ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในจีน
หลักฐานเหตุการณ์วันประสูติ-ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
ที่ถูกบันทึกโดยราชวงศ์จีน ในสมัยพุทธกาล
ภาพอักษร ศิลาจารึกระบุว่า มีแผ่นดินไหวและแสงสว่าง 5 สี บนท้องฟ้า
สมัย ราชวงศ์โจว มีการบันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์อัศจรรย์ที่เกิดขึ้นจริงในสมัยนั้น เหตุการณ์หนึ่งบอกว่า
“ในสมัย กษัตริย์ โจวเจา (โจวเจาหวัง แปลว่า กษัตริย์โจวเจา) ปีที่ 26 เดือน 4 วันที่ 8 (นับแบบจีนโบราณ) ได้เกิดเหตุในเมืองจีนคือ1.น้ำขึ้นในแม่น้ำ(ซึ่งปกติเป็นช่วงน้ำลด) 2.น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติมีน้ำผุดขึ้นมาจนล้นทุกแห่ง3.แผ่นดินไหว 4.มีแสงสว่าง 5 สี (สำนวนจีนแปลว่าหลายสี) พวยพุ่งไปบนท้องฟ้า ส่องสว่างไปถึงยังนอกอวกาศ สุดลูกหูลูกตา ทำให้กษัตริย์ โจวเจา รู้สึกประหลาดใจ จึงสอบถามอำมาตย์ว่าเกิดอะไรขึ้น อำมาตย์ได้กราบทูลตอบว่า “ในทิศตะวันตก(ของจีน)ได้มีอริยบุคคล บังเกิดขึ้นแล้ว” กษัตริย์ โจวเจา จึงถามว่า “แล้วเราจะได้พบคำสอนของท่านผู้นั้นหรือไม่” อำมาตย์ตอบว่า “คำสอนของท่าน(อริยบุคคลนั้น)จะเผยแผ่เข้ามาในแผ่นดินจีนอีก 1 พันปีข้างหน้า” กษัตริย์ โจวเจาจึงมีรับสั่งให้บันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ โดยแกะสลักลงบนแผ่น ศิลาประวัติศาสตร์จีน”
80 ปีต่อมา ถึงยุคกษัตริย์ โจวมู่ ก็มีการบันทึกเหตุการณ์แปลกประหลาดอีก คือได้เกิดเหตุการณ์ แผ่นดินไหว มีลมพัดแรงในเมืองจีนและแสงสว่างคล้ายสีรุ้ง 12 เส้น ส่องมาจากทิศตะวันตก ทาบอยู่บนท้องฟ้าของเมืองจีนตลอดคืน อำมาตย์ทำนายว่า “กายหยาบของอริยบุคคลกำลังแตกดับจากโลกนี้ไป”
ซึ่งวันที่ถูกจารึกในสมัย กษัตริย์โจวเจา ได้ตรงกับ วันประสูติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ส่วนวันที่ถูกจารึกในสมัย กษัตริย์โจวมู่ ได้ตรงกับ วันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่วันประสูติและปรินิพพานของพระพุทธเจ้าได้เกิด แผ่นดินไหวไปทั่วโลก ซึ่งชาวจีนก็ได้บันทึกไว้ในศิลาจารึกประวัติศาสตร์ของประเทศด้วย
ส่วนในวันตรัสรู้นั้น ได้มีหลักฐานบันทึกไว้ในบทขยายความว่า ก็เกิดเหตุมีแสงสว่างเกิดมาถึงเมืองจีนเช่นกัน 1 พันปีต่อมา ถึงยุคราชวงศ์ ฮั่น ของกษัตริย์ ฮั่นหมิงตี้ พระองค์ฝันเห็นบุรุษในรูปกายทองคำ สูงใหญ่ มีรัศมีเรืองรองกระจายไปทั่ว อำมาตย์ผู้ซึ่งชำนาญในประวัติศาสตร์ของจีน ทำนายฝันว่า “นั่นเป็นภาพของพระศาสดาพระองค์หนึ่ง ที่อยู่ทางทิศตะวันตก ที่เรียกว่า “ฝอ” หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสมัยที่พระองค์มีพระชนม์ชีพก็อยู่ในบริเวณประเทศอินเดีย” อำมาตย์คนที่ 2 ผู้จบการศึกษาสูงสุด กล่าวเสริมว่า “ใช่เลยพระเจ้าข้า เพราะในยุคของกษัตริย์โจวเจา ก็มีบันทึกในศิลาจารึก เรื่องอริยบุคคลในทิศตะวันตกนี้ไว้ ซึ่งตอนนี้ก็ครบ 1 พันปีพอดี ได้ถึงเวลาที่ศาสนาของพระองค์ ควรจะเข้ามาในจีนแล้ว เป็นบุญของพวกเราชาวจีนแล้ว”
กษัตริย์ฮั่นหมิงตี้ จึงส่งคณะทูตอันประกอบด้วยขุนนางผู้มีความรู้จำนวน 18 คนไปอัญเชิญพระพุทธศาสนามาที่เมืองจีน โดยใช้เวลาเดินทางไปกลับถึง 3 ปี ซึ่งคณะทูตทั้ง 18 ได้พบกับพระภิกษุในพระพุทธศาสนาชาวเอเชียกลางผสมกับอินเดีย จำนวน 2 รูป จึงได้นิมนต์ท่านมาที่จีนพร้อมกับพระสูตร พระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูป
เมื่อกลับมาถึงจึงได้มีการแปลพระสูตรเป็นภาษาจีนครั้งแรกที่ วัดม้าขาว (ซึ่งปัจจุบัน วัดนี้มีอายุถึง 1,900 ปี แต่เดิมเคยเป็นของความเชื่ออื่นมาก่อน) จึงถือว่าวัดนี้เป็นต้นกำเนิดพระพุทธศาสนาในประเทศจีน
***อ้างอิงจาก ซื่อคู่เฉวียนซู : จึปู้ เล่มที่ 21 ซึ่งเป็นหนังสือชุดที่รวบรวมตำราความรู้ของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว จนถึง ยุคราชวงศ์ชิง
ชื่อหนังสือ สาระสำคัญซื่อคู่เฉวียนซู : จึปู้ เล่มที่ 21 , คณะผู้เรียบเรียง ยวี่หมินจงและคณะ , โรงพิมพ์ ฉางชุน จี่หลินเหยินหมิน, ความหนา 405 หน้า, ISBN7-206-02629-X
書 名 四庫全書薈要:子部 第二十一冊
ISBN和價格 7-206-02629-X (精) 68.00
責 任 者 於敏中等編修
出版發行項 長春: 吉林人民出版社, 2002.5
物理描述項 405頁 26厘米
บทธรรมบรรยายของพระธรรมาจารย์ซวีอวิ๋นมหาเถระ (虚云老和尚) เรื่อง ยุคปัจจุบันคือยุคปลายของพระศาสนา ให้รีบบำเพ็ญเพียร และกล่าวถึงพุทธศักราชฝ่ายจีน กับฝ่ายเถรวาทขัดแย้งกัน ในสมัยที่ประชุมจัดงาน25 พุทธศตวรรษที่ พม่า แต่ที่ประชุมลงมติให้ใช้พุทธศักราชแบบเถรวาท ซึ่งทางมหายานไม่เห็นด้วย
ผู้ที่อัญเชิญพุทธศาสนาเข้าประเทศจีนคือ พระหลันฝ่าหลันมหาเถระ
去佛灭的年代还不远。当时白马寺东,夜有异光,
ห่างจากสมัยพุทธกาลไม่นานนัก คืนนั้นวัดไป๋หม่าซื่อ (วัดม้าขาว) กลางคืนปรากฏแสงเจิดจรัส ทางทิศตะวันออก
摩腾指出为阿育王藏佛舍利之处,明帝建塔其上。
พระธรรมาจารย์หมอเถิง กล่าวว่าเป็นสถานที่ที่พระเจ้าอโศก บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ให้พระเจ้าหมิงตี้สร้างพระสถูปครอบเอาไว้
佛道角试优劣,摩 腾踊身虚空,广现神变,法兰出大法音,
พุทธมรรคล้ำเลิศจะสถิตย์สถาพร ณ ที่แห่งนี้ พระหมอเถิงสำแดงฤทธิ์เหาะขึ้นในอากาศ แสดงฤทธิ์นานับประการ พระฝ่าหลันเถระก็กล่าวอนุโมทนาคาถา
宣明佛法。二尊者的智慧神通难道说不清年月?
