1.แบบไทย-ดิถีมหาสูญ-วันที่ห้ามประกอบการมงคลอย่างเด็ดขาด
ในหลักเกณฑ์การห้ามฤกษ์แต่โบราณนี้ หลักของดิถีมหาสูญนับว่าร้ายแรงมากที่ครูบาอาจารย์โหรไทยสมัยโบราณท่านยึด ถือเอาไว้เป็นหลักครูเลยทีเดียว หลักดิถีมหาสูญนี้บ่งบอกถึงความวิบัติ อันตราย และโทษร้ายแรงต่างๆที่หากไปกระทำการในวันนี้เข้า ถึงแม้นว่าวันนั้นจะมีฤกษ์ดี ดิถีดีสักปานไหน หากไปโดนวันที่มี “ดิถีมหาสูญ”เข้าให้ ท่านให้ยกเว้นกฏเกณฑ์ที่ดีทั้งหมดและให้ทายวิบัติอย่างเดียว สถานเดียว ถึงกับกล่าวคำกลอนที่ว่า “ ถึงฤกษ์อื่นหมื่นดีไม่ต้านทาน คงวิกาลจัญไรเกิดภัยโตฯ”ในหลัก กฏเกณฑ์ดิถีมหาสูญนั้น มีอยู่ ๒ หลักใหญ่ๆ หลักเกณฑ์แรกเป็นการคำนวณจากเดือนทางจันทรคติ และหลักเกณฑ์ที่ สองเป็นการคำนวณจากองศาอาทิตย์ที่โคจรเข้าใปสถิตในราศีต่างๆในระบบสุริยคติ
1.1 ดิถีมหาสูญจากการคำนวณเดือนและวันทางจันทรคติ มีโคลงกลอนบรรยายไว้ดังนี้
@จะกล่าวถึงดิถีมหาสูญ, ทวาทศมาศเป็นเค้ามูล,
นุกูลไว้ตามไสยเวทย์มา, ว่าเดือน ๖ เดือน ๓ ห้าม ๔ ค่ำ,
ถึงฤกษ์ดีก็อย่าทำเกิดโทษา, เดือน ๗ เดือน ๑๐ห้ามตามตำรา,
โบราณว่า๘ค่ำเป็นสำคัญ, ถ้าเดือน๘เดือน๕ห้าม๖ค่ำ,
จะเกิดกรรมวิตกใหญ่ภัยมหันต์, เดือน๑๑เดือนยี่ก็เหมือนกัน,
กำหนดวันขึ้นแรม ๑๒ มี, เดือน๙เดือน๑๒ห้าม๑๐ ค่ำ,
ว่าอย่าทำการใหญ่ไม่ต้องที่, อนึ่งท่านห้ามเดือนอ้ายในเดือนสี่,
ห้ามดิถี๒ค่ำอย่าทำการ, ห้ามทั้งขึ้นทั้งแรมทุกเดือนมา,
เป็นมหาสูญอันอาจหาญ, ถึงฤกษ์อื่นหมื่นดีไม่ต้านทาน,
คงวิกาลจัญไรเกิดภัยโตฯ
สรุปว่า ดิถีมหาสูญแต่โบราณนั้นท่านกำหนดตามเดือนทางจันทรคติและดิถีดังนี้ อย่างไรก็ตามดิถีต่างๆนั้นจะต้องคำนวนโดยใช้”ดิถีเพียร”เท่านั้น
ตาราง มาสะ สูญดิถี แบบไทย
เดือนไทย |
ดิถีมหาสูญ |
เดือน ๖ กับเดือน ๓ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๔ ค่ำ |
เดือน ๗ กับเดือน ๑๐ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๘ ค่ำ |
เดือน ๘ กับเดือน ๕ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๖ ค่ำ |
เดือน ๑๑ กับเดือน ยี่ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๑๒ ค่ำ |
เดือน ๙ กับเดือน ๑๒ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๑๐ ค่ำ |
เดือน อ้าย กับเดือน ๔ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๒ ค่ำ |
1.2 ดิถีมหาสูญจากการคำนวณการโคจรของพระอาทิตย์ที่สถิตในราศีต่างๆ
โดยมีคาถาภาษาบาลีกล่าวเอาไว้ดังนี้
@เมเส กรกเฏ ฉัฏเฐ พฤศภ กุมเภ จตุตถ เมถุน กันเย อัฎฐเม ธนู มินเก ทุติเย
สิงห พิจิก ทสเก ตุล มังกเร ทวาทส ฯ
“เมเส กรกเฏ ฉัฏเฐ”หมาย ความว่าเมื่อดาวอาทิตย์โคจรเข้าสถิตราศี เมษ (ประมาณ 15 เมษา-14พฤษภา) และสถิตราศีกรกฏ (ประมาณ 15 กรกฏา-14 สิงหา) ห้ามวันขึ้น/แรม ๖ ค่ำ
