สถานที่สอบจอหงวน
การสอบไล่ของจีนในสมัยโบราณ
๑. สอบชั้นอำเภอได้ เรียก ซิ่วฉ่าย เทียบเท่าชั้นปริญญาตรี
๒. สอบชั้นมณฑลได้ เรียก จูเหยิน เทียบเท่าชั้นปริญญาโท
๓. สอบชั้นนครหลวงได้ เรียก จิ้นซื่อ เทียบเท่าชั้นปริญญาเอก หรีอเรียกโก้ ๆ ว่าดอกเตอร์
๔. สอบในพระราชวังได้ เรียก ฮันหลิน ซึ่งสูงกว่าการสอบชั้นดอกเตอร์ การสอบชั้นฮันหลินนี้กล่าวกันว่า ๓ ปี จึงจะมีสักครั้งหนึ่ง และมีผู้เข้าสอบครั้งละประมาณ ๓๖๐ คน ใครได้ที่ ๑ ผู้นั้นย่อมได้ตำแหน่ง “จอหงวน” (จอ แปลว่า ลักษณะสุภาพ, หงวน แปลว่า ที่หนึ่ง) ตำแหน่งนี้ถ้าเปรียบกับปัจจุบัน ก็คือยอดดอกเตอร์ในบรรดาดอกเตอร์ทีเดียว จะเห็นได้ว่าจอหงวนนั้นกว่าจะได้ยากแสนยาก และ ๓ ปีจึงจะหาได้สักคนหนึ่ง ผู้ได้จอหงวนจึงนับว่ามีความสามารถทางปัญญาอย่างดีที่สุด พูดอย่างไทยว่า กว่าจะได้จอหงวนก็จวนหงอทีเดียว
ข้อมูลนี้ เจือ สตะเวทิน เล่าไว้ในหนังสือ “เข้าใจจีน"แต่มีข้อมูลบางอย่างต่างกับที่ ล. เสถียรสุต เล่าไว้ในหนังสือ “ประวัติวัฒนธรรมจีน” โดยเฉพาะชื่อผู้ที่สอบได้ในลำดับต่าง ๆ เข้าใจว่าเป็นเรื่องการออกเสียงซึ่งไม่เหมือนกัน "ซองคำถาม” ขอคัดมาลงเปรียบเทียบกัน และเพื่อเพิ่มเติมเกร็ดบางอย่าง ล. เสถียรสุต เล่าเรื่องจอหงวนว่า
สมัยราชวงศ์เช็ง (ชิง) พ.ศ. ๒๑๘๗-๒๔๕๔ การสอบบรรจุข้าราชการมีขึ้นที่จังหวัดทุกปี ผู้สอบได้เรียกว่า ซิวไจ๊ (ผู้มีเชาวน์ดี) สอบที่มณฑลทุก ๓ ปี ผู้สอบได้เรียกว่า กือหยิน (ยกให้เป็นคน) สอบที่นครหลวงทุก ๕ ปี ผู้สอบได้อันดับที่ ๑ เรียกว่า ฮั่งลิ้ม (บัณฑิต) อันดับที่ ๒ เรียกว่า จิ่นสือ (เลื่อนเป็นนักศึกษา)พวกที่สอบได้อันดับที่ ๑ มีสิทธิเข้าสอบหน้าพระที่นั่ง ถ้าสอบได้ที่ ๑ ก็เรียกว่า จอหงวน (ที่ ๑ ของประเทศ)
ซิวไจ๊และกือหยินเป็นวิทยฐานะซึ่งทางการรับรองเท่านั้น จิ่นสือจะได้สำรองตำแหน่งนายอำเภอ เมื่อมีตำแหน่งว่างก็จะได้เข้ารับราชการ ฮั่งลิ้มได้เข้าประจำราชบัณฑิตยสภาและจะได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดต่อไป จอหงวนจะได้เข้ารับราชการราชบัณฑิตยสภาหรือตามกระทรวง และจะได้เป็นข้าหลวงตรวจการภาค จอหงวนเป็นวิทยฐานะที่มีเกียรติสูงและมีสิทธิหลายอย่างที่บุคคลอื่นไม่อาจ จะมี เช่นอาจได้เป็นอัครมหาเสนาบดีเป็นต้น ซิวไจ๊ที่สอบต่อไปไม่ไหว ส่วนมากตั้งโรงเรียนสอนหนังสือ เป็น “ผู้ใหญ่” ประจำตำบล คอยไกล่เกลี่ยคดีและติดต่อราชการ กือหยนที่สอบต่อไปไม่ได้ ส่วนมากเป็นทนายหรือเลขานุการของข้าหลวงมณฑล จิ่นสือที่รอบรรจุนายอำเภอ ส่วนมากไปสอนหนังสือตามบ้านขุนนางไปกระทั่งตายเพราะสมัครสอบอีกไม่ได้ การปกครองชนบทที่ห่างไกลตัวเมือง ส่วนมากอาศัยซิวไจ๊ปกครองแทน ซิวไจ๊จึงมีรายได้ดีมาก
ระเบียบการสอบบรรจุข้าราชการของจีนซึ่งเริ่มแต่ราชวงศ์ถังกระทั่งราชวงศ์ เช็ง ย่อมเป็นประโยชน์แก่การปกครองไม่น้อยเพราะได้นายอำเภอที่มีระดับความรู้ เดียวกัน ได้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่เข้าใจนโยบายส่วนกลางดี เพราะต้องอยู่ในราชบัณฑิตยสภาหลายปี และกระตุ้นให้การศึกษาเจริญขึ้น แต่ต่อมาได้ตั้งข้อกีดกันต่าง ๆ และขาดความยุติธรรม ยิ่งมาสมัยราชวงศ์เหม็งกำหนดแบบเรียงความไว้ตายตัว ซึ่งยากที่จะเรียนและยากที่จะสอบ และไม่เป็นประโยชน์แก่การอาชีพหรือการรับราชการ เป็นการสิ้นเปลืองสติปัญญาของนักศึกษาและขัดขวางความเจริญของวรรณกรรมไม่ น้อย การสอบนี้ ต่อมาได้ยุบเลิกเมื่อมีการตั้งโรงเรียนแบบตะวันตก
“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”
๒. สอบชั้นมณฑลได้ เรียก จูเหยิน เทียบเท่าชั้นปริญญาโท
๓. สอบชั้นนครหลวงได้ เรียก จิ้นซื่อ เทียบเท่าชั้นปริญญาเอก หรีอเรียกโก้ ๆ ว่าดอกเตอร์
๔. สอบในพระราชวังได้ เรียก ฮันหลิน ซึ่งสูงกว่าการสอบชั้นดอกเตอร์ การสอบชั้นฮันหลินนี้กล่าวกันว่า ๓ ปี จึงจะมีสักครั้งหนึ่ง และมีผู้เข้าสอบครั้งละประมาณ ๓๖๐ คน ใครได้ที่ ๑ ผู้นั้นย่อมได้ตำแหน่ง “จอหงวน” (จอ แปลว่า ลักษณะสุภาพ, หงวน แปลว่า ที่หนึ่ง) ตำแหน่งนี้ถ้าเปรียบกับปัจจุบัน ก็คือยอดดอกเตอร์ในบรรดาดอกเตอร์ทีเดียว จะเห็นได้ว่าจอหงวนนั้นกว่าจะได้ยากแสนยาก และ ๓ ปีจึงจะหาได้สักคนหนึ่ง ผู้ได้จอหงวนจึงนับว่ามีความสามารถทางปัญญาอย่างดีที่สุด พูดอย่างไทยว่า กว่าจะได้จอหงวนก็จวนหงอทีเดียว
ข้อมูลนี้ เจือ สตะเวทิน เล่าไว้ในหนังสือ “เข้าใจจีน"แต่มีข้อมูลบางอย่างต่างกับที่ ล. เสถียรสุต เล่าไว้ในหนังสือ “ประวัติวัฒนธรรมจีน” โดยเฉพาะชื่อผู้ที่สอบได้ในลำดับต่าง ๆ เข้าใจว่าเป็นเรื่องการออกเสียงซึ่งไม่เหมือนกัน "ซองคำถาม” ขอคัดมาลงเปรียบเทียบกัน และเพื่อเพิ่มเติมเกร็ดบางอย่าง ล. เสถียรสุต เล่าเรื่องจอหงวนว่า