ประกาศพุทธธรรมให้ปรากฏ ในบันทึกเหล่านี้แสดงว่าท่านพระมหาเถระทั้งสองเป็นผู้ทรงฤทธิ์ ทรงปัญญาญาณ แต่เหตุไฉนจึง ไม่กล่าวถึงเดือนปีให้ชัดเจน
后来的高僧,如罗什、法显、玄奘、道宣,虽有几种传说,
มหาเถระในสมัยต่อมา เช่น หลอเสิน ฝ่าเสี่ยน เซวียนจ้าง เต้าเซวียน ต่างก็มีบันทึกไว้ในเรื่องนี้แตกต่างกัน
และก็ไม่มีมติใดใดให้มีการเปลี่ยนแปลงวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน จวบจนกระทั่งปัจจุบัน(หมินก๊กปีที่ 2)
章太炎等居士在北京法源寺召开无遮大会,
จางไท่เหยียนและเหล่าอุบาสก ได้จัดการประชุมใหญ่ที่ วัดฝ่าหยวนซื่อ ปักกิ่ง
讨论佛的纪念日,议决四月初八日为浴佛节。
ได้มีการแสดงฉันทามติในที่ประชุม ประกาศให้วันขึ้น 8 ค่ำเดือน 4 ตามปฎิทินจัทรคตจีนเป็นวันวิสาขบูชา
现在世界多用耶历,而政府亦没有叫佛教改用耶历,
ปัจจุบันนี้ทั่วโลกต่างใช้ปฎิทินที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ก็ถูกทางรัฐบาลให้ยอมรับปฎิทินที่ไม่ถูกต้องดังกล่าว
我主张应用自己的佛历。是与不是,还以遵古为宜,改了不好。
อาตมาแนะนำว่าเราควรใช้ปฎิทินพุทธศาสนาของเราเอง จะใช่หรือไม่ก็ตาม แต่เป็นการแสดงเคารพในบูรพาจารย์ที่ยึดถือมาแต่โบราณ
หากเปลี่ยนแล้วจะไม่ดี ไม่เหมาะสม
而他们硬要把二月八日、四月八日、二月十五日、
แล้วพวกเขาจะเปลี่ยนจาก วันขึ้น 8ค่ำเดือน 2 ขึ้น 8ค่ำเดือน 4 ขึ้น 15ค่ำเดือน
腊月八日古有的纪念日都不要了,他们不用四月八日作浴佛节,
และวันขึ้น 8ค่ำเดือน 12 ที่บันทึกและยึดถือมาแต่โบราณ ให้ยกเลิกทั้งหมด พวกเขาไม่เอาวันขึ้น 8ค่ำเดือน 4
改四月十五才是浴佛节。
แต่ให้เปลี่ยนเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 (จีน) เป็นวันวิสาขบูชาแทน
《梵网律》属华严时,《四分律》属阿含时,都要被他们毁了。
หากเป็นอย่างนั้น คัมภีร์ฟั่นหว่างลวี่ (คัมภีร์พระวินัย) อยู่ในส่วนของพระสูตรหัวเหยียน และคัมภีร์ซื่อเฟินลวี่ ที่อยู่ในส่วนของพระสุตตันตปิฎก
ถูกพวกเขาฉีกทำลายเสียแล้ว
《百丈清规》由唐至今,天下奉行,他们要改;汉朝到今,
คัมภีร์ไป๋จ้างชิงกุย ที่จารึกสมัยราชวงศ์ถัง ที่เราเคารพถึดถือปฎิบัติมา ก็ถูกพวกเขาแก้ไขเสียแล้ว
穿的大领衣也要改。你看是不是末法?因 此和他们争论,
เสื้อชุดยาว ที่ใช้กันราชวงศ์ฮั่นจนถึงปัจจุบันก็ต้องเปลี่ยน พวกเธอดูสิว่านี่ใช่เป็นยุคเสื่อมธรรมหรือไม่ ดังนั้นหากเราไปโต้แย้งกับพวกเขา
说你们要改,你改你的。佛是印度人,印度一年分三季,
หากพวกคุณจะเปลี่ยน คุณก็เปลี่ยนขอคุณไปเถอะ พระพุทธองค์เป็นชาวอินเดีย อินเดียปีหนึ่งมีสามฤดูกาล
一季四个月。我国一年分四季,一季三个月。我国有甲子分年号,
ฤดูกาลละ4เดือน แต่ประเทศจีนของเรา 1ปีมี 4ฤดูกาล 1ฤดูมี 3 เดือน ประเทศจีนของเรามีวิธีนับศักราชแบบ "ลักจับกะจื้อ"
印度没有,所以改朝换 代,未免不错乱,故弄不清楚。玄奘在印度十八年,
แต่อินเดียไม่มี ดังนั้นเมื่อเปลี่ยนยุคเปลี่ยนราชวงศ์ ก็ไม่สับสนคลาดเคลื่อน พระถังซำจั๋ง (เซวียนจั้ง) อยู่อินเดียถึง 18ปี
也未曾确定了年代。前人行了一两千年的四八浴佛腊八粥,
ก็ไม่เคยกล่าวถึงวันเดือนปีที่ชัดเจน ของวันประสูติของพุทธองค์ บรรพชนเราถือปฎิบัติวันวิสาขะบูชากันมาแล้วกว่า 2000 ปี
一旦改了不方便,我们何苦自己要改呢?
ไม่เพียงแต่เปลี่ยนแล้วไม่เหมาะสม แล้วพวกเราจะเปลี่ยนทำไมกันเล่า