“พฤศภ กุมเภ จตุตถ” หมายความว่าเมื่อดาวอาทิตย์โคจรเข้าสถิตราศี พฤษภ (ประมาณ 15 พฤษภา-14 มิถุนา) และสถิตราศีกุมภ์ (ประมาณ 15 กุมภา-14มีนาคม) ห้ามวันขึ้น/แรม ๔ ค่ำ
“เมถุน กันเย อัฎฐเม” หมายความว่าเมื่อดาวอาทิตย์โคจรเข้าสถิตราศี เมถุน (ประมาณ 15 มิถุนา-14 กรกฏา) และสถิตราศีกันย์ (ประมาณ 15 กันยา-14 ตุลา)ห้ามวันขึ้น/แรม ๘ ค่ำ
“ธนู มินเก ทุติเย” หมายความว่าเมื่อดาวอาทิตย์โคจรเข้าสถิตราศี ธนู (ประมาณ 15 ธันวา-14 มกรา) และสถิตราศีมีน (ประมาณ 15 มีนา-14 เมษา) ห้ามวันขึ้น/แรม ๒ ค่ำ
“สิงห พิจิก ทสเก” หมายความว่าเมื่อดาวอาทิตย์โคจรเข้าสถิตราศี สิงห์ (ประมาณ 15 สิงหา-14 กันยา) และสถิตราศีพิจิก (ประมาณ 15 พฤศจิกา-14 ธันวา) ห้ามวันขึ้น/แรม ๑๐ ค่ำ
“ตุล มังกเร ทวาทส” หมายความว่าเมื่อดาวอาทิตย์โคจรเข้าสถิตราศี ตุลย์ (ประมาณ 15 ตุลา-14 พฤศจิกา) และสถิตราศีมังกร (ประมาณ 15 มกรา-14 กุมภา) ห้ามวันขึ้น/แรม ๑๒ ค่ำ
ตาราง ราศีสูญดิถีแบบไทย
คาถา |
อาทิตย์สถิตราศี |
ดิถีมหาสูญ |
เมเส กรกเฏ ฉัฏเฐ |
สถิตราศี เมษ และสถิตราศีกรกฏ |
ห้ามวันขึ้น/แรม ๖ ค่ำ |
พฤศภ กุมเภ จตุตถ |
สถิตราศี พฤษภ และสถิตราศีกุมภ์ |
ห้ามวันขึ้น/แรม ๔ ค่ำ |
เมถุน กันเย อัฎฐเม |
สถิตราศี เมถุน และสถิตราศีกันย์ |
ห้ามวันขึ้น/แรม ๘ ค่ำ |
ธนู มินเก ทุติเย |
สถิตราศี ธนู และสถิตราศีมีน |
ห้ามวันขึ้น/แรม ๒ ค่ำ |
สิงห พิจิก ทสเก |
สถิตราศี สิงห์ และสถิตราศีพิจิก |
ห้ามวันขึ้น/แรม ๑๐ ค่ำ |
ตุล มังกเร ทวาทส |
สถิตราศี ตุลย์ และสถิตราศีมังกร |
ห้ามวันขึ้น/แรม ๑๒ ค่ำ |
*************************************************************************************
2.แบบภารตะ-สูญดิถี-ดิถีที่เป็นสูญ
คำว่าสูญยะ นั้นหมายถึง ความเป็นสูญ หรือ ว่างเปล่า ไม่มีผล สำหรับเรื่องดิถีมหาสูญของโหราศาสตร์ภารตะได้กล่าวไว้อย่างละเอียดซึ่งแตกต่างจากของไทย โดยดิถีมหาสูญของภารตะมีหลายประเภท ซึ่งทั้งหมดมาจากอิทธิพลของดิถีที่ส่งผลกระทบต่อพลังงานของดาวเคราะห์ นักษัตร มาส(เดือน)และราศี (ลัคนา) โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 ดิถีสูญราศี (สูญลัคนา) (ดิถี+ราศี+ดาวเกษตร)
กฎนี้ท่านกล่าวเอาไว้ว่าดิถีทุกดิถีทั้งขึ้นแรม(ยกเว้นขึ้นแรม 15 ค่ำ) สามารถเป็นสูญยะดิถีต่อราศีบางราศี โดยจะส่งผลทำให้ ราศีและดาวเกษตรเจ้าราศีนั้นกลายเป็นสูญหรือไร้ค่า หรือไม่มีผลดีตามที่ควรจะเป็นเช่น วันที่เป็นดิถีขึ้น/แรม 1ค่ำ ก็จะส่งผลให้ ราศีตุลย์และมังกรเป็น ราศีสูญยะ คือ ไร้ผล รวมถึงดาวเกษตรเจ้าราศี คือ ดาวศุกร์ และดาวเสาร์ ก็จะกลายเป็นดาวเคราะห์ สูญยะด้วยเช่นกัน และจะไม่ให้ผลดีใดใดเกิดขึ้น ดังนั้นท่านจึงห้ามทำการวางลัคนา ในสูญยะราศี และ/หรือไม่ให้ลัคนากุมด้วยดาวเคราะห์สูญยะ เพื่อหลีกเลี่ยงผลร้ายที่จะเกิดขี้น และหากเป็นดวงชาตากำเนิดผลนี้ก็จะเกิดแก่ดาวเคราะห์สูญยะที่เสวยอายุในระบบมหาทศาด้วย คือ ดาวเคราะห์นั้นอาจจะไม่ให้ผลดีตามที่ควรจะเป็นในขณะที่ทำการเสวยอายุ กรุณาดูตาราง"ผลของดาวเคราะห์สูญยะในระบบมหาทศา" ด้านล่างประกอบ
ตาราง-ดิถีสูญราศี(สูญลัคนา)แบบภารตะ
ดิถีสูญยะ(ดิถีเพียร) |
ราศีสูญยะ(สูญลัคนา) |
ดาวเคราะห์สูญยะ |
ขึ้น/แรม 1ค่ำ และ ขึ้น/แรม 12 ค่ำ |
ราศีตุลย์,ราศีมังกร |
ดาวศุกร์,ดาวเสาร์ |
ขึ้น/แรม 2ค่ำ และ ขึ้น/แรม 11 ค่ำ |
ราศีธนู,ราศีมีน |
ดาวพฤหัสบดี |
ขึ้น/แรม 3ค่ำ |
ราศีสิงห์,ราศีมังกร |
ดาวอาทิตย์,ดาวเสาร์ |
ขึ้น/แรม4ค่ำ |
ราศีพฤษภ,ราศีกุมภ์ |
ดาวศุกร์,ดาวเสาร์ |
ขึ้น/แรม 5ค่ำ และ ขึ้น/แรม 8 ค่ำ |
ราศีมิถุน,ราศีกันย์ |
ดาวพุธ |
ขึ้น/แรม 6 ค่ำ |
ราศีเมษ,ราศีสิงห์ |
ดาวอังคาร,ดาวอาทิตย์ |
ขึ้น/แรม 7 ค่ำ |
ราศีกรกฏ,ราศีธนู |
ดาวจันทร์,ดาวพฤหัส |
ขึ้น/แรม 9ค่ำ และ ขึ้น/แรม 10 ค่ำ |
ราศีสิงห์,ราศีพิจิก |
ดาวอาทิตย์,ดาวอังคาร |
ขึ้น/แรม 13 ค่ำ |
ราศีพฤษภ,ราศีสิงห์ |
ดาวศุกร์,ดาวอาทิตย์ |
ขึ้น/แรม 14 ค่ำ |
ราศีมิถุน,ราศีกันย์,ราศีธนู,ราศีมีน |
ดาวพุธ,ดาวพฤหัส |
วันเพ็ญปูรณมี(ขึ้น 15 ค่ำ) |
ไม่มี |
ไม่มี |
วันดับอมาวสี(แรม 15 ค่ำ) |
ไม่มี |
ไม่มี |
*ข้อแตกต่างกับของไทย
จะเห็นได้ว่า มีบางส่วนคล้ายกับราศีสูญดิถีแบบไทย แต่คำอธิบายกลับแตกต่างกันมาก โดยของไทยใช้อาทิตย์โคจรในราศีเป็นหลัก และส่งผลให้ดิถีนั้นสูญไปทั้งดิถี แต่ของภารตะใช้ดิถีเป็นหลัก และส่งผลต่อราศี(บางราศี)และดาวเกษตรเจ้าราศีนั้นๆให้กลายเป็นสูญ และส่งผลต่อดาวเสวยอายุในมหาทศาด้วย
ดิถีสูญโทษ-ผลทั่วไปของดาวเคราะห์ในดิถีสูญราศี
- ดาวเกษตรเจ้าราศีที่เป็นดิถีสูญราศี จะให้บาปผล(ผลร้าย) ถึงแม้ว่าจะเป็นดาวศุภเคราะห์ก็ตาม
- ดาวเคราะห์ใดสถิตย์ในราศีที่เป็นดิถีสูญราศี จะให้บาปผล(ผลร้าย) ถึงแม้ว่าจะเป็นดาวศุภเคราะห์ก็ตาม
- แต่ดาวเคราะห์ใดสถิตย์ในดิถีสูญราศี จะให้ศุภผล(ผลดี) เมื่อเสวยอายุในทศาระบบ
- ดาวเกษตรเจ้าราศีที่เป็นดิถีสูญราศี จะให้บาปผล(ผลร้าย) เมื่อโคจรไปสัมพันธ์กับดาวศุภเคราะห์
- ดาวเคราะห์ที่เป็นสูญ (เจ้าราศี,ดาวสถิตย์ในดิถีสูญราศี) หากไม่โคจรพักรจะให้ผลดีเมื่อโคจรไปภพที่ 3 และทุสถานะภพ (ที่ 6 ที่ 8 และ ที่12 )
ข้อยกเว้นกฏดิถีสูญโทษ
1.ดาวเกษตรเจ้าราศีที่เป็น"ดิถีสูญราศี" จะให้ศุภผล(ผลดี) เมื่อ (1.1) เมื่อโคจรไปภพที่ 3 และทุสถานะภพ (ที่ 6 ที่ 8 และ ที่12 ) ทั้งจากลัคนาและจันทร์กำเนิด (1.2) เมื่อดาวเกษตรเจ้าราศีที่เป็น"ดิถีสูญราศี"โคจรวิกลคติพักร (1.3) หรือเมื่อดาวเกษตรเจ้าราศีที่เป็น"ดิถีสูญราศี"โคจรสัมพันธ์กับดาวบาปเคราะห์ และผลของ"ดิถีสูญราศีโทษ"เป็นอันลบล้าง
2.ดาวราหูและเกตุ หากสถิตย์ใน"ดิถีสูญราศี" จะให้ศุภผล(ผลดี) ตามความหมายของภพเรือนนั้นๆ ผลของ"ดิถีสูญราศีโทษ"เป็นอันลบล้าง