สมัยราชวงศ์เช็ง (ชิง) พ.ศ. ๒๑๘๗-๒๔๕๔ การสอบบรรจุข้าราชการมีขึ้นที่จังหวัดทุกปี ผู้สอบได้เรียกว่า ซิวไจ๊ (ผู้มีเชาวน์ดี) สอบที่มณฑลทุก ๓ ปี ผู้สอบได้เรียกว่า กือหยิน (ยกให้เป็นคน) สอบที่นครหลวงทุก ๕ ปี ผู้สอบได้อันดับที่ ๑ เรียกว่า ฮั่งลิ้ม (บัณฑิต) อันดับที่ ๒ เรียกว่า จิ่นสือ (เลื่อนเป็นนักศึกษา)พวกที่สอบได้อันดับที่ ๑ มีสิทธิเข้าสอบหน้าพระที่นั่ง ถ้าสอบได้ที่ ๑ ก็เรียกว่า จอหงวน (ที่ ๑ ของประเทศ)
ซิวไจ๊และกือหยินเป็นวิทยฐานะซึ่งทางการรับรองเท่านั้น จิ่นสือจะได้สำรองตำแหน่งนายอำเภอ เมื่อมีตำแหน่งว่างก็จะได้เข้ารับราชการ ฮั่งลิ้มได้เข้าประจำราชบัณฑิตยสภาและจะได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดต่อไป จอหงวนจะได้เข้ารับราชการราชบัณฑิตยสภาหรือตามกระทรวง และจะได้เป็นข้าหลวงตรวจการภาค จอหงวนเป็นวิทยฐานะที่มีเกียรติสูงและมีสิทธิหลายอย่างที่บุคคลอื่นไม่อาจ จะมี เช่นอาจได้เป็นอัครมหาเสนาบดีเป็นต้น ซิวไจ๊ที่สอบต่อไปไม่ไหว ส่วนมากตั้งโรงเรียนสอนหนังสือ เป็น “ผู้ใหญ่” ประจำตำบล คอยไกล่เกลี่ยคดีและติดต่อราชการ กือหยนที่สอบต่อไปไม่ได้ ส่วนมากเป็นทนายหรือเลขานุการของข้าหลวงมณฑล จิ่นสือที่รอบรรจุนายอำเภอ ส่วนมากไปสอนหนังสือตามบ้านขุนนางไปกระทั่งตายเพราะสมัครสอบอีกไม่ได้ การปกครองชนบทที่ห่างไกลตัวเมือง ส่วนมากอาศัยซิวไจ๊ปกครองแทน ซิวไจ๊จึงมีรายได้ดีมาก
ระเบียบการสอบบรรจุข้าราชการของจีนซึ่งเริ่มแต่ราชวงศ์ถังกระทั่งราชวงศ์ เช็ง ย่อมเป็นประโยชน์แก่การปกครองไม่น้อยเพราะได้นายอำเภอที่มีระดับความรู้ เดียวกัน ได้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่เข้าใจนโยบายส่วนกลางดี เพราะต้องอยู่ในราชบัณฑิตยสภาหลายปี และกระตุ้นให้การศึกษาเจริญขึ้น แต่ต่อมาได้ตั้งข้อกีดกันต่าง ๆ และขาดความยุติธรรม ยิ่งมาสมัยราชวงศ์เหม็งกำหนดแบบเรียงความไว้ตายตัว ซึ่งยากที่จะเรียนและยากที่จะสอบ และไม่เป็นประโยชน์แก่การอาชีพหรือการรับราชการ เป็นการสิ้นเปลืองสติปัญญาของนักศึกษาและขัดขวางความเจริญของวรรณกรรมไม่ น้อย การสอบนี้ ต่อมาได้ยุบเลิกเมื่อมีการตั้งโรงเรียนแบบตะวันตก
“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”
การสอบจอหงวน ก็คือระบบการสอบคัดเลือกผู้มีความรู้ความสามารถเพื่อเข้ารับราชการ มีคำเรียกอย่างเป็นทางการในภาษาจีนกลางว่า เคอจวี่ keju หรือ The Imperial examinations
