Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

ราหูกาล ยมกาล คุลิกากาล และช่วงเวลาร้ายอื่นๆที่ควรหลีกเลี่ยง

นอกจากหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การกำหนดฤกษ์ยามมงคลยังจะต้องพิจารณาจากกาละ หรือ มุหูรตะกาล   เพิ่มเติมอีกหลายประการ เช่น

1.ราหูกาล -คือช่วงเวลาที่ไม่ดีในแต่ละวัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาของราหู ควรหลีกเลี่ยงและงดเว้นกิจการที่เป็นมงคลในช่วงระยะเวลานี้ ราหูกาล คือการคำนวนค่าเฉลี่ยของยามต่างๆในแต่ละวัน เช่น วันที่พระอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.00 น. และตก เวลา 18.00 น.คำนวณหาราหูกาลจะไดดังนี้ วันอาทิตย์ ราหูกาลคือช่วงเวลา 4.30 - 6.00 น., วันจันทร์ 7.30 - 9.00 น., วันอังคาร  15.00- 16.30 น.,วันพุธ
12.00 - 13.30 น. วันพฤหัสฯ 13.30 - 15.00 น.,วันศุกร์ 10.30-12.00 น., วันเสาร์ 9.00-10.30 น.ซึ่งการคำนวนจะต้องรู้เวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกในแต่ละวันแล้วนำมาหารหาค่าเฉลี่ยในแต่ละยาม มี 8 ยาม    และในวันต่างๆก็ได้กำหนดเวลาของราหูกาลเอาไว้ดังนี้ วันอาทิตย์ ยามที่ 8 หรือ 1 เป็นราหูกาล วันจันทร์ ยามที่ 2 เป็นราหูกาล  วันอังคาร ยามที่ 7เป็นราหูกาล   วันพุธยามที่ 5 เป็นราหูกาล   วันพฤหัสยามที่ 6 เป็นราหูกาล   วันศุกร์ยามที่ 4 เป็นราหูกาล  วันเสาร์ยามที่ 3 เป็นราหูกาล  ช่วงของราหูกาลถือว่าเป็นเวลาให้โทษร้ายรุนแรง ห้ามให้ฤกษ์มงคลเป็นอันขาด   หากทำการเริ่มต้นกิจการงานใดใดในระหว่างช่วงของราหูกาลนี้ จะเกิดความเสียหาย ผิดหวัง และการจบสิ้น


2.ยมกาล-คือช่วงเวลาของพระยม เทพเจ้าแห่งความตายซึ่งต้องหลีกเลี่ยง แต่เป็นช่วงเวลาเหมาะแก่การประกอบพิธีงานอวมงคลต่างๆเช่นงานฌาปนกิจศพ ส่วนงานมงคลอื่นๆควรต้องงดเว้น เพราะจะทำให้เกิดความล้มเหลว

3.คุลิกากาล-หรือเรียกว่า ”มันถิกาล”ซึ่งมันถิและคุลิกาเป็นบุตรของดาวพระเสาร์และเป็นช่วงจะทำให้้เกิดปรากฏการณ์้ซ้ำๆขึ้นอีกหลายครั้ง หมายความว่า กิจการงานใดใดที่ทำในเวลาของคุลิกาลนั้นจะทำให้เกิดการกระทำซ้ำอีกรอบ ดังนั้น ในช่วงเวลาของ คุลิกาล จะเหมาะกับงานมงคลบางประเภท เช่น การออกรถ ขึ้นบ้านใหม่ สร้างบ้าน ซื้อหาอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ แต่พิธีมงคลสมรสจะต้องดเว้นและการฌาปนกิจศพ การเคลื่อนศพสู่สุสาน ห้ามทำในเวลาคุลิกากาลนี้โดยเด็ดขาด อิทธิพลของคุลิกากาลนี้จะมีผลคล้ายกับ มุหูรตะโยค ซึ่งเรียกว่า ทวิปุษการะโยค และตรีปุุษการะโยค

4.ทุรมุหูรตะ-หมายความว่า เป็นช่วงเวลาที่ไม่เป็นมงคล ในแต่ละวัน


5.วารชยะ-ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาที่ไม่ดีอีกเช่นกัน โดยคำนวนจากห้วงเวลาของนักษัตรที่จันทร์เสวย  ซึ่งนักษัตรหนึ่งๆไม่ได้ให้ผลดีตลอดทั้งนักษัตร แต่จะมีช่วงที่ไม่เป็นมงคลเป็นช่วงๆของนักษัตรนั้นๆ ดังนั้นในวันหนึ่งๆอาจจะมี วารชยยาม มากว่า 1 ช่วงเวลา