3.ดาวเกษตรเจ้าราศีที่เป็น"ดิถีสูญราศี"จะให้ศุภผล(ผลดี)เมื่อดาวเกษตรนั้นเสวยนักษัตรที่ครองด้วยดาวราหูหรือเกตุ อ
4. ดาวเจ้าราศีที่เป็น"ดิถีสูญราศี" สถิตย์ในเรือนตัวเอง(เป็นเกษตร)และร่วมหรือเป็นโยคกับดาวพฤหัส ผลของ"ดิถีสูญราศีโทษ"เป็นอันลบล้าง
5.หากดาวพฤหัสเสวยนักษัตรเดียวกันกับดาวจันทร์ แต่อยู่คนละราศี(ภิณทฤกษ์)ผลของ"ดิถีสูญราศีโทษ"เป็นอันลบล้าง
6.ดาวที่ให้ศุภผลที่มีกำลังแรงสถิตย์ อยู่ในเรือนเกณฑ์ หรือ ตรีโกณกับราศีที่"ดิถีสูญราศี"ผลของ"ดิถีสูญราศีโทษ"เป็นอันลบล้าง
เคล็ดพิเศษสำหรับใช้ดิถีสูญราศี
หากกิจกรรมใดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเอาชนะอุปสรรคและความยากลำบาก เจ้าเรือนลัคน์ในดวงฤกษ์จะต้องอยู่ภพที่ 3 หรือทุสถานะภพ ( 6,8,12) หรืออยู่ใน ดิถีสูญราศี หรือ ให้เจ้าเรือนลัคน์อยู่ในราศีนิจ หรือนวางศ์นิจ โดยเจ้าเรือนลัคน์นี้ต้องไม่ร่วมกับดาวเคราะห์อื่นใด นอกจาก เจ้าเรือนที่กล่าวมาข้างต้น (เจ้าเรือนภพที่ 3 หรือเจ้าเรือนทุสถานะภพ 6,8,12 หรือเจ้าเรือนดิถีสูญราศี หรือ เจ้าเรือนราศีนิจ หรือเจ้าเรือนนวางศ์นิจ) และหรือให้เจ้าเรือนดังกล่าวสถิตย์ร่วมลัคนาในดวงฤกษ์
ผลของดาวเคราะห์ดิถีสูญราศีในมหาทศา
ลำดับ |
ตำแหน่งดาวเคราะห์ดิถีสูญราศีเสวยอายุ |
ผลของดาวเคราะห์ดิถีสูญราศีเสวยอายุ |
1 |
สถิตในทุสถานะภพที่ 6,8,12 |
มีกำลังแรงและให้ผลเต็มที่ |
2 |
สถิตในเรือนนิจ |
มีกำลังแรงและให้ผลเต็มที่ |
3 |
สถิตในตำแหน่งปรเกษตร |
มีกำลังแรงและให้ผลเต็มที่ |
4 |
สถิตร่วมกับบาปเคราะห์ |
มีกำลังแรงและให้ผลเต็มที่ |
5 |
สถิตในเรือนที่ให้ศุภผล |
*ไร้กำลังและให้ผลไม่ปกติ |
6 |
สถิตในเรือนอุจน์ |
*ไร้กำลังและให้ผลไม่ปกติ |
7 |
สถิตในเรือนเกษตร |
*ไร้กำลังและให้ผลไม่ปกติ |
8 |
สถิตในเรือนมิตร |
*ไร้กำลังและให้ผลไม่ปกติ |
ผลของดาวเคราะห์ดิถีสูญราศี
1. ดาวอาทิตย์ ทำลายสุขภาพของบุคคลตามความหมายของภพเรือน ที่ดาวอาทิตย์(ที่เป็นดาวเคราะห์ดิถีสูญราศี)สถิตย์อยู่ เช่น หากสถิตย์อยู่ในเรือนที่ 3 (เรือนสหัสชะ)จะมีผลต่อสุขภาพของน้องชายและน้องสาวหรือถ้าสถิตย์ในเรือนที่ 4 (เรือนพันธุ)สุขภาพของมารดาก็จะได้รับผลกระทบ และหากโยคดีในดวงชาตามีดาวอาทิตย์ร่วมประกอบขึ้นเป็นโยค เช่น พุธอาทิตย์โยค ฯลฯผลของโยค(ดี)นั้นๆก็จะกลายเป็นศูนย์ นอกจากนี้ยังส่งผลให้เสื่อมเสียเกียรติยศ และความภาคภูมิใจ ฯลฯตามความหมายของดาวอาทิตย์
2. ดาวจันทร์ เจ้าชาตาจะมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับมารดาของตนเอง และสุขภาพของเจ้าชาตาจะไม่แข็งแรง
3. ดาวอังคาร เจ้าชาตาจะขี้เกียจไร้น้องชายและน้องสาวหรือมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับพี่น้อง
4. ดาวพุธ เจ้าชาตาจะมีปัญหาและอุปสรรคในการศึกษาและธุรกิจล้มเหลว
