Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

secret Of Navamasa 9 800

การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ถือกำเนิดเกิดมาในระหว่างที่ดาวจันทร์โคจรสถิตย์ในตำแหน่งบางตำแหน่งในจักรราศีนั้นถือว่าให้โทษแก่ดวงชาตา ตัวอย่าง เช่น อุษา ฆะฏิกะ (उषस् घटिका) หรือระหว่าง 1 มหานาทีระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น,  หรือเกิดในช่วงที่จันทร์เสวย พิษะ ฆะฏิกะ  (विष घटिका) มหานาทีพิษ  ฯลฯ  และส่วนตำแหน่งที่เรียกว่า "คัณฑานตะ" นั้นก็ถือเป็นหนึ่งในตำแหน่งที่เป็นอันตรายให้โทษด้วยเช่นกัน ซึ่งบุคคลที่เกิดในช่วงของ "คัณฑานตะ" นั้นชีวิตก็จะต้องประสบกับความวิบัติโชคร้ายและต้องประสบกับความทุกข์ทรมานนานับประการ อีกทั้งจะส่งผลร้ายไปถึงบิดามารดาและพี่น้องของเจ้าชาตาอีกด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า ลักษณะของ"คัณฑานตะ" ในดวงชาตาว่าเป็นลักษณะไหน  

คำว่า "คัณฑานตะ"ประกอบด้วยศัพท์ 2 คำ คือ คัณฑะ+อันตะ ซึ่งคำว่า "คัณฑะ"นั้นหมายถึง "จุด หรือตำแหน่ง" ส่วนคำว่า"อันตะ"นั้นหมายถึงการจบสิ้น

สำหรับในจักราศีจะมีจุดคัณฑานตะอยู่ 3 ตำแหน่ง ซึ่งอยู่ที่ 0 องศาราศีเมษกับ 0 องศาราศีสิงห์ และ 0 องศาราศีพิจิก ซึ่งโหราศษสตร์ไทยจะเรียกว่า “นวางศ์ขาด” ส่วนโหราศาสตร์พระเวทจะเรียกตำแหน่งนี้ว่าเป็น พรหมะรันธระ  ब्रह्मरन्ध्र (ดวงตาของพระพรหมผู้สร้าง) หรือ วิษณุนาภี  विष्णुनाभि (สะดือของพระนารายณ์ ซึ่งแสดงถึงจุดเริ่มต้นของการสร้าง) เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุด คัณฑานตะ นี้ว่าทำไมจึงเป็นจุดอันตรายให้โทษแก่ดวงชาตา ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้และเข้าใจกระบวนการของการสร้างโลกและจักรวาลตามคติของพราหมณ์ในยุคพระเวทก่อนเป็นอันดับแรก

วัฏจักรของกระบวนการสร้างโลกและจักรวาลนั้น การสร้างจะเริ่มต้นจากแรงผลักดันแห่งการวิวัฒนาการ และจบลงไปด้วยการสลายตัวของทุกๆสรรพสิ่งและกลายไปเป็นความว่างเปล่า  วัฏจักรนี้ประกอบด้วยแม่ธาตุทั้งสี่ คือ ธาตุไฟ ธาตุดิน ธาตุลม และธาตุน้ำ ตามลำดับ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ตั้งแต่การสร้างจนไปถึงการสลายไปเกิดขึ้นภายใต้ขอบเขตของอากาศธาตุ

สำหรับในจักรราศีกระบวนการสร้างทั้งหมดจะเกิดขึ้นซ้ำสามครั้งจากจุดเริ่มต้นของราศีเมษ ราศีสิงห์ และราศีธนู ซึ่งทั้งหมดเป็นราศีธาตุไฟ ในขณะที่กลุ่มดาวฤกษ์ หรือนักษัตรบาท หรือ นักษัตรจักร ก็จะตรงกันกับโครงสร้างของราศีจักร โดยจะเกิดขึ้นซ้ำสามครั้งในจักราศีเช่นเดียวกัน โดยเริ่มต้นจาก กลุ่มดาวอัศวินีนักษัตร, มาฆะนักษัตร และ และ มูละนักษัตร  อย่างไรก็ตามก่อนที่กระบวนการสร้างจะเริ่มต้นขึ้นมา ก็จะต้องเริ่มจากจุดสิ้นสุดของราศีธาตุน้ำ นั่นก็คือ ราศีกรกฏ ราศีพิจิก และราศีมีน ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงการแตกทำลายและการสลายตัวของการสร้าง

ดังนั้นจุดเริ่มต้นของราศีธาตุทั้งสามที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนจากขั้นตอนการสลายตัวไปสู่ขั้นตอนการสร้าง ดังนั้นจึงเป็นตัวแทนของจุดเปลี่ยนแปลงทั้งสามจุดในจักรราศี(คัณฑานตะ สนธิ)  ซึ่งแต่ละราศีนั้นก็ได้เริ่มต้นกระบวนการสร้างใหม่ที่เป็นของตัวเองโดยเฉพาะ

ดังนั้นบุคคลใดที่เกิดมาใกล้กับจุดเชื่อมต่อ(คัณฑานตะ สนธิ)เหล่านี้จะถูกอิทธิพลของกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงจากการทำลายสิ่งเก่าๆและเริ่มต้นกระบวนการของการสร้างสิ่งใหม่ และด้วยเหตุนี้เจ้าชาตาจะต้องประสบกับโชคร้ายและความทุกข์ทรมานจากการเปลี่ยนแปลงอันนี้

