บทที่ 6
เจษฎาพละ
79. เจษฎาพละ เจษฎาพละในที่หมายความว่าการกระทำจากการถอยหลังดาวเคราะห์หนึ่ง ๆ (เว้นอาทิตย์, จันทร์และดาวเคราะห์ฉายา) จะพักร์หรือถอยหลังเมือดาวเคราะห์นั้นอยู่ห่างจากอาทิตย์ ณ จุดหนึ่ง กำลังหรืออำนาจที่ดาวเคราะห์ได้เมื่อพักร์นี้เรียกว่า เจษฎาพละ
80. ข้อสังเกตทั่วไป ความจริงที่เกี่ยวกับปรากกการณ์ของอาการถอยหลังหรือพักร์มีอธิบายในคัมภีร์โหราศาสตร์ภารตะ เป็นคำอธิบายที่สับสนพัวพ้นกันอยู่มาก เพราะเป็นธรรมดาที่จะต้องอ้างอิงและกล่าวถึงเหตุผลต่าง ๆ ในหลักของปรากฏการณ์เช่นนี้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจศึกษาเข้าใจได้แจ่มแจ้งและสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง บทความในเรื่องพักร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์และมีคำอธิบายยืดยาวอยู่มาก จึงไม่อาจนำมาไว้ในหนังสือเล่มเล็กนี้ได้ และจุดหมายในตำราเล่มนี้ก็มีความประสงค์เพียงในเรื่องหาเจษฎาพละเท่านั้น แต่อย่างไรก็ดีจะได้พยายามอธิบายบางเรื่องบางอย่างที่เกี่ยวกับการหาเจษฎาพละให้นักศึกษาเข้าใจพอเป็นสังเขปเท่าที่จะสามารถอธิบายได้ในหนังสือเล่มเล็กนี้.
การปฏิบัติการคำนวรในโหราศาสตร์ จำเป็นจะต้องให้ถูกต้องและถี่ถ้วน ต้องพยายามที่จะไม่ให้มีการผ่านและละทิ้งแม้แต่เศษ 2-3 พิลิปดา เพื่อหวังผลที่ถูกต้องของดารา – โหราศาสตร์ ถึงกระนั้นก็ดีนักศึกษาจะต้องไม่ถือเอาแต่เพียงว่าเมื่อได้ปฏิบัติทางคำนวณอย่างถูกต้องแล้ว จะช่วยให้สามารถพยากรณ์ได้ตรงต่อความเป็นจริง เพราะผลจากการคำนวณนั้นเป็นแต่เพียงอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการพยากรณ์เท่านั้น การพยากรณ์ที่ถูกต้องนั้นจะต้องอาศัยจากสิ่งอื่น ๆ อีก เช่นความรอบคอบในการวินิจฉัยเหตุและผล, ความรอบรู้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความสัมพันธ์ ฯลฯ และที่สำคัญที่สุดคือปฏิภาณในการพยากรณ์.
ในทัศนจากข้อสังเกตข้างบนนั้น ณ ที่นี้จะอธิบายถึงวิธีธรรมดาสำหรับหาเจษฎาเกณฑ์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคำนวณหาเจษฎาพละ.
81. ดาวเคราะห์ใหญ่ ดาวเคราะห์ใหญ่ได้แก่อังคาร, พฤหัสบดี, และเสาร์ ดาวเคราะห์ใหญ่มีวิถีโคจรรอบพื้นพิภพและขยายเขตออกโดยไม่จำกัด บางทีจะเห็นได้ในทางตรงข้ามหรือในที่เล็งกันเมื่อโลกอยู่ระหว่างดาวเคราะห์ใหญ่กับอาทิตย์.