5. ดาวพฤหัส เจ้าชาตาจะขาดศรัทธาในศาสนา การสูญเสียทรัพย์สมบัติและความมั่งคั่ง, สูญเสียเกียรติภูมิและเกิดปัญหาจากเด็กๆ
6. ดาวศุกร์ เจ้าชาตาจะมีปัญหากับคู่สมรสและอาจมีภรรยาหลายคน
7. ดาวเสาร์ เจ้าชาตาจะมีโรคประจำคัวและการตัดสินที่ผิดพลาดจนทำให้ตนเองเกิดความสูญเสีย
2.2 มาสสูญราศี (เดือน+ราศี)
นอกจากนี้โหรภารตะยังมีกฏเกณฑ์เพิ่มเติมที่เกี่ยวกับมาสะ(เดือน)และราศี ซึ่งกำหนดไว้ว่า เดือนทางจันทรคติในแต่ละเดือน มีกฏห้ามมิให้ดาวจันทร์ในดวงฤกษ์สถิตย์ในราศีที่กำหนด มีรายละเอียดดังนี้
เดือนฮินดู |
เดือนไทย |
มาสสูญราศี |
จิตรมาส |
เดือน ๕ |
ราศีกุมภ์ |
วิศาขมาส |
เดือน ๖ |
ราศีมีน |
เชษฐมาส |
เดือน ๗ |
ราศีพฤษภ |
อาษาฒมาส |
เดือน ๘ |
ราศีมิถุน |
ศราวณมาส |
เดือน ๙ |
ราศีเมษ |
ภัทรบทมาส |
เดือน ๑๐ |
ราศีกันย์ |
อัศวยุชมาส |
เดือน ๑๑ |
ราศีพิจิก |
กฤติกามาส |
เดือน ๑๒ |
ราศีตุลย์ |
มฤคศิรมาส |
เดือนอ้าย |
ราศีธนู |
บุษยมาส |
เดือนยี่ |
ราศีกรกฏ |
มาฆมาส |
เดือน ๓ |
ราศีมังกร |
ผาลคุนมาส |
เดือน ๔ |
ราศีสิงห์ |
ข้อยกเว้นกฏมาสสูญราศีโทษ
1. ดาวเจ้าเรือนลัคน์ในดวงฤกษ์ สถิตย์ในเรือนตัวเอง(เป็นเกษตร)และร่วมหรือเป็นโยคกับดาวพฤหัส ผลของ"มาสสูญราศีโทษ"เป็นอันลบล้าง
2.หากดาวพฤหัสเสวยนักษัตรเดียวกันกับดาวจันทร์ แต่อยู่คนละราศี(ภิณทฤกษ์)ผลของ"มาสสูญราศีโทษ"เป็นอันลบล้าง
3.ดาวที่ให้ศุภผลที่มีกำลังแรงสถิตย์ อยู่ในเรือนเกณฑ์ หรือ ตรีโกณกับลัคนาในดวงฤกษ์ ผลของ"มาสสูญราศีโทษ"เป็นอันลบล้าง
2.3 มาสสูญดิถี (เดือน+ดิถี)
กฎนี้ท่านกล่าวเอาไว้ว่าเดือนทางจันทรคติบางเดือนจะมีดิถีที่ถูกกำหนดให้เป็นสูญดิถี โดยจะส่งผลทำให้ ดิถีนั้นๆกลายเป็นสูญ หรือ ไร้ค่า ไปโดยทันที และห้ามไม่ใช้ใช้สูญดิถีนั้นๆประกอบการมงคลในเดือนนั้นๆ ถึงแม้ว่าจะมีเงื่อนไขดีอื่นๆมาบรรเทาหรือแก้ไขผลร้ายก็ตาม ท่านก็ไม่ใช้"มาสสูญดิถี"ในการประการมงคล
ตารางเทียบ มาสสูญดิถี ของไทยและภารตะ(คัมภีร์กาละปากศิกะและคัมภีร์มุหูรตะจินดามณี)
เดือนฮินดู |
เดือนไทย |
คัมภีร์กาลปกาศิกะ |
คัมภีร์มุหูรตะจินดามณี |
โหรไทย |
จิตรมาส |
เดือน ๕ |
ขึ้น/แรม ๘ ค่ำ, ๑๑ ค่ำ |
ขึ้น/แรม ๘ค่ำ ,๙ ค่ำ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๖ ค่ำ |
วิศาขมาส |
เดือน ๖ |
ขึ้น/แรม ๑๒ ค่ำ |
ขึ้น/แรม ๑๒ ค่ำ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๔ ค่ำ |
เชษฐมาส |
เดือน ๗ |
ขึ้น/แรม ๑๓ ค่ำ |
ขึ้น ๑๓ ค่ำ ,แรม ๑๔ ค่ำ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๘ ค่ำ |
อาษาฒมาส |
เดือน ๘ |
ขึ้น/แรม ๖ ค่ำ |
ขึ้น ๖ ค่ำ ,แรม ๗ ค่ำ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๖ ค่ำ |
ศราวณมาส |
เดือน ๙ |
ขึ้น/แรม ๑๕ ค่ำ |
