บทที่ 9
วิธีหาลัคน์ อย่างสมบูรณ์
(24) วิธีหาลัคน์ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. แปลงเวลาประสงค์เป็นเวลามัธยมท้องถิ่น
2. หาเวลาอาทิตย์ขึ้นเฉพาะท้องถิ่น
3. หาจำนวนเวลาระหว่างอาทิตย์ขึ้นถึงเวลาประสงค์ (เวลามัธยมท้องถิ่น)
เวลานี้เรียกว่าเวลาประสงค์ภายหลังอาทิตย์ขึ้น ถ้าเวลาประสงค์ (เวลามัธยมท้องถิ่น) ตามเวลาสากลแต่ 0 ถึงเวลาอาทิตย์ขึ้น ต้องเอา 24 บวกกับเวลาประสงค์นั้นก่อนแล้ว จึงเอาเวลาอาทิตย์ขึ้นลบ เช่น 0.5 = 24.5 น. 3.5 น. = 27.5 หรือ 5.40 น. = 29.40
4. หาสผุดอาทิตย์เมื่อเวลาอาทิตย์ขึ้น (หาจากสผุดอาทิตย์ตามเวลาอัตราในปฏิทินเพราะเวลาอาทิตย์ขึ้นเป็นเวลามัธยมท้องถิ่นอยู่แล้ว)
5. หาอันโตนาทีเฉพาะท้องถิ่น
6. หาเวลาอนาคตที่ราศีอาทิตย์จะต้องเคลื่อนผ่านเส้นขอบฟ้าตะวันออกจนหมดราศี
7. เอาเวลาอนาคตลบเวลาประสงค์ภายหลังอาทิตย์ขึ้น ถ้าลบไม่ได้ลัคน์ก็อยู่ราศีเดียวกับอาทิตย์ แล้วเอาเวลาประสงค์นั้นแปลงเป็นองศาลิปดา (เทียบจากอันโตนาทีของราศีอาทิตย์) ได้เป็นสผุดลัคน์
8. ถ้าเวลาอนาคตลบเวลาประสงค์ภายหลังอาทิตย์ขึ้นได้ เหลือเท่าไรเอาอันโตนาทีของราศีหน้าลบต่อ ๆ ไปจนลบไม่ได้ราศีไหนลัคน์ก็อยู่ในราศีนั้น เวลาที่เหลืออยู่เป็นเวลาที่ล่วงเข้าในราศีนั้น แปลงเวลานี้เป็นองศาลิปดา (เทียบจากอันโตนาทีของราศีที่ลัคน์อยู่) ได้เป็นสผุดลัคน์ แล้วลงเครื่องหมาย “ ลั ” หรือ “ ส ” ในราศีนั้น.
สำเร็จรูปเป็นดวงชตา
และได้สผุดดังนี้ต้องเขียนกำกับไว้ใต้ดวงชะตาด้วย
ราศี องศา ลิปดา
อาทิตย์ 4 สิงห์ 20 25
จันทร์ 2 มิถุน 22 40
อังคาร 6 ตุลย์ 26 3
พุธ พักร์ 4 สิงห์ 18 14
พฤหัสบดี พักร์ 10 กุมภ์ 9 16
ศุกร์ 4 สิงห์ 1 11
เสาร์ 4 สิงห์ 26 19
ราหู 11 มีน 5 13
เกตุ 6 ตุลย์ 7 17
มฤตยู 2 มิถุน 18 33
ลัคน์ 6 ตุลย์ 27 14
37
ถ้าคำนวณจากเวลาเกิดของบุคคลเรียกว่าดวงชตากำเนิด คำนวณเพื่อหาฤกษ์เรียกว่าดวงฤกษ์ คำนวณเพื่อพยากรณ์คำถามปัจจุบันเรียกว่าดวงกาลชตา ฯลฯ
เมื่อแผนจักรราศีเปลี่ยนรูปเป็นแผนชตา ราศีก็เปลี่ยนเป็นเรือน เริ่มต้นด้วยราศีลัคน์สถิตเป็นเรือนที่ 1
เรือนที่ 1 หรือเรือนลัคน์เรียกว่าคนุ ให้ความหมายถึงตัวตน รูปลักษณ์และนิสัยลักษณะ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม
เรือนที่ 2 เรียกว่ากดุมภหรือธนะ ให้ความหมายถึง ทรัพย์สินครอบครัว ดวง หน้า คำพูด ตาขวา อาหาร ความเป็นบัณฑิต อาการและชนิดของความตาย การรับผิดชอบตัวเองและความตาย การรับผิดชอบตัวเองและความคิดเห็นในทางที