82. ดาวเคราะห์น้อย พุธ, ศุกร์เป็นดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์น้อยเป็นบริวารของอาทิตย์ มีวิถีวงจรรอบเวหาเหมือนกับอาทิตย์ วิถีโคจรมีขอบเขตจำกัดอยู่ภายในรัศมีความดึงดูดของอาทิตย์ บางทีก็จะเห็นดาวเคราะห์น้อยได้ทางทิศตะวันออกของอาทิตย์บางทีก็จะเห็นได้ทางทิศตะวันตกของอาทิตย์ ในประการแรกภายหลังเมื่ออาทิตย์ตกแล้วจะปรากฏให้เห็นได้ชัดเหนือขอบฟ้าตะวันตกที่เรียกว่าดาวเวลาพลบหรือดาวเวลาเย็น โดยเฉพาะดาวศุกร์จะปรากฏเป็นครั้งคราวด้วยมีแสงเป็นประกายระยิบระยับ และถ้าอยู่ทางตะวันตกของอาทิตย์จะเห็นปรากฏได้ที่ขอบฟ้าตะวันออกก่อนอาทิตย์ขึ้นที่เรียกว่าดาวรุ่ง พุธไม่เคยได้ออกห่างจากอาทิตย์มากกว่าประมาณ 29 องศา แต่ศุกร์อาจขยายออกห่างไปได้ถึงประมาณ 47 องศา วิถีโคจรของดาวเคราะห์น้อยทั้ง 2 นี้เป็นวงจรที่ย่อมกว่าขนาดของโลก ดังนั้นวิถีโคจรจึงอยู่ในเขตจำกัด.
83. การร่วมใหญ่และการร่วมน้อย จุดในวิถีโคจรของดาวเคราะห์ พุธและศุกร์ที่ใกล้ที่สุดแก่อาทิตย์เป็นทางร่วมของการร่วมน้อยและการร่วมใหญ่ การร่วมน้อยจะเกิดขึ้นเมื่อดาวเคราะห์ผ่านระหว่างพิภพและอาทิตย์ และการร่วมใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อดาวเคราะห์อยู่ในทีฆันดรเดียวกันจะเป็นการร่วมใหญ่ แล้วต่อไปดาวเคราะห์จะโคจรรุดหน้าไปทางตะวันออกของอาทิตย์ จนกว่าจะได้ร่วมกับอาทิตย์อีกที่การร่วมน้อย ภายหลังต่อจากนี้ดาวเคราะห์จะพักร์หรือถอยหลังอยู่ทางตะวันตกของอาทิตย์จนอยู่ในทีฆันตดรเดียวกันกับอาทิตย์ แล้วพฤติการณ์อย่างที่แล้วมา ก็จะเกิดขึ้นอีกที่การร่วมใหญ่.
84. การร่วมและเล็ง ดาวเคราะห์ใหญ่เมื่ออยู่ทีฆันดรเดียวกับอาทิตย์กล่าวว่าร่วมกับอาทิตย์ ถ้าอยู่ห่างจากอาทิตย์ 180 องศาก็ว่าอยู่ในทางตรงข้ามหรือเล็ง เมื่อได้ร่วมกันแล้วดาวเคราะห์ใหญ่ก็พักร์หรือถอยหลัง (ทางตะวันตกของอาทิตย์) จนอยู่ตรงข้ามหรือ
เล็งกัน แล้วดาวเคราะห์ใหญ่จะเดินหน้า (ทางตะวันออกของอาทิตย์) จนได้ร่วมกันการร่วมแลการเล็งของดาวเคราะห์ใหญ่ตรงกับการร่วมใหญ่และการร่วมน้อยตามลำดับของดาวเคราะห์น้อย.
85. พักร์หรือถอยหลัง ดาวเคราะห์น้อยเมื่อภายหลังการร่วมใหญ่แล้ว จะถอยห่างจากอาทิตย์ทางทิศตะวันออกไปตามระยะเป็นลำดับของตัวเอง แล้วคงหยุด (มนท์) อยู่ชั่วคราว อาทิตย์ขึ้นหน้าไป ภายหลังหายไปพักหนึ่งก็ปรากฏขึ้น ณ อีกข้างหนึ่งของอาทิตย์ และในระยะนี้การโคจรเป็นพักร์ ภายหลังเมื่อพักร์ชั่วคราวแล้วก็กลับมนท์อีก อาทิตย์กลับขึ้นหน้า และดาวเคราะห์นั้นก็เริ่มเดินหน้าและพยายาให้ทันอาทิตย์ ดังนั้นในเรื่องพักร์ของดาวเคราะห์น้อยจึงตั้งต้นเมื่อภายหลังการร่วมน้อยแล้ว.