เช่นเดียวกันกับจุดเริ่มต้นของการสร้างของตำแหน่งในราศีจักร ส่วนนักษัตรจักรจะอยู่ในตำแหน่งนวางศ์บาทแรกของ อัศวินีนักษัตร(ราศีเมษ), มาฆะนักษัตร(ราศีสิงห์) และ มูลละนักษัตร (ราศีธนู) ส่วนจุดสิ้นสุดของการทำลายนั้น อยู่ในตำแหน่ง นวางศ์บาทสุดท้ายของอสิเลษะนักษัตร(ราศีกรกฏ), เชษฐะนักษัตร(ราศีพิจิก) และ เรวดีนักษัตร(ราศีมีน)

ดังนั้น"คัณฑานตะนักษัตร"จึงมีทั้งหมด 6 นักษัตรซึ่งเป็นนวางศ์บาทที่ 4 ของราศีธาตุน้ำ และเป็นนวางศ์บาทแรกของราศีธาตุไฟ ซึ่งธาตุทั้งสองนี้เป็นปรปักษ์ต่อกัน  ดังนั้น "คัณฑานตะ"จะเกิดขึ้น ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนจากราศีธาตุน้ำไปเป็นราศีธาตุไฟ และบุคคลใดก็ตามที่ถือกำเนิดในช่วงระหว่างการเปลี่ยนสภาวะของธาตุที่เป็นปรปักษ์ต่อกันนี้ ชีวิตของเจ้าชาตาจะต้องประสบปัญหาและความทุกข์ทรมานนานาประการ



นักษัตรคัณฑานตะ

การโคจรของดาวจันทร์ในแต่ละนักษัตรจะใช้เวลา 60 ฆฏิกะ หรือ 60 มหานาที (1 ฆฏิกะหรือ 1มหานาทีจะเท่ากับ 24 นาที)   และด้วยเหตุนี้ระยะเวลาของ "นักษัตรคัณฑานตะโทษ" นั้นจะต้องวัดจากช่วงเวลาที่ดาวจันทร์เสวยนักษัตรนี้เป็นหลัก โดยจะนับเวลาเป็นมหานาที(ฆฏิกะ)

สำหรับช่วงเวลาของคัณฑานะที่แน่นอนก็คือ 3 ฆฏิกะแรก(24*3=72 นาที)ของนักษัตรในกลุ่มราศีธาตุไฟ และ 5 ฆฏิกะ สุดท้าย(24*5=120 นาที)ของนักษัตรสุดท้ายของราศีธาตุน้ำ

เนื่องจากระยะเวลาที่จันทร์โคจรผ่านนักษัตรๆหนึ่งจะเท่ากับ 13 องศา 20 ลิปดา (หรือ 800 ลิปดา)ซึ่งเท่ากับ 60 ฆฏิกะ(มหานาที) สำหรับเวลา 3 ฆฏิกะจะเท่ากับ 40  ลิปดาและ 5  ฆฏิกะจะเท่ากับ 66.67 ลิปดา

ดังนั้นในขณะที่การคำนวณหาตำแหน่งคัณฑานตะในจักรราศี ก็คือ  40 ลิปดาแรกของนักษัตรในกลุ่มราศีธาตุไฟ และ 66.67 ลิปดาสุดท้ายของนักษัตรสุดท้ายของราศีธาตุน้ำ

การจำแนกประเภทของ คัณฑานตะ

"คัณฑานตะ" เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างราศีจักรและนักษัตรจักรมาบรรจบกันในจักรราศี  ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้ถือว่าเป็นจุดที่ให้โทษเป็นอย่างมากในจักรราศี และมีการจำแนกประเภท ดังนี้

1.หากเข้าชาตาเกิดอยู่ในเวลากลางวันจะมีการเรียกว่า ปริติ คัณฑาณตะ (หมายถึงพ่อ)

2.หากเจ้าชาตาเกิดอยู่ช่วงกลางคืน เรียกว่า มาตริ คัณฑานตะ (หมายถึงแม่)

เกิดในจุดเชื่อมต่อระหว่าง ราศีมีน  กับ ราศีเมษ  เรียกว่า สวะ คัณฑานตะ (หมายถึงการทำลายตัวเอง),เกิดในจุดเชื่อมต่อระหว่าง ราศีกรกฏ  กับ ราศีสิงห์  เรียกว่า มาตริ คัณฑานตะ (หมายถึงการทำลายมาดา) ,เกิดในจุดเชื่อมต่อระหว่าง ราศีพิจิก กับ ราศีธนู ปริติ คัณฑาณตะ (หมายถึงการทำลายบิดา)

 

อะภุกตะ มูละ คัณฑานตะ

พระมหาฤษีนารทมุนี ได้กล่าวว่ากลุ่มดาวนักษัตรทั้งหกกลุ่มนี้ เรียกว่า อะภุกตะ มูละ คัณฑานตะ (hक्तमगलडंडांत) ซึ่งก็คือห้วงเวลา 2 ฆฏิกะ ของ เชษฐะนักษัตร  และ 2 ฆฏิกะ ของมูลนักษัตร  หากทารกคนใดเกิดในห้วงเวลาดังกล่าวนี้ ควรจะมอบบุตรคนนี้ให้กับคนอื่นเลี้ยงดู   เนื่องจากเด็กถือกำเนิดใน  ปิตริ คัณฑานตะ  ซึ่งดวงของเด็กคนนี้จะทำลายบิดา และจะทำให้บิดาอายุสั้นหรือประสบกับโชคร้ายอื่นๆ  หรือถ้าเด็กยังมีชีวิตอยู่พ่อไม่ควรเห็นหน้าเด็กนานถึง 8 ปีหลังคลอด แต่บางตำราบอกว่า 27 วัน