Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

Upagraha Part1 Ps

ดาวอุปเคราะห์โดยทั่วไปที่เรารู้จักกันมีเพียงแค่ 2 ดวงเท่านั้น ก็คือราหูและเกตุ แต่ในโหราศาสตร์พระเวทดาวอุปเคราะห์กลับมีจำนวนมากกว่านั้น และถือว่าสำคัญมากในการพิจารณาดวงชะตา และหากเราได้ทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับดาวอุปเคราะห์มากขึ้น ก็จะทำให้การพิจารณาดวงชะตาสามารถทำได้ละเอียดและลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมมาก

 

ดาวอุปเคราะห์ (उपग्रह อุปะคระหะ) นั้นหมายถึงดาวที่เป็นเพียงเงา หรือที่เราเรียกว่า ฉายาเคราะห์ (छायाग्राह  ฉายาคราหะ) ซึ่งจริงๆก็คือเป็นจุดหรือเป็นตำแหน่งที่คำนวณจากโหราคณิตศาสตร์

คำว่า"อุปเคราะห์" (उपग्रह อุปะคระหะ) ในภาษาสันสกฤตหมายถึง การกักขังหรือการถูกจับกุม และดาวอุปเคราะห์ ก็มีพลังเฉกเช่นเดียวกับดาวเคราะห์ทั่วไปที่ส่งอิทธิพลต่อตัวเรา หรือ ควบคุมเรา ส่วนคำว่า"อุปะ"(उप) หมายถึงความต่ำต้อยหรือทำให้ด้อยค่าลง ในขณะที่"คระหะ" (ग्रह) นอกจากหมายถึงดาวเคราะห์แล้ว ยังหมายความอีกว่าเป็นสิ่งที่สามารถบดบังจิตใจของเราได้

ดาวอุปเคราะห์ เป็นคำทั่วไปที่ใช้สำหรับการคำนวณที่แตกต่างกันมีอยู่ 2ประเภท คือ

(1)ดาวอุปเคราะห์ ประเภทหนึ่งเรียกว่า “ดาวอุปเคราะห์อะประการศะ” (अप्रकाशकग्रह อะประกาศะกะคระหะ) ซึ่งมีจุดคำนวณตั้งต้นมาจากองศาของดาวอาทิตย์เป็นหลัก

(2)ดาวอุปเคราะห์ ประเภทที่ใช้”ยาม”เรียกว่า “ดาวอุปเคราะห์กาละเวลา” (कालवेला) โดยคำนวณจากระยะเวลาของกลางวัน (จากพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก)แบ่งออกเป็น 8 ส่วนเท่าๆกัน หรือ 8 ยาม และระยะเวลาของกลางคืน (ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนถึงพระอาทิตย์ขึ้น) แบ่งออกเป็น 8 ส่วนเท่าๆกัน หรือ 8 ยาม เช่นกัน

 

Yama Ramma

ยมราชพยายามหลายครั้งแต่ไม่สามารถเข้าถึงรามและพรากชีวิตพระรามไปได้เพราะมีหนุมานช่วยปกป้องอยู่

 

(1)ดาวอุปเคราะห์อะประการศะ (अप्रकाशकग्रह

หรือชื่อเต็มว่า “อะประกาศะกะคระหะ” ซึ่งเป็นดาวไร้แสง และมีอยู่ทั้งหมด 5 ดวง ซึ่งอุบัติมาจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับของสุริยะเทพ(ดาวอาทิตย์)และภาจักร(พระวิษณุ)  ซึ่งดาวอาทิตย์ก็ได้สร้างอุปเคราะห์อสูรเรียกว่า (1) ธูมะ (धूम) และด้วยปฏิกิริยาสะท้อนกลับของภาจักร (พระวิษณุ) ก็ได้สร้าง (2) วยะตีปาตะ (व्यतीपात) และปฏิกิริยาสะท้อนกลับของวยะตีปาตะ สุริยะเทพก็ได้สร้าง (3) ปะริเวษะ (परिवेष) ขึ้นอีก  ต่อมาพระวิษณุได้ทรงสร้าง (4) อินทระธะนุ (इन्द्रधनु) ขึ้นอีกครั้ง ซึ่งสุริยะเทพทำปฏิกิริยาสะท้อนกลับอีกโดยการสร้าง (5) อุปะเกตุ(उपकेतु)   ขึ้นมาอีก ซึ่งการสร้างดาวอุปเคราะห์ท้ง 5 ดวงดังกล่าวก็มาจากปฏิกิริยาต่อเนื่องซึ่งกันและกัน

