ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของอารยธรรม มนุษย์รู้ดีว่าอัญมณีมีความหมายในแง่ของอภิปรัชญาแล้ว ก็ยังมีพลังงานที่ส่งผลดีโดยรวมต่อร่างกายและจิตวิญญาณของมนุษย์ วัฒนธรรมโบราณที่สำคัญทั้งหมด เช่น ในยุคของพระเวท หรือในอารยธรรมมายา อียิปต์และกรีก ก็ได้ใช้ก้อนหินที่มีสีสันงดงามและแวววาวเหล่านี้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์และการบำบัดรักษา แต่ในสมัยปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับการใช้อัญมณี กลับเป็นเพียงแค่เครื่องประดับและสิ่งที่แสดงถึงความมั่งคั่งแต่เพียงอย่างเดียว และถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของของแนวคิดของการใช้อัญมณีนี้ แต่ก็กลับมีเหตุผลอันลี้ลับอยู่เบื้องหลัง นอกจากนี้อัญมณีนอกจากจะแลดูแพรพราวสุกสกาวและงดงามแล้ว ก็ยังมีพลังพิเศษเหนือธรรมชาติที่เราอาจคาดไม่ถึง
ในอินเดียโบราณมีการเขียนตำราภาษาสันสกฤตจำนวนมากที่เกี่ยวกับอัญมณีศาสตร์ โดยมีตำรา รัตนะปะรีกษะกะ( रत्नपरीक्षक ) และ ตำรามณี-มาลา ( मणि-माला ) ซึ่งเป็นตำราให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทางด้านอัญมณีศาสตร์ล้วน ๆ
ส่วนนอกจากนี้ก็ยังมีตำรา คระหะ รัตนะ ชโยติษี ( ग्रह रत्न ज्योतिषी ), คัมภีร์คะรุฑะ ปุราณะ ( गरुड़ पुराण), คัมภีร์พฤหัตสัมหิตา (बृहत्संहिता), คัมภีร์อัคนิ ปุราณะ (अग्नि पुराण) ก็เป็นตำราด้านอัญมณีศาสตร์ที่สัมพันธ์กับดาวเคราะห์ต่างๆในโหราศาสตร์พระเวท(ภารตะ)
ดังที่เราทราบกันแล้วว่าตามหลักโหราศาสตร์พระเวทระบุว่า มีอัญมณี 9 อย่างที่เป็นสื่อพลังกับดาวเคราะห์ทั้ง 9 โดยตรงก็คือ
“อัญมณี” ได้มีการกล่าวถึงอย่างชัดเจนในหลาย ๆ แห่งในคัมภีร์พระเวท เช่น ได้กล่าวไว้ว่า "มีความมันวาวด้านใน, มีความโปร่งใส, แสงผ่านได้ มีการส่องสว่างด้วยจากแสงภายนอก, มีประกายแวววาว, บริสุทธิ์สะอาดไร้มลทิน และ มีรูปทรงสวยงาม ซึ่งเป็นลักษณะของอัญมณีที่ดี" (อัคนี ปุราณะ ,โศลกที่ 246.13-14)
"อัญมณีที่ไม่ดี ก็คือ มีผิวขรุขระ มีรอยแตกร้าวอยู่ภายใน มีรอยขีดข่วน หรือมีการปนเปื้อน และไม่มันวาว ไม่มีประกาย ผิวหยาบ หม่นหมองหรือ มีสสารหรือแร่ธาตุอื่นปะปน แม้ว่าอัญมณีเหล่านี้อาจมีคุณสมบัติตรงกับคุณลักษณะของอัญมณีชนิดนั้นๆก็ตาม ก็ถือว่าไม่เป็นมงคล" (คะรุฑะ ปุราณะ ,โศลกที่ 70.18)
