บทที่ 8
ทฤกพละหรือกำลังเกณฑ์
109. ทฤษฎี ทฤษฎีหมายถึงเกณฑ์ ดาวเคราะห์ทุกดาวเคราะห์มีกำลังเกณฑ์เต็มที่ ๆ 180 องศาจากท่สถิตของตัวเอง.
110. ทฤษฎีเกณฑ์ ทฤษฎีเกณฑ์คือมุมของเกณฑ์ ดาวเคราะห์จะไม่เป็นเกณฑ์แก่ดาวเคราะห์ด้วยกันและจะไม่เป็นเกณฑ์แก่เรือนภายใน 30 องศาข้างหน้าของดาวเคราะห์นั้น และภายใน 60 องศาข้างหลังของดาวเคราะห์นั้น คือที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ได้นั้นเริ่มตั้งแต่ 30 องศาข้างหน้าของดาวเคราะห์ไปจนถึง 300 องศา จากดาวเคราะห์นั้น หรือว่าดาวเคราะห์นั้นไม่อาจเป็นเกณฑ์แก่เรือน และดาวเคราะห์ด้วยกันได้ภายใน 30 และเกิน 300 องศาขึ้นไปจากดาวเคราะห์ที่เป็นเกณฑ์ ทฤษฎีเกณฑ์ (มุมเกณฑ์) เริ่มจาก 30 องศาแล้วเพิ่มขึ้นทุกทีที่ 60 องศาจะได้ค่าของเกณฑ์ 15 ษัษติอางศ ค่านี้เพิ่มขึ้นจนทฤษฎีถึง 90 องศาเมื่อถึง 90 องศาค่าของทฤษฎีเกณฑ์จะได้ 45 ษัษติอางศ ระหว่างจาก 90 องศาถึง 120 องศา ค่าของทฤษฎีเกณฑ์จะลดลงถึง 30 ษัษติอางศ ระหว่างจาก 120 องศาถึง 150 องศาค่าของทฤษฎีเกณฑ์จะลดลงอีกจนเป็น 0 ที่ 150 องศา จาก 150 องศาขึ้นไปถึง 680 องศาค่าของทฤษฎีเกณฑ์จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 60 ษัษติอางศที่ 180 องศา แล้วค่าของทฤษฎีเกณฑ์จะค่อย ๆ ลดลงอีกเป็น 0 ที่ 300 องศา.
111. ทฤสฎาเคราะห์ ดาวเคราะห์ที่เป็นเกณฑ์ หรืออีกนัยหนึ่งว่าดาวเคราะห์ที่เป็นตัวกระทำให้เป็นเกณฑ์ เรียกว่าทฤษฎาเคราะห์.
112. ทรุษยาเคราะห์ ดาวเคราะห์ที่ถูกเป็นเกณฑ์หรือรับการเป็นเกณฑ์หรือได้เกณฑ์จากดาวเคราะห์อื่นเรียกว่าทรุสยาเคราะห์.
113. วิธีหาทฤษฎีเกณฑ์ หรือ มุมเกณฑ์ เอาทีฆันดร ของทฤษฎาเคราะห์ (ดาวเคราะห์ที่เป็นเกณฑ์) ลบจากทีฆันดรของทรุสยาเคราะห์ (ดาวเคราะห์ที่ถูกเป็นเกณฑ์) ผลลบได้เป็นทฤษฎีเกณฑ์หรือมุมเกณฑ์.