ขึ้น/แรม ๒ค่ำ , ๓ ค่ำ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๑๐ ค่ำ |
ภัทรบทมาส |
เดือน ๑๐ |
ขึ้น/แรม ๗ ค่ำ |
ขึ้น/แรม ๑ค่ำ , ๒ ค่ำ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๘ ค่ำ |
อัศวยุชมาส |
เดือน ๑๑ |
ขึ้น/แรม ๙ ค่ำ |
ขึ้น/แรม ๑๐ ค่ำ, ๑๑ ค่ำ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๑๒ ค่ำ |
กฤติกามาส |
เดือน ๑๒ |
ขึ้น/แรม ๕ ค่ำ |
ขึ้น ๑๔ ค่ำ , แรม ๕ ค่ำ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๑๐ ค่ำ |
มฤคศิรมาส |
เดือนอ้าย |
ขึ้น/แรม ๒,๙ ค่ำ |
ขึ้น/แรม ๗ ค่ำ, ๘ ค่ำ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๒ ค่ำ |
บุษยมาส |
เดือนยี่ |
ขึ้น/แรม ๑ ค่ำ |
ขึ้น/แรม ๔ ค่ำ , ๕ ค่ำ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๑๒ ค่ำ |
มาฆมาส |
เดือน ๓ |
ขึ้น/แรม ๔,๑๐ ค่ำ |
ขึ้น ๖ ค่ำ , แรม ๕ ค่ำ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๔ ค่ำ |
ผาลคุนมาส |
เดือน ๔ |
ขึ้น/แรม ๑๔ ค่ำ |
ขึ้น ๓ ค่ำ , แรม ๔ ค่ำ |
ห้ามวัน ขึ้น/แรม ๒ ค่ำ |
เปรียบเทียบจากตามรางจะเห็นว่า แต่ละคัมภีร์ต่างก็มีมติแตกต่างกันในการคำนวณหา ดิถีมหาสูญในแต่ละเดือนจันทรคติ แต่มติโหราจารย์ชาวฮินดูบางท่านลงความเห็นว่า ดิถีมหาสูญของคัมภีร์กาลปกาศิกะนั้นให้โทษร้ายรุนแรงกว่าดิถีมหาสูญของคัมภีร์มุหูรตะจินดามณี ส่วนมติของโหรไทยนั้นค่อนข้างแตกต่างจากโหรฮินดูภารตะซึ่งเป็นแม่แบบ
ข้อยกเว้นกฎมาสสูญดิถีสูญโทษ
มีบางกิจกรรมหรือเงื่อนไขบางประการ ที่ให้ผลดีในการประกอบกิจกรรมภายใต้"มาสสูญดิถี" และมีผลในการลบล้างโทษร้ายของ "มาสสูญดิถีโทษ" ได้ เช่นการทำการก่อสร้าง หรือ งานมงคลทั่วไป ซึ่งอาจจะมีผลทำให้เกิดอุปสรรบ้างแต่ก็สามารถเอาชนะอุปสรรคได้ภายหลัง
1.ดาวเคราะห์เจ้าดิถี สถิตย์ในภพที่ 3 และ ทุสถานะ ที่ 6 ที่ 8 และที่ 12 ,หรือ สถิตย์ใน สูญราศี โดยไม่มีดาวเคราะห์อื่นร่วม เว้นจาก เจ้าเรือนดังกล่าวข้างต้น
2.ดาวเคราะห์เจ้าดิถี สถิตย์ร่วมกับเจ้าเรือนภพที่ 3 และ เจ้าเรือนทุสถานะ ที่ 6 ที่ 8 และที่ 12 ,หรือ เจ้าเรือน สูญราศี โดยไม่มีดาวเคราะห์อื่นร่วม
3.ดาวเคราะห์เจ้าดิถี เป็นนิจ หรือ สถิตย์ร่วมกับดาวเคราะห์นิจ
ดาวเคราะห์เจ้าดิถีมีดังต่อไปนี้
3.1.นันทดิถี नन्दा तिथि ครองด้วยดาวศุกร์ ดิถีขึ้น/แรม -ปรติปท (1ค่ำ) ษัฑฐี (6ค่ำ) เอกาทศี (11ค่ำ)
3.2.ภัทรดิถี भद्रा तिथि ครองด้วยดาวพุธ ดิถีขึ้น/แรม -ทวิติยา (2ค่ำ) สัปตมี (7ค่ำ) ทวาทศี (12 (ค่ำ)
3.3.ชยะดิถี जया तिथि ครองด้วยดาวอังคาร ดิถีขึ้น/แรม -ตฤติยา (3 ค่ำ) อัษฐมี (8 ค่ำ) ตรโยทศี (13 ค่ำ)
3.4.ริกตะดิถีरिक्ता तिथि ครองด้วยดาวเสาร์ ดิถีขึ้น/แรม - จตุรถี (4ค่ำ) นวมี (9ค่ำ) จตุรทศี (14ค่ำ)
3.5.ปูรณะดิถี पूर्णा तिथि ครองด้วยดาวพฤหัส ดิถีขึ้น/แรม -ปัญจมี (5ค่ำ) ทศมี (10ค่ำ) ปูรณมี(วันเพ็ญ) อมาวาสี (วันดับ)
