรียนทั่วไปในประเทศอินเดียด้วย ดังนั้นการอ่านอาจจะไม่เหมือนกับบางท่าน ทั้งนี้หากไม่คิดถึงสิ่งเหล่านี้ แต่มาจะมุ่งเอาเนื่อหาจริงๆของเรื่องก็จะเป็นการดีกว่าที่จะมุ่งว่าจะอ่านอย่างไรผิดอย่างไรถูก เพราะภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่ตายตัวแล้ว และทั้งไม่ใช่ภาษาของเราด้วย แม้ในอินเดียเองการเขียนภาษาสันสกฤด้วยตัวโรมันนั้นก็ไม่เหมือนกัน เขียนเอาตามใจชอบสุดแต่ว่าใครเข้าใจไปอย่างไร
ในการผูกดวงชาตาตัวอย่างทุดดวงในคัมภีร์นี้ได้ใช้ปฎิทินและอันโตนาทีแบบภารตะทั้งสิ้น อนึ่งเวลาเกิดต่างๆในดวงชาตาตัวอย่างทั้งหมดเป็นการนับวันอย่างโหราศาสตร์ คือนับจากอาทิตย์ขึ้นถึงอาทิตย์ขึ้นอีกหนหนึ่งเป็นหนึ่งวัน หรือประมาณอย่างอยาบๆว่าวันคือย่ำรุ่งถึงย่ำรุ่ง
ก.ท. หมายความว่า ก่อนเที่ยง
ล.ท. หมายความว่า หลังเที่ยง
รัตน์ ศิระ นามะสนธิ