กฎ ทฤษฎีเกณฑ์ = ทีฆันดรของ ทรุสยาเคราะห์ – ทีฆันดร ของทฤษฎาเคราะห์. หรือ (มุมเกณฑ์) = (ตัวถูกเป็นเกณฑ์) – (ตัวเป็นเกณฑ์)
ตัวอย่าง 53 : หาทฤษฎาเกณฑ์หรือมุมเกณฑ์ของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง :
อ จ ภ ว ช ศ ส
179°8' 311°40' 229°49' 180°13' 83°35' 170°4' 124°51'
อาทิตย์ - - - 227°27' - - - - - - 95°33' - - - 55°17'
จันทร์ 132°32' - - - 81°51' 131° 7' 227° 5' 143°36' 186°49'
อังคาร 50°51' 278° 9' - - - 49°16' 146°14' 59°45' 104°58'
พุธ - - - 228°53' - - - - - - 263° 2' - - - 54°52'
พฤหัสบดี 264°27' 131°55' 213°56' 262° 2' - - - 273°31' - - -
ศุกร์ - - - 218°24' - - - - - - 86°29' - - - 45°13'
เสาร์ - - - 173°11' 225° 2' - - - 41°16' - - - - - -
X = วิเศษทฤษฎี.
114. ค่าของทฤษฎี วิธีหาค่าของทฤษฎีที่ปรากฏในคัมภีร์ครีปติพัทธาฑิของอาจารย์ศรีปติว่า ลบทฤษฎีจากทรุสยาถ้าผลลบมากกว่า 6 ราศีแต่อยู่ภายใน 10 ราศีเอาผลลบนี้ไปลบจาก 10 ราศี แล้วแปลงผลลบเป็นลิปดา แล้วเอา 7200 หาร ผลลบที่แปลงแล้ว ดังนั้นได้เป็นค่าของทฤษฎี หรืออีกนัยหนึ่งว่าเมื่อมุมทฤษฎีอยู่ในระหว่า 180 องศา (6 ราศี) และ 300 องศา (10 ราศี) ลบมุมทฤษฎีนี้จาก 300 องศา (10 ราศี) และหารผลลบด้วย 120 องศา (7200) ลิปดา) ดังนี้ตั้งเป็นกฎได้ว่า ถ้าทฤษฎีเกณฑ์ระหว่าง 180 และ 300 องศา (ค่าของทฤษฎี) เท่ากับ.
|
|
10 ราศี – ทฤษฎีเกณฑ์ 300 - ทฤษฎีเกณฑ์
7200 120
(60 = 60 ษัษติอางศ)
|
ดังนั้น 300 - ทฤษฎีเกณฑ์
2
อาจาริยประสาราให้กฎอย่างเดียวกันไว้สำหรับหาค่าของทฤษฎีที่ดาวเคราะห์ เป็นเกณฑ์แก่กัน รวมความว่าค่าของทฤษฎีหาได้ดังนี้ :
ถ้ามุมเกณฑ์อยู่ระหว่าง ค่าของทฤษฎีเกณฑ์
6 และ 10 ราศีหรือ 180° และ 300° = 300° - ทฤษฎีเกณฑ์
2
5 และ 6 ราศีหรือ 150° และ 180° = (ทฤษฎีเกณฑ์ – 150) X 2
4 และ 5 ราศีหรือ 120° และ 150° = 150°- ทฤษฎีเกณฑ์
|
|
120°- ทฤษฎีเกณฑ์
2
2 และ 3 ราศีหรือ 60° และ 90° = (ทฤษฎีเกณฑ์ – 60) + 15
|
ทฤษฎีเกณฑ์ - 30
2
115. วิเศษทฤษฎี ดาวเคราะห์บางดาวเคราะห์มีทฤษฎีพิเศษเรียกว่าพิเศษทฤษฎีเพิ่มขึ้นจากทฤษฎีสามัญ เสาร์มีวิเศษทฤษฎีในเรือนที่ 3 (60 ถึง 90 องศา) และเรือนที่ 10 (270 ถึง 300 องศา) พฤหัสบดี มีวิเศษทฤษฎีในเรือนที่ 5 (120 ถึง 150 องศา) และเรือนที่ 9 (240 ถึง 270 องศา) และอังคารมีวิเศษทฤษฎีในเรือนที่ 4 (90 ถึง 120 องศาและเรือนที่ 8 (210 ถึง 240 องศา)
อังคารได้ค่าของวิเศษทฤษฎี 15 ษัษติอางศ พฤหัสบดี ได้ 30 ษัษติอางศ และเสาร์ได้ 45 ษัษติอางศ.