4. ดาวเจ้าเรือนลัคน์ในดวงฤกษ์ สถิตย์ในเรือนตัวเอง(เป็นเกษตร)และร่วมหรือเป็นโยคกับดาวพฤหัส ผลของ"มาสสูญดิถีโทษ"เป็นอันลบล้าง
5.หากดาวพฤหัสเสวยนักษัตรเดียวกันกับดาวจันทร์ แต่อยู่คนละราศี(ภิณทฤกษ์)ผลของ"มาสสูญดิถีโทษ"เป็นอันลบล้าง
6.ดาวที่ให้ศุภผลที่มีกำลังแรงสถิตย์ อยู่ในเรือนเกณฑ์ หรือ ตรีโกณกับลัคนาในดวงฤกษ์ ผลของ"มาสสูญดิถีโทษ"เป็นอันลบล้าง
2.4 มาสสูญนักษัตร (เดือน+นักษัตร)
กฎนี้ท่านกล่าวเอาไว้ว่าเดือนทางจันทรคติบางเดือนจะมีนักษัตรที่ถูกกำหนดให้เป็นสูญนักษัตร โดยจะส่งผลทำให้ นักษัตรนั้นๆกลายเป็นสูญ หรือ ไร้ค่า ไปโดยทันที ท่านว่าผลของ"มาสสูญนักษัตร" จะส่งผลทำให้เสียหายเรื่องทรัพย์สินเงินทอง ทั้งนี้ท่านห้ามมิให้ดาวจันทร์ในดวงฤกษ์เสวยนักษัตรเหล่านี้ นอกจากนี้ดาวเคราะห์ที่เป็นดาวเจ้านักษัตร(ดาวเจ้าฤกษ์)นั้นๆ ก็จะกลายเป็นโทษไปด้วย อีกทั้งหากดาวเจ้านักษัตรนี้ไปสถิตย์ในเรือนใด ก็จะส่งผลต่อเรือนนั้น และจะส่งผลร้ายแก่ดาวเคราะห์ที่สถิตย์ร่วมกันในเรือนนั้นอีกด้วย และท่านกล่าวว่าผลของ มาสสูญนักษัตรโทษนี้ ผลค่อนข้างรุนแรง และถึงแม้ว่าจะมีเงื่อนไขดีอื่นๆมาบรรเทาหรือแก้ไขผลร้ายก็ตาม หากไม่จำเป็นท่านก็ไม่ให้ใช้"มาสสูญนักษัตร"นี้ในการประการมงคล
เดือนฮินดู |
เดือนไทย |
คัมภีร์กาลปกาศิกะ |
คัมภีร์มุหูรตะจินดามณี |
จิตรมาส |
เดือน ๕ |
อัศวินี,โรหินีนักษัตร |
อัศวินี,โรหินีนักษัตร |
วิศาขมาส |
เดือน ๖ |
จิตรา,สวาตินักษัตร |
จิตรา,สวาตินักษัตร |
เชษฐมาส |
เดือน ๗ |
ปุรวสุ,อุตตราษาฒนักษัตร |
ปุษยะ,อุตตราษาฒนักษัตร |
อาษาฒมาส |
เดือน ๘ |
บูรพผลคุณี,ธนิษฐะนักษัตร |
บูรพผลคุณี,ธนิษฐะนักษัตร |
ศราวณมาส |
เดือน ๙ |
บูรพาษาฒนักษัตร |
อุตตราษาฒ,ศรวณนักษัตร |
ภัทรบทมาส |
เดือน ๑๐ |
ศตภิษัท,เรวดีนักษัตร |
ศตภิษัท,เรวดีนักษัตร |
อัศวยุชมาส |
เดือน ๑๑ |
ปูรวภัทรบทนักษัตร |
ปูรวภัทรบทนักษัตร |
กฤติกามาส |
เดือน ๑๒ |
กฤติกา,มฤคศิระ,ปุษยะ,มาฆะ |
กฤติกา,มาฆะนักษัตร |
มฤคศิรมาส |
เดือนอ้าย |
วิสาขะ,อนุราธะ,อุตตรภัทรบท |
จิตตรา,วิสาขะนักษัตร |
บุษยมาส |
เดือนยี่ |
อารทรา,อาศเลษะ,หัสตะ |
อัศวินี,อารทรา,หัสตะนักษัตร |
มาฆมาส |
เดือน ๓ |
มูลละ,ศราวณะนักษัตร |
มูลละ,ศราวณะนักษัตร |
ผาลคุนมาส |
เดือน ๔ |
เชษฐ,ภรณีนักษัตร |
เชษฐ,ภรณีนักษัตร |
ข้อยกเว้นกฎมาสสูญนักษัตรโทษ
ยกเว้นว่าหากดาวจันทร์สถิตย์ในสูญราศี หรือดาวเจ้านักษัตรของ"มาสสูญนักษัตรโทษ" สถิตย์ในภพที่ 3 หรือ ทุสถานะ ที่ 6 ที่ 8 และที่ 12 ,หรือ สถิตย์ใน สูญราศี หรือเป็นนิจ หรือ สถิตย์ร่วมกับดาวเคราะห์นิจโดยไม่มีดาวเคราะห์อื่นร่วม เว้นจากเจ้าเรือนดังกล่าวหรือดาวเคราะห์นิจข้างต้น ผลของ"มาสสูญนักษัตรโทษ"เป็นอันลบล้าง และ..