ดาวเคราะห์ใหญ่พักร์ในวิธีโคจรที่ปรากฏชัดเมื่ออยู่ตรงข้ามหรือเล็ง แลบางทีก็มีการพักร์ก่อนหรือหลังพฤติการณ์นี้.
86. เจษฎาเกณฑ์ เจษฎาเกณฑ์คือเรขาของพักร์.
87. มัธยเคราะห์ มัธยของดาวเคราะห์ได้แก่มัธยทีฆันดรในวิถีโคจรรอบอาทิตย์มัธยสผุดของดาวเคราะห์เป็นที่สถิตซึ่งดาวเคราะห์จะได้ที่อัตราเดียวกันของการโคจร และการชำระด้วยการเพิ่มขึ้นหรือตัดทอนเพื่อให้ถูกต้องแก่ความวิปริตของวิถีโคจร มัธยทีฆันดรถือเอาการสันนิษฐานวิถีโคจรของดาวเคราะห์ว่าเป็นวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน เพราะว่าทางโคจรเป็นวงรีไม่ใช่วงกลมทีเดียว ภายหลังจึงต้องใช้สมการแก่มัธยสผุดเพื่อให้ได้ทีฆันดรที่เป็นจริง.
การคำนวณมัธยสผุดของดาวเคราะห์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการหาเจษฎาเกณฑ์.
88. ยุค คำนวณกาลกฤตระหว่างสมมุติยุคจากยุคหนึ่งยุดใดถึงวันเกิด แล้วเอาจำนวนโคจรประจำวันของดาวเคราะห์คูณ ผลที่ได้เป็นกาลกฤตแปลง เอากาลกฤตแปลงนี้บวกเข้ากับหรือลบจากมัธยสผุดของสมมุติยุค สุดแท้แต่ว่าวันประสงค์นั้นเป็นวันหลังหรือวันหน้าของสมมุติยุค วันเริ่มต้นของสมมุติยุคถือเอาเมื่อ วันจันทร์ที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ. 2443 เวลาเที่ยงคืน ที่ทีฆันดร 76 องศาตะวันออก (มัธยของภารตะประเทศที่นักโหราศาสตร์ภารตะใช้อยู่)
89. กาลกฤต กาลกฤตคือระยะเวลาที่กำหนดไว้ระหว่างจุดสมมุติ พิจารณาหากาลกฤตระหว่างวันเกิดกับวันของสมมุติยุคดังนี้เอา 2443 ลบจาก พ.ศ. ผลการแตกต่างภายหลังปี พ.ศ. 2443 เป็นเกณฑ์บวก ผลแตกต่างก่อนปี พ.ศ. 2443 เป็นเกณฑ์ลบ เอา 365 คูณผลนั้นแล้วเอาอธิกสุรทินบวกเพื่อได้เศษวันที่เกินในปีอธิกสุรทิน เอาจำนวนวันจากวันที่ 1 มกราคม (หาได้จากสูตร 2) บวกหรือลบสุดแท้แต่เกณฑ์ ผลที่ได้จะเป็นกาลกฤตจากสมมุติยุคถึงวันเกิด.
90. อุชเชนมัธยมเที่ยงคืน มัธยสผุดของดาวเคราะห์คำนวณสำหรับทีฆันดร 76 องศาตะวันออก (ทีฆันดรของอุชเชนเที่ยงคืน)
91. สิ่งจำเป็นต้องแก้ไข ต้องแปลงเวลาท้องถิ่นเมื่อเกิดให้ตรงกับเวลาอุชเชน โดยเอา 4 นาทีลบจากหรือบวกเข้ากับเวลาอุชเชนทุก ๆ 1 องศาทีฆันดร (1 องศาทีฆ. ต่อ4 นาที) สุดแท้แต่ที่เกิดอยู่ทางทิศตะวันออกหรือตะวันตกของอุชเชน.
(สำหรับกรุงเทพฯ ฯ ให้เอา 18 นาที 2 วินาทีลบเวลาอัตราผลลัพธ์เป็นเวลามัธยมท้องถิ่นสำหรับกรุงเทพ ฯ แล้วเอา 1 ชั่วโมง 37 นาที 56 วินาทีลบเวลามัธยมท้องถิ่นกรุงเทพ ฯ ได้เป็นเวลามัธยมอุชเชน ถ้าต้องการรู้สำหรับจังหวัดอื่น ๆ ก็ให้เอาอัตราเวลาบวกหรือลบตามวิธีโหราวิทยาเล่ม 1 หรือเล่ม 3)
ตัวอย่าง 38 : จะได้เวลาอุชเชนเท่าไรที่ตรงกับ 2 ล.ท. (เวลามัธยมท้องถิ่น) ในชะตาตัวอย่าง ทีฆ. ท้องถิ่น 77 องศา 35 ลิปดา.
