บทที่ 4
ทิคะพละ
41. ทิคะพละ ทิคะพละหมายความว่าดาวเคราะห์ได้กำลังจากที่สถิตในทิศของดวงชะตา.
42. ทิคะหรือทิศ ราศีลัคน์หรือเรือนที่ 1 เป็นทิศตะวันออก เรือนที่ 10 เป็นทิศใต้ เรือนที่ 7 เป็นทิศตะวันตก เรือนที่ 4 เป็นทิศเหนือ.
43. ดาวเคราะห์และทิศ ดาวเคราะห์ที่อยู่ในทิศที่เหมาะสม แก่สภาพของดาวเคราะห์ได้หรือเกิดกำลังจากทิศที่สถิต พฤหัสบดีและพุธได้ทิคะพละเต็มที่เมื่ออยู่ในเรือนที่ 1 หรือร่วมลัคน์ อาทิตย์ และอังคารได้ทิคะพละเต็มที่ในทิศใต้คือมีกำลังเมื่ออยู่ในเรือนที่ 10 เสาร์ได้ทิคะพละในเรือนที่ 7 (ทิศตะวันตก) จันทร์ศุกร์มีกำลังในทิศเหนือคือเมื่ออยู่ในเรือนที่ 4.
44. ทิคะพละเรขา จะเห็นได้จากข้อ 43 ว่าถ้าดาวเคราะห์ได้ครองทิศที่เหมาะสมดาวเคราะห์นั้นจะได้ทิคะพละจากการครองอยู่ในทิศนั้น และทิศนั้นเป็นจุดทิคะพละของดาวเคราะห์นั้น และจุดตรงข้ามเป็นจุดปราศจากทิคะพละคือจุดหมดกำลังสำหรับดาวเคราะห์นั้นเช่นอาทิตย์ได้ทิคะพละในทิศใต้ (เรือนที่ 10) ณ ที่นี้เป็นที่ ๆ มีกำลังมากที่สุดสำหรับอาทิตย์ในทิคะพละ แต่อาทิตย์จะไม่ได้ทิคะพละเมื่ออยู่ในทิศเหนือ (เรือนที่ 4) คือจุดปราศจากกำลังสำหรับอาทิตย์ได้แก่ เรือนที่ 4 เท่ากับ 180 องศาจากจุดมีกำลังเป็นจุดหมดกำลัง เรขาของสุริยวิถีระหว่างทีฆันดรของดาวเคราะห์และจุดปราศจากกำลังเรียกว่าทิคะพละเรขา.
เมื่อดาวเคราะห์เข้าถึงจุดสูงของกำลังได้ทิคะพละเต็มที่ แลในระหว่างจุดสูงสุดของทิคะพละถึงจุดหมดกำลังจะเสียกำลังไปทีละเล็กละน้อย.
อาจาริยประสารากล่าวว่า เอาทีฆ. ของเรือนที่ 4 ลบจากทีฆ. ของอาทิตย์และอังคารทีฆ. ของเรือนที่ 7 ลบจากทีฆ. ของพฤหัสบดีและพุธ ทีฆ. ของเรือนที่ 10 ลบจากทีฆ. ของศุกร์และจันทร์ เมื่อผลแตกต่าง (ผลลบ) มากกว่า 180 องศาให้เอาไปลบจาก 360 องศา ผลได้เป็นทิคะพละเรขาสุทธิ.
ดังนั้น ทิคะพละเรขา = ทีฆ. ดาวเคราะห์ – จุดหมดกำลังของดาวเคราะห์.
ถ้าผลลัพธ์นั้นมากกว่า 180° ให้เอาไปลบจาก 360°
45. พิจารณาหาทิคะพละ ถ้าดาวเคราะห์อยู่ในทิศที่ได้ทิคะพละเต็มที่ได้ 60 ษัษติอางศ ถ้าอยู่ที่จุดหมดกำลังจะได้เป็น 0 ทิคะพละ ถ้าอยู่ระหว่างจุดทั้ง 2 จะต้องถูกลดลงไปตามส่วนของดุลยภาค ทิคะพละ เลขาของดาวเคราะห์หารด้วย 3 เป็นทิคะพละ เช่นในชะตาตัวอย่าง เสาร์อยู่ในเรือนที่ 7 (ภวะมัธยมของเรือนเป็นจุดกำลังเต็มที่เสมอ) ภวะมัธยมของเรือนที่ 7 ได้ 114 องศา 57 ลิปดา ดังนั้นจุดหมดกำลังได้ 114° 57 + 180° 00" = 299 - 57 และทิคะพละเรขาของเสาร์เท่ากับ 124° 51' - 294° 57 = 170° 6' (ผลแตกต่างสุทธิ เอา 3 หารจำนวนนี้ได้ทิคะพละของเสาร์เป็น 56.7 ษัษติอางศ คือดังนี้ :
170° 6' ÷ 3 = 56 เศษ 2 องศา = 120 ลิปดา.
(120' + 6' ) ÷ 3 = 52
42 = องศา = 42/60 ได้เป็น 56.7 ษัษติอางศ
ตัวอย่าง 14 : ทิคะพละเรขาของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง
ดาวเคราะห์ ทีฆ. จุดหมดกำลัง ทิคะพละเรขา
อาทิตย์ 179° 8' 34° 55' 144° 13'
จันทร์ 111° 40' 214° 55' 96° 45'
อังคาร 229° 49' 34° 55' 165° 6'
พุธ 180° 33' 114° 57' 65° 36'
พฤหัสบดี 83° 35' 114° 57' 31° 22'
ศุกร์ 170° 4' 214° 55' 44° 51'
เสาร์ 124° 51' 294° 57' 174° 6'
(ผลลัพธ์ได้เป็นความแตกต่างสุทธิ คือ เมื่อทีฆ. ดาวเคราะห์ – จุดหมดกำลังได้มากกว่า 180 องศา เอาผลลัพธ์นั้นไปลบจาก 360 องศา ได้เป็นความแตกต่างสุทธิ).
ตัวอย่าง 15 : ทิคะพละของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง.
ดาวเคราะห์ ทิคะพละเรขา ÷ 3 = ทิคะพละ
อาทิตย์ 114° 13' ÷ 3 = 48.07
จันทร์ 96° 45' ÷ 3 = 32.25
อังคาร 165° 6' ÷ 3 = 21.03
พุธ 65° 36' ÷ 3 = 21.86
พฤหัสบดี 31° 22' ÷ 3 = 10.45
ศุกร์ 44° 51' ÷ 3 = 14.95
เสาร์ 170° 6' ÷ 3 = 56.70