"หากอัญมณีที่มีคุณลักษณะที่ดี ย่อมทำให้เกิดความโชคดีความเจริญรุ่งเรืองและความสำเร็จ อีกทั้งยกฐานะตนให้สูงส่งยิ่งขึ้น แต่หากอัญมณีมีลักษณะที่เลว มีตำหนิ ย่อมหมายถึงสิ่งเลวร้าย ภัยพิบัติและนำโชคร้ายมาสู่ผู้ครองครอง ดังนั้นผู้ที่ใช้อัญมณีในการเสริมดวงชาตาก็ต้องควรตรวจสอบลักษณะให้ดี เพราะโชคดีหรือร้ายขึ้นอยู่กับอัญมณีที่ตนเองสวมใส่" (คัมภีร์พฤหัสสังหิตา โศลกที่ 80.1-3)
"ถ้าหากใครสวมอัญมณีที่มีตำหนิหลายตำแหน่ง เช่น แตกร้าว ประกายหม่นหมอง หรือมีธาตุอื่นเจือปน ย่อมทำให้ผู้ที่สวมใส่ เกิดความเศร้าหมอง ความวิตกกังวล ความเจ็บป่วย ความตาย การสูญเสียทรัพย์สมบัติและความอัปมงคลอื่น ๆ และจะทำให้ผู้สวมใส่ต้องทนทุกข์ทรมาน" (คะรุฑะ ปุราณะ ,โศลกที่ 70.19)
“มรกตกับสิ่งเจือปน” ได้มีการอ้างอิงจากตำราภาษาสันสกฤตอ้างว่าการมีสิ่งเจือปนในมรกตถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และตราบใดที่สิ่งเจือปนนั้นไม่เบี่ยงเบนแสง หรือมีผลกับความโปร่งใสและความงามโดยรวมของมรกต
การนำมาใช้เสริมดวงชาตา หรือ แก้ไขดวงชาตา โดยใช้อัญมณี
ในดวงชาตาของเรานั้น ย่อมต้องมีดาวเคราะห์ที่แทนตัวเราเอง เช่น ดาวเจ้าเรือนลัคนา และดาวเคราะห์ที่ให้คุณให้โทษ ต่างๆ ในพื้นดวง สำหรับการเสริมดวงชาตาโดยทั่วไปมักจะใช้ดาวเคราะห์เจ้าเรือนลัคนาเป็นหลักในการพิจารณาเลือกหาอัญมณีที่เกี่ยวข้องกับดาวนั้นๆมาเสริมดวงชาตา เช่น เจ้าชาตาเกิดลัคนาเมษ เจ้าเรือนเกษตรราศีเมษก็คือดาวอังคาร ดังนั้นเราก็ควรที่จะสวมใส่อัญมณีประจำดาวอังคารเช่น ปะการังแดง เป็นต้น เพื่อเป็นการเสริมดวงชาตาให้เจริญรุ่งเรือง
สำหรับกรณีในการแก้ดวงชาตา หากพบว่าในพื้นดวงชาตามีดาวเคราะห์ที่ให้โทษ หรือ สถิตย์ในตำแหน่งที่ไม่ดี เช่น ดาวเคราะห์เป็นนิจ ถูกโยคเกณฑ์จากดาวร้าย หรือเป็นดาวดับเพราะรัศมีอาทิตย์ หรือ ดาวดวงนั้นถูกโยคเกณฑ์ร้ายจากดาวจร หรือดาวร้ายนั้นเสวยแทรกอายุ ในระบบวิมโษตรีทศา เราก็สามารถนำอัญมณีที่สื่อถึงดาวนั้นๆมาสวมใส่ ซึ่งเป็นการแก้เคล็ด หรือ (ครหะศานติ) และช่วยแก้ไขดวงชาตาจากร้ายกลายเป็นดี ซึ่งวิธีการนี้นักโหราศาสตร์ได้นำมาใช้แก้ไขดวงชาตามาหลายพันปีแล้ว และปรากฏว่าได้ผลดี จนได้มีการสืบทอดวิชานี้มาจนถึงปัจจุบัน