เรือนที่ 3 เรียกว่าสหัชชะหรือภราตร ให้ความหมายถึง พี่น้องชายหญิง ปัญญาความรู้ การเดินหางใกล้ ๆ เพื่อนบ้านใกล้เคียง การติดต่อหรือพวกพ้องชั่วคราว จดหมายและการเขียน
เรือนที่ 4 เรียกว่าพันธ์หรือสุข ให้ความหมายถึง ความสุขสำราญทางกายและใจ มารดา ชีวิตในบ้าน ญาติพี่น้อง บ้านเรือน ความเจริญของตัวเอง ความโสมนัสยินดี ข่าวสารที่ดี ทรัพย์ของตระกูลการศึกษา ยานพาหนะ ความยินดีทั่วไป ส่วนต่าง ๆ ของคอและบ่อ
เรือนที่ 5 เรียกว่าปุตระ ให้ความหมายถึงอำนาจในการสันนิษฐาน ปัญญา ความรู้ ชื่อเสียง ตำแหน่งหน้าที่ เกียรติ บุตร
เรือนที่ 6 เรียกว่าอริ ให้ความหมายถึง ศัตรู โรคภัย หนี้สิน บาดแผล และแผลเป็น ความพลาดหวัง ความทุกข์ยาก ความเศร้าโศก
เรือนที่ 7 เรียกว่าปัตนิ ให้ความหมายถึง ภรรยาสามี การแต่งงาน คู่พิพาท เครื่องหมายเพศ ความสุขสบาย ความเจริญทั่ว ๆ ไป โรคประจำเพศ การค้าชั่วคราว การโต้ตอบ เกียรติยศความเชื่อถือในต่างประเทศ เหตุแห่งความตายและอาการตาย การสังเกต ไหวพริบ การงาน ปติภาณพิเศษ ความชื่นชมยินดี
เรือนที่ 8 เรียกว่ามรณะหรืออายุระ ให้ความหมายถึง ความเป็นไประหว่างอายุ มรดกและการให้ ทรัพย์สินที่ได้มาเอง พินัยกรรม อวัยวะในที่ลับ อุปัทวเหตุ ความตาย ที่ตาย สิ่งแวดล้อมความตาย ความอับอาย การตกต่ำ
เรือนที่ 9 เรียกว่าศุภะหรือธรรม ให้ความหมายถึง การศาสนาการสอน ศาสนา ความบริสุทธิ์ซื่อตรง การฝึกวิทยาการต่าง ๆ ศิลปะต่าง ๆ วิทยาศาสตร์ อักษรศาสตร์ สัญชาติญาณในการคาดคะเน ลัทธิประเพณี ความศรัทธา ความรู้สึกในผู้อื่น การเป็นผู้นำ ความเมตตาปราณี การติดต่อทางวิญญาณ ภูตผีและไสยศาสตร์ การเดินทางไกล การเที่ยวเตร่ กฎหมาย บิดา หลาน
เรือนที่ 10 เรียกว่าภรรมะให้ความหมายถึง การใฝ่สูง ความปรารถนารุนแรง กำลังน้ำใจ เกียรติยศชั่วคราว ความสำเร็จ การเดินทางไกลไปต่างประเทศ ความนับถือ ความรู้ที่แน่นแฟ้น การกระทำการอาชีพ ความนับถือตนเอง ความฝึ่งฝายโอ่อ่า
เรือนที่ 11 เรียกว่าลาภะ ให้ความหมายถึง การได้ ผลได้ รายได้ เพื่อน บุคลิกลักษณ์ เครื่องประดับ การปราศจากโรคพี่ชาย
เรือนที่ 12 เรียกว่าวินาสนะหรือวรัยยะ ให้ความหมายถึง การสูญเสีย ความหลุดพ้น การใช้จ่าย การหมดเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ ความฟุ่มเฟือย การเสียสละ ความรู้สึกด้วยความเข้าใจ การคาดคะเนความรู้และการนับถือ ความอิสระ เกียรติเมื่อตายแล้ว