ผู้สอบจอหงวน จะมีคำเรียกตามลำดับชั้นจากชั้นแรกถึงชั้นสูงสุดดังนี้
1. เซิงเหยวียน (หรือ เซิงหยวน) Shengyuan หรือ ซิ่วไฉ่ Xiucai คือผู้สอบผ่านระดับอำเภอ ซึ่งจะมีการจัดสอบปีละครั้ง
ผู้ที่สอบได้เป็นที่ 1 ในระดับอำเภอ เรียกว่า อั้นโส่ว Anshou
2. จวี่เหริน Juren คือผู้สอบผ่านระดับมณฑลหรือจังหวัด ซึ่ง 3 ปีจึงจะมีการจัดสอบหนึ่งครั้ง
ผู้ที่สอบได้เป็นที่ 1 ในระดับมณฑลหรือจังหวัด เรียกว่า เจี่ยเหยวียน (หรือ เจี่ยหยวน) Jieyuan
3. ก้งซื่อ Gongshi คือผู้สอบผ่านระดับประเทศ ซึ่งจะมีสิทธิ์เข้าสอบระดับสูงสุดคือ ระดับราชวังแห่งนครหลวง
4.จิ้นซื่อ Jinshi คือผู้สอบผ่านระดับราชวังแห่งนครหลวง ซึ่ง 3 ปีจึงจะมีการจัดสอบหนึ่งครั้ง
ผู้ที่สอบได้เป็นที่ 1 ในระดับราชวังแห่งนครหลวง เรียกว่า จ้วงเหยวียน Zhuangyuan
ผู้ที่สอบได้เป็นที่ 2 ในระดับราชวังแห่งนครหลวง เรียกว่า ปั่งเหยียน Bangyan
ผู้ที่สอบได้เป็นที่ 3 ในระดับราชวังแห่งนครหลวง เรียกว่า ทั่นฮวา Tanhua
ใน บางสมัย ถึงค.ศ. 1370 การสอบจอหงวนกินเวลาตั้งแต่ 24-72 ชั่วโมง ผู้สอบจอหงวนแต่ละคนจะถูกจัดให้อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เพื่อให้กินอยู่หลับนอนในช่วงเวลาที่สอบนั้นได้
การสอบจอหงวนถูก ละทิ้งไปในสมัยราชวงศ์หยวน Yuan Dynasty และได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง Ming and Qing dynasties
ในยุคไท่ผิง Taiping regime ได้เปิดโอกาสให้ผู้หญิงมีสิทธิ์เข้าสอบจอหงวนเป็นครั้งแรก แต่ถูกยกเลิกไปในเวลาต่อมา
หลัง จากเกิดกบฏนักมวย Boxer Uprising ได้เกิดการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงหลายขนาน วันที่ 2 กันยายน ค.ศ.1905 ได้มีการออกประกาศว่าการสอบจอหงวนในทุกระดับจะถูกยกเลิกทั้งหมดในปีถัดไป ถือเป็นการสิ้นสุดระบบการสอบจอหงวน
การสอบจอหงวน ถือเป็นต้นแบบที่หลายชาติในเอเชียได้รับอิทธิพลนำไปประยุกต์ใช้ เช่น ราชวงศ์โคเรียว Goryeo Dynasty และราชวงศ์โชซอน Joseon Dynasty ของเกาหลีในอดีต , ราชวงศ์หลี Ly Dynasty ในรัชสมัย Emperor Nhan Tong (1075) จนถึงราชวงศ์งูเยน Nguyen Dynasty ในรัชสมัย Emperor Khai Dinh (1919) ของเวียดนามในอดีต รวมถึงญี่ปุ่นในสมัยเฮอัน Heian period