ส่วนคนที่ชอบมาดูหมอดูดวง คำถามที่หมอดูจะต้องเจอประจำทุกวันก็คือ จะถามเรื่องคู่ครองมากที่สุด “ดวงจะมีคู่ไหม แล้วจะได้แต่งงานเมื่อไหร่ เนื้อคู่จะเป็นอย่างไร” อย่างไรก็ตาม ดวงชาตาทุกดวงถือว่าเป็นดวงครูของนักโหราศาสตร์ ดวงชาตานี้เป็นดวงของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง เธอเกิดเมื่อปี 2495 เป็นหญิงโสดไร้คู่ครอง และเหตุใดจึงไร้คู่ครอง ลองช่วยกันพิจารณาดูนะครับ
ปล.ดวงนี้คำนวณจาก โปรแกรมโฮ่ราสาด โปร รุ่นแฟลชไดร์ฟ
วันนี้ผมจะมาแนะนำในวิธีการวินิจฉัยดวงชาตา ตามแบบโหราภารตะ ซึ่งโหรภารตะเองก็มีหลายแบบหลายระบบให้เลือกใช้ สุดแต่ใครถนัด ซึ่งโหรภารตะเองก็มีกฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานอันหนึ่งอันเดียวกันและใช้ร่วมกันได้โดยไม่ขัดแย้งกัน และหากใครมีพื้นฐานโหราศาสตร์ไทยบ้างแล้วก็นำไปปรับใช้ได้ไม่ยาก
และการพิจารณาดวงๆหนึ่งนั้น จำเป็นจะต้องสอบทานความถูกต้องหลายๆขั้นตอน เพื่อให้เกิดความแม่นยำและไม่ผิดพลาด ซึ่งในที่นี้ดวงครูดวงนี้ เราจะพิจารณาเฉพาะแต่เรื่องคู่ครองแต่เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น เพื่อผู้อ่านจะได้เข้าได้ง่ายไม่สับสน
ในการพิจารณาเบื้องต้นเราจะพิจารณาตามลำดับขั้นตอน ตั้งแต่ลัคนา โยคเกณฑ์ของดวงดาว เรือนชาตา ตั้งแต่ในราศีจักรไปจนถึงนวางศ์จักร และพิจารณาร่วมกับกฎอื่นๆของโหรภารตะ โดยเราจะเริ่มพิจารณาดังนี้
ก.ลัคนา ในดวงนี้จะเห็นได้ว่าลัคนาสถิตย์ราศีมังกร โหรภารตะให้กฎไว้ว่า ราศีมังกรนี้ ดาว ๗ เป็นเจ้าเรือนลัคน์ ไทยเรียกตนุลัคน์ (ลัคนาธิปติ) ส่วน ดาว ๓ ดาว ๕ และ ดาว ๒ ไม่เป็นศุภผล (ไม่ให้ผลดี) และดาว๖ เป็นโยคการก (ให้ผลดีที่สุดกว่าดาวอื่นๆ)
หมายเหตุ-คู่มิตรชั่วคราว คำนวณจากดวงชาตา โดยดาวเคราะห์ในเรือนใดที่เป็น 2,3,4,10,11และ 12 จากดาวเคราะห์ใดก็จะเป็นมิตรชั่วคราวจากดาวเคราะห์นั้น
คู่ศัตรูชั่วคราวคำนวณจากดวงชาตา โดยดาวเคราะห์ในเรือนใดที่เป็น 1 (ร่วมกัน),7(เล็งกัน),5,9 (ตรีโกณกัน)และ 6,8 (อริ มรณะต่อกัน) จากดาวเคราะห์ใด ก็จะเป็นศัตรูชั่วคราวจากดาวเคราะห์นั้น
ส่วนเรื่องคู่ครองที่เราจะศึกษาก็คือเรือนที่ 7 ภพปัตนิ (กลัตระสะฏะสถาน) ราศีกรกฏมีดาว ๒ เป็นเจ้าเรือน (กลัตระสะฏะสถานธิปติ)ซึ่งผลของ ดาว ๒ ซึ่งเป็นเจ้าเรือนปัตนิ (คู่ครอง) ย่อมไม่ใม่ให้คุณแก่ลัคนาราศีมังกรตามกฎข้างต้น
และจากดวงนี้ปรากฏว่าเรือนคู่ครอง หรือเรือนที่ 7 ของเจ้าชาตาถูกทำลาย ตามกฏของโหรภารตะจากโศลกโบราณในคัมภีร์อุตรกาลมฤต โศลกที่ ๑๒ ที่กล่าวไว้ว่า....