สรุปเรื่องโหรา-อัญมณีศาสตร์ อัญมณีที่เป็นตัวแทนของดาวเคราะห์ควรมีความคมชัดไร้ที่ติ มีสีสรรที่ดึงดูดสายตา มีเหลี่ยมมุมของการเจียรไนที่ดี และให้ความรู้สึกอบอุ่น นุ่มนวล หรือ แสดงถึงความมีชีวิต ซึ่งสามารถที่จะรู้สึกได้ด้วยตัวของเราเอง
การที่เลือกอัญมณีนั้น ตามกฎทั่วไปแนะนำว่าอัญมณีนั้นมีคุณภาพดีที่สุดและราคาไม่แพงและมีขนาดยิ่งใหญ่ยิ่งดี
ส่วนการใช้อัญมณีทางเลือกก็มีการนำมาใช้เช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอัญมณีที่มีราคาแพง และมีขนาดมากกว่าสองกะรัต เช่นเพชรและทับทิม อย่างไรก็ตามพบว่าอัญมณีทางเลือกนั้นให้ผลเบาบางและน้อยกว่าอัญมณีหลัก
กรุณาดูในรายละเอียดด้านล่าง ที่เกี่ยวข้องกับอัญมณีหลักและดาวเคราะห์ และอัญมณีทางเลือก โลหะที่นำมาทำตัวเรือน และนิ้วมือที่ใช้ในการสวมแหวน
(1) ดาวอาทิตย์ อัญมณีประจำดาวก็คือทับทิม (RUBY) ,ตัวเรือน-ทองคำ ,นิ้ว-ชี้ ,อัญมณีทดแทน- Rhodolite garnet, red spinel
(2) ดาวจันทร์ อัญมณีประจำดาวก็คือไข่มุก (PEARL) ,ตัวเรือน-เงิน ,นิ้ว- ชี้ ,อัญมณีทดแทน- Moonstone
(3) ดาวอังคาร อัญมณีประจำดาวก็คือ ปะการังแดง (RED CORAL) ,ตัวเรือน-ทองคำ ,นิ้ว-ชี้ ,อัญมณีทดแทน- Carnelian
(4) ดาวพุธ อัญมณีประจำดาวก็คือ มรกต (EMERALD) ,ตัวเรือน-ทองคำ ,นิ้ว-ก้อย ,อัญมณีทดแทน- Peridot, chrysoprase, jade, green tourmaline
(5) ดาวพฤหัสบดี อัญมณีประจำดาวก็คือ บุษราคัม (YELLOW SAPPHIRE) ,ตัวเรือน-ทองคำ ,นิ้ว- ชี้ ,อัญมณีทดแทน- Topaz, citrine
(6) ดาวศุกร์ อัญมณีประจำดาวก็คือ เพชร (DIAMOND) ,ตัวเรือน-ทองคำ ,นิ้ว-กลาง ,อัญมณีทดแทน-White sapphire, damburite, white zircon
(7) ดาวเสาร์ อัญมณีประจำดาวก็คือ ไพลิน (BLUE SAPPHIRE) ,ตัวเรือน-ทองคำ,ทองคำขาว ,นิ้ว- กลาง ,อัญมณีทดแทน- Amethyst, blue spinel, iolite
(8) ราหู อัญมณีประจำดาวก็คือ โกเมน (HESSONITE GARNET) ,ตัวเรือน- ทองคำขาว ,นิ้ว- กลาง ,อัญมณีทดแทน- Orange zircon
(9) เกตุ อัญมณีประจำดาวก็คือ ไพฑูรย์ (CAT’S EYE CHRYSOBERYL) ,ตัวเรือน-ทองคำขาว ,นิ้ว- กลาง ,อัญมณีทดแทน- Opal or tourmaline cat's eye