ดาวอุปเคราะห์ อุปะเกตุ(उपकेतु) มีหลายชื่อดังนี้ เช่น สิขิ (सिखि) หรือ ธวัช หรือ ธง (ध्वज)เป็นดาวอุปเคราะห์ดวงที่ 5 หรือดวงสุดท้ายในกลุ่มธูมะ (กลุ่มธูมะ ก็คือ ดาวอุปเคราะห์-อะประการศะ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ดวง)
ผลดี-ร้ายของดาวอุปเคราะห์อุปะเกตุมีดังนี้
5.อุปะเกตุ(इन्द्रचाप) เป็นบุตรของพระเกตุ ซึ่งในภาษาสันสฤตคำว่า “อุปะเกตุ” แปลว่า เวทมนตร์ เทพเจ้าแห่งความรัก นกยูง หรือ ผู้ที่อยู่เหนือกว่าดาวเกตุ
และต่อไปนี้จะกล่าวถึงผลดี ผลร้ายของดาวอุปเคราะห์อุปะเกตุ ที่สถิตในเรือนต่างๆ ในดวงชะตา ซึ่งอ้างอิงจากคัมภีร์พฤหัตปะราศะระ โหราศาสตรา อัธยายะที่ 25 ได้กล่าวไว้ดังนี้
เรือนที่ 1 : เจ้าชะตาจะเป็นคนเก่งรอบด้าน ชีวิตมีความสุข พูดจาดี เป็นกันเอง อัธยาศัยดี
เรือนที่ 2 : เจ้าชะตาจะเป็นพูดดีและน่ารัก, หน้าตางดงาม, เป็นกวี, นักปราชญ์, เป็นคนมีเกียรติ, รู้จักเจียมเนื้อเจียมตัว, มียานพาหนะ.
เรือนที่ 3 :เจ้าชะตาจะเป็นคนขี้เหร่ โหดร้าย ผอมบาง ยากจน และมีโรคร้ายแรง
เรือนที่ 4 :เจ้าชะตาจะเป็นคนมีเสน่ห์ มีคุณธรรม อ่อนโยน สนใจในพระเวทและมีความสุขอยู่เสมอ
เรือนที่ 5 :เจ้าชะตาจะเป็นคนมีความสุข เชี่ยวชาญในศิลป์ มีความรอบรู้ในธรรมะ เฉลียวฉลาด มีวาทศิลป์ และเคารพผู้อาวุโส
เรือนที่ 6: เจ้าชะตามักจะเป็นคนชอบสร้างปัญหาให้กับญาติของแม่ สามารถเอาชนะศัตรู มีญาติมากมาย บุคลิกองอาจ สง่างาม และเฉลียวฉลาด
เรือนที่ 7: เจ้าชะตาจะเป็นนักพนัน หมกมุ่นในโลกีย์ ชอบเสพกาม และชอบเที่ยวโสเภณี
เรือนที่ 8 :เจ้าชะตาจะเป็นคนสนใจเรื่องโลกีย์ เป็นคนบาป ไร้ยางอาย ชอบตำหนิผู้อื่น
เรือนที่ 9 :เจ้าชะตาจะได้สวมใส่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จิตใจเบิกบาน เอื้ออาทร ชำนาญในศาสนกิจ
เรือนที่ 10 :เจ้าชะตาจะเป็นคนมีความสุข มีลาภ และลุ่มหลงในสตรี เป็นคนใจบุญ และเป็นกัลยาณมิตรของพราหมณ์
เรือนที่ 11 : เจ้าชะตาจะเป็นคนได้รับผลประโยชน์อื่นๆมากมาย เคร่งศาสนา มีเกียรติ มั่งมี มั่งคั่ง โชคดี องอาจ และชำนาญในพิธีบูชายัญ
เรือนที่ 12 :เจ้าชะตาจะเป็นคนสนใจในการกระทำบาป เหี้ยมหาญ ไม่น่าเชื่อถือ ไม่รู้จักความปรานี ชอบล่วงประเวณี และเจ้าอารมณ์
หมายเหตุ -นิสัยตามธรรมชาติของดาวอุปเกตุยังคงเป็นไปในทางบวก ยกเว้นในเรือนที่ 7, 8 และ 12
ดาวอุปเคราะห์จะให้ผลเมื่อใด?
ผลของดาวอุปเคราะห์จะปรากฏให้เห็นในช่วง"ทศา"ของดาวเจ้าราศีซึ่งดาวอุปเคราะห์นั้นสถิตย์ นอกจากนี้ดาวอุปเคราะห์ยังแสดงผลได้อีกในช่วง "ทศา" ของดาวเคราะห์ที่สถิตย์อยู่ในระยะใกล้ดาวอุปเคราะห์นั้นๆ ซึ่งแรงเอื้อมหรือระยะความใกล้ที่มักใช้จะต้องพิจารณาจากองศาเดียวกันกับองศาในวรรคต่าง เช่น ใน ทศางศะวรรค หรือ ตฤมศางศะวรรค