"ถ้าเรือน,เจ้าเรือน,ดาวเคราะห์การก(ดาวที่แสดงความหมายของเรื่องต่างๆโดยเฉพาะ) ทั้ง 3 อย่างนี้อยู่ในวงล้อมของบาปเคราะห์ และร่วมกับบาปเคราะห์มีกำลัง, และถ้าบาปเคราะห์ อยู่ในเรือนที่ 9,ที่ 4,ที่ 8 ,ที่ 5 และเรือนที่ 12 ,นับจากอย่างหนึ่งของ 3 อย่างที่กล่าวแล้ว ,และเจ้านวางศ์ที่บาปเคราะห์ทั้งนี้เสวยอยู่ในเรือนศัตรู,หรือเป็นคราส,หรือแพ้เคราะห์ยุทธในเรือนๆนั้น กล่าวได้ว่า เรือนนั้นๆ ได้ถูกทำลาย"
อธิบายวรรคแรกโศลกดังนี้ "ถ้าเรือน,เจ้าเรือน,ดาวเคราะห์การก(ดาวที่แสดงความหมายของเรื่องต่างๆโดยเฉพาะ) ทั้ง 3 อย่างนี้อยู่ในวงล้อมของบาปเคราะห์ และร่วมกับบาปเคราะห์มีกำลัง............"
ในเรื่องนี้สิ่งเราต้องการพิจารณาก็คือ เรื่องคู่ครอง และอธิบายตามโศลกนี้ ดังนี้ คำว่าเรือนคือเรือนที่ 7 คือราศีกรฏ ,คำว่าเจ้าเรือนที่ 7 ปัตนิในดวงนี้คือดาว ๒ ,คำว่าดาวเคราะห์การก(ที่แสดงถึงคู่ครอง)คือดาว ๖ (กลัตระการก) และในขั้นตอนนี้เราก็ต้องพิจารณาก่อนว่าทั้ง 3 อย่างนี้อยู่ในวงล้อมและร่วมกับบาปเคราะห์ตามวรรคแรกของโศลกนี้หรือไม่
สิ่งต้องพิจารณาตามวรรคแรก ก็คือ 1.ราศีกรกฏ(เรือนที่ 7) 2.ดาว ๒ (เจ้าเรือนที่7) 3.ดาว ๖ (ดาวเคราะห์การก) ,ตกอยู่ในวงล้อมและร่วมกับบาปเคราะห์หรือไม่
และคำว่าตกอยู่ในวงล้อมของบาปเคราะห์ มีคำอธิบายอยู่วรรคที่ ๒ของโศลก ดังนี้คือ "และถ้าบาปเคราะห์ อยู่ในเรือนที่ 9,ที่ 4,ที่ 8 ,ที่ 5 และเรือนที่ 12 " นั่นแสดงถึงการตกอยู่ในวงล้อมของบาปเคราะห์ตามโยคเกณฑ์ของโหรภารตะ และหากร่วมกับบาปเคราะห์มีกำลังด้วยความหมายก็จะยิ่งชัดเจนขึ้น
พิจารณา ข้อ 1.ราศีกรกฏ(เรือนที่ 7) จะเห็นได้ว่าไม่ได้มีบาปเคราะห์ร่วม (เงื่อนไขที่1) แต่เรือน 9,4,8,5,12 (เงื่อนไขที่ 2-6)ปรากฏว่ามีบาปเคราะห์คือดาว ๓ ในเรือนที่ 4 ของเรือนที่ 7 ,และดาว ๑ ดาว ๘ อยู่ในเรือนที่ 8 ของเรือนที่ 7 ตรงตามเงื่อนไข 2 ใน 6 ข้อ
พิจารณาข้อ 2.ดาว ๒ (เจ้าเรือนที่7) จะเห็นได้ว่ามีดาว ๗ เป็นดาวบาปเคราะห์สถิตร่วม และเรือนที่ 9,4,8,5,12 จากดาว ๒ ก็จะมีดาวเกตุ(สากล)อยู่ในเรื่อนที่ 12 ของดาว ๒ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตรงตามเงื่อนไข 2 ใน 6ข้อ