และบางคนสรุปว่าพุทธปรินิพพานอาจจะประมาณ 1887 ปีก่อนคริตกาล หากนับปัจจุบัน ปีนี้จะเป็นปี พศ. 1887+2011 = พ.ศ.3898 แล้ว ! น่ากลัวไหม (หากข้อมูลนี้เป็นจริง)
I found different years cited as Buddha's birth year. They were 560, 563, 564, 623 and 624 BCE. Almost all sources cited the full moon of May as the birth date, although 2 sources cited April 8. The May full moons for these years are: May 7, May 11, May 21, May 14 and May 25. April 8 was a full moon in 560 BCE.
The Cambridge and Oxford histories of India accept 483 B.C as the date of Buddha's nirvana. He was 80 years old when he died, so this puts his birth year at 563 BCE.
If we accept 563 BCE as Buddha's birth year, his birth date would be May 11.
However, in January 2006 an Indian historian challenged the historical assertion that Buddha was born between 560-624 BCE. He cites evidence that Buddha was born in 1887 BCE. Assuming he was born on the May full moon, his date of birth would be May 8, 1887 BCE.
from Buddhist Channel | Buddhism News, Headlines | Books | Did Buddha live in 17th century B.C?
"author Kota Nityananda Sastry in his latest book 'Age of Lord Buddha' makes a critical appreciation of available data compiled by Western historians who, he thinks, made a mess of Indian history.
Sastry quotes his father Kota Venkatachelam's treatise 'Age of Buddha, Mililnda & Amtiyoka', which establishes that Buddha lived between 1887 B.C and 1807 B.C.
Venkatachelam's book 'The Plot in Indian Chronology' had gone into the history and the missing links in the chronology of events in Indian history.
Sastry states that Western scholars arbitrarily skipped 12 centuries of Indian history because their 'hypothesis' about Alexander's invasion did not match with centuries-old Indian chronology."
And in my opinion, this sounds like just the sort of thing that eurocentric British historians would do.
"The author asserts that Buddha was the contemporary of Kshemajit, Bimbisara and Ajatasatru, the 31st, 32nd and 33rd kings of Magadh respectively. This has been corroborated by the Puranic as well as Buddhist historical evidence, he adds.
Ultimately, Dr Sastry quoting evidences comes to the conviction that Lord Buddha was born in 1887 B.C and attained Nirvana in 1807 B.C."
see Buddhist Channel | Buddhism News, Headlines | Books | Did Buddha live in 17th century B.C?
Read more: Answers.com - What is Buddha's date of birth