**ดาวอุปเคราะห์ทั้ง 5 ดวงนี้บางดวงมีชื่อเดียวหรือหลายชื่อ ดังนี้ 1.ธูมะ(धूम) 2.วยะตีปาตะ (व्यतीपात), หรือ ปาตะ(पात) 3.ปะริเวษะ (परिवेष) หรือ ปะริธิ(परिधि) 4.อินทระธะนุ(इन्द्रधनु)  อินทระจาปะ (इन्द्रचाप) จาปะ(चाप) โกทันทะ (कोदन्द) และ 5.อุปะเกตุ(उपकेतु) หรือ สิขิ (सिखि)

ความหมายโดยย่อของดาวอุปเคราะห์ ตัวอย่างเช่น ธูมะ(धूम)เป็นบุตรชายหัวรุนแรงของมังคลา (ดาวอังคาร) ซึ่ง มังคลา มีลูกชายสองคนคือ มฤตยู (मृत्यु มฤตยุ) ซึ่งหมายถึงความทุกข์ทรมานทางร่างกายและความตาย ในขณะที่ ธูมะ(धूम) หมายถึงความรุนแรงที่เรากระทำต่อผู้อื่น เนื่องจาก ธูมะ(धूम) บ่งบอกถึงจุดองศาที่ร้อนที่สุด ซึ่งในแต่ละดาวเคราะห์ทุกดวงล้วนแต่มีบุตรของตัวเอง

“ธูมะ”(धूम) บ่งบอกถึง ความร้อนแรงและความรุนแรงสูงสุด  ส่วน “วยะตีปาตะ” (व्यतीपात) สร้างความโกลาหลวุ่นวายและคล้ายกับพระราหู  “ปะริเวษะ” (परिवेष)ทำให้เกิดความสกปรก ทำลายปัจจัยแวดล้อมและคล้ายกับอิทธิพลของดาวจันทร์ในเชิงลบมาก

ส่วน “อินทระธะนุ”(इन्द्रधनु) หรือ “อินทระจาปะ” (इन्द्रचाप)  คือ “โกทันทะ” (कोदन्द) (ชื่ออีกชื่อหนึ่งของพระราม) และสามารถสร้างการทำลายล้างที่น่ากลัวได้และคล้ายกับความโกรธของ “ปรศุราม” परशुराम  (ดาวศุกร์ในทางลบ)  ส่วน อุปะเกตุ(उपकेतु)  นั้นคล้ายกับ ดาวเกตุในเชิงลบและสามารถสร้างการทำลายล้างทุกสิ่งให้พินาศได้

Parashurama

ปรศุราม

**ปรศุราม หรือ ปรศุรามาวตาร เป็นอวตารปางที่ 6 ของพระวิษณุ โดยทรงอวตารเป็นพราหมณ์นามว่า "ปรศุราม" (มีอีกชื่อว่า ภควาจารย์) เพื่อลงมาปราบกษัตริย์ผู้ชั่วช้านามว่า "อรชุน" ซึ่งมี 1,000 มือ ซึ่งปรศุรามาวตารถือว่าเป็นปางแรกของพระวิษณุในช่วงทวาปรยุค ซึ่งเป็นยุคที่ 3 จากทั้งหมด 4 ยุคตามความเชื่อของศาสนาฮินดูอันได้แก่ สัตยยุค เตรตายุค ทวาปรยุค กลียุค โดยพราหมณ์ปรศุรามมีอาวุธคือขวานวิเศษซึ่งพระศิวะเป็นผู้ประทานให้แก่ปรศุราม ซึ่งต่อมาปรศุรามได้ใช้ขวานนี้สังหารกษัตริย์อรชุน (กรรตวีรยะ) นั่นเอง