ทีฆ. ท้องถิ่น 77° 35'
อุชเชน 76 00
1 35 เราขา เกือบ 6 นาทีของเวลาดังนั้นอุชเชนมัธยมเท่ากับ 2.0 ล.ท. – 0.6 1.66 ล.ท.
(ลบเพราะว่าท้องถิ่นเป็นตะวันออกของอุชเชน)
9.2 ผลรวมกาลกฤต บวกกาลกฤตที่ได้ไว้แล้วเข้ากับกาลกฤตระหว่างอุชเชนมัธยมเที่ยงคืนกับเวลาเกิด ผลบวกได้เป็นผลรวมกาลกฤต.
ตัวอย่าง 39 : หาผลรวมกาลกฤตในชะตาตัวอย่าง.
กาลกฤต (จากข้อ 89) 6,826 วัน.
หรือจากเที่ยงคืนถึงเวลาอุชเชนเมื่อเกิด
ได้ 13 ชั่วโมง 45 นาที หรือ .578 + วัน
ผลรวมการกฤต 6,862.578 วัน.
93. ตรวจสอบกาลกฤต เอา 7 หารกาลกฤต เศษเท่าไรจะได้เป็นวันสัปดาห์จากสูตร 3
ตัวอย่าง 40 : สอบกาลกฤตในชะตาตัวอย่าง.
7) 6862
980 เศษ 2 หรือ + 2
จากสูตร 3 จะเห็นว่าเศษ 2 หรือ + 2 ตรงกับวันพุธ วันพุธนี้ตรงกับวันเกิด.
94. มัธยระวิ มัธยระวิเมื่อวันวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2443 (สมมุติยุค) เวลา 0 ก.ท. มัธยสผุดของอาทิตย์ได้ 257.4568 องศาเป็นเกณฑ์มัธยสผุด (ที่ทีฆ. 76 องศาตะวันออก) จะคำนวณหามัธยโคจรสำหรับกาลกฤตได้ง่ายจากสูตร 4 มัธยอาทิตย์โคจรรายวันให้ไว้เป็นหลักหน่วย, ร้อย, พัน และหมื่น สำหรับเศษของวันหาได้โดยเลือนจุดทศนิยมในจำนวนที่ให้ไว้ไปทางซ้าย.
หามัธยทีฆันดรของอาทิตย์สำหรับผลรวมกาลกฤต จากสูตร 4 แล้วเอาเกณฑ์มัธยสผุดบวก ผลบวกจะได้เป็นมัธยระเมื่อเกิด (ถ้าผลบวกกว่า 360 เอา 390 ลบทวีคูณ)
สมมุติว่าต้องการมัธยทีฆ. สำหรับ 6,000 วัน 6,000 วัน เลข 6 ขึ้นหน้าให้ดูที่บรรทัดเลข 6 ในแถวหน้าของสูตร 4 แล้วไล่ไปทางขวามือจนถึงหลักพันจะได้ 153.659 เอาจำนวนนี้บวกเข้ากับ 257.4568 (เกณฑ์มัธยสผุดของอาทิตย์สำหรับสมมุติยุคนั้น) ก็จะได้มัธยทีฆ. ของวันประสงค์.
ตัวอย่าง 41 : หาที ฆ.ของมัธยระวิในชะตาตัวอย่าง ผลรวมของกาลกฤต เท่ากับ 6,862.578 วัน.