1. ดาวเจ้าเรือนลัคน์ในดวงฤกษ์ สถิตย์ในเรือนตัวเอง(เป็นเกษตร)และร่วมหรือเป็นโยคกับดาวพฤหัส ผลของ"มาสสูญนักษัตรโทษ"เป็นอันลบล้าง
2.หากดาวพฤหัสเสวยนักษัตรเดียวกันกับดาวจันทร์ แต่อยู่คนละราศี(ภิณทฤกษ์)ผลของ"มาสสูญนักษัตรโทษ"เป็นอันลบล้าง
3.ดาวที่ให้ศุภผลที่มีกำลังแรงสถิตย์ อยู่ในเรือนเกณฑ์ หรือ ตรีโกณกับลัคนาในดวงฤกษ์ ผลของ"มาสสูญนักษัตรโทษ"เป็นอันลบล้าง
ดาวเจ้านักษัตรฤกษ์ ทั้ง 27 นักษัตร
ฤกษ์ที่ |
นักษัตร |
ดาวเจ้าฤกษ์ |
๑ |
อัศวินี |
ดาวเกตุ |
๒ |
ภรณี |
ดาวศุกร์ |
๓ |
กฤตติกา |
ดาวอังคาร |
๔ |
โรหิณี |
ดาวจันทร์ |
๕ |
มฤคศิระ |
ดาวอังคาร |
๖ |
อารทรา |
ดาวราหู |
๗ |
ปุนรวสุ |
ดาวพฤหัส |
๘ |
ปุษยะ |
ดาวเสาร์ |
๙ |
อาศเลศะ |
ดาวพุธ |
๑๐ |
มาฆะ |
ดาวเกตุ |
๑๑ |
ปุรพผลคุณี |
ดาวศุกร์ |
๑๒ |
อุตรผลคุณี |
ดาวอังคาร |
๑๓ |
หัสตะ |
ดาวจันทร์ |
๑๔ |
จิตรา |
ดาวอังคาร |
๑๕ |
สวาติ |
ดาวราหู |
๑๖ |
วิสาขะ |
ดาวพฤหัส |
๑๗ |
อนุราธะ |
ดาวเสาร์ |
๑๘ |
เชษฐะ |
ดาวพุธ |
๑๙ |
มูลละ |
ดาวเกตุ |
๒๐ |
ปุรพาษาฒ |
ดาวศุกร์ |
๒๑ |
อุตราษาฒ |
ดาวอังคาร |
๒๒ |
สราวณะ |
ดาวจันทร์ |
๒๓ |
ธนิษฐะ |
ดาวอังคาร |
๒๔ |
สตภิษัท |
ดาวราหู |
๒๕ |
ปูราภัทรปท |
ดาวพฤหัส |
๒๖ |
อุตราภัทรปท |
ดาวเสาร์ |
๒๗ |
เรวดี |
ดาวพุธ |
2.5 ทคธะดิถี (อาทิตย์จร+ราศี+ดิถี)
กฎนี้ท่านเรียกว่า ทคธะดิถี दग्ध तिथय -ดิถีเผาไหม้ ซึ่งตรงกันกับ ดิถีมหาสูญ(สุริยโคจร)แบบไทย ซึ่งกฏนี้มีอยู่ว่าหากพระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีใด และตรงกับดิถีที่กำหนด ดิถีนั้นก็จะกลายเป็นโทษดุจถุกเพลิงเผาผลาญ (ทคธะดิถี) ซึ่งกฏเกณฑ์นี้มาจากคัมภีร์โชติวิทยาภรณาม (Jyotirvidyabharanam) และพระพฤหัสปติมหาฤาษีท่านได้กล่าว หาก กฏทคธะ นี้ปรากฏในลัคนาหรือดิถีก็เป็นจะโทษรุนแรงอาจจะถึงตายได้ กรุณาศึกษาจากตารางด้านล่างนี้
อาทิตย์สถิตราศี |
ดิถีมหาสูญ (โหรไทย) |
ทคธะดิถี(โหรภารตะ) |
สถิตราศี เมษ และราศีกรกฏ |
ห้ามวันขึ้น/แรม ๖ ค่ำ |
ษัฑฐี -ห้ามวันขึ้น/แรม ๖ ค่ำ |
สถิตราศี พฤษภ และราศีกุมภ์ |
ห้ามวันขึ้น/แรม ๔ ค่ำ |
จตุรถี -ห้ามวันขึ้น/แรม ๔ ค่ำ |
สถิตราศี เมถุน และราศีกันย์ |
ห้ามวันขึ้น/แรม ๘ ค่ำ |
อัฏมี -ห้ามวันขึ้น/แรม ๘ ค่ำ |
สถิตราศี ธนู และราศีมีน |
ห้ามวันขึ้น/แรม ๒ ค่ำ |
ทวิติยา -ห้ามวันขึ้น/แรม ๒ ค่ำ |
สถิตราศี สิงห์ และราศีพิจิก |
ห้ามวันขึ้น/แรม ๑๐ ค่ำ |
ทศมี -ห้ามวันขึ้น/แรม ๑๐ ค่ำ |
สถิตราศี ตุลย์ และราศีมังกร |
ห้ามวันขึ้น/แรม ๑๒ ค่ำ |
ทวาทศี -ห้ามวันขึ้น/แรม ๑๒ ค่ำ |
2.6 ปารวะดิถี (ดิถีร้าย)
กฎนี้ท่านถือว่าดิถีที่เป็นปารวะดิถีนี้ มีโทษรุนแรงพอๆกันกับ วันสุริยสังกรานติ หรือ วันพระอาทิตย์ย้ายราศีโดยห้ามประกอบการมงคลต่างๆ มีดิถีที่กำหนดดังนี้
ดิถี |
โทษะ |
ศุกละปูรณิมา (ขึ้น 15 ค่ำ) |
ปารวะดิถี |
กฤษณะอัฏมี (แรม 8 ค่ำ) |
ปารวะดิถี |
กฤษณะจตุรทศี (แรม 14 ค่ำ) |
ปารวะดิถี |
กฤษณะอมาวสี (แรม 15 ค่ำ) |
ปารวะดิถี |
2.7 กาละครหะดิถี (ดิถีร้าย)
กฎนี้ท่านถือว่าดิถีที่เป็นกาละครหะดิถีนี้ไม่เป็นมงคลและห้ามประกอบการมงคลต่างๆ มีดิถีที่กำหนดดังนี้
ดิถี |
โทษะ |
กฤษณะปรติปท (แรม 1 ค่ำ) |
กาละครหะดิถี |
กฤษณะตรโยทศี (แรม 13 ค่ำ) |
กาละครหะดิถี |
กฤษณะจตุรทศี (แรม 14 ค่ำ) |
กาละครหะดิถี |
กฤษณะอมาวสี (แรม 15 ค่ำ) |
กาละครหะดิถี |