วิธีหาลัคน์ที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้ เป็นวิธีที่นักโหราศาสตร์บางท่านใช้ โดยถือทางทฤษฎีที่ว่า จักรราศีเคลื่อนผ่านเส้นขอบฟ้าตะวันออก และถือเอาจุดที่สุริยวิถิตัดกับเส้นขอบฟ้าตะวันออกเมื่ออาทิตย์ ขึ้นจนถึงเวลาประสงค์ ส่วนไหนของสุริยวิถีอยู่ตรงที่ตัดกับเส้นขอบฟ้าตะวันออก ตรงนั้นเป็นจุดของเวลาประสงค์หรือลัคน์ ดังนั้นจึงต้องหาสผุดอาทิตย์เมื่ออาทิตย์ขึ้นแล้วหาอันโตนาที (สัมพันธ์กับวิถันดรท้องถิ่น) อดีตและอนาคตจากองศาอาทิตย์ ได้เท่าใดเอาไปตัดเวลาเกิด (จำนวนชั่วโมงนาทีภายหลังอาทิตย์ขึ้น) ถ้ายังเหลือมากก็เอาอัตราอันโตนาทีประจำราศีหน้าตัดต่อไปจนตัดไม่ลงราศีไหนลัคน์ก็อยู่ราศีนั้น
วิธีหาลัคน์ที่ใช้อยู่ทั่ว ๆ ไปแตกต่างกันบ้างในส่วนปลีกย่อยส่วนหลักการตรงกัน ข้อที่แตกต่างกันนั้นมี 1. เวลาเกิด 2. เวลาเริ่มวันใหม่ 3. จุดเริ่มต้นหาลัคน์ 4. อันโตนาที
1. เวลาเกิด (ก) ถือเอาตามเวลานาฬิกา (เวลาอัตราของประเทศ) (ข) ตัดเวลาอัตราเป็นเวลามัธยมท้องถิ่นกรุงเทพฯ ธนบุรีแล้วใช้เวลานี้แก่ท้องถิ่นทั่วไป (ค) ตัดเวลาอัตราเป็นเวลามัธยมท้องถิ่นเฉพาะจังหวัด
2. เวลาเริ่มวันใหม่ถือเอา (ก) เวลา 6 นาฬิกาตรง (ข) เวลาอาทิตย์ขึ้นที่เส้นขอบฟ้าสัมพันธ์กับวิถันดรท้องถิ่น เวลาเกิดนับเป็นจำนวนชั่วโมงนาทีเริ่มต้นจากอย่างหนึ่งใน 2 อย่างนี้
3. จุดเริ่มต้นหาลัคน์ คำนวณหาอดีตอนาคตจาก (ก) สผุดอาทิตย์ที่ปรากฏในปฏิทินในวันเกิด (ข) สผุดอาทิตย์เวลาเกิด (ค) สผุดอาทิตย์เมื่ออาทิตย์ขึ้นในวันเกิด
4. อันโตนาที (ก) อันโตนาทีสามัญ (ข) อันโตนาทีทีฌานราศีสารัมภ์ (ค) อันโตนาทีสัมพันธ์กับวิถันดรท้องถิ่น (ข้อ 23)
ราศี อันโตนาทีสามัญ อันโตนาทีฌานราศีสามัภ์
เมษ 120 นาที 97 นาที 36 วินาที
พฤศภ 96 ,, 108 ,, 48 ,,
มิถุน 72 ,, 124 ,, 48 ,,
กรกฎ 120 ,, 133 ,, 36 ,,
สิงห์ 144 ,, 130 ,, 24 ,,
กันย์ 168 ,, 124 ,, 48 ,,
ตุลย์ 167 ,, 124 ,, 48 ,,
พฤศจิก 144 ,, 130 ,, 24 ,,
ธนู 120 ,, 133 ,, 36 ,,
มกร 72 ,, 124 ,, 48 ,,
กุมภ์ 96 ,, 108 ,, 48 ,,
มีน 120 ,, 97 ,, 36 ,,
วิธีหาลัคน์ (อย่างสามัญ)
(25) วิธีหาลัคน์ที่กล่าวมาแล้วเป็นวิธีที่นักโหราศาสตร์ปัจจุบันได้ค้นคว้าสอบสวน และให้ทฤษฎีว่าควรเป็นเช่นนั้น ต่อไปนี้เป็นวิธีหาลัคน์ที่นักโหราศาสตร์สยามใช้เป็นวิธีสามัญอยู่ทั่วไป
(ก) หาสผุดอาทิตย์เวลาเกิด
(ข) หาอนาคตอาทิตย์
(ค) หาจำนวนชั่วโมงนาทีเวลาเกิด
(ง) ตัดเวลาเกิดหาราศีลัคน์
(จ) หาสผุดลัคน์