ภายหลังเมื่อหาค่าของทฤษฎีสามัญของดาวเคราะห์ได้แล้ว ต้องเอาค่าของวิเศษทฤษฎีบวกเข้าแก่ค่าของทฤษฎีสามัญของดาวเคราะห์ อังคาร, พฤหัสบดี, และเสาร์ ถ้าดาวเคราะห์ทั้ง 3 นี้เป็นเกณฑ์พิเศษแก่ดาวเคราะห์ในดวงชะตา.
116. ศุภะแลปาปะทฤษฎี ถ้าเกณฑ์นั้นเป็นเกณฑ์ของดาวศุภเคราะห์หรือว่าถ้าดาวศุภเคราะห์เป็นเกณฑ์เรียกว่าศุภทฤษฎี (เป็นเกณฑ์บวกใช้เครื่องหมาย + เป็นที่หมาย) ถ้าดาวบาปเคราะห์เป็นเกณฑ์หรือเกณฑ์จากดาวบาปเคราะห์เรียกว่าปาปะทฤษฎี เป็นเกณฑ์ลบใช้เครื่องหมาย – เป็นที่หมาย.
117. บาปเคราะห์ บาปเคราะห์ได้แก่ อาทิตย์, อังคาร, จันทร์แรม, เสาร์, พุธสัมพันธ์กับดาวร้าย.
118. ศุภเคราะห์ พฤหัสบดี, ศุกร์, จันทร์ข้างขึ้น, พุธสัมพันธ์กับดาวศุภผล.
119. กฤษฎีปินฑะ จำนวนผลรวมค่าทฤษฎีของกฤษฎาเคราะห์ทั้งหมด (ดาว เคราะห์ที่เป็นเกณฑ์) ที่เกี่ยวเนื่องกับครุสยาเคราะห์ (ดาวเคราะห์ที่ถูกเป็นเกณฑ์) เรียกว่าทฤษฎีปินฑะ ทฤษฎีปินฑะจะเป็นลบ – หรือบวก + สุดแท้แต่เป็นทฤษฎีของบาปเคราะห์หรือศุภเคราะห์
ตัวอย่าง 54 : หาทฤษฎีปินฑะในชะตาตัวอย่าง.
ทฤษฎีปินฑะ (ทฤษฎา)
อ จ ภ ว ช ศ ส ผลรวม
อาทิตย์ - - + 36.3 - - - - + 4.22 - - - 116 + 66.9
จันทร์ - 17.7 - - - 36.4 + 18.9 + 36.0 + 8.7 - 56.8 - 47.6
X + 30.0
อังคาร - 10.3 +10.9 - - + 9.6 + 3.8 +14.9 - 37.5 + 21.4
พุธ - - + 35.6 - - - - + 41.5 - - - 12.9 + 64.2
พฤหัสบดี - 17.8 + 18.1 - 43.1 + 18.3 - - + 13.2 - - - 26.3
ศุกร์ - - + 40.8 - - - - + 41.5 - - - 7.6 + 74.7
เสาร์ - - + 46.4 -22.5 - - + 5.6 - - - - + 2.95
120. ทฤกพละ ทฤกพละหมายความว่ากำลังเกณฑ์ 1 ใน 4 ของทฤษฎีปินฑะ เป็นทฤกพละของดาวเคราะห์ ทฤกพละนั้นจะเป็นบวกหรือลบสุดแท้แต่ทฤษฎีปินฑะเป็นบวกหรือเป็นลบ.
ตัวอย่าง 55 : หาทฤษพละของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง.
