โหราศาสตร์ว่าด้วยดวงคู่สมพงษ์ (มหากูฏะ)
ในการพิจารณาการแต่งงานตามแบบโบราณของอินเดียมีหลักการหลักการหนึ่งเรียกการพิจารณาหาหน่วยของการปรองดอง (ของคู่สมรส) เรียกว่า”มหากูฏะ”หรือการดูคู่สมพงษ์นั่นเอง ในบริบททางวัฒนธรรมชาวอินเดียมาแต่โบราณการหาคู่ครองให้บุตรชาย-หญิงมักจำเป็นจะต้องมีเรื่องราวของโหราศาสตร์อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ นับตั้งแต่การดูดวงชาตาคู่สมพงษ์ของบ่าวสาว การกำหนดพิธีสูงขอ หมั้นหมาย จนกระทั่งการหาดิถีเรียงหมอนให้กับคู่สมรส นัยเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในการดำรงเผ่าพันธ์วงศ์ตระกูลและความเจริญรุ่งเรืองสุขสวัสดีของคู่สมรสให้อยู่กินกันจนแก่เฒ่าและมีลูกหลานสืบวงศ์ตระกูลต่อไป
ในสมัยโบราณหนุ่มสาวมิอาจที่จะเลือกคู่กันเองได้ การพิจารณาการแต่งงานอาจจะมีการหมั้นหมายกันไว้ตั้งแต่ยังเล็ก(โดยพิจารณาจากดวงชาตาของทั้งสองฝ่าย) จนทั้งสองมีอายุจนวัยที่สามารถแต่งงานกันได้ สมัยนั้นอาจจะแต่งกันตั้งแต่อายุรุ่นๆ 14-15 ปีกันเลยที่เดียว ที่น่าแปลกว่าสถิติการอย่าร้างนั้นแทบจะไม่มีเลย หรือการตายการพลัดพรากเป็นหม้ายกันตั้งแต่ยังหนุ่มยังสาวนั้นเรียกว่าน้อยมากๆ อาจจะเป็นเพราะหลักการและทฤษฎีทางโหราศาสตร์ระบบนี้ได้วางหลักเกณฑ์ตั้งแต่พิจารณาดวงชาตาไว้เป็นหลักเริ่มแรกไว้ว่า เจ้าชาตาทั้งสองฝ่ายจะต้องมีดวงชาตาที่ไม่เป็นคนอายุสั้น และจะต้องไม่มีดวงชาตาในโยคเกณฑ์ร้ายจนกระทั่งให้อีกฝ่ายจะต้องเป็นหม้ายไปเสียก่อน (ซึ่งหลักการนี้โหราศาสตร์สามารถพิจารณาได้อย่างชัดเจน)ก่อนที่นำมาผูกดวงชาตาเพื่อหาคู่สมรสที่เหมาะสมและถูกต้อง
และเมื่อได้นำหลักการทางโหราศาสตร์มาประกอบการพิจารณาความเหมาะสมของคู่สมรสนั้นละเอียดและลึกซึ้งยิ่งนัก
โดยหลักการและอุดมคติในการมีชีวิตตายนัยแห่งศาสนาพรามณ์ได้วางหลักเอาไว้ใน 4 หลักใหญ่ๆและอุดมคติในการครองชีวิตคู่ก็เป็นไปโดยนัยนี้ คือ
- ในทางธรรม(ประพฤติดี)
- ในทางอรรถ (ทรัพย์สิน)
- ในทางกาม( กามรมณ์)
- ในโมกษ (พ้นจากการกระทำปาป)
นี่เป็นหลักใหญที่ต้องคำนึงถึงในขั้นแรก ส่วนเรื่องปลีกย่อยอื่นพิจารณาให้ดูเหมาะกับความประสงค์ โดยทั่วไปความสำคัญที่ควรสนใจมีความเหมาะสมกันทั้งร่างกายและจิตใจ กรรมพันธ์และเชื้อสาย ความสอดคล้องต้องกันในทางกามรมณ์และฐานะทางสังคมและทางเศรษฐกิจ ส่วนหลักการและกรรมวิธีทางโหราศาสตร์เพื่อที่ให้ได้ผลแห่งความปรองดองของคู่สามี-ภรรยานั้นเรียกว่า “มหากูฏะ” โดยมีหลักอยู่ 12 ข้อดังนี้
- ทินะกูฏะ ใช้พิจารณาหาค่าหน่วยกำลังของความปรองดองของคู่สมรส
- คณะกูฏะ ใช้พิจารณาหาค่าหน่วยกำลังของลักษณะนิสัย อารมณ์ และความประพฤติของคู่สมรส
- มาเหนทรกูฏะ ใช้พิจารณาหาค่าหน่วยกำลังของความมีอายุยืนและสวัสดิภาพของคู่สมรส
- สตรีทีรฑกูฏะใช้พิจารณาหาค่าหน่วยกำลังของความเคารพเชื่อฟังของคู่สมรส
- โยนิกูฏะ ใช้พิจารณาหาค่าหน่วยกำลังของความรู้สึกและอารมณ์ทางเพศที่สัมพันธ์กันของคู่สมรส
- ราศีกูฏะ ใช้พิจารณาหาค่าหน่วยกำลังของความมีอายุ การกำเนิดบุตร ทรัพย์สิน และความสุขโดยทั่วไปของคู่สมรส
- ครหะไมตรีกูฏะ ใช้พิจารณาหาค่าหน่วยกำลังของคุณค่าทางด้านจิตใจความมีน้ำใจและความเอื้ออาทร เป็นมิตรต่อกัน ของคู่สมรส
- วัศยะกูฏะ ใช้พิจารณาหาค่าหน่วยกำลังของความปรองดองของความรับผิดชอบต่อกันตามหน้าที่ของคู่สมรส และการปฎิบัติต่อกันและกัน
- รัชชุกูฏะใช้พิจารณาหาค่าหน่วยกำลังของระยะเวลาที่ใช้ชีวิตสมรสร่วมกันและคุณความดีที่มีลักษณะพิเศษต่อกันของคู่สมรส
- เวทะกูฏะใช้พิจารณาหาค่าหน่วยกำลังของการให้โทษแก่กันและกันและการเบียดเบียนกันในด้านอื่นๆของคู่สมรส
- วรรณะกูฏะใช้พิจารณาหาค่าหน่วยกำลังของจิตใจที่มีความถือตัว เย่อหยิ่ง ทนงตัว(ในตระกูลหรือตนเอง)ของคู่สมรส
- นทิกูฏะใช้พิจารณาหาค่าหน่วยกำลังเกี่ยวแก่ด้านพันธุกรรม กรรมพันธ์ และเชื้อสายของคู่สมรส
อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง การหาฤกษ์แต่งงาน