และเมื่อดาว ๒ ร่วมกับดาว ๗ และมีคำถามว่าดาว ๗ เป็นบาปเคราะห์ที่มีกำลังตามความหมายของโศลกหรือไม่ ก็ต้องวินิจฉัยกำลังจากราศีที่ดาว ๗ สถิตย์ คือราศีกันย์ ทำให้ดาว ๗ มีกำลังจากทิศ (ทิคะพละ) ได้กำลังจากการโคจรปัดใต้หรือกรานติ (อายันพละ) ได้กำลังจากการที่ดาว ๗ จะโคจรไปเป็นมหาอุจน์ (อุจพละ-ไทยเรียกอุจจาวิลาศ)
และได้กำลังจากการโคจรพักรอีกด้วย (กฏมีอยู่ว่าดาวเคราะห์อังคาร-เสาร์มีกำลังดีในเวลาพักร)นั่นหมายความว่า ดาว ๗ เป็นดาวบาปเคราะห์ที่มีกำลังมากที่สุด
พิจารณาข้อ 3.ดาว ๖ (ดาวเคราะห์การก) ดาว ๖ เป็นดาวที่เป็นตัวแทน(การก) ของคู่ครอง ปรากฏว่ามีดาวบาปเคราะห์สถิตร่วม 2 ดวง คือ ดาว ๑และ ดาว ๘ ส่วนเรือนที่ 9,4,8,5,12 จากดาว ๖ ก็มีดาว ๗ ในเรือนที่ 8 จากดาว ๖ และดาว๓ ในเรือน 9 จากดาว ๖ จะเห็นได้ว่าตรงตามเงื่อนไข 3 ใน 6 ข้อ
สรุปความว่า ทั้ง 3 ข้อหลัก คือ 1.,2.,3. มีเหตุและผลตรงตามเงื่อนไขในการทำลายผลของเรือนที่ 7 ปัตนิ หรือเรือนคู่ครอง โดยโศลกกล่าวว่า"นับจากอย่าใดอย่างหนึ่งของ 3 อย่างนี้".... ปรากฏว่าเงื่อนไขตรงกันทั้งหมด ไม่ใช่แค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่า เรือนที่ 7 หรือภพปัตนิ(คู่ครอง)ถูกทำลายลงอย่างไม่ต้องสงสัย
และวรรคสุดท้ายของโศลกนี้ กล่าวว่า .."และเจ้านวางศ์ที่บาปเคราะห์ทั้งนี้เสวยอยู่ในเรือนศัตรู,หรือเป็นคราส,หรือแพ้เคราะห์ยุทธในเรือนๆนั้น กล่าวได้ว่า เรือนนั้นๆ ได้ถูกทำลาย"...
ดังนั้นเมื่อดูในนวางศ์จักร ดาวบาปเคราะห์ที่ชำระแล้วและมีกำลังสูงสุดคือดาว ๗ สถิตย์ในนวางศ์ราศีกันย์ และดาวเจ้านวางศ์คือดาว ๔ ไปสถิตอยู่ในราศีมีนซึ่งเป็นกลาง แต่ตำแหน่งของดาวทั้งคู่ ๗,๔ เล็งกันก็ถือว่าเป็นศัตรูกัน เมื่อชำระความเป็นคู่มิตรศัตรูเฉพาะชาตานี้แล้ว (เป็นกลาง+เป็นศัตรู) ก็กลายเป็นศัตรูน้อย ส่วนในดวงนวางจักร ดาว ๔ ไปสถิตย์ในนวางศ์ราศีพิจิก ซึ่งเป็นราศีศัตรู ทำให้เรือนที่ 7 หรือเรือนคู่ครองของเจ้าชาตาถูกทำลายลง จนทำให้เจ้าชาตาต้องครองตัวเป็นโสด หรือ ไร้คู่ตลอดชีวิต ซึ่งตรงตามความหมายในโศลกนี้ทุกประการ
จากการอธิบายตัวอย่างข้างต้น วิธีการในโศลกนี้สามารถนำไปพยากรณ์เรื่่องอื่นๆหรือเรือนอื่นๆได้ตามความประสงค์ เพื่อจะได้สามารถวินิจฉัยหาเหตุและผลและออกคำพยากรณ์ที่ถูกต้องได้ตามหลักวิชาโหราศาสตร์ ฯ Astro Neemo