จากสูตร 4
สำหรับ 6,000 วัน (หลักพัน) 153.6159
สำหรับ 800 วัน (หลักร้อย) 68.4821
สำหรับ 60 วัน (เลือนจุดทศนิยม 6 วันในหลักหน่วย) 59.1360
สำหรับ 2 วัน 1.9712
สำหรับ .578 วัน (2 หาร 1 วันในหลักหน่วย) .5656 (อย่างหยาบ)
เกณฑ์มัธยสผุด 257.4568 +
มัธยระวิเมื่อเกิด 541.2276
เอา 360 ลบ 360 -
181.2276
ดังนั้นมัธยทีฆันดรของอาทิตย์ = 181°.2276
94. มัธยทีฆันดรของดาวเคราะห์น้อย มัธทีฆันดรของพุธและศุกร์เท่ากับของอาทิตย์.
ตัวอย่าง 42 : หามัธยที ฆ.ของพุธและศุกร์ ในชะตัวอย่าง.
มัธยที ฆ.ของอาทิตย์ 181.2276
ดังนั้นมัธที ฆ.ของพุธและศุกร์ 181.2274
96. มัธยทีฆันดรของอังคาร จะหาผลรวมของมัธยทีฆันดรของอังคารได้โดยง่ายจากสูตร 5 ด้วยทำตามวิธีเดียวกับของอาทิตย์จำนวน 10 วัน และเศษของวันจะหาได้โดยง่ายจากหลักหน่วยโดยเลือนจุดทศนิยมไปทางซ้ายหรือขวา มัธยสผุดของอังคารสำหรับสมมุติยุคได้ 270°.22 เป็นเกณฑ์มัธยสผุด.
ตัวอย่าง 43 : หามัธยที ฆ. ของอังคารในชะตาตัวอย่าง.
ผลรวมกาลกฤต 6862.578 วัน
จากสูตร 5
สำหรับ 6,000 วัน (จากหลักพัน) 264.12
สำหรับ 800 วัน (จากหลักร้อย) 59.22
สำหรับ 60 วัน (จากหลักหน่วยโดยเลื่อนจุดทศนิยมไปทางขวา 1 ตำแหน่ง) 31.44
สำหรับ 2 วัน (จากหลักหน่วย) 1.04
สำหรับ .578 วัน ( 2 หาร 1 วันในหลักหน่วย) .30
เกณฑ์มัธยสผุด 270.22 +
626.34
เอา 360 ลบ 360 -
266.34
ดังนั้นมัธยสผุดของอังคาร = 266°.34
97. มัธยทีฆันดรของพฤหัสบดี มัธยสผุดของพฤหัสบดีสำหรับสมมุติยุคได้ 220°.04 เป็นเกณฑ์มัธยสผุด 3.33 + ( .0067 X ป ) เป็นเกณฑ์ชำระ (ป = ปีเกิด – 2443) เอาจำนวนสำหรับผลรวมของกาลกฤตจากสูตร 6 บวกกับเกณฑ์มัธยสผุดของพฤหัสบดี.
ตัวอย่าง 44 : หามัธยที ฆ. ของพฤหัสบดี ในชะตาตัวอย่าง.
ผลรวมกาลกฤต 6862.578 วัน
สำหรับ 6,000 วัน 138.58
สำหรับ 800 วัน 66.58
สำหรับ 60 วัน 4.99
สำหรับ 2 วัน .17
เกณฑ์มัธยสผุด 220.04 +
ผลรวม 430.36
เกณฑ์ชำระ 3.33 + ( .0067 X 18 ) = 3.45
426.91
เอา 360 ลบ 360 -
61.91
ดังนั้นมัธยทีฆ. ของพฤหัสบดี 66°.91'
98. มัธยที ฆ.ของเสาร์ มัธยสผุดของเสาร์สำหรับสมมุติยุคได้ 236°.74 เป็นเกณฑ์มัธยสผุด 5 + ( .001 X ป ) เป็นเกณฑ์ชำระเอาจำนวนสำหรับผลรวมกาลกฤตจากสูตร 7 บวกเข้ากับเกณฑ์มัธยสผุดแล้วเอาเกณฑ์ชำระบวก เป็นมัธยสผุดของเสาร์.
ตัวอย่าง 45 : หามัธยสผุดของเสาร์ในชะตาตัวอย่าง.
ผลรวมกาลกฤต 6862.578 วัน.