 

(2)ดาวอุปเคราะห์-กาละเวลา

ดาวอุปเคราะห์-กาละเวลา ทำงานโดยส่งอิทธิพลผ่าน"ปัญจะตัตวะ" หรือ "ปัญจภูตะ" หรือธาตุทั้ง 5 ยกเว้น"ชละตัตตวะ" (ธาตุน้ำ) ซึ่งควบคุมการสร้างและการดำรงชีวิต ดังนั้น ในทฤษฎีของมหาฤษีประราสาระ ท่านจึง ละเว้น ดาวศุกร์ และ ดาวจันทร์ โดยไม่กำหนดให้อยู่ภายใต้การครอบครองของ "ยามะ" (यम ช่วงเวลาของพระยม) แต่ในทฤษฎีทั่วไปจะมีดาวศุกร์ และ ดาวจันทร์ ครองยามด้วย

แล้วมหาฤษีประราสาระ ท่านจึงกำหนดชื่ออุปเคราะห์ของแต่ละ”ยามะ” यम (ยาม-ช่วงเวลา)ไว้ดังนี้ ยามะ यम (ยาม)ที่ครอบครองโดยดาวเสาร์ เรียกว่า गुलिक คุลิกะ ,ดาวอาทิตย์ เรียกว่า काल กาละ ,ดาวอังคาร เรียกว่า मृत्यु มฤตยุ ,ดาวพฤหัสบดี เรียกว่า यमघण्ट्क ยะมะฆัณฏกะ และดาวพุธ เรียกว่า अर्धप्रहर อรรธะประหะระ ตามลำดับ

ส่วนองศาหรือตำแหน่งจริงๆของ”อุปเคราะห์-กาละเวลา”ข้างต้นนั้น มีหลายทฤษฎี บางทฤษฎีบอกว่าอยู่ที่จุดเริ่มต้นของยาม บางทฤษฎีบอกว่าอยู่กึ่งกลางยาม (มัทธยมยาม)และอยู่จุดสุดท้ายของยาม

**"ปัญจภูตะ" หรือธาตุทั้ง 5 คือ(1)อากาศะ-อากาศธาตุ (2)อัคนี-ธาตุไฟ (3)ชละ-ธาตุน้ำ (4) ปฐวี-ธาตุดิน และ (5)วายุ-ธาตุลม

 

ตำนานของ ยามะกับกาละ

ตามตำนานกล่าวว่า สุริยะเทพมีโอรสสององค์ องค์แรกคือ ยามะ यम ประสูติจากนางสันธยา सन्ध्या คำว่ายามะ यम หรือพระยมซึ่งก็คือเทพเจ้าแห่งความตายและทำหน้าที่ตัดสินโทษในนรก ท่านจึงมีอีกชื่อว่า “ธรรมะราชา” นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งใน”ท้าวจตุโลกบาล” ตามคติฮินดูทำหน้าที่ปกครองทิศใต้ และพระยมมักจะติดตามสุริยะเทพตลอดเวลาในฐานะพระโอรสของมเหสีองค์แรก

ส่วนโอรสองค์ที่สองคือ “กาละ- काल ” เป็นโอรสองค์ที่สองที่ประสูติจากนางฉายา छाया หรือ”เทพีแห่งเงา”ซึ่งเป็นมเหสีองค์ที่สองของสุริยะเทพ ซึ่งนางฉายาก็ยังเป็นมารดาของพระเสาร์อีกด้วย และกาละกลับเป็นโอรสที่มักไม่เชื่อฟังบิดา(สุริยะเทพ) นอกจากนี้คำว่า “กาละ” ยังหมายถึงกาลเวลาและสีดำได้อีกด้วย

**จตุโลกบาลในคติฮินดู 1.ท้าวกุเวร ปกครองทิศเหนือ 2.พระยม ปกครองทิศใต้ 3.พระอินทร์ ปกครองทิศตะวันออก และ4.พระวรุณ ปกครองทิศตะวันตก


0
Shares