ดาวเคราะห์ ทฤษฎีปินฑะ ทฤกพละ
อาทิตย์ + 66.9 + 16.72
ดาวเคราะห์ ทฤษฎีปินฑะ ทฤกพละ
จันทร์ - 47.6 - 11.90
อังคาร + 21.4 + 5.35
พุธ + 64.2 + 16.15
พฤหัสบดี - 26.3 - 6.57
ศุกร์ + 74.7 + 18.67
เสาร์ + 29.5 + 7.37
121. ษัฑพละปินฑะ ข้อความทั้งหมดที่แล้วมาเป็นวิธีหาพละต่าง ๆ ของดาวเคราะห์ จะต้องรวมพละต่าง ๆ เฉพาะของแต่ละดาวเคราะห์เข้าด้วยกันคือ สถานะพละ, ทิคะพละ, กาละพละ, เจษฎาพละ ในสาระศิกะละ แล้วเอาทฤกพละของแต่ละดาวเคราะห์บวกเข้าหรือลบจากจำนวนรวมของพละทั้ง 5 นั้นสุดแท้แต่เป็นเกณฑ์บวกหรือลบ ผลที่ได้เป็นษัฑพละปิณฑะของดาวเคราะห์เป็นษัษติอางศ เอา 60 ษัษติอางศหารได้เป็นษัทพละปินฑะรูปะ.
ตัวอย่าง 56 : หาษัฑพละปินฑะของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง.
อ จ ภ ว ช ศ ส
สถานะพละ 147.935 126.650 174.700 294.700 157.450 172.925 162.400
ทิคะพละ 47.070 32.250 55.030 21.860 10.450 15.950 56.700
กาละพละ 105.490 202.750 28.790 219.920 211.930 117.310 115.740
เจษฎาพละ - - - - - - 22.280 2.130 35.330 5.760 21.060
ในสาระศิกะพละ 60.000 51.430 17.740 25.700 34.280 42.750 8.570
ทฤกพละ 16.720 - 11.900 5.350 16.050 - 6.570 18.670 7.370
ษัษติอางศ 377.255 401.170 323.390 570.560 442.770 372.465 371.740
เป็นรูปะ 6.288 6.676 5.390 9.743 7.371 6.208 6.197
122. ดาวเคราะห์มีกำลัง อาทิตย์จะมีกำลังแรงขึ้นตามส่วนเมื่อได้ษัฑพละปินฑะ 5 รูปะขึ้นไป จันทร์เมื่อได้ษัฑพละปินฑะ 6 รูปะขึ้นไป อังคาร 5 รูปะขึ้นไป พุธ 7 รูปะขึ้นไป พฤหัสบดี 6.5 รูปะขึ้นไป ศุกร์ 5.5 รูปะขึ้นไปเสาร์ 5 รูปะขึ้นไป.
ตัวอย่าง 57 : หาดาวเคราะห์ที่มีกำลังและดาวเคราะห์ไม่มีกำลังในชะตาตัวอย่าง.
ดาวเคราะห์ ษัฑพละปินฑะ มีกำลังหรือไม่มีกำลัง
อาทิตย์ 6.288 ( 4 ) มีกำลัง
จันทร์ 6.686 ( 3 ) มีกำลัง
อังคาร 5.390 ( 7 ) มีกำลัง
พุธ 9.381 ( 1 ) มีกำลัง
พฤหัสบดี 7.381 ( 2 ) มีกำลัง
ศุกร์ 6.208 ( 5 ) มีกำลัง
เสาร์ 6.197 ( 6 ) มีกำลัง
กำลังของดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในดวงชะตา อังคารมีกำลังน้อยที่สุด ศุกร์กำลังน้อยกว่าอาทิตย์ และพุธมีกำลังมากที่สุดในดวงชะตา.
123. ความสำคัญของกำลัง ความสำคัยของกำลังระหว่างดาวเคราะห์ต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับเรือน คือดาวเคราะห์ที่ได้ษัฑและปินฑะมากที่สุด ให้เกิดอิทธิพลต่อเรือนมากที่สุดด้วย.