จากสูตร 8
สำหรับ 6,000 วัน 200.64
สำหรับ 800 วัน 26.75
สำหรับ 60 วัน 2.01
สำหรับ 2 วัน .07
เกณฑ์มัธยสผุด 236.74
เกณฑ์ชำระ 5 + ( .001 X 18) = 5.02 +
471.23
เอา 360 ลบ 360 -
111.23
ดังนั้นมัธยทีฆ.ของเสาร์ 111.23
99. มัธยมทีฆันดรของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง เว้นแต่จันทร์ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ไม่มีการพักร์ (อาทิตย์ด้วย) ที่ต้องหาทีฆันดรของอาทิตย์ด้วยนั้นเพื่อประโยชน์ในการหาทีฆันดรของดาวเคราะห์อื่น ๆ มัธยทีฆันดรของดาวเคราะห์ อาทิตย์ 181.2276
อังคาร 266.34
พุธ 181.2276
พฤหัสบดี 66.91
ศุกร์ 181.2276
เสาร์ 111.23
100. ศีฆรอุจจ์ ศีฆรอุจจ์เป็นจุดโคจรของดาวเคราะห์ที่ห่างจากโลกมากที่สุด หรือเป็นผลระหว่างประจักษ์แลสัตยสผุดของดาวเคราะห์ ต้องการผลนี้เพื่อหาเจษฏาเกณฑ์.
101. ศีฆรอุจจ์ของดาวเคราะห์ใหญ่ มัธยทีฆันดรของอาทิตย์จะเป็นศีฆรอุจจ์ของอังคาร, พฤหัสบดี และเสาร์.
ตัวอย่าง 46 : หาศีฆรอุจจ์ของอังคาร, พฤหัสบดี และเสาร์.
ในชะตาตัวอย่าง
มัธยทีฆ.ของอาทิตย์ได้ 181.2276
ฉะนั้น ศีฆรอุจจ์ของอังคารได้ 181.2276
ของพฤหัสบดีได้ 181.2276
ของเสาร์ได้ 181.2276
102. ศีฆรอุจจ์ของพุธ ศีฆรอุจจ์ของพุธสำหรับสมมุติยุคได้ 164° เป็นเกณฑ์ศฆรอุจจ์ 6.67 – ( .00133 X ป ) เป็นเกณฑ์ชำระในสูตร 8 เป็นศีฆรอุจจ์ของพุธในหลักหน่วย, สิบ, ร้อย, พัน, หมื่น เอาจำนวนสำหรับผลรวมของกาลกฟตจากสูตร 8 บวกเข้ากับ 164 (เกณฑ์ศีฆรอุจจ์) แล้วเอาเกณฑ์ชำระบวก ได้เป็นศีฆรอุจจ์ของพุธ.
ตัวอย่าง 47 : หาศีฆรอุจจ์ของพุธในชะตาตัวอย่าง.
ผลรวมของกาลกฤต 6862.578 วัน
จากสูตร 8
สำหรับ 6,000 วัน 73.91
สำหรับ 800 วัน 33.85
สำหรับ 60 วัน 245.54
สำหรับ 2 วัน 8.18
สำหรับ .578 วัน 2.36
เกณฑ์ศีฆรอุจจ์ 164.00
เกณฑ์ชำระ 6.67 – ( .00133 X 18 ) 6.65 +
534.49
เอา 360 ลบ 360 -
174.49
ฉะนั้น ศีฆรอุจจ์ของพุธได้ 174.49
103. ศีฆรอุจจ์ของศุกร์ ศีฆรอุจจ์ของศุกร์สำหรับสมมุติยุคได้ 328°.51
เป็นเกณฑ์ศีฆรอุจจ์ 5 + ( .001 + ป ) เป็นเกณฑ์ชำระในสูตร 9 เป็นศีฆรอุจจ์ของศุกร์ในหลักหน่วย, สิบ,ร้อย พัน, หมื่น เอาจำนวนสำหรับผลรวมของกาลกฤตจากสูตร 9 บวกเข้ากับเกณฑ์ศีฆรอุจจ์แล้วเอาเกณฑ์ชำระลบ ได้เป็นศีฆรอุจจ์ของศุกร์
ตัวอย่าง 48 : หาศฆรอุจจ์ของศุกร์ในชะตาตัวอย่าง.
ผลรวมของกาลกฤต 6862.578 วัน.
จากสูตร 9.
สำหรับ 6,000 วัน 252.88
สำหรับ 800 วัน 201.72
สำหรับ 60 วัน 96.13
สำหรับ 2 วัน 3.20
สำหรับ .578 วัน .92
เกณฑ์ศีฆรอุจจ์ 328.51 +
883.36
เกณฑ์ชำระ 5 + ( .001 X 81) 5.01 -
878.35
เอา 60 ลบทวีคูณ 720
158.35
ดังนั้นศีฆรอุจจ์ของศุกร์ได้ 158.35
104. ศีฆรอุจจ์ของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง ศีฆรอุจจ์ของแต่ละดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง ดังต่อไปนี้ :
ศีฆรอุจจ์ของ อังคาร 181.23
พุธ 174.49
พฤหัสบดี 181.23
ศุกร์ 158.35
เสาร์ 181.23
105. เจษฎาเกณฑ์ของดาวเคราะห์ เจษฎาเกณฑ์หรือเรียกว่าคีฆรเกณฑ์ หาได้ตามกฎต่อไปนี้ :
|
มัธยฑีฆ. ดาวเคราะห์ + สัตยฑีฆ. ดาวเคราะห์
2
= เจษฎาเกณฑ์
ตัวอย่าง 49 : หาเจษฎาเกณฑ์ของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง
ดาวเคราะห์ คีฆรอุจจ์ – มัธยทีฆ. + สัตยฑีฆ. = เจษฎาเกณฑ์
2
|
|
อังคาร 266.34 + 229.82
2
พุธ 181.23 + 180.55
2
พฤหัสบดี 66.91 + 83.58
2
ศุกร์ 181.23 + 170.07
2
เสาร์ 111.23 + 124.85
2
(สัตยฑีฆ. = ฑีฆันดรของดาวเคราะห์เมื่อเกิด เมื่อเอามัธยฑีฆ.บวกกับสัตยฑีฆ. และเอา 2 หารผลบวก แล้วเอาผลหารไปลบศีฆรอุจจ์ถ้าลบไม่ได้ให้เอา 360 บวกเข้ากับศีฆรอุจจ์ก่อนแล้วจึงผลหารไปลบผลบวกนั้น เหลือเท่าใดเป็นเจษฎาเกณฑ์)
160. ชำระเจษฎาเกณฑ์ ถ้าเจษฎาเกณฑ์ไม่เกิน 180 องศาให้คงไว้ แต่ถ้ามากกว่า 180 องศา ให้เอาเจษฎาเกณฑ์นั้นไปลบ 360 องศา ผลลบเป็นเจษฎาเกณฑ์โศธนะ (เจษฎาเกณฑ์ชำระแล้ว)
ตัวอย่าง 50 : หาเจษฎาเกณฑ์โศธะของดาวเคราะห์ ในชะตาตัวอย่าง.
ดาวเคราะห์ เจษฎาเกณฑ์ 360 – เจษฎาเกณฑ์ (ถ้าเจษฎา – เจษฎาเกณฑ์โศธนะ
เกณฑ์มากกว่า 180)
อังคาร 293.15 360 – 293.15 = 66°.85
พุธ 353.60 360 – 353.60 = 6°.40
พฤหัสบดี 105.99 - - - - - - - - - = 105°.99
ศุกร์ 342.70 360 – 342.70 = 17°.30
เสาร์ 63.19 - - - - - - - - - = 63°.19
107. เจษฎาพละ เจษฎาพละเป็น 0 เมื่อเจษฎาเกณฑ์เป็น 0 ถ้าเจษฎาเกณฑ์เป็น 180 ได้เจษฎาพละ 60 ษัษติอางศ ถ้าอยู่ในระหว่างนั้นหาพละได้ตามกฎนี้ :
|
เจษฎาเกณฑ์โศนธะ
3
ตัวอย่าง 51 : หาเจษฎาพละของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง.
ดาวเคราะห์ เจษฎาเกณฑ์โศธนะ ÷ 3 เจษฎาพละ
อังคาร 66.85 ÷ 3 = 22.28
พุธ 6.40 ÷ 3 = 2.13
พฤหัสบดี 105.99 ÷ 3 = 35.33
ศุกร์ 17.30 ÷ 3 = 5.76
เสาร์ 63.19 ÷ 3 = 21.06
(เอาเศษทศนิยมไว้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น)